เดือนที่ 9

  • ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้

เทคนิคสร้างพื้นฐานการคิดให้ลูกตั้งแต่เล็ก

วิธีที่จะช่วยให้คุณแม่สร้างพื้นฐานการคิดให้ลูกวัยขวบปีแรกนั้น สามารถทำได้ เพียงคุณแม่ส่งเสริมการคิดผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งได้แก่ การได้เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ลิ้มรส และการได้สัมผัสหรือเคลื่อนไหว ให้กับลูก นั่นเพราะลูกวัยนี้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้ลูกได้รับสิ่งเร้าผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จึงช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ซึ่งจะส่งผลต่อพื้นฐานของการคิดของลูกต่อไป

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

             ตัวอย่างการสร้างพื้นฐานการคิดให้ลูกอย่างง่ายๆ เช่น ให้ลูกได้มองภาพสิ่งต่างๆ ที่มีสีสันสดใส รายละอียดไม่มาก ไม่ซับซ้อน  และบอกเขาถึงภาพที่เอามาให้ดู เช่น “นี่ภาพช้างตัวใหญ่นะลูก”  “ภาพดอกไม้สีเหลือง” เป็นต้น   ภาพที่ลูกได้ที่เห็นจะช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ นึกคิดและสภาวะทางอารมณ์ อันส่งผลให้ลูกน้อยเกิดความสงสัย อยากรู้ และนำไปสู่กระบวนการนึกคิด และจินตนาการได้ในที่สุด       

 

คุณแม่สามารถนำหลักการทำนองนี้ไปใช้กับประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ เช่น การฟังเสียง ซึ่งอาจจะเริ่มจากเสียงเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความหลากหลายของเสียงเพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะแยกแยะเสียงต่างๆ เป็นต้น หรือการชิมรสที่ลูกวัยนี้สามารถกินอาหารเสริมได้แล้ว คุณแม่สามารถให้ลูกได้ลิ้มลองอาหารที่มีรสชาติต่างๆ ทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม ขม (อาจจะเพียงแตะที่ลิ้นพอให้รับรสได้) ฯลฯ เพื่อพัฒนาการรับรสที่หลากหลายของลูก หรือดมกลิ่นสิ่งของใกล้ตัว เช่น ขนม ผลไม้ ดอกไม้ อาหาร ฯลฯ เพื่อให้ลูกได้รู้จักกลิ่นที่มีอยู่มากมาย

 

  • ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

                               สนุกเคลื่อนไหว พัฒนาประสาทสัมผัส

ลูกน้อยในวัยนี้เริ่มสนุกกับการได้เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็กอย่างมือ นิ้วมือ และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ คือแขน ขา ดังนั้นคุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกน้อยได้เล่นออกกำลังส่วนต่างๆ เหล่านี้ อาจจะให้ลูกน้อยได้ลองคลานเล่น หรือลองจับลูกให้ฝึกเดินบนพื้นผิวต่างๆ อาจจะเป็นดิน ทราย หรือสนามหญ้าด้วยเท้าเปล่าบ้าง เพราะเม็ดดินเม็ดทรายเหล่านี้จะช่วยนวดฝ่าเท้าลูก ซึ่งเส้นสมองของเด็กเชื่อมโยงกับประสาทที่ฝ่าเท้า

 นอกจากนี้ ยังสามารถกระตุ้นเส้นประสาทที่ฝ่าเท้าของลูกได้อีก  โดยการนำวัตถุที่มีพื้นผิวลักษณะต่างๆ กัน เช่น ก้อนหิน ฟองน้ำ สก็อตไบรท์ ที่สะอาดมาถูที่เท้าทีละข้างของลูก ระหว่างนั้น คุณแม่ก็อย่าลืมชวนลูกคุยไปด้วยนะคะ เช่น  “นี่ฟองน้ำนะจ๊ะลูกเป็นไง นุ่มมั้ย หนูรู้สึกอย่างไรบ้างจ๊ะ”  “อันนี้สก็อตไบรท์นะจ๊ะ หนูชอบไหม จั๊กจี๋หรือเปล่า”

