สัปดาห์ที่ 8 คำแนะนำ
* ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเล่นรอบๆ บ้าน รอบสวนสาธารณะแถวบ้านวันละ 30 นาที การออกกำลังกายส่งผลดีต่อตัวคุณแม่ ที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ลูกในครรภ์เริ่มรู้สึกและรับรู้ถึงการสัมผัสแล้ว ขณะที่คุณแม่เคลื่อนไหว ผิวหนังของลูกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก ซึ่งการสัมผัสนี้จะช่วยพัฒนาเส้นใยสมองส่วนรับความรู้สึกของลูกให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ช่วยให้ลูกได้พัฒนาประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว เพราะลูกต้องเคลื่อนไหว เอนตัวไปตามการจังหวะเคลื่อนไหวของคุณแม่ และจัดให้ร่างกายตนเองอยู่ในท้องได้อย่างสมดุล
* เขียนบันทึกความประทับใจช่วงตั้งครรภ์ไว้อ่านให้ลูกฟัง ช่วงตั้งครรภ์จะมีเรื่องราวความประทับใจมากมายเกิดขึ้น คุณแม่ควรเขียนบันทึกความประทับใจแต่ละช่วงไว้ แล้วนำมาอ่านให้ลูกในครรภ์ฟังในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารของลูก
* ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่เครียด พูดคุยปรึกษากับคนใกล้ตัวในเรื่องที่ทำให้กังวล การตั้งครรภ์อาจทำให้คุณแม่เครียดได้ การพูดคุยปรึกษากับคนใกล้ตัวในเรื่องที่ทำให้กังวล จะช่วยให้คุณแม่คลายความกังวลได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อลูกในครรภ์ด้วย
* ดื่มนมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ วันละ 2 แก้ว อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมสมองลูกให้พร้อมต่อการเรียนรู้ เพราะช่วงตั้งครรภ์คือต้นทางของการเป็นอัจฉริยะของลูกน้อย คุณแม่ควรดื่มนมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ เช่น นมเอนฟามาม่า เพราะมีสารอาหารสำคัญ เช่น ดีเอชเอ (มีสูงถึง 50 มก.ต่อแก้ว) โฟเลต โคลีน ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองลูกในครรภ์ และเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านการเรียนรู้

 

สัปดาห์ที่ 9 คำแนะนำ
* รับแดดอ่อนๆ ตอนเช้า เพราะแดดอ่อนๆ อุดมด้วยวิตามินดีที่จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปสร้างกระดูกและฟันให้ลูกน้อย และยังทำให้คุณแม่รู้สึกสดชื่น ปลอดโปร่งด้วย
* บันทึกสิ่งที่ต้องทำก่อนคลอด บันทึกสิ่งที่ต้องทำก่อนคลอดและลงมือทำเลย เพราะหลังจากนี้ท้องจะโตจนทำอะไรไม่สะดวกและเมื่อคลอดแล้ว เวลาของคุณแม่จะหมดไปกับการดูแลลูก
* ถ่ายภาพท้องของตนเอง การตั้งครรภ์ถือเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าของคุณแม่ จึงควรถ่ายภาพความเปลี่ยนแปลงของท้องในแต่ละช่วงจนกระทั่งคลอดเก็บไว้
* งดการร่วมเพศ แม้การร่วมเพศระหว่างตั้งครรภ์สามารถทำได้ แต่ในช่วง 3 เดือนแรก ควรงดไว้ก่อน เพราะอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ และเสี่ยงต่อการแท้งได้ 

 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

 

