ฉลาดเรียนรู้

รู้จักพัฒนาการด้านสติปัญญาของลูกอนุบาล

       ลูกวัยนี้เริ่มโตขึ้นมาก เขาเริ่มมีเหตุมีผลมากขึ้น  สามารถแยกแยะความแตกต่างของสิ่งของได้ สามารถจัดกลุ่มของสัตว์ ตลอดจนมีความคิดรวบยอดพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนของตัวเลข มีความคิดฝัน และความจำที่แม่นยำขึ้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะความคิด ความจำของเด็กในวัยนี้ยังอยู่ในขอบเขตจำกัด และเป็นลักษณะเฉพาะตัวของวัย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

  • ลักษณะของความเชื่อว่าของทุกอย่างมีชีวิต (Animism) เด็กจะมีความเชื่อว่าทุกอย่างมีชีวิต มีความรู้สึก แม้แต่สิ่งของนั้นไม่มีชีวิต เช่น ตุ๊กตา หุ่นยนต์ ฯลฯ  เขาจึงพูดคุยกับสิ่งเหล่านี้เสมือนเป็นเพื่อนมีชีวิตของเขา

  • ความเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุ่งหมาย (Purposivism) เด็กวัยนี้มีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกมีจุดมุ่งหมาย  เด็กจึงชอบตั้งคำถามว่า “ทำไม”  ซึ่งคำถามเหล่านี้ผู้ใหญ่ควรตอบให้ถูกต้อง โดยใช้คำง่ายๆ เพื่อวางความคิดรวบยอดพื้นฐานที่ถูกต้องให้เด็ก และเมื่อผู้ใหญ่ยินดีที่จะตอบ ก็จะช่วยทำให้เด็กกล้าถามมากขึ้น  

       อย่างไรก็ตาม แม้วัยอนุบาลเป็นวัยที่มีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นมาจากวัยทารก  แต่พัฒนาการของเด็กด้านต่างๆ ยังอยู่ในขอบเขตจำกัด ทั้งในด้านการรับรู้ ความมีเหตุผล ความจำ ฯลฯ เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า วัยนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาด้านต่างๆ ความสามารถต่างๆ จึงยังอยู่ในขีดจำกัด คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูจึงควรเข้าใจพัฒนาการอันยังมีข้อจำกัดนี้ และจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาความสามารถของเขาให้รุดหน้ามากยิ่งขึ้น                         

ฉลาดเคลื่อนไหว

ฉลาดเคลื่อนไหวกับ Finger Play

       กิจกรรมเล่นนิ้วมือ (Finger Play )นอกจากทำให้เด็กมีสมาธิและจดจ่อแล้ว ลูกยังจะได้ประโยชน์อีกมาก ทั้งการเรียนรู้เรื่องจังหวะความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ เพราะเด็กๆ ต้องออกแบบการเล่นนิ้วมือของตัวเอง 
       คุณแม่สามารถนำกิจกรรม Finger Play เล่นกับลูกที่บ้านได้ โดยคุณแม่ร้องเพลงแล้วให้ลูกทำท่าประกอบ การเล่นนิ้วมือจะทำให้กล้ามเนื้อนิ้วมือลูกแข็งแรง เมื่อลูกเล่น Finger Play เขาจะเล่นโดยการใช้มือทั้ง 2 ข้าง ส่งผลให้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานสมดุลกัน นอกจากนี้ ยังเป็นการฝึกให้เด็กฟังเป็น มีจังหวะในการฟัง ได้เรียนรู้คำศัพท์จากบทเพลงนั้นๆ ด้วย และต่อไปเด็กก็จะสามารถคิดท่าเล่นมือด้วยตนเองได้ ซึ่งหลังจากเด็กเล่นนิ้วมือจนคล่องแล้ว ก็ง่ายที่เด็กจะเล่นหุ่นนิ้ว และเล่นบทบาทสมมุติต่อไป 
       การที่เด็กได้เล่นนิ้วมือประกอบบทเพลง เขาจะสนุกและผ่อนคลาย สมองจะปล่อยฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า สมองใช้พื้นที่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ในการควบคุมการทำงานของสมองและนิ้วมือ หากมีกิจกรรมที่ได้ส่งเสริมให้มีการใช้นิ้วมือมากๆ นั่นเท่ากับว่าได้ส่งเสริมให้สมองได้ทำงานด้วย แล้วพัฒนาการ 360° อัจฉริยะรอบด้านจะตามมาค่ะ 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ฉลาดสื่อสาร

พัฒนาภาษาลูกกับเกม “อะไรเอ่ย”

       เกม “อะไรเอ่ย”  เป็นการเล่นที่คลาสสิก สนุก และที่สำคัญ ยังเป็นการบริหารสมองให้คิดหาคำตอบที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย  เพียงแต่ต้องปรับคำถามให้เหมาะสมกับวัยผู้เล่นเท่านั้น เช่น
       ถ้าจะเล่นเกมอะไรเอ่ยกับลูกวัย 3 ปี อาจจะเริ่มจากคำถามง่ายๆ ใกล้ตัว  ชวนให้ลูกคิดหาคำตอบ ยิ่งลูกได้คิด สมองก็เขาก็ได้ทำงาน ยิ่งตอบได้ ตอบถูก เขาก็จะมีกำลังใจ และอยากเล่นต่ออีก เช่น อะไรเอ่ย ใช้ตัดกระดาษ อะไรเอ่ยใช้ใส่น้ำ เป็นต้น จากนั้นก็ลองให้เขาเป็นฝ่ายตั้งคำถามให้เราตอบบ้าง เป็นการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของลูกต่อสิ่งต่างๆ เพราะลูกต้องเข้าใจก่อนจึงจะสามารถนำมาตั้งเป็นคำถามได้

นอกจากถามคำถามง่าย ๆ ใครตอบได้ให้ 1 คะแนน แข่งกันแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจลองหาปัญหาเชาวน์ เช่น อะไรเอ่ย สีตีนเดินมา หลังคามุงกระเบื้อง แรกๆ ลูกเล็กอาจจะงง  เราก็คอยบอกใบ้ไปว่า ต้องเป็นสัตว์ 4 เท้าแน่ๆ แต่จะเป็นชนิดไหนน้า...ที่เดินเหมือนแบกหลังคาไว้บนหลังนะ  เป็นต้น
       การตั้งคำถามเล่นกับลูกก็จะช่วยต่อยอดการคิด จินตนาการ ให้ลูกเพิ่มขึ้น  ซึ่งปัจจุบันมีหนังสือที่รวมรวมคำถามแปลกๆ กวนๆ ชวนหัวเราะ มากมายออกมาย  ลองเลือกซื้อหามาเล่นกับลูก  เป็นกิจกรรมสนุกๆ ไว้ผ่อนคลาย กระตุ้นไหวพริบ ความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาภาษาและการสื่อสารให้ลูก เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมองสู่พัฒนาการ 360ºอัจฉริยะรอบด้านค่ะ

ฉลาดด้านอารมณ์

คำชมที่เหมาะสมสร้างลูกฉลาดด้านอารมณ์

       การให้แรงเสริมทางบวกกับลูก คือการให้คำชมเชยผ่านทางคำพูดหรือการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง เช่น การโอบกอด ลูบศีรษะ การชมลูกควรทำด้วยความจริงใจและเจาะจงกับพฤติกรรมที่ลูกทำ ลูกจะได้รู้ว่าพ่อแม่ให้ความสนใจกับเรื่องอะไร ลูกจะเรียนรู้และพยายามทำพฤติกรรมนั้นต่อ และส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของลูกด้วย อย่างไรก็ตาม คำชมบางอย่างก็อาจจะส่งผลตรงข้ามหากคุณแม่ชมแบบนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่นหรือตำหนิลูกกับการกระทำในตอนนั้น

  • ตัวอย่างคำชมที่เหมาะสม เช่น

“ลูกเก่งมากเลยที่เล่นเสร็จแล้วเก็บของเข้ากล่องได้เรียบร้อย แม่ภูมิใจในตัวหนูมาก”
“ลูกยอดเยี่ยมมาก วันนี้กินข้าวเองหมดจานเลย”

  • ตัวอย่างคำชมที่ไม่เหมาะสม เช่น

“ลูกเก่งมากที่กินข้าวหมดจาน แต่วันหลังกินอย่าให้หกเลอะเทอะอย่างนี้นะ”
“บีเขียนหนังสือสวยขึ้นเยอะเลย หัดเขียนให้สวยๆ นะจะได้เก่งเหมือนพี่เอ”

       การให้คำชมกับลูกจึงต้องระมัดระวังคำชมในแบบหลังด้วยค่ะ เพื่อความฉลาดด้านอารมณ์ของลูกจะเกิดได้จริง