สัปดาห์ที่ 36 ของการกระตุ้นการตั้งครรภ์’: แม่ขับกล่อมร้องเพลงปรับปรุงการพัฒนาของทารกในครรภ์’

พูดถึงบทเพลงกล่อมเด็ก หลายคนคงนึกถึงเพลงช้าๆ ที่มีมาเก่าก่อน  นอกจากเพลงที่ว่านี้แล้ว คุณแม่ยุคนี้สามารถสร้างสรรค์เพลงกล่อมเด็กด้วยตนเองได้ค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

 เริ่มต้นจากการหาคำง่ายๆ ที่มีความหมาย และให้ความรู้สึกอ่อนโยน เช่น สบาย สุข กาย ใจ นอน ฯลฯ เพียงแค่นำคำเหล่านี้มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน สื่อความหมายไปในทางสร้างสรรค์ และมีสัมผัสคล้องจองกัน เช่น  ลูกน้อยนอนหลับ สุขกายสบายใจ เป็นต้น จากนั้นก็ลองแต่งให้มีความยาวมากขึ้น จนเป็นประโยค แล้วคุณแม่อย่าลืมจดไว้ด้วยนะคะ จะได้ไม่ลืม แล้วก็ค่อยๆ ใส่เสียงสูงต่ำให้เป็นทำนอง ลองฝึกร้องให้คุ้นเคย เท่านี้ก็เป็นเพลงกล่อมเด็กในแบบฉบับของคุณแม่แล้วล่ะค่ะ 

ประโยชน์ของเพลงกล่อมเด็ก ไม่ได้มีไว้เพียงแค่กล่อมให้ลูกหลับเท่านั้น แต่คุณแม่ยังสามารถใช้เพลงกล่อมเด็กเป็นสื่อกลางในการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อย เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้กับตัวคุณแม่เอง เพื่อส่งต่อไปยังลูกให้มีจิตใจเข้มแข็ง ดีงาม เบิกบานผ่องใส และยังถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้ลูกคุ้นเคยกับน้ำเสียง อารมณ์ และภาษาของคุณแม่ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องด้วยค่ะ 

นอกจากนี้ การที่คุณแม่ร้องเพลงกล่อมเด็กให้ลูกน้อยฟัง ยังจะส่งผลดีต่อคุณแม่อีกหลายประการ เช่น เป็นการช่วยทำให้ระบบการหายใจของคุณแม่ดีขึ้น เพราะท่วงทำนองมีลักษณะช้าเนิบนาบ มีการทอดเสียงยาว ทำให้มีการหายใจลึกและเป็นจังหวะ  อีกทั้งยังจะช่วยทำให้สุขภาพจิตของคุณแม่ดีขึ้น มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส สดชื่นจากการร้องเพลงที่มีความหมายเชิงบวก  

การร้องเพลงกล่อมลูกนั้น คุณแม่ควรร้องในยามที่รู้สึกปลอดโปร่ง สบายใจ เช่น ช่วงเวลาก่อนเข้านอน ให้ลูบเบาๆ ที่หน้าท้องบริเวณมดลูก (เหนือบริเวณกระเพาะอาหาร) ก่อน เพื่อเตรียมตัวให้ลูกพร้อมก่อนฟังเพลง สิ่งนี้จะทำให้ลูกมีความสุข อบอุ่นใจ เชื่อมั่นใจในตัวคุณแม่ พร้อมๆ กับมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับเสียงเพลงของคุณแม่ด้วยค่ะ