เล่นมากไป ผลเสียก็มีได้นะ

       แม้ว่าการเล่น การออกกำลังกายสำหรับเด็กวัยนี้ดีต่อสุขภาพร่างกายเขาในอนาคต แต่คุณแม่ก็ต้องดูแลให้สมดุล ไม่มากไปน้อยไปด้วย อย่าลืมว่าเด็กยังเล็กเกินกว่าจะควบคุมตัวเองให้หยุดเล่นได้ ดังนั้นคุณแม่ต้องคอยสังเกตสัญญาณต่อไปนี้ ที่จะบ่งบอกให้รู้ว่าลูกเล่นมากเกินไป หรือถูกกระตุ้นมากเกินไป จนลูกเริ่มไม่ไหวแล้ว

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air
  • สมาธิต่ำ  โดยปกติในเด็กเล็กมักจะมีสมาธิขึ้นๆ ลงๆ อยู่แล้ว แต่การกระตุ้นหรือการเล่นมากเกินไป จะทำให้ความสามารถในการจดจ่อของเด็กลดต่ำลงไปอีก

  • อยู่ไม่สุข ลูกจะกลายเป็นเด็กอยู่ไม่สุข จนกว่าคุณแม่จะป้อนการกระตุ้นเรื่องใหม่ เพราะลูกเรียนรู้ที่จะให้คุณแม่กระตุ้นความสนใจของเขาตลอดเวลา

  • หงุดหงิดงอแงง่าย  เพราะถูกกระตุ้นมากเกินไป ลูกจึงกลายเป็นเด็กขี้หงุดหงิด เหนื่อยล้าโดยไม่รู้ตัว และอาจร้องไห้งอแงขึ้นมาอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย

  • โต้ตอบช้า ถ้าได้รับการกระตุ้นมากเกินไปจนเหนื่อยล้า ลูกจะหมดความกระตือรือร้น เขาอาจกลายเป็นเด็กที่ชอบแต่จะนั่งมองเฉยๆ โดยไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบอะไรเลย

       เมื่อเห็นสัญญาณต่างๆ เหล่านี้ คุณแม่ควรจัดระเบียบกิจวัตรประจำวันของลูกเสียใหม่ ให้มีการสลับกันระหว่างการพักผ่อน การกระตุ้น (การเล่น) และการปฏิสัมพันธ์ (กับผู้คน) การจัดตารางกิจวัตรประจำวันที่ได้ผลดีที่สุดคือ จัดให้สอดคล้องกับจังหวะตามธรรมชาติของลูกจากการสังเกตลูกในแต่ละวัน เช่น ช่วงเวลาที่ลูกมักงอแงเพราะความง่วงหรือเหนื่อย หรือคุณแม่อาจจะรู้ว่าเวลากี่โมงที่ลูกจะต้องหงุดหงิดแน่ๆ ถ้าเขาไม่ได้กินของว่าง  หากคุณแม่จัดสรรกิจวัตรของลูกให้มีความสมดุล ราบรื่นและเป็นไปอย่างมีความสุข ลูกก็จะรู้สึกสนุกและมีความสุขกับกิจกรรมเหล่านั้นมากขึ้น