1. พัฒนาการทารกวัย 5 เดือน ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้

เสียงที่ดีส่งผลต่อการเรียนรู้ของลูก

เราทราบดีว่าเด็กเกิดมาพร้อมเซลล์สมองแสนล้านเซลล์ ที่กำลังรอการเชื่อมต่อกัน เพื่อนำเข้า ส่งต่อ และบันทึกข้อมูลต่างๆ ทุกๆ ครั้งที่เด็กถูกกระตุ้นให้คิด จุดเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นหรือที่มีอยู่แล้วก็แข็งแรงขึ้น ถ้าจุดเชื่อมต่สมองก็จะเหี่ยวเฉาตายไปได้เช่นกัน ดังนั้น การที่เด็กได้รับการกระตุ้น ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ จะช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองได้ โดยเฉพาะกระตุ้นผ่าน ‘เสียง’ ซึ่งอาจจะเป็นเสียงของคุณแม่คุณพ่อ เสียงดนตรี หรือเสียงจากธรรมชาติรอบตัว ล้วนส่งผลต่อการทำงานของสมองลูกทั้งสิ้น

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

อย่างไรก็ตาม เสียงไม่เพียงส่งผลต่อทารกในยามตื่นเท่านั้น หากแม้ในยามหลับ เสียงก็ยังส่งผลต่อการทำงานของสมองเด็ก 5 เดือนด้วยเช่นกัน ดังเช่น การวิจัยชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ประเทศอังกฤษ ที่ได้ลองใช้เครื่องเอ็กซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กศึกษาปฏิกิริยาของสมองทารกที่หลับอยู่กับเสียงโดยรอบ ในทารกที่เพิ่งเกิดมาได้ 3-7 เดือน โดยไม่ไปกวนจนตื่นขึ้นมา พบว่า สมองหลายส่วนของทารกแสดงปฏิกิริยาต่อเสียงต่างๆ แบบเดียวกับสมองของผู้ใหญ่ในยามตื่น โดยเฉพาะเสียงที่แสดงอารมณ์ออกมาด้วย เช่น เสียงหัวเราะ หรือร้องไห้ ที่พบว่าปฏิกิริยาโต้ตอบจะยิ่งแรงขึ้น

สิ่งที่เราต้องใส่ใจมากขึ้นเพื่อเสริมพัฒนาการทารก 5 เดือน คือ คุณภาพของเสียงที่ลูกควรเป็นเสียงที่ดี เช่น เสียงเพลงกล่อมลูกของคุณแม่ เสียงจากการชวนลูกพูดคุยด้วยความรักของคุณแม่ หรือหากจะใช้เสียงเพลงก็อาจเลือกเพลงกล่อมเด็ก (Lullaby) ที่มีทำนองช้าๆ ไม่เร็วหรือมีจังหวะถี่กระแทก มาเปิดให้ลูกฟังได้ รวมทั้งของเล่นมีเสียง เช่น ช้อนไม้เคาะกับสิ่งของทำให้เกิดเสียง ฝึกให้ลูกหันซ้าย-ขวาไปตามต้นเสียง เป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองได้ดี

 

2. พัฒนาการทารก 5 เดือน ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

ออกกำลังกล้ามเนื้อคอและหลังให้ลูกน้อย

หากเด็ก 5 เดือนมีกล้ามเนื้อคอและหลังที่แข็งแรง จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของพัฒนาการเด็ก 5 เดือนทางด้านร่างกายของเขา  ซึ่งจะส่งผลให้ลูกสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีและคล่องแคล่วต่อไป ...แทนที่จะปล่อยให้ลูกนอนเล่นตามลำพังมาออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอและหลังให้เขากันค่ะ

ช่วงวัยของเด็ก 5 เดือนนี้ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีมากขึ้น ลูกจึงสามารถพลิกคว่ำ พลิกหงาย ใช้มือไขว่คว้าสิ่งของต่างๆ  จึงควรส่งเสริมพัฒนาการลูก โดย...

  • หาของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียงมาเล่นกับลูก  เพื่อให้ลูกได้พยายามพลิกคว่ำ พลิกหงาย

  • ฝึกให้เด็ก 5 เดือนมีการเอื้อม ไขว่คว้า เขย่า เปลี่ยนมือ ถือของ

  • จัดหาของเล่น ที่ปลอดภัยและมีผิวสัมผัสต่างๆ กัน  เช่น ไม้ พลาสติก ผ้า ยาง เป็นต้นให้ลูกเล่น 

  • จับให้ลูกนอนบนพื้นเรียบๆ เพื่อหัดพลิกตัวไปมาอย่างอิสระ          

  • หาของเล่นที่บีบแล้วมีเสียงปี๊บๆ มากระตุ้นให้ลูกหันหาหรือพลิกตัวมาหาของเล่นนั้น

นอกจากจะพาลูกออกกำลังอย่างสม่ำเสมอแล้ว คุณแม่อย่าลืมเสริมพัฒนาการทารก 5 เดือนในด้านอารมณ์ โดยการสร้างบรรยากาศให้ลูกเพลิดเพลินและสนุกสนานกับการออกกำลังครั้งนี้ด้วยนะคะ

MFGM is an essential nutrient found in breast milk and MFGM fortified milk.

