พัฒนาการของลูกน้อยวัย 3 เดือน

  • ด้านการเรียนรู้

ทารกแรกเกิดวัย 3 เดือนนั้นจะมีประสาทสัมผัสต่อผิวที่ละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ การให้เด็กวัยนี้เกิดการสัมผัสจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในหลายๆด้าน ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆที่ดีต่อพัฒนาการในวัย 3 เดือนของลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณพ่อคุณม่มอบสัมผัสอันอบอุ่นให้ลูกน้อยโดยตรง ลูกน้อยจะเกิดการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด ลูกจะรู้สึกถึงความอบอุ่นที่พ่อแม่มอบให้ เป็นการกระตุ้นต่อระบบสัมผัสผ่านประสาทสมอง  ซึ่งเด็กในวัย 3 เดือนนี้นั้นจะเริ่มแยกออกแล้วว่าสัมผัสไหนเป็นของใครโดยความคุ้นเคยต่อผู้คนที่มามอบสัมผัสให้ ซึ่งเป็นถือเป็นการกระตุ้นพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการรับสัมผัส

อุ้มลูกบ่อยๆ ให้ผิวของพ่อแม่ได้สัมผัสกับผิวลูก เมื่ออารมณ์ดี ให้วางวัสดุที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น นุ่มบ้าง แข็งบ้าง ใส่ไว้ในฝ่ามือลูก เด็กทารก 3 เดือนจะได้เริ่มเรียนรู้ผิวสัมผัสของวัสดุต่างๆ หรือหาของนุ่มๆ เช่น ขนนกมาเขี่ยเบาๆ ที่แขนและขา หรือใช้มือลูกจับกระดาษทราย กระดาษแก้ว กระดาษลูกฟูก สำลี ผ้าแบบต่างๆ ลูกบอล บล็อกไม้ ฯลฯ และสิ่งของที่มีผิวสัมผัสต่างๆ กันให้ลูกได้สัมผัส โดยอาจเอาไปสัมผัสที่ผิวลูก ที่แก้ม ที่ฝ่าเท้า  ก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการสัมผัสที่ผิวหนังได้ หรือหมั่นเปลี่ยนท่านอนให้ลูกบ้าง จะช่วยให้ลูกได้รับผิวสัมผัสที่แตกต่างออกไป ความรู้สึกที่ได้จากการสัมผัสนี้จะส่งต่อไปยังสมอง เก็บไว้ในความทรงจําว่าสัมผัสที่ลูกได้รับนั้นเป็นอย่างไร

ช่วง 2-3 เดือนแรกถือเป็นช่วงสำคัญของพัฒนาการเด็ก และการให้เด็กได้รับโภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะควรให้เด็กกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน (ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและองค์การอนามัยโลก) น้ำนมแม่มีคุณประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็กทุกด้าน MFGM เป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีคุณค่าที่พบในน้ำนมแม่ ซึ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะพัฒนาการ 3 ด้านที่สำคัญ คือ สมอง ภูมิคุ้มกัน และระบบขับถ่าย MFGM ช่วยพัฒนา IQ และ EQ ของเด็ก รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก

MFGM
  • ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

เลือกของเล่น เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของลูก

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในวัยเด็กเล็ก เป็นพื้นฐานที่สำคัญของพัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในวัยต่อๆ ไป ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรมองข้ามการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่-มัดเล็กของลูก โดยให้ลูกได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเหล่านี้ ซึ่งการเลือกของเล่นเพื่อเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อของลูกก็เป็นสิ่งสำคัญ

ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อสำหรับเด็กทารก 3 เดือน ได้แก่ ของเล่นที่บีบหรือเขย่าแล้วเกิดเสียง ของเล่นที่มือสอดกำได้  ลูกบอลนุ่ม ตุ๊กตาผ้ารูปสัตว์ เพื่อส่งเสิมการใช้มือของลูก ลูกจะเอื้อมคว้า ตีหรือเขย่าของเล่นเหล่านั้นเพื่อสำรวจ  คุณแม่นำมาให้ลูกเล่นขณะลูกนอน ลูกจะได้พัฒนาทั้งกล้ามเนื้อ สายตา และประสาทรับเสียงค่ะ

