เด็กคลอดก่อนกำหนด ดูแลอย่างไร คุณแม่มือใหม่จำเป็นต้องรู้!

 

เด็กคลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาที่พบบ่อยดังนี้

  • น้ำหนักตัวน้อย - เด็กคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (มักต่ำว่า 2,500 กรัม) แพทย์จะดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดเป็นพิเศษที่โรงพยาบาล และอาจจะให้อาหารทางสายยาง การให้เลี้ยงด้วยนมแม่ เพราะมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยพัฒนาระบบสมองและร่างกาย
     
  • พัฒนาการช้า - ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเด็กที่คลอดครบกำหนด แต่จะเป็นแค่ช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นพัฒนาการของลูกน้อยจะกลับเข้าสู่ปกติ การนั่ง การคลาน ก็เหมือนกับทารกทั่วไป แต่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะเดินได้ช้ากว่าเด็กทั่วไปประมาณ 2 เดือน และ 80% ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาการที่เป็นปกติเมื่ออายุครบ 2 ปี ดังนั้นคุณแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกําหนดควรดูแลสารอาหารให้ครบถ้วน ทั้งโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ นอกจากนี้เด็กคลอดก่อนกำหนดยังต้องการปริมาณพลังงานมากกว่าปกติเพื่อเสริมการเจริญเติบโต

 

การดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนด

ดังนั้น การดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนดให้พัฒนาการรุดหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการให้ได้รับโภชนาการที่มีคุณค่าอย่างครบถ้วนเพียงพอ นั่นคือการให้ลูกได้กินนมแม่ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีต่อร่างกายลูกอย่างครบถ้วน

  • การติดเชื้อ - เด็กคลอดก่อนกำหนดเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายในช่วงขวบปีแรก ทั้งนี้เนื่องจากกลไกการป้องกันการติดเชื้อยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ รวมทั้งได้รับภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเชื้อจากแม่ในระดับต่ำกว่าทารกคลอดครบกำหนด จึงต้องระมัดระวังความสะอาดเป็นพิเศษ
     
  • โลหิตจาง - เนื่องจากมีเหล็กสะสมไว้น้อยและจะถูกนำออกมาทดแทน ระดับฮีโมโกลบินที่ลดลงจากการเจริญเติบโต ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มจะมีภาวะโลหิตจางโดยธรรมชาติที่รุนแรงและยาวนานกว่าทารกคลอดครบกำหนด
     
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ - โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกเนื่องจากระบบทางเดินหายใจและปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนดหายใจมีเสียงดัง โดยเฉพาะในขณะที่นอนหลับหรืออยู่ในห้องที่เงียบสงบ มีการหายใจที่ไม่สม่ำเสมอ และอัตราการหายใจมีการเปลี่ยนแปลงมากในขณะตื่นและนอนหลับ
     
  • การมองเห็น - เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของเส้นเลือดจอประสาทตา ทำให้มีความเปราะบาง แตกง่าย เสี่ยงต่อการมีเลือดออกและเกิดแผลเป็นในจอประสาทตา เกิดการดึงรั้งหรือจอประสาทตาหลุดลอก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความบกพร่องในการมองเห็น ทารกคลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์น้อยกว่า 35-36 สัปดาห์หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม เด็กคลอดก่อนกำหนดทุกคนจะต้องได้รับการตรวจตาก่อนออกจากโรงพยาบาล และจะตรวจซ้ำในสัปดาห์ที่ 7-9
     
  • การได้ยิน – เด็กคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินสูงกว่าเด็กคลอดครบกำหนด จึงต้องได้รับการตรวจสอบการได้ยินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนออกจากโรงพยาบาล และควรได้รับการตรวจซ้ำเมื่ออายุได้ 3-6 เดือน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการสูญเสียการได้ยินจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านการพูดและภาษาได้