พัฒนาการของทารกในช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์

  • ช่วงตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มีลำตัวยาวประมาณ  6 นิ้ว  หนักประมาณ 290 กรัมเทียบได้กับมะเขือยาว

  • เซลล์ประสาทภายในสมองของทารก ขณะที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ รวมทั้งระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น ตุ่มรับรส การได้ยิน

  • ผิวหนังทั่วตัวเริ่มหนาขึ้นและแบ่งเป็นสองชั้น มีการสร้างไขมันสีขาวๆขึ้นมาปกคลุมผิวด้านนอก เพื่อช่วยลดการเสียดสีจากการที่ทารกดิ้นเคลื่อนไหวไปมาภายในครรภ์

  • ในช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ภายในช่องปากของทารก จะมีการสร้างปุ่มฟันน้ำนมและจะเจริญอยู่ใต้เหงือก และจะโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาเมื่อทารกมีอายุประมาณ 24 สัปดาห์ หรือ 6 เดือนขึ้นไป

  • เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์แล้ว ทารกในครรภ์จะมีการพัฒนาการกลืนได้มากขึ้นทุกวัน เป็นการฝึกการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และเริ่มมีการขับถ่ายเป็นครั้งแรกในช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์นี้ ซึ่งสิ่งขับถ่ายของทารกจะประกอบด้วยเซลล์ของผนังลำไส้ที่หลุดลอกตายไป รวมกับ น้ำย่อยและน้ำคร่ำต่างๆที่เจ้าตัวเล็กกลืนลงไปท้อง

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ในขณะที่คุณแม่ท้อง 20 สัปดาห์ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

  • เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ รกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และเลื่อนขึ้นด้านบนเรื่อยๆ มดลูกของคุณแม่ก็จะมีขนาดโตขึ้นในช่วงที่ท้อง 20 สัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งคุณแม่ที่มีรกเกาะต่ำเมื่ออายุครรภ์น้อยๆ บางครั้งเมื่อมดลูกโตขึ้นภาวะดังกล่าวอาจจะหายไปเองก็ได้

  • ท้องของคุณแม่จะเริ่มแอ่นไปข้างหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่มีการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป