ลูกน้อยวัยขวบครึ่ง คุณแม่คงพอจะเห็นแววกันแล้วว่าบุคลิกของเขาเป็นอย่างไร เป็นเด็กที่ค่อนข้างเงียบหรือซุกซน เด็กแต่ละคน ความสนใจที่แตกต่างกัน รูปแบบการเรียนรู้ก็ไม่เหมือนกัน บุคลิกภาพก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรเปรียบเทียบลูกเรากับลูกคนอื่น...มาดูพัฒนาการแต่ละด้านของลูกน้อยเดือนนี้กันค่ะ    

ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้

  • ลูกเรียนรู้และพัฒนาความคิด ความเข้าใจจากการสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ได้ดีมากขึ้น เช่น เขารู้ว่าโทรศัพท์คือสิ่งที่คนใช้พูดคุยกัน ไม้กวาด เอาไว้กวาดบ้าน หนังสือเอาไว้อ่าน เป็นต้น

  • แม้ว่าลูกจะยังไม่เข้าใจความหมายของเวลา พรุ่งนี้ เมื่อวานนี้ แต่เขาสามารถเข้าใจคำว่า “เดี๋ยวนี้” ได้แล้ว เช่น เมื่อคุณแม่พูดว่า “ได้เวลาอาบน้ำแล้วนะลูก” นั่นหมายว่า ต้องไปอาบน้ำเดี๋ยวนี้ เป็นต้น

  •  ยังเป็นนักสำรวจตัวน้อยอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะตามลิ้นชักต่างๆ และรู้ว่าของชิ้นไหนเป็นของใคร จากการสังเกต จดจำ รูปร่างต่างๆ ซึ่งคุณแม่สามารถส่งเสริมลูกได้ด้วยการหากล่องหยอดรูปทรงต่างๆ จิ๊กซอว์แบบง่ายๆ ที่มีชิ้นส่วน 2-3 ชิ้นมาให้ลูกเล่น

  • เริ่มเล่นบทบาทสมมติ  เช่น ป้อนข้าวให้ตุ๊กตา พาตุ๊กตาไปนอน ซึ่งนั่นหมายถึงลูกเริ่มมีจินตนาการแล้ว

  • ชอบทดสอบสิ่งของด้วยการเทเข้าเทออก  เช่น ชอบเล่นตักทรายใส่ภาชนะ ตักเสร็จแล้วก็เทออก แล้วก็ตักใส่ใหม่ ทำซ้ำๆ โดยไม่เบื่อ  

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

  • มีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่มากกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก เพราะเด็กส่วนใหญ่จะเดินได้คล่องแคล่วแล้ว และจะชอบเดินทั้งวัน บางคนอาจเดินถอยหลังได้ด้วย

  • ชอบปีนป่าย โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา ชอบทำกิจกรรมที่ท้าทายหรือสร้างความหวาดเสียวให้ผู้ใหญ่ เช่น ปีนจากเก้าอี้ขึ้นไปนั่งบนโต๊ะเครื่องแป้งของคุณแม่ เป็นต้น

  • ชอบทดสอบความสามารถของตัวเองด้วยการยกกล่องใหญ่ๆ หนักๆ แม้จะยกไม่ได้ก็ตาม

  • เริ่มกระโดดได้บ้างแล้ว แต่เป็นการกระโดดสองขาพร้อมๆ กัน และสามารถก้าวขึ้นบันไดได้เอง แต่อาจต้องมีคนช่วยจูงมืออีกข้างหนึ่ง ส่วนเวลาลงจะยังคงใช้ท่าคลานเอาก้นลงอยู่

  • การหยิบจับทำได้ดี เนื่องจากตากับมือทำงานประสานกันได้ดี สามารถเปิดหนังสือได้ทีละ 2-3 หน้า ใช้มือหมุนลูกปิดประตู และพยายามหมุนก๊อกน้ำด้วยมือข้างที่ถนัด เป็นต้น

ด้านภาษาและการสื่อสาร

  • ลูกเข้าใจคำที่จะใช้สื่อภาษามากขึ้น แม้ว่าจะเปล่งเสียงออกมาได้ไม่หมดทุกคำที่รู้จัก และพูดเป็นวลีที่มีคำ 2 คำต่อกันแต่ไม่มีตัวเชื่อมได้มากขึ้น เช่น ไปเที่ยว กินน้ำ แม่อุ้ม

