ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

เชื่อว่าคุณแม่ทุกคนคงเคยประสบปัญหาลูกท้องอืดมาแล้ว เพราะเป็นอาการที่มักพบบ่อยตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดจนถึงเด็กโต เมื่อลูกท้องอืดจะหงุดหงิด ร้องไห้งอแง กินนมได้น้อยลง เพราะไม่สบายเนื้อตัว สร้างความกังวลใจให้คุณแม่ จนต้องหาวิธีต่างๆ เพื่อแก้ไขอาการนี้ให้ทุเลาเบาบางลง และมีคำแนะนำว่ามีการออกแบบขวดนมและจุกนมที่สามารถป้องกันอาการลูกท้องอืดได้ แล้วจุกนมและขวดนมแก้ท้องอืดนั้นเป็นแบบไหน ป้องกันได้จริงหรือไม่ มาหาคำตอบกันค่ะ

อาการลูกท้องอืดสังเกตได้อย่างไร

เพราะลูกยังพูดบอกไม่ได้ คุณแม่จึงต้องสังเกตอาการที่ผิดปกติของลูก ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่าทารกท้องอืด มีดังนี้

  • ร้องไห้โยเย

  • กำมือ หน้าแดง

  • ยกขาสูง

  • ท้องป่อง เคาะท้องแล้วจะได้ยินคล้ายมีลมอยู่

  • ผายลมบ่อย

  • ไม่ยอมนอน กระสับกระส่ายโดยเฉพาะหลังมื้อนม

ลูกท้องอืดเกิดจากอะไร

ลูกท้องอืดเกิดจากการมีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารมากเกินไป ซึ่งที่เป็นเช่นนั้นเพราะ...

  • ลูกดูดนมเร็ว กลืนนมเร็วเกินไป หากน้ำนมจากเต้านมแม่หรือจุกขวดนมไหลออกมามากเกินไป ลูกต้องรีบกลืนน้ำนมอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหาร

  • ลูกดูดนมช้าเกินไป หากแม่หัวนมแม่บอด หรือจุกขวดนมมีรูเล็ก จะทำให้น้ำนมไหลออกมาน้อยหรือไหลช้า ทำให้ระหว่างดูดนมลูกต้องกลืนอากาศเข้ากระเพาะอาหารมากขึ้น

  • ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี คุณแม่ไม่ควรหมุนจุกนมแน่นมากเกินไป เพราะเวลาดูดนม จุกนมจะแฟบลูกจะดูดเอาอากาศในขวดนมเข้าไปในท้อง ทำให้ท้องอืด หากลูกกินนมแม่ก็ต้องให้ลูกอมหัวนมให้ลึกถึงลานนม เพื่อไม่ให้มีช่องอากาศผ่านเข้าข้างปากลูก

  • ลูกดูดนมที่มีฟองอากาศมากเกินไป เช่น การดูดนมจากขวด หรือกินนมผงที่มีฟองอากาศเกิดขึ้นระหว่างชงผสมกับน้ำ ทารกอาจท้องอืดได้หากกลืนฟองอากาศมากเกินไป

  • ไม่ได้ไล่ลมหลังมื้อนม  หลังจากลูกกินนมเสร็จแล้ว คุณแม่ไม่ได้จับให้ลูกเรอเพื่อไล่ลมจากกระเพาะอาหารลูก ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารลูก

  • ระบบย่อยอาหารของลูกยังทำงานได้ไม่ดี สาเหตุที่พบบ่อยของปัญหาลูกท้องอืด ก็คือการที่ระบบทางเดินอาหารของเด็กเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงยังย่อยและดูดซึมอาหารได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแลคโตสและโปรตีน ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงทำให้น้ำตาลแลคโตสและโปรตีนในนมบางส่วนไม่ถูกย่อยและถูกส่งผ่านจากลำไส้เล็กไปสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีแบคทีเรียจำนวนมากอาศัยอยู่ และแบคทีเรียเหล่านี้จะย่อยน้ำตาลแลคโตสและโปรตีนที่ตกค้างนี้ ทำให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร และเป็นสาเหตุของอาการที่ลูกท้องอืด ไม่สบายท้องต่างๆ นั่นเอง

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

การป้องกันและดูแลเมื่อลูกท้องอืด

  • ขณะให้นมลูก ควรจัดท่าทางให้ถูกต้อง หากคุณแม่ให้นมจากขวดก็ควรอุ้มลูกขึ้นมาเช่นเดียวกับท่าให้นมแม่ โดยยกศีรษะลูกให้อยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย จะทำให้น้ำนมไหลลงสู่ท้องได้ดีกว่าให้ลูกนอนดูดนม

  • ขณะป้อนนมลูก ควรยกขวดนมขึ้นเพื่อป้องกันอากาศไหลผ่านช่องว่างบริเวณจุกนม หรืออาจเอียงขวดนมขึ้น เพื่อให้อากาศลอยอยู่ที่ก้นขวด รวมทั้งปรับขนาดรูจุกนมไม่ให้ใหญ่หรือเล็กเกินไป หรือใช้ขวดนมที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันให้ลูกกลืนอากาศเข้าไปน้อยที่สุด

  • เมื่อให้ลูกดูดนมจากขวด อย่าหมุนฝาแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดลมในขวดนมได้

  • หลังมื้อนมแต่ละมื้อ ให้จับลูกไล่ลมหลังมื้อนม ซึ่งทำได้หลากหลายท่า เช่น...

    • - อุ้มลูกขึ้น ให้คางลูกพักอยู่บริเวณไหล่ของแม่ แล้วใช้มือตบหลังลูกเบาๆ

    • - จับลูกนั่งตัก โน้มตัวลูกไปด้านหน้าเล็กน้อย ใช้มือแม่โอบบริเวณคางลูกเพื่อประคองตัวลูกไว้ จากนั้นใช้มือตบหลังของลูกเบา ๆ

    • - จับลูกนอนคว่ำบนตักแม่ ให้ศีรษะลูกอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย แล้วใช้มือตบหลังของลูกเบา ๆ

  • ทามหาหิงคุ์ โดยชุบสำลีแล้วนำมาทาที่หน้าท้อง ฝ่ามือ และฝ่าเท้าของทารก ไอระเหยและฤทธิ์ความร้อนจากตัวยาที่ลูกสูดดมเข้าไป จะช่วยขับไล่ลม ให้ลูกผายลมออกมาได้

  • เด็กที่กินอาหารเสริมได้แล้ว คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะมาก เช่น ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี ถั่ว ฯลฯ

ส่วนคุณแม่ที่ให้นมลูก ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้เช่นกัน เพราะอาจส่งแก๊สผ่านน้ำนมไปสู่ลูกได้

ขวดนม จุกนมแบบไหนที่ช่วยป้องกันลูกท้องอืดได้

เพียงเลือกจุกนมและขวดนมกันลม ขวดนมป้องกันท้องอืด ที่เหมาะสมกับสรีระลูกน้อยก็สามารถช่วยลดการร้องโยเยของเด็กลงได้

ปัจจุบันมีขวดนมป้องกันท้องอืด ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการลูกท้องอืดและความรู้สึกไม่สบายท้อง โดยจะเป็นขวดนมกันลมที่ที่มีลักษณะโค้ง เมื่อลูกยกขวด น้ำนมในขวดจะไหลออกมากันอากาศเข้าไป จึงป้องกันลมที่จะเข้าสู่ท้องของลูกน้อย และจุกนมที่ออกแบบมาให้มีสัมผัสใกล้เคียงเหมือนกับเวลาที่ลูกได้ดูดนมจากเต้า เรียกกันว่าจุกนมเสมือนนมแม่ เป็นจุกนมที่มีฐานกว้าง เพราะการดื่มนมจากอกคุณแม่ ลูกจะต้องอ้าปากเพื่องับนมแม่ที่มีฐานกว้าง ระหว่างที่ดูดนมก็ต้องขยับเคลื่อนไหวกรามและลิ้นเพื่อให้น้ำนมไหลออกมา

จุกนมเสมือนนมแม่หรือจุกนมที่มีฐานกว้างจึงเลียนแบบลักษณะของการดูดนมแม่นั่นเอง อีกทั้งยังมีการออกแบบให้มีการระบายอากาศออกจากจุกนม ทำให้จุกนมมีแต่น้ำนมแม้จะถือในแนวนอน และทรงจุกนมที่ป้องกันการหดตัวของจุกนมและยังช่วยลดลูกกลืนอากาศขณะดูดนมได้

จุกนมและขวดนมแก้ท้องอืดที่ออกแบบมาพิเศษนี้ช่วยป้องกันลมเข้าท้องลูก จึงช่วยป้องกันการเกิดอาการลูกท้องอืดได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกที่ทำให้เด็กท้องอืด คุณแม่ต้องทำสิ่งอื่นๆ เช่น ไล่ลมหลังมื้อนม ให้นมลูกในท่าที่ถูกต้อง ฯลฯ รวมทั้งเลือกนมที่เหมาะกับระบบย่อยอาหารประกอบด้วย

นมสูตรย่อยง่าย ป้องกันลูกท้องอืดได้

มีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่านมสูตรย่อยง่ายที่มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน และมีน้ำตาลแลคโตสน้อยกว่านมสูตรปกติ สามารถลดอาการลูกท้องอืด ไม่สบายท้องได้ เพราะเด็กช่วงวัยขวบปีระบบการย่อยยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์นัก จึงยังย่อยโปรตีนและน้ำตาลแลคโตสได้ไม่ดี ด้วยเหตุนี้น้ำตาลแลคโตสและโปรตีนบางส่วนในนมจึงไม่ถูกย่อย แบคทีเรียจำนวนมากที่อาศัยในลำไส้ใหญ่จะย่อยน้ำตาลแลคโตสและโปรตีนที่ตกค้างนี้ ทำให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร เป็นสาเหตุให้ลูกท้องอืด เกิดอาการไม่สบายท้องนั่นเอง ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอาการไม่สบายท้อง ท้องอืด คุณแม่สามารถเลือกนมสูตรย่อยง่ายให้ลูกได้

คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการดูแลและหาวิธีป้องกันการเกิดแก๊สในทางเดินอาหารของลูก โดยใช้หลายวิธีประกอบกัน ทั้งไล่ลมหลังมื้อนม ให้นมลูกในท่าที่ถูกต้อง เลือกนมสูตรย่อยง่าย รวมทั้งเลือกจุกนมและขวดนมแก้ท้องอืด จะช่วยลดอาการลูกท้องอืดได้ค่ะ

อึไม่ออก ต้องทำยังไง พบคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่