3. พัฒนาการทารก 5 เดือน ด้านภาษาและการสื่อสาร

Baby Talk พัฒนาภาษาและการสื่อสารของลูก

เด็ก 5 เดือน มีพัฒนาการทางภาษาเริ่มพัฒนามากขึ้น เขากำลังเริ่มส่งเสียงแบบที่ฝรั่งเรียกว่า Babble  คือส่งเสียงอ้อแอ้ๆ อูๆ อาๆ  โต้ตอบเวลาคุณพ่อคุณแม่คุยด้วย หรือเรียกว่า Baby Talk และเด็ก 5 เดือนนี้เริ่มจะส่งเสียง สนใจ โต้ตอบ สื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่อย่างจริงๆ จังๆ แล้ว ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ควรมองข้ามการชวนคุยหรือ Baby Talk ของลูก

นี่เป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทารก 5 เดือน ทั้งด้านภาษาและการสื่อสารของเขา  เพื่อให้พัฒนาการด้านภาษาของเขาเป็นไปอย่างสมวัย ไม่เกิดปัญหาพัฒนาการทางภาษาล่าช้า ซึ่งทำได้โดย...

  • คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกบ่อยๆ พยักเพยิดเล่าเรื่อง ชวนคุยเรื่องต่างๆ ใกล้ตัวไป โดยใช้ภาษาที่ง่ายๆ ชัดเจน (ไม่ต้องอือๆ อาๆ ตามลูกนะคะ) มองหน้า สบตาลูกขณะพูดกับเขา

  • ไม่ปล่อยให้เด็ก 5 เดือนนอนเล่นคนเดียว มองนั่น มองนี่อย่างเหงาๆ ตามลำพัง

  • อ่านหนังสือนิทานสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาสั้นๆ ให้ลูกฟัง เป็นการกระตุ้นพัฒนาการทารก 5 เดือนและปลูกฝังให้ทารกคุ้นเคยและสนุกกับการฟังและอ่านนิทานเมื่อโตขึ้น โดยอ่านนิทานด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น สนุกสนาน และผ่อนคลาย

  • หาของเล่นมาชวนลูกพูดคุย เช่น เป็ดบีบมีเสียง แล้วบอกลูกถึงสีสัน คำศัพท์ และทำเสียงปี๊บปี๊บประกอบ แล้วคุณแม่จะทึ่งที่เห็นลูกพยายามทำเสียงเหล่านี้ตามเมื่อเรานำเป็ดมาเล่นกับเขาในครั้งต่อๆ ไป 

 

4. พัฒนาการทารกวัย 5 เดือน ด้านอารมณ์และสังคม

เลียนเสียงลูก  ช่วยความฉลาดทางอารมณ์

เมื่อเด็ก 5 เดือนเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ๆ ฮือๆ อาๆ อยู่ในลำคอออกมา  คุณแม่เองควรตอบสนองเสียงของลูก ด้วยการยื่นหน้าไปใกล้ๆ ยิ้มให้ และทำเสียงล้อเลียนกับที่เขาทำ พร้อมทั้งเอามือลูบที่หน้าท้องของลูก เขาจะรู้สึกพึงพอใจที่คุณแม่สื่อสารตอบกลับมา และจะยิ่งทำเสียงในลำคอมากขึ้น เพื่อสื่อสารกับคุณแม่

ถ้าคุณแม่ได้เลียนเสียงลูกน้อยบ่อยๆ พร้อมกับแสดงความพึงพอใจในเสียงที่ลูกเปล่งออกมา ก็จะยิ่งทำให้ลูกน้อยเรียนรู้การพูดได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งความรู้สึกพอใจของคุณแม่นี้จะแฝงไปกับน้ำเสียงที่คุณแม่เปล่งออกมาเช่นเดียวกัน หรือคุณแม่อาจแสดงออกด้วยการกอดรัด และยิ้มให้ ซึ่งลูกน้อยสามารถรับรู้ได้จากสัญชาตญาณของเขาเองค่ะ

วิธีการเลียนเสียงลูกเช่นนี้ ทำให้ลูกเกิดความสนใจ และมีความสนุกสนาน ทำให้คุณแม่กับลูกน้อยมีความใกล้ชิดกัน และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก นอกจากนี้การที่คุณแม่ช่วยตอบสนองความต้องการทางด้านอารมณ์ของลูกแบบนี้ จะช่วยทำให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี มีความสุข ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งของการปรับตัวทางด้านอารมณ์ของเขาในอนาคต