การเล่นนี้จะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการระบบประสาทส่วนรับสัมผัสของลูกให้ดี ขึ้น และยังจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านภาษาให้แก่เด็ก ทำให้ลูกเรียนรู้ภาษาได้เร็วขึ้นด้วยค่ะ

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM
  • ด้านภาษาและการสื่อสาร

กิจกรรมสื่อภาษา พัฒนาการสื่อสารให้ลูก

การที่คุณแม่ชวนลูกพูดคุย ออกเสียงบ่อยๆ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาให้ลูกได้อย่างดี ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้โดย...

* อ่านหนังสือให้ลูกฟัง - อ่านหนังสือ หรือเล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน วันละ 5-10 นาที โดยเฉพาะก่อนนอนหรือหลังมื้อนม

* ชวนลูกชมนกชมไม้ - อุ้มลูกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะใกล้บ้าน หรือสวนในบ้านของเราเอง ชี้ชวนให้ดูสิ่งต่างๆ ที่เห็น บอกเขาว่าสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร เช่น "ดูสิใบไม้สีเขียว" "ก้อนหินลื่นจัง" "ดอกไม้สีเหลือง" ฯลฯ พร้อมให้ลูกได้สัมผัส ได้จับสิ่งต่างที่พูดถึงด้วย เพราะการได้สัมผัสประกอบการเรียนรู้จะทำให้ลูกจดจำได้ดีกว่า

* ฝึกลูกพูดกัน  -   สอนลูกให้พูดคำง่ายๆ  เช่น ปา-ปา มา-มา   จากนั้นสังเกตและฟังเสียงที่ลูกพูดออกมาว่าใกล้เคียงกับเสียงของคุณแม่มากน้อยแค่ไหน

 

  • ด้านอารมณ์และสังคม

โลกแห่งจังหวะ สร้างลูกอารมณ์ดี

เพราะเสียงเพลงและท่วงจังหวะทำนองที่ลูกได้ยิน ล้วนมีอิทธิพลต่อชีวิตน้อยๆ และส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในทุกๆ ด้าน พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงต้องการให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงดนตรีตั้งแต่ยังเล็กๆ 

            คุณแม่อาจหาซื้อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะ เช่น ลูกแซก กรับ หรือกระดิ่งขนาดต่างๆ มาสร้างเสียงเพลงด้วยตนเอง หรือจะประดิษฐ์เครื่องสร้างจังหวะเองจากวัสดุง่ายๆ เช่น นำถั่วเขียวเล็กน้อยใส่ในขวดน้ำพลาสติกแล้วปิดฝา เมื่อเขย่าแล้วจะเกิดจังหวะ หรือหากหมุนเบาๆ ก็จะเกิดเสียงคลื่นกระทบฝั่งที่แปลกไปอีกแบบ โดยคุณแม่อาจชวนคุณพ่อ มาเล่นด้วยกันคนละชิ้น ก็จะสนุกกว่านั่งเล่นให้ลูกดูคนเดียว  และยังสามารถช่วยกันแต่งเนื้อร้องขึ้นมาเป็นเพลง ก็จะยิ่งทำให้สนุกกว่าเดิม

 การที่คุณแม่ปลูกฝังให้ลูกมีจังหวะดนตรีในหัวใจตั้งแต่ในวัยนี้ นอกจากจะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี มีการเรียนรู้ทักษะการฟังที่ดีแล้ว ยังช่วยฝึกภาษาให้กับลูกได้ตั้งแต่เล็กอีกด้วย ที่สำคัญ เสียงเพลงที่เกิดจากการสร้างสรรค์กันเองในบ้านเช่นนี้ จะก่อให้เกิดความอบอุ่น มีชีวิตชีวา และหล่อหลอมความรักความผูกพันระหว่างกันในครอบครัวค่ะ