หากคุณไม่ใช่คุณแม่ฟูลไทม์แล้วนั้น ในบางครั้งหลังจากกลับมาจากการทำงานคุณแม่อาจจะมีความรู้สึกว่าไม่ได้ให้ความใกล้ชิดกับลูกเท่าแต่ก่อน และไม่ทราบว่าลูกน้อยในวัย 6 เดือนนี้เริ่มมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว แต่มาต้องห่วง วันนี้เอนฟามีคำแนะนำสำหรับกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กวัยนี้กัน 

กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยวัย  6 เดือน ด้วยการเล่นและการแก้ปัญหา

เด็กน้อยในวัย 6 เดือนนี้จะเริ่มมีพัฒนาการในด้านการมองเห็น การจดจำ และการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น คุณแม่สามารถที่จะส่งเสริมความสามารถารแก้ปัญหาของลูกน้อยวัยนี้ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้ลูกน้อยมีความสามารถและพัฒนาการในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ยิ่งขึ้น ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้ด้วยวิธีต่างๆเหล่านี้ 

  • หลอกล่อลูกให้จับ คุณแม่สามารถใช้วิธีนำของเล่นมาหลอกล่อให้ลูกน้อยขึ้นมาจับ โดยการวางไว้ข้างหน้าหรือนำของเล่นออกจากมือลูก เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยยืดตนเองเพื่อจะมาจับของเล่นนี้และฝึกให้ลูกแก้ปัญหาโดยการหาทางมาหยิบของเล่น 

  • เล่นจ๊ะเอ๋ กิจกรรมง่ายๆที่คุณแม่นำมือมาบังหน้าตนเองเพื่อหลบลูกน้อย ลูกน้อยจะคิดว่าคุณแม่หายไปไหนกันนะและมองหา การจ๊ะเอ๋จะไปกระตุ้นสมองและพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ 

  • ซ่อนหากระดิ่ง คุณแม่ทดลองเล่นซ่อนหากระดิ่งเพื่อให้ลูกน้อยตามหากระดิ่งนั้นตามเสียง การเล่นซ่อนหาแบบนี้จะช่วยให้ลูกคิดอย่างมีตรรกะ ฝึกการสังเกต เรียนรู้และจดจำ รวมถึงฝึกการฟังด้วย 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

กระตุ้นร่างกายและพัฒนาการประสาทสัมผัสของลูกน้อยวัย 6 เดือนด้วย Playmat 

 

Infant development is not only through food.  Environment and activities in each

 

ลูกน้อยวัย 6 เดือนนั้นจะเริ่มมีพัฒนาการในด้านประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว ซึ่งสำหรับเด็กวัยนี้นั้นการนำของเล่นเข้ามาช่วยกระตุ้นพัฒนาการถือเป็นสิ่งที่ดี ยกตัวอย่างเช่น 

  • ลูกได้เรียนรู้สัมผัสที่แตกต่าง ด้วยลักษณะเนื้อผ้าที่หลากหลายที่นำมาใช้ประกอบ Playmat ทำให้เด็กได้เรียนรู้ผิวสัมผัสที่แตกต่างออกไป

  • ลูกได้มีพัฒนาการในการใช้มือและประสาทหู ไม่ว่าจะเป็นการบีบ ขยำ หรือกดแล้วมีเสียงดนตรี

  • ช่วยให้ลูกน้อยได้รู้จักหน้าตาของตัวเอง เพราะเขาได้ดูหน้าตัวเองจากการกระจกที่ติดมากับ Playmat

  • ลูกได้เรียนรู้เรื่องสีสันและการมอง ด้วยรูปแบบของ Playmat ที่ต้องใช้วัสดุที่มีสีสันสดใส เพื่อกระตุ้นการมองของเด็กนั่นเอง

ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนารูปแบบของเล่นเสริมพัฒนาการทารกวัย 6 เดือน อย่าง Playmat เพื่อเสริมพัฒนาการหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบผ้าผืนเรียบๆ หรือผสมโมบายตุ๊กตา เพื่อให้เด็กได้สนุก เพลิดเพลินกับการคว้าจับ ได้ใช้มือประสานสายตา ได้ฟังเสียง ได้ออกกำลังกล้ามเนื้อแขนขา นิ้ว ได้รับรู้ผิวสัมผัสที่แตกต่างของเนื้อผ้า เรียกว่าได้พัฒนาประสาทสัมผัสรอบด้าน เพื่อให้คุณแม่มีตัวเลือกที่หลากหลายในการเสริมสร้างพัฒนาการทารกวัย 6 เดือนด้วย โดยหลักในการเลือก Playmat คือต้องดูว่า ไม่มีส่วนประกอบของของเล่นชิ้นเล็กๆ ที่เสี่ยงต่อการแตก ฉีก ขาด และหลุดออกมาให้เด็กกลืนกินได้ ไม่มีสิ่งที่มีความแหลมคม และทำจากวัสดุปลอดสารพิษค่ะ

 

Children from 6 months develop rapidly.  Easily stimulated to emotional and social stimuli.

 

MFGM is an essential nutrient found in breast milk and MFGM fortified milk.

การกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
พูดคุยสื่อภาษา พัฒนาการสื่อสาร

 

แม้ว่าเจ้าตัวเล็กของคุณแม่จะยังพูดจาสื่อสารไม่ได้ แต่เชื่อไหมคะว่า สมองของเด็กวัย 6 เดือน มีความสามารถที่จะจดจำและรับรู้ในสิ่งต่างๆ ที่คุณแม่พูดด้วยได้เป็นอย่างดี และจะแสดงในสิ่งที่จำได้ให้คุณแม่ได้รู้เมื่อลูกเติบโตขึ้น มีการศึกษาพบว่า เวลาที่คุณแม่ยื่นหน้าเข้าไปใกล้ลูกน้อยและพูดคุยด้วยคำพูดสั้นๆ จะทำให้หัวใจของเด็กเต้นเร็วขึ้น และการพูดคุยของคุณแม่นี้เองจะทำให้สมองของเจ้าตัวเล็กเกิดการสร้างเส้นใยประสาท เพื่อตอบสนองการพูดจาสื่อสารนั้น คุณแม่จึงควร...

  • พูดคุยกับลูกบ่อยๆ คุณแม่ที่พูดกับลูกบ่อยๆ จะช่วยเสริมพัฒนาการทางภาษาของลูกในช่วงวัยต้นของชีวิตได้มาก จากการวิจัยพบว่าครอบครัวที่พูดคุยกับเด็กให้ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ เด็กอาจจะมีโอกาสได้รับรู้จำนวนของเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ถึง 13 ล้านคำ แต่ครอบครัวที่ไม่ได้พูดคุยกับลูกจะมีจำนวนของเสียงน้อยกว่ากลุ่มแรกประมาณ 8 ล้านคำ หรือน้อยกว่า 62% ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่การพูดคุย แต่ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้คุณแม่กระตุ้นพัฒนาการทารกวัย 6 เดือนได้เช่นกันค่ะ

  • พูดคุยออกท่าทาง การที่คุณแม่พูดโต้ตอบกับลูกด้วยน้ำเสียงที่น่าสนใจ การแสดงสีหน้า หรือท่าทางกับเขา จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ถึงการอ่านสีหน้า ท่าทางได้อย่างเข้าใจ ซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะภาษาและช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทารกวัย 6 เดือนที่ดีอย่างหนึ่ง แต่ถ้าปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว เมื่อโตขึ้นเด็กก็ดูแต่ทีวี หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการสื่อสารในด้านเดียว ก็จะกลายเป็นผลเสียต่อการพัฒนาภาษาและสติปัญญาของลูกในภายหลังได้

 

Children from 6 months develop rapidly.  Easily stimulated to emotional and social stimuli.

 

การกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
เคล็ดลับเรียกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจากลูกน้อย

 

อารมณ์ขันและเสียงหัวเราะมีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางอารมณ์ด้านบวกของลูกเป็นอย่างมาก คุณแม่สามารถเรียกเสียงหัวเราะของลูกได้โดย

  • เล่นจั๊กจี้ เด็กทารกวัย 6 เดือน มักจะชอบกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายส่วนลำตัว ซึ่งจะกระตุ้นอารมณ์ขันและเสียงหัวเราะของเด็กวัยนี้ เช่น การเล่นจั๊กจี้ที่รักแร้หรือข้างเอว จะทำให้ลูกบิดตัวไปมาด้วยเสียงหัวเราะค่ะ

  • หัวเราะให้ลูกเห็น อารมณ์ขันจะตลกที่สุดเมื่อมันเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้พยายามประดิษฐ์หรือแกล้งทำ คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าเวลาที่รู้สึกผ่อนคลายจะพบว่าเสียงหัวเราะมักเกิดขึ้นได้เองง่ายๆ โดยไม่ต้องพยายาม คุณแม่กับลูกมักจะมีเรื่องให้หัวเราะได้มากมาย เพราะลูกจะคิดว่านั่นแม่หัวเราะอีกแล้ว เมื่อลูกเห็นแม่หัวเราะ เขาก็จะหัวเราะด้วย ลูกน้อยชอบอารมณ์ขันที่แสดงออกง่ายๆ อย่างชัดเจน ไม่ซับซ้อน

  • ทำท่าทางตลกให้ลูกดู เด็กเล็กจะชอบและมีอารมณืกับท่าทางหรือการแสดงตลกๆ เพียงแค่ทำหน้าตาตบกหรือแปลกก็จะหัวเราะแล้ว ลูกน้อยจะรู้สึกมีความสุข ผ่อนคลายและยังเป็นการช่วยให้สายสัมพันธ์ครอบครัวแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วย อีกทั้งยังเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของลูกน้อยด้วยนั่นเอง 

คุณแม่สามารถเช็คพัฒนาการของลูกน้อยได้ง่ายๆเพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน  A+ Genius baby แอพที่เต็มไปด้วยความรู้และบทความเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้พัมนาของเด็ก ดาวน์โหลดฟรีได้แล้ววันนี้ที่ Google play และ App store !  

Unlock the MFGM secret code, a vital nutrient found in breast milk.  Which will help promote brain development  And strengthen his immune system