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM
  • ด้านภาษาและการสื่อสาร

รู้จักและพัฒนาภาษาของลูกวัย 3 เดือนแรก

จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการทารก 3 เดือนทางด้านของภาษานั้น เริ่มต้นด้วยการที่ทารกร้องไห้ และใช้ท่าทางและสุ้มเสียงต่างๆ กัน การที่ทารก 3 เดือนจะพัฒนาจนพูดได้นั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมทางกายและระบบประสาทของเขา  โดยพัฒนาการทางภาษาของทารก 3 เดือนแรก คือ การเปล่งเสียงจากคอหรือทำเสียงคูคู โดยลูกจะค้นพบว่าเขาสามารถส่งเสียงได้ โดยการใช้ลิ้นดุนหรือดันไปที่ริมฝีปากให้เปิดออก จากนั้นก็ปิดริมฝีปากลงใหม่ได้ อาจมีน้ำลายไหลออกมาจากปากบ้าง คล้ายๆ กับการพ่นน้ำลายออกมา  แต่นี่คือการหัดส่งเสียง หรือพยายามจะพูดของเด็ก  แต่อาจจะไม่มีเสียงหรือคำพูดออกมาให้ได้ยิน เพราะลูกยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งในการฝึกฝนการพ่นลมหรือพ่นน้ำลายนั้นออกมาเป็นเสียง  ต่อมาไม่นานก็จะเป็นขั้นของเล่นปนกันไปกับการออกเสียง จนสามารถออกมาเป็นสระ เช่น อา... หรืออู...ได้ และอ้อแอ้โต้ตอบคนที่มาเล่นด้วยได้ ซึ่งเป็นการสื่อสารของลูกนั่นเอง

เพื่อพัฒนาการเด็ก 3 เดือน ในด้านภาษาและการสื่อสาร คุณแม่จึงควรชวนลูกพูดคุยบ่อยๆ ทุกวัน  โดยคุณแม่อาจทำหน้าตา ปากล้อเลียนลูก เช่น ทำปากจู๋ อ้าปากหาว แลบลิ้น จะเห็นว่าลูกสามารถขยับปาก หรือทำหน้าตาเหมือนคุณแม่ได้  ช่วยส่งเสริมความคิดและสติปัญญาและการเรียนรู้ของลูกได้ค่ะ

  • ด้านอารมณ์และสังคม

เล่นสนุก สร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้ลูกน้อย

เริ่มตั้งแต่เช้า ยามเมื่อลูกน้อยตื่นขึ้น แทนที่คุณแม่จะปล่อยให้เด็กทารก 3 เดือนนอนเล่นอยู่ตามลำพัง ควรอุ้มเขาขึ้นมา  พูดคุยทักทาย จากนั้นประคองเขาไว้ด้วยแขนทั้งสองข้าง แล้วทำท่าไกวเปล แล้วบอกว่าไกวๆ เปล ลูกจะรู้สึกสนุก เป็นการช่วยเขาเปลี่ยนบรรยากาศจากท่านอนแบบเดิมๆ สร้างความตื่นเต้นให้ลูกบ้าง แต่หากเล่นไปสักพักลูกเริ่มเบ้หน้า คุณแม่ต้องหยุด เพราะลูกอาจเหนื่อยและอยากหยุด

หรือคุณแม่จะสามารถใช้มือสัมผัสอย่างอ่อนโยนที่ใบหน้าลูก หน้าอก แขน หรือท้องของลูกน้อยซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกเอนจอย และมีความสุขจากสัมผัสสายใยรักของคุณแม่ ลูกจะสัมผัสถึงความรักและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะรับรู้ได้ว่าคุณพ่อคุณแม่คือความรักแรกของลูก