  • แม้ว่าลูกวัยนี้จะเข้าใจโครงสร้างของประโยคแล้ว แต่เขาก็ต้องการรู้รายละเอียดเกี่ยวกับภาษาและใช้มันมากขึ้น เพื่อจะได้สื่อสารหรือแสดงออกซึ่งความต้องการของตนได้  คุณแม่จึงจำเป็นต้องส่งเสริมและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาภาษาและการสื่อสารให้ลูกอย่างต่อเนื่อง  โดยกระตุ้นให้ลูกพูดบ่อยๆ สอนให้เขาเรียกชื่อสิ่งนั้นทุกครั้ง หรือคอยตั้งคำถามให้ลูกได้มีโอกาสทบทวนสิ่งที่เรียนรู้มาเพื่อตอบออกมาเป็นคำพูดได้

ช่วง 2-3 ปีแรก เป็นช่วงเวลาสำคัญของพัฒนาการของเด็ก และการให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ เด็กต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อการเจริญเติบโตในทุกๆ ด้าน และนมมีบทบาทสำคัญในช่วงนี้ MFGM เป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีคุณค่าที่พบในน้ำนมแม่ มีความสำคัญต่อพัฒนาการโดยรวมของเด็ก โดยเฉพาะพัฒนาการ 3 ด้านที่สำคัญ คือ สมอง ภูมิคุ้มกัน และระบบขับถ่าย MFGM ช่วยพัฒนาทั้ง IQ และ EQ ของเด็ก รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก และลดการเจ็บป่วยของเด็กลงด้วย

MFGM

ด้านอารมณ์และสังคม

  • เริ่มแสดงความเป็นมิตรและอยากจะสื่อสารพูดคุยกับเด็กอื่นๆ บ้างแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ลูกเรียนรู้การพูดคุยกับผู้ใหญ่ในบ้านแล้วค่อยๆ ขยับมาสู่เด็กด้วยกัน  ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าที่ผ่านมาเด็กได้เล่นกับคนในบ้านหรือไม่ เพราะหากเขาไม่ค่อยเล่น ก็จะไม่กระตือรือร้นที่จะเล่นกับคนอื่น

  • ลูกจะมีความรู้สึกดีต่อตัวเองจากการที่ได้รับการยอมรับจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งเขารับรู้ได้จากการแสดงความรักและการชื่นชมนั่นเอง

  • นอกจากความสดใส ร่าเริง หัวเราะง่ายแล้ว เด็กวัยนี้ยังชอบแสดงออก หรือชอบโชว์มากทีเดียว ไม่ว่าจะ ยิ้มหวาน เต้นรำ ส่งจูบ ฯลฯ

  • อารมณ์ของลูกวัยนี้ขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างความเป็นตัวเองกับการต้องพึ่งพาคนอื่น หลายครั้งที่ลูกจะเกรี้ยวกราดเนื่องจากถูกบังคับให้ต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ หรือถูกห้ามไม่ให้ทำในสิ่งที่อยากทำ  

  • วิธีที่จะช่วยสร้างสมดุลทางอารมณ์ให้ลูกได้คือ การปลูกฝังระเบียบวินัยให้ลูกรู้ว่าเวลานี้ต้องทำอะไร เมื่อถึงเวลาลูกจะไม่ขัดขืน ให้ลูกมีโอกาสเตรียมตัวเตรียมใจ และไม่ห้ามอย่างพร่ำเพรื่อ แต่ควรห้ามเฉพาะสิ่งที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ลูกได้เท่านั้น

  • ควรเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้ที่จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น ตักข้าวกินเอง ดื่มน้ำจากถ้วยหรือแก้ว พยายามใส่เสื้อผ้าเอง หรือแปรงฟันเอง เป็นต้น

     สิ่งหนึ่งที่สำคัญพอๆ กับการพัฒนาความสามารถด้านร่างกายคือ ความรู้สึกมั่นใจในตนเองว่า “ฉันเองก็ทำได้” ฉะนั้นหน้าที่ของพ่อแม่คือ เปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง และสร้างสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อการเรียนรู้ของลูกค่ะ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราเพื่อพบเทคนิคที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้ที่นี่ คลิก