สัปดาห์ที่ 10 คำแนะนำ
* เน้นการกินปลา คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการกินปลา เพราะโปรตีนในปลาย่อยง่าย อีกทั้งในปลา DHA ที่ได้ชื่อว่าเป็นสารอาหารของสมอง เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์สมองและจอประสาทตานั่นเอง
* หลีกเลี่ยงการเดินทางไกล ในช่วง 3 เดือนแรก ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกล เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายและจิตใจของคุณแม่ยังไม่ปกติ และเสี่ยงต่อการแท้งได้ง่ายส่วนการเดินทางไกลในช่วงไตรมาสที่ 2 (คือ เดือนที่ 4-6) นับว่าเป็นระยะที่ปลอดภัยที่สุด
* ออกกำลังกายเบาๆ เหยียดร่างกาย ยืดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเบาๆ เช่น การยกดัมเบลขนาดเบาหรือขวดน้ำดื่มขนาด 500 ml. ขึ้น-ลงเหนือศีรษะ ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของลูกในท้อง เพราะลูกจะเอนเอียงตัวไปตามจังหวะการเคลื่อนไหว ซึ่งช่วยพัฒนาเซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว หากมีการกระตุ้นพัฒนาการด้วยการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของลูกจะทำงานได้ดีหลังคลอด
* หยุดการฉีดโบท็อกซ์ ช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องหยุดฉีดโบท็อกซ์ เพราะสารพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียที่นำมาใช้เป็นอันตรายต่อลูกหากได้รับในปริมาณมากพอ และหากฉีดเข้าสู่กระแสเลือดก็อาจจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ จึงมีการห้ามฉีดโบท็อกในแม่ตั้งครรภ์และให้นมลูก

 

สัปดาห์ที่ 11 คำแนะนำ
* พักผ่อน นอนหลับให้มากขึ้น ช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรหาโอกาสนอนพักวันละ 1-2 ชั่วโมง เช่น นั่งเอนหลังหาเก้าอี้มารองยกเท้าให้สูงเท่าระดับสะโพก ถ้าไม่มีโอกาสนอนกลางวัน กลางคืนควรนอนให้ได้ครบ 8 ชั่วโมง เพราะการพักผ่อนน้อยจะส่งผลสุขภาพคุณแม่และลูกในครรภ์
* ระหว่างวันจิบน้ำบ่อยๆ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก เพราะร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น ต้องพยายามหายใจให้เต็มปอดมากกว่าเดิม โดยหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกช้าๆ 5 รอบ ติดกัน จะช่วยทำให้รู้สึกคลายความอึดอัด และหายใจได้เต็มอิ่มขึ้น
* ฝึกการหายใจ คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับการรับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ เพราะร่างกายต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น เพราะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นอีก 25% เพื่อใช้ในการหมุนเวียนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปสู่ลูก และเพื่อเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางหลังคลอด จากการเสียเลือดจากการคลอดด้วย คุณแม่จึงต้องปรึกษาคุณหมอถึงภาวะธาตุเหล็กของคุณแม่ว่าต้องได้รับธาตุเหล็กเม็ดเสริม หรือรับจากอาหารก็เพียงพอแล้ว
* ทำกิจกรรมที่ทำให้อารมณ์ดี เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ช่วงนี้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายคุณแม่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย การทำกิจกรรมที่ทำให้แม่อารมณ์ดี เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ จะช่วยคลายเครียดได้

 

สัปดาห์ที่ 12 คำแนะนำ
* ซื้อหมอนรองท้อง พยุงครรภ์มาใช้ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องโตขึ้น คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดและปวดหลังเวลานอน การมีหมอนรองท้อง พยุงครรภ์ และหนุนเข่า จะช่วยผ่อนน้ำหนักท้องได้ เพื่อความคุ้มค่าและคุ้นเคยคุณแม่สามารถซื้อมาใช้ได้ตั้งแต่ตอนนี้
* เลือกรองเท้าที่เหมาะสม รองเท้าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแม่ตั้งครรภ์ คือ รองเท้าส้นเตี้ยหนาประมาณ 1 นิ้ว น้ำหนักเบา พื้นเบา นุ่ม รองรับแรงกระแทกได้ สวมใส่สบายเท้า ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง ส่วนรองเท้าพื้นบางจะรับน้ำหนักส้นเท้าและฝ่าเท้าได้ไม่ดี ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณฝ่าเท้า และปวดเมื่อยได้ง่าย
* กินช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด การกินอาหารช้าๆเคี้ยวให้ละเอียด นอกจากจะช่วยให้คุณแม่ซึมซับรสชาติอาหารแล้ว ยังดีต่อระบบขับถ่ายด้วย
* หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม อาหารรสเค็ม จะทำให้ร่างกายได้รับเกลือมากเกินไป เสี่ยงที่จะเกิดอาการบวม และความดันโลหิตสูงได้ง่าย ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ และยังทำให้ไตของคุณแม่ต้องทำงานหนักเพื่อขับเกลือออกจากร่างกายด้วย