ปัญหาทางสุขภาพสำหรับเด็กไทยอย่างหนึ่งที่พบมากในเด็กเล็ก คืออาการแพ้โปรตีนนม ซึ่งเป็นการแพ้โปรตีนนมวัว ที่มักจะเกิดกับเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่มาตั้งแต่แรกเกิด ที่อาจเนื่องมาจากปัญหาทางสุขภาพของคุณแม่จึงอาจไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้  ในเด็กที่ต้องทานนมผงดัดแปลงส่วนใหญ่ พบว่ามักเกิดอาการแพ้โปรตีนนมวัวขึ้น

ลงทะเบียน Enfa smart club วันนี้ ลุ้นรับ iPhone 11

เพราะอะไรเด็กถึงแพ้โปรตีนนมวัว

อาการแพ้โปรตีนนมวัว  เกิดจากระบบภูมิต้านทานและระบบทางเดินอาหารของเด็กยังพัฒนาไม่สมบูรณ์  จึงทำให้ไม่สามารถย่อยโปรตีนในนมวัวได้  เมื่อโปรตีนที่ถูกย่อยไม่หมดพอเข้าสู่ร่างกายของลูก  ร่างกายก็จะคิดว่าโปรตีนเป็นสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้ภูมิต้านทานในร่างกายขจัดโปรตีนนั้นออก โดยการแสดงอาการแพ้ทางระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ  และระบบทางเดินหายใจ

อาการแพ้โปรตีนนมวัวในเด็กเป็นแล้วหายหรือไม่

ส่วนใหญ่เมื่อเด็กโตขึ้น อาการแพ้โปรตีนนมวัวมักจะหายไป เพราะระบบภูมิต้านทาน และระบบทางเดินอาหารของลูกสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์  แต่อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจว่าอาการแพ้โปรตีนนมวัวของลูกจะหายขาดนะคะ เพราะหากเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การแพ้โปรตีนนมวัวเป็นเหมือนก้าวแรกของการพัฒนาไปเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ เมื่อเด็กโตขึ้น เช่น หอบหืด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือผื่นผิวหนัง เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ (เช่น ฝุ่นละออง) เป็นต้น ซึ่งจะเรียกการเกิดภูมิแพ้แบบนี้ว่า Allergic March

นมช่วยรักษาอาการแพ้โปรตีนนมวัวได้อย่างไร

สำหรับเด็กที่มีอาการแพ้โปรตีนนมวัว ควรต้องได้รับนมที่ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้และช่วยในการรักษาอาการแพ้โปรตีนนมวัวได้ อย่างนมที่มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (Extensively Hydrolyzed Protein) 

ทำไมโปรตีนขนาดเล็กจึงไม่ทำให้เกิดอาการแพ้

เพราะขนาดของโปรตีนเล็กมากจนร่างกายไม่รับรู้ว่าเป็นโปรตีนนมวัว หรือเป็นสิ่งแปลกปลอมจึงไม่ทำการขจัดออก และไม่แสดงอาการแพ้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสูตรนมโปรตีนย่อยอย่างละเอียดให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นด้วยการเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ลงในสูตรนี้ ซึ่ง LGG มีคุณสมบัติในการสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้หายจากอาการแพ้โปรตีนนมวัวได้ มีผลการศึกษาทางการแพทย์ยืนยันว่า 8 ใน 10 คน ของเด็กแพ้โปรตีนนมวัวที่ได้รับ นมที่มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด เสริม LGG สามารถกลับมารับประทานนมวัวได้อย่างปกติ ภายในระยะเวลา 12 เดือน  

อึไม่ออก ต้องทำยังไง พบคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่