บีบหน้าอก ช่วยลูกกินนม

บีบหน้าอก...ช่วยลูกกินนม (เมื่อหยุดดูด)

       การบีบหน้าอกเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิด กลไกการหลั่งน้ำนมตามธรรมชาติ จุดประสงค์เพื่อให้น้ำนมยังคงไหลต่อไป ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ทารกที่มักจะผล็อยหลับไปอย่างรวดเร็วได้กินนมต่อไป อย่างต่อเนื่อง แทนที่จะดูดนมคุณแม่เฉยๆ (โดยไม่ได้กินนม)

วิธีการบีบหน้าอก

  1. อุ้มลูกน้อยด้วยแขนข้างหนึ่ง จับเต้านมด้วยมืออีกข้างหนึ่ง นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ด้านหนึ่งของเต้านม (ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ด้านบนของเต้านมจะง่ายที่สุดนะคะ) ส่วนนิ้วอื่นๆ อยู่ที่ด้านตรงกันข้าม โดยให้นิ้วมืออยู่ค่อนข้างห่างจากหัวนม

  2. เมื่อลูกเริ่มตอดหรืออมหัวนม ให้คุณแม่มือใหม่เริ่มบีบหน้าอก อย่าคลึงนิ้วตามเต้านมไปหาทารก แค่บีบเฉยๆ แต่อย่าบีบแรงจนรู้สึกเจ็บ และพยายามอย่าทำให้บริเวณเต้านมบริเวณที่ใกล้กับปากของทารกเปลี่ยนรูปร่างไป

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air
  1. จากนั้นให้คลายแรงบีบ ส่วนใหญ่ลูกมักจะหยุดดูดอย่างสิ้นเชิงเมื่อคุณแม่คลายแรงบีบ แต่จะเริ่มดูดอีกหลังจากที่น้ำนมกลับมาไหลอีกครั้ง ถ้าลูกไม่หยุดดูดตอนที่คุณแม่คลายแรงบีบ ให้รอสักครู่ก่อนจะเริ่มบีบหน้าอกอีกครั้ง (เหตุผลที่ต้องคลายแรงบีบก็เพื่อให้คุณแม่ได้พักมือบ้างค่ะ)

  2. ทำต่อเนื่องที่เต้านมข้างแรก จนกระทั่งลูกไม่กินนมอีกแล้วแม้จะบีบหน้าอกช่วย คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยอยู่ที่เต้านมข้างนั้นต่อไปอีกสักครู่หนึ่ง เพราะบางทีคุณแม่ก็อาจจะมีกลไกการหลังน้ำนมอีกครั้ง และลูกก็อาจจะกินนมโดยการดูดเองได้ แต่ถ้าลูกน้อยไม่กินนมอีกต่อไป คุณแม่ก็ควรยอมให้เขาผละออกจากหน้าอก หรือดึงเขาออกจากหน้าอกได้ค่ะ

  3. แต่หากลูกยังต้องการกินนมอีก ให้เขากินนมจากเต้านมอีกข้างหนึ่ง และทำซ้ำตามขั้นตอนข้างบน ซึ่งถ้าคุณแม่ไม่มีอาการเจ็บหัวนม คุณแม่ก็อาจจะให้ลูกกินนมสลับกลับไปกลับมาในลักษณะเช่นนี้หลายๆ ครั้งได้ และพยายามสังเกตวิธีการงับหัวนมของลูก เพื่อปรับปรุงแก้ไขการดูดนมให้ดีขึ้นค่ะ

       เมื่อการให้ลูกกินนมจากอกแม่เริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น คุณแม่มือใหม่อาจจะไม่จำเป็นต้องบีบหน้าอกนี้อีกต่อไป คุณแม่สามารถปล่อยไปตามธรรมชาติได้เลย โดยให้ลูกน้อยกินนมจากเต้านมข้างแรกให้หมดก่อน และถ้าลูกยังต้องการกินนมต่อ จึงให้เขากินนมอีกเต้าค่ะ

 

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM