เลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

          • ทำความรู้จักกับระบบย่อยอาหารของเด็กทารก
          • อวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหารของเด็กทารก
          • อวัยวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระบบย่อยอาหารของเด็กทารก
          • ความแตกต่างระบบย่อยอาหารระหว่างเด็กทารกกับผู้ใหญ่
          • ปัญหาระบบขับถ่าย และอาการไม่สบายท้องของลูกน้อยที่พบบ่อย
          • ปัญหาอาการไม่สบายท้องของลูกน้อย
          • สาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้ งอแง หรือนอนไม่หลับ
          • อาการที่ทำให้ลูกไม่สบายท้อง
          • อุจจาระทารก เรื่องขี้ ๆ ที่ไม่ขี้ ๆ
          • สีอุจจาระทารกแบบไหน บอกอะไรเราได้บ้าง
          • เด็กทารกจะถ่ายอุจจาระบ่อยขนาดไหน
          • ลูกไม่ถ่าย หมายความว่า “ท้องผูก” หรือไม่
          • ลูกน้อยอาเจียน หรือแหวะนมกันแน่นะ
          • แบบไหนที่เรียกว่า “แพ้โปรตีนนมวัว”
          • แบบไหนที่เรียกว่า “แพ้น้ำตาลแลคโตส”
          • รับมือกับอาการลูกไม่สบายท้อง หรือแพ้อาหารอย่างไร และเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

สำหรับคุณแม่แล้ว ปัญหาสุขภาพของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่อยากจะให้เกิดกับลูกสักเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาแบบใดก็ตาม แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้ว นับว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายยังทำงานไม่ได้เต็มที่ และยังคงต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต

ปัญหาสุขภาพของลูกน้อยที่คุณแม่มักจะพบบ่อย ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้น เรื่องของการย่อย ไม่ว่าจะเป็น ลูกไม่ถ่าย ลูกท้องอืด ลูกท้องเฟ้อ จนไปถึงลูกแพ้โปรตีนนมวัว หรือแพ้แลคโตส ซึ่งคุณแม่สามารถพบปัญหาเหล่านี้ได้ ตั้งแต่ลูกน้อยเกิดจนโต

ทำความรู้จักกับระบบย่อยอาหารของเด็กทารก


ก่อนที่เราจะพูดถึงปัญหาการย่อยของเด็ก ๆ ก็ต้องทำความรู้จักกับระบบย่อยอาหารกันก่อน ระบบย่อยอาหารที่เรารู้จักกัน มีหน้าที่หลักในการลำเลียงอาหารต่าง ๆ ที่ลูกน้อยกินเข้าไป ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนไปถึงระบบขับถ่าย ที่มีอวัยวะอย่างลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ เป็นตัวช่วย

นอกจากนี้ ยังมีอวัยวะอื่น ๆ ที่มีบทบาทหน้าที่ในระบบย่อยอาหารเช่นกัน อาทิ ตับอ่อน ถุงน้ำดี และตับ เป็นต้น หลายคนอาจจะเข้าใจว่าระบบย่อยอาหารของเด็กทารกเริ่มทำงานตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่ที่จริงแล้ว ระบบย่อยของเด็กทารกในช่วงเวลาที่อยู่ในครรภ์ แทบจะไม่ได้ใช้เลย เนื่องจากทารกจะได้รับสารอาหารต่าง ๆ และขับถ่ายของเสียผ่านทางสายรกเท่านั้น

ระบบย่อยอาหารของเด็กทารกจะเริ่มทำงานครั้งแรกหลังจากลืมตาดูโลก และเมื่อลูกเริ่มกินนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารหลักมื้อแรก อวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหารก็จะเริ่มเร่งเครื่องทำงาน ถึงแม้อาจจะยังทำงานไม่ได้เต็มที่มากนัก เพราะยังคงต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโตตามวัย

อาหารมื้อแรกอย่างนมแม่ ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่ให้พลังงานกับร่างกายของลูกน้อย และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารของเด็กทารกเริ่มทำงานเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้ม และสุขภาพของลูกน้อยอีกด้วย

อวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหารของเด็กทารก


ถึงแม้ว่าอวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหารของเด็กทารก อาจจะยังทำงานไม่ได้เต็มที่ แต่หน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหารก็ไม่ได้ทำงานแตกต่างจากเด็กโต หรือผู้ใหญ่มากนัก โดยอวัยวะในระบบย่อยอาหารของเด็กทารก มีดังนี้

 

1. ปาก

อวัยวะแรกที่เด็กทารกใช้ในการรับอาหารต่าง ๆ โดยตลอด 6 เดือนแรกนั้น จะรับสารอาหารอย่างนมแม่ เพียงแค่อย่างเดียว โดยเด็กทารกจะอาศัยกราม และลิ้นในการช่วยดูดนมจากเต้านม หรือขวดนม เมื่อดูดนมได้แล้ว ก็จะใช้ลิ้นดันของเหลวกลืนลงลำคอ ผ่านคอหอย และไหลเข้าไปในหลอดอาหาร โดยมีฝาปิดกล่องเสียงทำหน้าที่ปิดกั้น ไม่ให้อาหารตกลงไปในหลอดลม

เมื่อเด็กทารกอายุครบ 3 เดือน ต่อมน้ำลายก็จะเริ่มทำงานอย่างเต็มที่ และจะผลิตเอนไซม์อย่าง “อะไมเลส” เอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล ซึ่งนี่ถือเป็นกระบวนการในการย่อยอาหารแรก ๆ

2. คอหอย

คอหอยเป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร รวมทั้งระบบทางเดินหายใจ ตั้งอยู่หลังปาก และโพรงจมูก โดยต่อกับหลอดอาหาร เมื่อลูกน้อยกลืนอาหารผ่านคอหอย อวัยวะอื่น ๆ ในบริเวณนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

           • เพดานอ่อนจะถูกยกขึ้นไปปิดช่องจมูก เพื่อไม่ให้อาหารหลุดเข้าไปในช่องจมูก และไม่ให้เกิดอาการสำลัก
           • เส้นเสียงจะถูกดึงมาให้ชิดกัน รวมทั้งฝาปิดกล่องเสียงจะเคลื่อนที่มาปิดหลอดลมเอาไว้ ไม่ให้อาหารหลุดเข้าหลอดลม
           • กล่องเสียงจะถูกยกขึ้น เพื่อเปิดทางให้กับช่องคอ
           • กล้ามเนื้อบริเวณคอหอยจะหดตัว เพื่อให้อาหารได้เคลื่อนที่ไปยังหลอดอาหาร

3. หลอดอาหาร

หลังจากที่กลืนอาหารเข้าไปแล้ว ก็จะไหลลงอวัยวะอย่างหลอดอาหาร ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวลงมา มีหน้าที่ในการลำเลียงอาหารไปยังกระเพาะอาหาร และยังมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้อาหารในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาอีกด้วย โดยจะมีหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ซึ่งอยู่บริเวณด้านล่างของหลอดอาหาร ทำหน้าที่เป็นประตูอีกบาน กันอาหารจากกระเพาะไม่ให้ย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร

สำหรับในเด็กทารก หูรูดหลอดอาหารส่วนร่าง จะยังทำงานไม่เต็มที่จนกว่าเด็กจะมีอายุ 1 ขวบ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กทารกหลายคนมีอาการกรดไหลย้อน และจะกลับมาเป็นปกติ เมื่อหูรูดหลอดอาหารส่วนร่างทำงานได้เต็มที่ ในช่วงอายุ 1 ขวบ

4. กระเพาะ

กระเพาะอาหารจะรับช่วงต่อ หลังจากได้ที่อาหารผ่านหลอดอาหารลงมายังสู่กระเพาะแล้ว โดยอวัยวะนี้ จะมีหน้าที่ย่อยอาหารที่ร่างกายได้รับ ในกระเพาะจะประกอบไปด้วยเอนไซม์ และน้ำย่อย สำหรับย่อยอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น กรดไฮโดรคลอริก

เนื่องจากกรดในกระเพาะมีความเป็นกรดสูง กระเพาะจึงต้องสร้างเมือกมาเคลือบผนังกระเพาะอาหารไว้ เพื่อรักษาความเป็นกรด – ด่าง ไม่ให้มาทำลาย หรือย่อยผนังกระเพาะอาหารได้ สภาพแวดล้อมที่เป็นกรดในกระเพาะนี้ จะทำกระตุ้นให้เอนไซม์ต่าง ๆ ในกระเพาะทำการย่อยอาหาร และเมื่ออาหารถูกย่อยเรียบร้อย ก็จะส่งหน้าที่ต่อให้ลำไส้เล็ก

5. ลำไส้เล็ก

อาหารที่ย่อยจากกระเพาะ จะเดินทางต่อมายังลำไส้เล็ก ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อ ขดอยู่ในช่องท้อง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ดูโอดีนีม (Duodenum) จิจูนัม (Jejunum) และไอเลียม (Ileum) โดยลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อย และดูดซึมสารอาหารอย่าง คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน รวมทั้งวิตามิน และแร่ธาตุ

ในลำไส้เล็กจะมีน้ำย่อย และเอนไซม์ ซึ่งจะแบ่งหน้าที่กันย่อยอาหารแต่ชนิดแยกกันไป อาทิ อะไมเลส จะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาล ไลเปส จะย่อยไขมันออกเป็นสองส่วนสำคัญอย่าง กลีเซอรอล และกรดไขมัน รวมทั้ง โปรติเอส ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนให้เป็นกรกอะมิโน เป็นต้น

สารอาหารที่ได้จากการย่อยในลำไส้เล็ก จะถูกกักเก็บและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และส่วนที่เหลือจะเคลื่อนที่เข้าไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อรอการขับถ่ายออกจากร่างกาย

6. ลำไส้ใหญ่

เมื่ออาหารที่เด็กทารกกินเข้าไป ผ่านการย่อยทั้งหมดแล้ว ส่วนที่เหลือจากการย่อย เช่น กากอาหาร หรือของเสีย จะถูกส่งต่อมายังลำไส้ใหญ่ ก่อนจะขับถ่ายออกจากร่างกาย ลำไส้ใหญ่มีลักษณะเป็นท่อ ขนาดยาวประมาณ 6 ฟุต เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก และลำไส้ตรง

สำหรับลำไส้ใหญ่ จะไม่มีการย่อยอาหาร แต่จะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำ หรือของเหลวออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารจากอาหารย่อยนั้น เปลี่ยนสภาพจากของเหลวเป็นของแข็ง ซึ่งในที่นี้คือ อุจจาระ และเมื่อดูดซึมน้ำออกไปหมดแล้ว อุจจาระก็จะถูกเก็บพักไว้ เพื่อรอการขับถ่ายออกมา

7. ลำไส้ตรง และทวารหนัก

ด่านสุดท้ายของระบบย่อยอาหาร คือ ลำไส้ตรงตรง และทวารหนัก ลำไส้ตรงมีความยาวประมาณ 6 นิ้ว อยู่ท้ายสุดของลำไส้ใหญ่ โดยเชื่อมต่อกับทวารหนัก หน้าที่โดยหลักของลำไส้ตรง มีหน้าที่กักเก็บของเสีย จากระบบย่อยอาหาร

สำหรับช่องทวารหนัก เป็นช่องแคบ ๆ ยาวประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร เชื่อมต่อจากลำไส้ตรง ทำหน้าที่เป็นช่องทางการขับถ่ายอุจจาระออกจากร่างกาย ทวารหนักประกอบด้วยกล้ามเนื้อหูรูด 2 ส่วน ได้แก่ กล้ามเนื้อหูรูดภายใน และกล้ามเนื้อหูรูดภายนอก โดยทั้ง 2 ส่วนนี้ จะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของอุจจาระ เมื่อร่างกายต้องการขับถ่าย หูรูดเหล่านี้จะทำการคลาย หรือหย่อน เพื่อให้อุจจาระผ่านออกมาได้

อวัยวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระบบย่อยอาหารของเด็กทารก


นอกจากอวัยวะที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีอวัยวะอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนช่วยในระบบย่อยอาหารอีกด้วย ได้แก่

          • ถุงน้ำดี: ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะขนาดเล็ก อยู่ใต้ตับ ทำหน้าที่กักเก็บน้ำดี ที่ผลิตจากตับ สำหรับใช้ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก
          • ตับ: อวัยวะขนาดใหญ่ในร่างกาย มีหน้าที่สร้างน้ำดี ทำลายสารพิษ เผาผลาญสารอาหารอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต รวมทั้งไขมัน ตับจะคัดกรองสารอาหารที่ดูดซึมผ่านลำไส้เล็ก เปลี่ยนให้เป็นสารเคมีที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้
          • ตับอ่อน: ตับอ่อนทำหน้าที่สร้าง และขับน้ำย่อยอาหาร รวมทั้งสร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน

แล้วระบบย่อยอาหารของเด็กทารก ต่างจากระบบย่อยอาหารของผู้ใหญ่มากขนาดไหน


ถึงแม้ว่าระบบย่อยอาหารของเด็กทารก จะเหมือนกับระบบย่อยอาหารของผู้ใหญ่ แต่ก็มีความแตกต่างอยู่บ้าง เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กทารกยังทำงานไม่ได้เต็มที่ และยังต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต โดยมีความแตกต่างระหว่างกัน ดังนี้

อวัยวะ

เด็กทารก

ผู้ใหญ่

ปาก

 

- ลิ้นของเด็กทารกจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า เมื่อเทียบกับความสมส่วนของช่องปาก นอกจากนี้ยั้งมีชั้นไขมันพิเศษบนกระพุ้งแก้ม เพื่อช่วยในการดูดนม

- เอนไซม์อะไมเลส จะยังไม่ทำงานจนกว่าเด็กทารกจะมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป

 

- ลิ้นของผู้ใหญ่จะมีขนาดที่พอดี และสมส่วนกับช่องปาก

- เอนไซม์อะไมเลส ทำในงานปกติ

หลอดอาหาร

 

- เด็กแรกเกิดจะมีหลอดอาหารที่สั้นกว่าผู้ใหญ่ โดยมีความยาวประมาณ 4 ½ นิ้ว  

- หูรูดหลอดอาหารส่วนร่าง จะยังทำงานไม่เต็มที่จนกว่าเด็กจะมีอายุ 1 ขวบ

 

- สำหรับผู้ใหญ่ หลอดอาหารจะมีความยาวประมาณ 9 ½ นิ้ว

 

กระเพาะ

 

 

- กระเพาะอาหารของเด็กทารกแรกเกิด สามารถกักเก็บของเหลวได้ประมาณ 20 มิลลิลิตร

- ค่า pH ของกระเพาะในเด็กแรกเกิด จะมีค่าอยู่ในระดับ 7 หรือมีความเป็นกลาง และจะเริ่มลดค่าลงเหลือประมาณ 3 – 3.5 ภายหลังการคลอด 24 ชั่วโมง

- สำหรับเด็กทารก เอนไซม์ไลเปส ที่มีส่วนช่วยในการย่อยไขมัน จะทำงานในกระเพาะอาหาร

 

- กระเพาะอาหารของผู้ใหญ่สามารถกักเก็บของเหลวได้ประมาณ 73 มิลลิลิตร ในขณะที่ท้องว่าง

- ค่า pH ของกระเพาะในผู้ใหญ่ จะอยู่ในระดับ 1 – 2.3 หรือมีความเป็นกรด

- ต่างกันในผู้ใหญ่ สำหรับเอนไซม์ไลเปส จะทำงานในลำไส้เล็กมากกว่าในกระเพาะ

ลำไส้เล็ก

 

- ลำไส้เล็กของเด็กทารก จะมีขนาดยาวประมาณ 100 – 120 นิ้ว

 

- ลำไส้เล็กของเด็กแรกเกิด สามารถดูดซึมสารอาหารที่โมเลกุลขนาดใหญ่ อย่าง โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ได้ง่าย และเร็วกว่า เนื่องจากร่างกายของเด็กแรกเกิด ต้องการสารอาหารสำคัญจากนมแม่ เพื่อนำไปพัฒนาระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย

 

- เนื่องจากตับของเด็กทารกยังทำงานไม่ได้เต็มที่ ทำให้การผลิตเกลือน้ำดีมีปริมาณที่ต่ำ ส่งผลให้ลำไส้เล็กสามารถดูดซึมน้ำดีกลับจากเลือดได้ ซึ่งลำไส้เล็กจะทำหน้าที่นี้ทดแทน จนกว่าตับจะสามารถผลิตเกลือน้ำดีได้มาในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ

 

- เด็กทารกสามารถผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสารอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรตได้มากกว่าผู้ใหญ่

 

- สำหรับผู้ใหญ่ จะมีลำไส้เล็กยาวประมาณ 264 นิ้ว

- ในลำไส้เล็กของผู้ใหญ่ การดูดซึมสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ จะทำได้ช้ากว่าในเด็กแรกเกิด

- ตับสามารถผลิตเกลือน้ำดีได้ปกติ โดยไม่ต้องพึ่งพาลำไส้เล็กดูดซึมน้ำดีกลับจากเลือด

ลำไส้ใหญ่

 

- สำหรับเด็กทารก ลำไส้ใหญ่จะสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากกว่าในผู้ใหญ่ เพื่อชดเชยการทำงานของลำไส้เล็ก ที่สามารถดูดสารอาหารได้จำกัด เนื่องจากยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่

 

- ลำไส้ใหญ่ของผู้ใหญ่ จะไม่ค่อยดูดซึมสารอาหารสักเท่าไหร่ แต่จะดูดซึมน้ำออกจากอาหารที่ผ่านการย่อยก่อนหน้าแล้ว

 

นอกจากอวัยวะบางส่วนที่กล่าวไปข้างต้น จะมีความแตกต่างในการทำงานแล้ว อุจจาระของเด็กทารก กับผู้ใหญ่ก็มีความแตกต่างเช่นกัน ในเด็กทารกจะมีการถ่ายอุจจาระที่เรียกว่า “ขี้เทา” ซึ่งอุจจาระลักษณะนี้จะเกิดขึ้น หลังเด็กทารกคลอดประมาณ 1 – 3 วันแรก

ในช่วง 6 เดือนแรก อุจจาระของเด็กทารก จะมีความนิ่มมากกว่าของผู้ใหญ่ เนื่องจากอาหารที่เด็กทารกกินเข้าไปนั้น มีเพียงน้ำนมแม่อย่างเดียว และเมื่อเด็กทารกเข้าสู่วัยที่ต้องการอาหารเสริมตามวัย อุจจาระก็จะเปลี่ยนไปมีลักษณะที่แข็งเหมือนกับผู้ใหญ่

ปัญหาระบบขับถ่าย และอาการไม่สบายท้องของลูกน้อยที่พบบ่อย


อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบย่อยอาหารของเด็กทารกจะยังทำงานไม่ได้เต็มที่มากนัก เนื่องจากต้องใช้เวลาในเจริญเติบโต รวมทั้งอวัยวะอื่น ๆ ยังทำงานไม่ได้เต็มที่เช่นกัน ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา นั่นคือปัญหาของระบบขับถ่าย และอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณแม่ทุกคนต้องพบเจอ

ปัญหาระบบขับถ่าย และอาการไม่สบายท้อง ที่คุณแม่สามารถพบได้ จะมีตั้งแต่อาการปกติทั่วไป ที่เกิดขึ้นได้บ่อยอย่าง ท้องเสีย ท้องอืด ท้องผูก หรือโคลิก เป็นต้น และที่สามารถพบเจอได้ในเด็กทารกบางราย เช่น อาการแพ้โปรตีนนมวัว และอาการแพ้แลคโตส

อาการเหล่านี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะดูแลลูกน้อยแบบไหน เราไปทำความรู้จักกับปัญหาระบบขับถ่าย และอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ของลูกน้อยกันให้มากขึ้นกัน

ปัญหาอาการไม่สบายท้องของลูกน้อย


ปัญหาอาการไม่สบายท้องของลูกน้อย เป็นสิ่งที่คุณแม่มักจะเจอปัญหาอยู่บ่อย ๆ สำหรับเด็กทารก ที่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นภาษาได้ เมื่อลูกมีอาการไม่สบายท้อง ก็จะแสดงอาการออกมาในลักษณะของการร้องไห้ งอแง หรือบางครั้งลูกอาจจะนอนไม่หลับ ซึ่งคุณแม่อาจจะเข้าใจว่า ลูกอาจจะหิวนม และให้นมเพิ่มทันที

เมื่อลูกน้อยใช้การสื่อสารด้วยการร้องไห้ งอแง หรือแสดงอาการนอนไม่หลับ เพื่อจะบอกกับเราว่า เขานั้นต้องการอะไรบางอย่าง หรือมีปัญหาเกิดขึ้นกับตัวเขา สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ควรทำ คือหาสาเหตุเพื่อแก้ไขสิ่งที่ลูกน้อยกำลังประสบอยู่ให้ได้

สาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้ งอแง หรือนอนไม่หลับ


คุณแม่อาจจะรู้สับสน และกังวลเมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด หรือนอนไม่หลับ สาเหตุอาจจะเกิดจากอะไรก็ได้ เมื่อลูกน้อยแสดงอาการแบบนี้ ลองเช็กสาเหตุที่อาจจะเป็นคำตอบของการร้องไห้ หรือนอนไม่หลับ ได้แก่

          • ลูกหิวหรือไม่
          • ต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม
          • เบื่อหน่าย หรือเหนื่อยล้า
          • ต้องการให้อุ้ม หรือกอด
          • มีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เช่น ลมแรง แสงสว่าง เสียงดัง เป็นต้น
          • อากาศร้อน หรือเย็นมากเกินไป

หากลองเช็กสาเหตุข้างต้น และทำการแก้ไขแล้ว ลูกน้อยไม่มีอาการ หรือไม่แสดงท่าทีว่าจะหยุดร้อง หรือนอนหลับ สาเหตุต่อไปที่คุณแม่ควรมองหาคือ อาการไม่สบายท้องต่าง ๆ

อาการที่ทำให้ลูกไม่สบายท้อง


อาการไม่สบายท้องเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ทำให้ลูกน้อยร้องไห้ งอแง หรือนอนไม่หลับ เนื่องจากเด็กทารกยังมีระบบย่อยอาหารที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ โดยอาการที่เป็นสาเหตุของการไม่สบายท้อง สามารถแยกออกได้ ดังนี้

1. อาการจุกเสียดเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร

สำหรับอาการจุกเสียดเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นจากการที่ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไป เช่น การเข้าเต้านม หรือดูดได้ไม่ดีทำให้มีอากาศหลุดเข้าไป อากาศในขวดนม รวมทั้งอากาศที่เข้าไประหว่างการหอบ และการร้องไห้ เป็นต้น

นอกจากนี้ การมีแก๊สในกระเพาะอาจจะมีสาเหตุจาก ความไม่สมบูรณ์ของระบบลำไส้ของเด็กทารกอีกด้วย

6 วิธีบรรเทาอาการจุกเสียดเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหารของเด็กทารก

หากลูกน้อยวัยทารก มีอาการจุกเสียดเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร คุณแม่สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ ดังนี้

          1. พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กร้องไห้มากนัก เนื่องจากอากาศจะเข้าไปในท้องมากขึ้น
          2. หลังกินนมเสร็จ ควรจับลูกเรอ โดยการอุ้มพาดบ่า หรือนอนคว่ำบนตัก และตบหลังเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม จากส่วนล่างขึ้นมาส่วนบนบริเวณคอ
          3. จับลูกนอนหงาย และยกขาทั้งสองข้างของลูกขึ้น ทำท่าเป็นวงกลมเหมือนปั่นจักรยาน และดันเข่าไปที่หน้าอกเบา ๆ
          4. การอาบน้ำให้ลูกน้อย เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้ลูกสบายตัวจากอาการจุกเสียดได้
          5. นวดท้องของลูกน้อยเบา ๆ โดยนวดเป็นวงกลมบริเวณหน้าท้อง
          6. สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูก หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัด หรือมีแก๊สมาก

กรณีเด็กโตมีอาการจุกเสียดเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร

ในเด็กโตขึ้นมานั้น อาการจุกเสียดเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาอาหาร จะแสดงอาการอย่าง ท้องอืด ปวดท้อง แสบร้อนในท้อง เรอ หรือบางครั้งลูกน้อยอาจจะรู้สึกคลื่นไส้ร่วมด้วย สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้ในเด็กโต เกิดจากอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ เช่น ดอกกะหล่ำ บรอกโคลี เป็นต้น อาหารที่มีไขมัน หรือไฟเบอร์สูง ก็สามารถก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้เช่นกัน รวมไปถึงเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม

3 วิธี แก้ปัญหาอาการจุกเสียดเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหารของเด็กโต

          1. ลดปริมาณ หรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ เช่น ผักบางชนิด เครื่องดื่มอัดลม เป็นต้น
          2. ให้ลูกดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงให้ลูกดื่มน้ำผลไม้อย่าง น้ำแอปเปิล น้ำเชอร์รี่ รวมทั้งน้ำหวานอัดลม ซึ่งประกอบด้วยซอร์บิทอล เป็นน้ำตาลประเภทหนึ่ง ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ และทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ
          3. หมั่นให้ลูกได้ขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอ

2. อาการกรดไหลย้อน

หลายคนอาจจะสงสัยว่า อาการกรดไหลย้อนเกิดขึ้นกับเด็กทารกด้วยหรือ? คำตอบคือ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กวัยทารก โดยสาเหตุเกิดจากหูรูดระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะ ยังทำงานไม่ปกติ หรืออวัยวะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้อาหาร และกรด ไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร

เด็กทารกที่มีอาการกรดไหลย้อน จะมีอาการบ้วน หรือถ่มน้ำลาย และแหวะนม อาจจะมีอาการอาเจียนหลังกินนม ปวดท้อง และแสบร้อนในลำคอร่วมด้วย เด็กทารกบางรายอาจจะมีอาการกรดไหลย้อนรุนแรง จนกลายเป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น มีภาวะเจริญเติบโตที่ไม่ดี หรือล่าช้า หายใจลำบาก มีปัญหาในการกินอาหาร เป็นต้น

อาการกรดไหลย้อน สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกทุกคน โดยส่วนมากจะเริ่มมีอาการเมื่อเด็กมีอายุ 2 – 3 สัปดาห์ขึ้นไป และอาการจะดีขึ้นเมื่อเด็กเข้าสู่อายุ 1 ขวบ นอกจากอาการบ้วน หรือถ่มน้ำลาย แหวะนม และอาเจียนหลังกินนมแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกว่าลูกน้อยมีอาการกรดไหลย้อน ได้แก่

          • ไอ หรือสะอึกเวลากินนม
          • ร้องไห้ งอแง ไม่หยุด หรืองอแงในระหว่างการให้นม และหลังให้นมแล้ว
          • กลืนในลักษณะเหมือนมีอะไรติดคอ หลังจากเรอ หรือกินนม
          • น้ำหนักไม่ขึ้น เนื่องจากกินนม หรืออาหารไม่เพียงพอ
          • ในบางรายอาจจะมีอาการของโรคน้ำย่อยกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าสู่หลอดคอร่วมด้วย

5 วิธีป้องกัน และแก้ปัญหาอาการกรดไหลย้อนในเด็กทารก

เนื่องจากอาการกรดไหลย้อนในเด็กทารก จะมีอาการดีขึ้นเมื่อลูกน้อยเข้าสู่อายุ 1 ขวบ เพราะการทำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหารทำงานได้เต็มที่ คุณแม่สามารถป้องกัน และแก้ปัญหาอาการกรดไหลย้อนในเด็กทารก ดังนี้

          1. ระหว่างการให้นม คุณแม่ควรอุ้มลูกในลักษณะเอียง หรือตั้งขึ้น เพื่อให้นมได้ไหลลงกระเพาะได้ง่าย
          2. หลังกินนมเสร็จ ควรจับเรอ ด้วยการอุ้มพาดบ่า หรือนอนคว่ำบนตัก และตบหลังเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม จากส่วนล่างขึ้นมาส่วนบนบริเวณคอ
          3. เวลานอน ให้ลูกนอนในลักษณะนอนหงาย หลังแนบไปกับเตียง ไม่ควรนอนในลักษณะหันข้าง หรือนอนคว่ำ
          4. ไม่ควรยก หรือเทินเตียงเด็กขึ้น เพราะจะก่อให้เกิดอันตรายได้ ควรใช้หมอนหนุนหัวเด็กแทน
          5. หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงกว่าปกติ ควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

3. โคลิก

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กทารกร้องไห้ คืออาการโคลิก ในบางบ้านอาจจะเข้าใจว่า โคลิกเป็นอาการของเด็กที่เห็นผี หรือแม่ซื้อ ซึ่งในทางการแพทย์แล้วก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่า เกิดขึ้นจากอะไร บ้างก็สันนิษฐานว่า อาการโคลิกน่าจะเกี่ยวข้องกับปัญหาระบบย่อยอาหารที่ยังทำงานไม่ได้เต็มที่ เลยทำให้เด็กทารกรู้สึกไม่สบายตัว

ลักษณะอาการของเด็กทารกที่มีอาการโคลิก จะร้องไห้โดยฉลับพลัน และร้องไห้เป็นเวลานาน อาการโคลิกจะเกิดกับเด็กทารกอายุตั้งแต่แรกเกิด จนไปถึงอายุประมาณ 4 – 6 เดือน อาการโคลิกก็จะหยุดไปเอง คุณแม่สามารถสังเกต และแยกอาการโคลิก ออกจากการร้องไห้ปกติได้ ดังนี้

          • ลูกน้อยจะร้องไห้แบบฉับพลัน อย่างไม่มีสาเหตุ สามารถร้องไห้ได้ยาวนานถึง 3 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน และร้องไห้อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ รวมทั้งร้องไห้ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ขึ้นไป
          • เวลาร้องไห้ จะแสดงอาการเหมือนเจ็บปวด ทั้งกำหมัด แอ่นหลังขึ้น และยกเข่าขึ้นมาชิดหน้าท้อง
          • หน้าแดงเวลาร้องไห้
          • ไม่ว่าจะยกอุ้ม ปลอบ กล่อม ลูกน้อยก็ไม่หยุดร้องไห้

เมื่อลูกมีอาการโคลิก ควรทำอย่างไร

ในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีใดที่จะรักษา หรือบรรเทาอาการโคลิกได้ รวมทั้งเทคนิคบางอย่างที่ได้รับคำแนะนำมา ไม่ว่าจะมาจากเพื่อน ครอบครัว คนรู้จัก หรือแม้กระทั่งจากอินเตอร์เน็ต อาจจะใช้ได้ผลวันนี้ แต่วันถัดไป อาจจะใช้ไม่ได้ผล ทำให้คุณแม่ต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีใหม่ ๆ อยู่บ่อยครั้ง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะไม่มีวิธี หรือเทคนิคที่จะช่วยบรรเทาอาการโคลิกให้หายได้ แต่คุณแม่สามารถนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ทดลองกับลูกน้อยเมื่อเกิดอาการโคลิกได้

          • หมั่นจับลูกเรอ หลังจากให้นมเสร็จ นอกจากนี้ เวลาให้นม คุณแม่ควรให้นมในลักษณะที่เอียง ตั้งขึ้น หรืออุ้มลูกนั่ง เพื่อให้นมได้ไหลลงกระเพาะได้ง่าย ลดอากาศที่จะหลุดเข้าไปในกระเพาะจนทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง
          • ระหว่างที่ลูกร้องไห้ ให้อุ้มลูกน้อยชิดกับหน้าอก เพื่อให้เขาได้ยินเสียงหัวใจเต้นของคุณแม่ หรือลองโยกตัวเบาระหว่างที่อุ้มลูกร่วมด้วย ก็ได้เช่นกัน
          • ใช้การอาบน้ำอุ่น และการนวด เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย
          • สร้างบรรยากาศรอบข้างให้สงบ เนื่องจากอาจจะมีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เช่น ลมแรง แสงสว่าง เสียงดัง เป็นต้น พยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงการรบกวน หรือสร้างความอ่อนไหวให้กับลูกน้อย เช่น ปิดเสียงทีวี หรี่ไฟ ปรับอุณหภูมิในห้องไม่ให้ร้อน หรือเย็นเกินไป เป็นต้น

สำหรับคุณแม่ควรรับมือกับตัวเองอย่างไร

เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะต้องรับมือกับอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเอง ระหว่างที่ลูกน้อยมีอาการโคลิก เราอาจจะมีความรู้สึกโทษตัวเองว่า ดูแลลูกไม่ดีพอ คุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า โคลิกเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน และไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการเลี้ยงดู หรือรูปแบบการให้นม ไม่ว่าจะเป็นนมแม่ หรือนมผงก็ตาม

เคล็ดลับแนะนำสำหรับคุณแม่ ดูแลตัวเองในช่วงลูกน้อยมีอาการโคลิก

          1. ไม่ควรโทษตัวเองว่าเลี้ยงลูกไม่ดี เมื่อลูกมีอาการโคลิก คอยเตือนตัวเองเสมอว่า “เราทำดีที่สุดแล้ว” และ “เดี๋ยวมันก็ผ่านไป”
          2. ให้เวลาพักกับตัวเองบ้าง ถึงแม้ทั้งวันเราจะต้องดูแลลูกน้อย แต่ในช่วงที่ลูกนอนหลับ แบ่งเวลาพักมาอยู่กับตัวเองสักครู่ ก็เป็นเรื่องที่ดี นอกจากนี้ หากเรามีคนในครอบครัวที่สามารถช่วยดูแลลูกได้ ลองแบ่งเวลา ผลัดให้คุณพ่อ หรือครอบครัวช่วยดูแล เพื่อที่เราจะได้เวลาพัก
          3. เปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน การที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ทำวนไปวนมาเป็นกิจวัตร อาจจะสร้างความเครียดให้กับคุณแม่ได้ ลองปรับเปลี่ยนกิจวัตรในแต่ละวัน เช่น พาลูกออกไปเดินเล่นรอบ ๆ บ้าน ออกไปเปลี่ยนบรรยากาศ ปรับเปลี่ยนกิจวัตรไม่ให้จำเจ ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
          4. นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ ฟังเพลง และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยให้คุณแม่สบายใจ และผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจขึ้นได้

อุจจาระทารก เรื่องขี้ ๆ ที่ไม่ขี้ ๆ


นอกจากการสังเกตอาการไม่สบายท้องแล้ว ยังมีอีกสิ่งที่สามารถบอกคุณแม่ได้ว่า ลูกเรานั้นสบายดีหรือไม่ นั่นคือ “อุจจาระ”

อุจจาระของเด็กทารก จะสามารถบอกเราได้ว่า สุขภาพของลูกน้อยตอนนี้เป็นอย่างไร ซึ่งเราสามารถดูได้จากลักษณะ และสีของอุจจาระ โดยปกติแล้ว อุจจาระเด็กทารกจะมีลักษณะที่นิ่ม เมื่อเทียบกับอุจจาระของผู้ใหญ่ และจะเริ่มเปลี่ยนลักษณะแข็งขึ้น เมื่อลูกน้อยเริ่มกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่

นอกจากลักษณะแล้ว สียังบ่งบอกสุขภาพของลูกน้อยได้อีกด้วย สีอุจจาระของเด็กทารกสามารถบอกเราได้ว่าเขากินอะไรมา ตอนนี้มีปัญหาไม่สบายท้อง มีอาการป่วย หรือสุขภาพปกติอยู่

แล้วสีอุจจาระทารกแบบไหน บอกอะไรเราได้บ้าง


อุจจาระทารกแต่ละสี สามารถบอกข้อมูลสุขภาพของลูกน้อยเบื้องต้นได้ ดังนี้

1. อุจจาระสีดำ
อุจจาระสีดำ จะเกิดขึ้นกับเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งอุจจาระในลักษณะนี้เรียกว่า “ขี้เทา” โดยประกอบไปด้วยเซลล์ผิวหนังต่าง ๆ เมือก น้ำคร่ำ ที่ทารกย่อยระหว่างอยู่ในครรภ์ อุจจาระแบบนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2 – 3 วัน หลังเด็กทารกเกิด

2. อุจจาระสีเหลืองเข้ม
หลังจากผ่านไป 2 – 3 วันแล้ว อุจจาระอย่างขี้เทา จะเปลี่ยนเป็นอุจจาระสีเหลืองเข้ม ซึ่งเป็นสีอุจจาระปกติของเด็กทารกที่กินนมแม่

3. อุจจาระสีเหลือสด หรือสว่าง
อุจจาระสีเหลืองสด หรือสว่าง เป็นอุจจาระทารกที่พบได้บ่อยในเด็กที่กินนมแม่ รวมทั้งนมผง ซึ่งเป็นสีปกติ แต่หากเด็กทารกมีอาการถ่ายบ่อย และเหลวร่วมด้วย อาจจะแสดงว่า ลูกน้อยมีอาการท้องร่วง ซึ่งมีความเสี่ยงจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้

4. อุจจาระสีส้ม
อุจจาระสีส้ม เกิดจากเม็ดสีที่สะสมในทางเดินอาหารของเด็กทารก ซึ่งสามารถเกิดได้ในเด็กทารกที่กินนมแม่ และนมผง

5. อุจจาระสีแดง
อุจจาระสีแดง เป็นอุจจาระที่คุณแม่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาจจะมีการติดเชื้อในลำไส้ จากอาการแพ้นม หรือทวารหนักเป็นแผล อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยอยู่ในช่วงที่เริ่มกินอาหารเสริมเพิ่มเติม อาจจะเป็นไปได้ว่า เกิดจากอาหารที่มีสีแดงเข้ม เช่น น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น

หากลูกน้อยไม่ได้อยู่ในวัยที่เริ่มกินอาหารเสริมเพิ่มเติม รวมทั้งถ้าสังเกตแล้วไม่ใช่เพราะอาหารที่กินเข้า ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการหาสาเหตุ และรักษาต่อไป

6. อุจจาระสีเขียวแก่
อุจจาระสีเขียวแก่ จะเกิดขึ้นกับเด็กที่กินนมผง สีอุจจาระจะออกเป็นสีเขียวแก่ ปนสีเหลือง นอกจากนี้ อุจจาระจะมีลักษณะที่แข็งกว่าเด็กทารกที่กินนมแม่

7. อุจจาระสีเขียวเข้ม
อุจจาระสีเขียวเข้ม พบได้ในเด็กทารกที่เริ่มกินอาหารเสริมเพิ่มเติม นอกเหนือจากนมแม่ อย่างการกินอาหารที่มีสีเขียว เช่น ผักโขม ถั่วลันเตา และยังรวมไปถึงอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก ก็สามารถทำให้อุจจาระของลูกน้อยมีสีเขียวเข้มได้

8. อุจจาระสีขาว
อุจจาระสีขาว เป็นสีอุจจาระบ่งบอกว่า ตับของลูกน้อยไม่สามารถผลิตน้ำดีได้เพียงพอที่จะใช้ในระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาต่อไป

9. อุจจาระสีเทา
เช่นเดียวกันกับอุจจาระสีขาว หากพบว่าลูกน้อยถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีเทา อาจจะหมายความว่า ระบบย่อยอาหารของลูกทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือมีปัญหา ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป

สีอุจจาระ

สาเหตุ

ปกติหริอไม่

ดำ

พบในเด็กทารกแรกเกิด ที่กินนมแม่ และนมผง 

ปกติ โดยจะเกิดในช่วง 2 – 3 วันแรก หลังคลอด หากเกิดขึ้นกับเด็กโต เป็นเรื่องไม่ปกติ ควรไปพบแพทย์ 

เหลืองเข้ม

พบได้ในเด็กทารกที่กินนมแม่ 

ปกติ

เหลืองสด หรือสว่าง

พบได้ในเด็กทารกที่กินนมแม่

หากพบว่ามีการถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ร่วมด้วย อาจจะเป็นอาการท้องเสีย

ส้ม

พบได้ในเด็กทารกที่กินนมแม่ และนมผง

ปกติ

แดง

พบได้ในเด็กทารกที่เริ่มกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ เช่น การกินอาหารสีแดง อย่าง น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น

หากเด็กทารกไม่ได้กินอาหารที่ก่อให้เกิดสีแดง หรือไม่ได้อยู่ในวัยที่เริ่มกินอาหารเสริม นอกเหนือจากนมแม่ อาจจะมีการติดเชื้อในลำไส้ จากอาการแพ้นม หรือทวารหนักเป็นแผล ควรพบแพทย์ 

เขียวแก่

พบได้ในเด็กที่กินนมผง

ปกติ

เขียวเข้ม

พบได้ในเด็กที่เริ่มกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ เช่น การกินผักใบเขียว หรือการกินอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก

ปกติ

ขาว

พบได้ในเด็กทารกที่ตับมีปัญหาในการผลิตน้ำดี

ไม่ปกติ ควรพบแพทย์

เทา

พบได้ในเด็กทารกที่มีปัญหารในการย่อยอาหาร

ไม่ปกติ ควรพบแพทย์

 

โดยปกติแล้ว เด็กทารกจะถ่ายอุจจาระบ่อยขนาดไหน


สำหรับเด็กทารกแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการถ่ายอุจจาระในช่วงแรก โดยหลังคลอด เด็กทารกจะถ่ายอุจจาระที่เรียกว่า ขี้เทา เป็นระยะเวลา 2 – 3 วัน หลังจากนั้น อุจจาระก็จะเปลี่ยนสี เช่น สีเหลือง สีเขียว สีส้ม เป็นต้น โดยเด็กทารกจะมีความถี่ในการถ่าย ตามช่วงอายุ ดังนี้

ประเภทนม

ช่วง 1 – 3 วันแรก หลังคลอด

6 สัปดาห์แรก

หลังเริ่มกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่

เด็กทารกที่กินนมแม่

ในช่วง 24 – 48 ชั่วโมงแรก จะอุจจาระออกมาเป็น สีเทา หรือขี้เทา และอุจจาระจะเปลี่ยนสีเป็น สีเขียว หรือเหลือง ในวันที่ 4 เป็นต้นไป

 

อุจจาระนิ่ม หรือเหลว มีสีเหลือง อาจจะถ่ายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน ในเด็กบางคนอาจจะถ่าย 4 – 12 ครั้งต่อวัน หลังจาก 6 สัปดาห์ เด็กทารกจะถ่ายทุก ๆ 2 – 3 วัน

 

เด็กทารกจะเริ่มถ่ายมากขึ้นจากเดิม และอุจจาระจะเปลี่ยนเป็นลักษณะที่แข็งขึ้น

เด็กทารกที่กินนมผง

 

อุจจาระจะมีสีน้ำตาล หรือสีเขียว ในช่วงแรกอาจจะถ่ายอย่างน้อย 1 – 4 ครั้งต่อวัน หลังจาก 1 เดือนแรก เด็กทารกจะเปลี่ยนการถ่ายเป็นวันเว้นวัน

 

เด็กทารกจะถ่ายประมาณ 1 – 2 ครั้ง ต่อวัน

 

ลูกไม่ถ่าย หมายความว่า “ท้องผูก” หรือไม่


อาการท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารก สาเหตุจากระบบย่อยอาหาร ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว อาการท้องผูกในเด็กทารก จะเกิดกับเด็กทารกที่กินนมผง เนื่องจากระบบย่อยไม่คุ้นชินกับการย่อยนมผง ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และย่อยยากกว่านมแม่

อาการแบบไหนที่บอกว่าลูกมีอาการท้องผูก

สำหรับอาการท้องผูกในเด็กทารก นอกจากการไม่ถ่ายตามปกติแล้ว ยังมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย ได้แก่

          • ลูกน้อยอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งในสัปดาห์
          • มีอาการร้องไห้ งอแง ดูไม่สบายตัวก่อนถ่ายอุจจาระ หรือเหมือนใช้แรงเบ่งเวลาถ่าย
          • ลักษณะอุจจาระแห้ง แข็ง เป็นก้อน หรือมีลักษณะเป็นเม็ด
          • อุจจาระมีกลิ่นแรง เหม็นกว่าปกติ
          • ลูกน้อยอาจจะมีความอยากอาหาร หรือหิวน้อยกว่าปกติ

ในเด็กโตกว่า ก็จะมีอาการคล้าย ๆ กัน ที่คุณแม่สามารถเห็นได้ชัด คือ ขับถ่ายน้อย เช่น จะถ่าย 3 – 4 วัน ครั้ง ใช้เวลาถ่ายนาน อุจจาระแข็ง หรือบางครั้งมีเลือดปน รวมทั้งเด็กมีอาการเจ็บปวดเวลาเบ่งอุจจาระอีกด้วย

สาเหตุ และวิธีบรรเทาอาการท้องผูก

หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยวัยทารก มีอาการท้องผูก สาเหตุอาจจะเกิดจากระบบย่อยอาหารของลูกมีปัญหาในการย่อย ในบางรายอาจจะเกิดจากการที่ลูกน้อยกินนมผง ซึ่งจะย่อยได้ยากกว่านมแม่ คุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกเบื้องต้นได้ ดังนี้

          • การนวดท้อง: การนวดท้องสามารถช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนที่ โดยนวดอย่างเบา ๆ บริเวณหน้าท้องของลูกน้อย วันละหลายครั้ง
          • ขยับร่างกาย: นอกจากการนวดท้องแล้ว การขยับร่างกายลูกน้อย ยังช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการเคลื่อนที่ได้เช่นกัน ด้วยการจับลูกน้อยนอนราบกับพื้น ยกขาทั้งสองข้างขึ้น ทำท่าปั่นจักรยาน
          • เปลี่ยนนม: ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องให้นมผง เพื่อทดแทนนมแม่ คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำสำหรับการปรับเปลี่ยนชนิดนมได้
          • ปรับเปลี่ยนอาหาร: สำหรับเด็กทารกที่เริ่มกินอาหารเสริมเพิ่มเติม นอกเหนือจากนมแม่ ลองปรับเปลี่ยนอาหาร เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของไฟเบอร์จำนวนมาก เช่น แอปเปิล ลูกแพร์ ลูกพรุน รวมทั้งให้น้ำดื่ม เสริมเพิ่มเติมประกอบกับมื้อที่ให้นม ก็จะช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูกได้

ในกรณีเด็กโต สำหรับการบรรเทาอาการท้องผูก คุณแม่ลองปรับเปลี่ยนอาหารการกิน ให้ลูกน้อยได้กินอาหารที่ประกอบไปด้วยไฟเบอร์จำนวนมาก ผัก และผลไม้ต่าง ๆ หมั่นให้ลูกได้ดื่มน้ำให้พอดีกับที่ร่างกายต้องได้รับ นอกจากนี้ อาจจะชวนลูกน้อยไปเดินเล่น ออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากคุณแม่ลองปรับเปลี่ยน แก้ไขปัญหาแล้ว ยังไม่ได้ผล ลูกน้อยยังมีปัญหาท้องผูกอยู่เหมือนเดิม ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุ และรักษาอาการต่อไป

ลูกน้อยอาเจียน หรือแหวะนมกันแน่นะ


นอกจากปัญหาเรื่องการขับถ่าย อาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ยังมีอีกสิ่งที่สามารถบอกเราได้ว่า ลูกน้อยของเรามีปัญหาระบบการย่อย นั่นคือ อาเจียน และแหวะนม

อาการที่เด็กทารกอาเจียน และแหวะนม มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมาก ซึ่งบางครั้งคุณแม่เอง ก็ยังไม่สามารถแยกออกได้ชัดมากนัก ว่าลูกน้อยของเราอาเจียน หรือแหวะนมกันแน่ ยิ่งในช่วงที่ลูกน้อยยังอยู่ในวัยที่ให้นมเพียงอย่างเดียว อาเจียน หรือแหวะนม ก็ดูมีลักษณะที่เหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถแยกการอาเจียน และแหวะนม ออกกันได้ เพียงสังเกตอาการ หรือปฏิกิริยาของลูกน้อยหลังจากแสดงอาการออกมาได้ง่าย ๆ ดังนี้

          • อาเจียน: อาการอาเจียน เป็นอาการที่กระเพาะขับอาหารออกอย่างรุนแรง หากลูกน้อยมีอาการอาเจียน หลังจากที่เขาอาเจียนแล้ว จะแสดงอาการหงุดหงิด ร้องไห้ อารมณ์เสีย
          • แหวะนม: แหวะนม เป็นอาการที่กระเพาะดันอาหารไหลออกจากปาก ซึ่งหากลูกน้อยมีอาการแหวะนม หลังจากที่เขาแหวะนมแล้ว เขาจะไม่ได้แสดงอาการอะไร หรือไม่ได้ใส่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเขาเอง และยังสามารถทำกิจกรรมที่ทำอยู่ต่อเนื่องไปได้

ทำไมลูกน้อยถึงอาเจียน และแหวะนม

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบย่อยอาหารของเด็กทารกจะยังทำงานไม่เต็มที่ และยังคงต้องใช้เวลาในการพัฒนาอวัยวะในระบบต่าง ๆ อาการอาเจียน และแหวะนม เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งสามารถแยกสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ ดังนี้

อาเจียน

แหวะนม

 

• แพ้นม หรือแพ้อาหาร

 

การอาเจียน อาจจะเป็นอาการบ่งบอกว่าลูกมีอาการแพ้นม หรือแพ้อาหาร ไม่ว่าจะจากสารอาหารที่คุณแม่กินเข้าไป ผ่านออกมาทางน้ำนม หรือในเด็กบางคนที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องให้นมผง ทดแทนนมแม่ อาจจะมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว หรือแพ้น้ำตาลแลคโตสก็ได้ 

 

นอกจากนี้ ในเด็กทารกที่เริ่มกินอาหารเสริมทดแทน นอกจากนมแม่ หรือเด็กโต ที่สามารถกินอาหารปกติ ทั่วไปได้แล้ว อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า มีการแพ้อาหารบางอย่างที่กินเข้าไป

 

 

กินนม หรืออาหารมากไป หรือเร็วเกินไป

 

การที่ลูกน้อยกินนม หรืออาหารมากไป รวมทั้งเร็วเกินไป อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแหวะนม เนื่องจากกระเพาะอาหารของเด็ก ยังมีขนาดเล็ก การรับอาหารมากเกินไป ทำให้กระเพาะ ไม่สามารถรองรับได้ทั้งหมด 

 

• กินนม หรืออาหารมากไป หรือเร็วเกินไป

 

หากหลังการให้นม หรือกินอาหาร ลูกมีอาการอาเจียนออกมา อาจจะเป็นไปได้ว่า เขาได้รับนม หรืออาหารมากไป หรืออาจจะกินเร็วเกินไป จนระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้ทัน

 

 

แพ้นม หรือแพ้อาหาร

 

สาเหตุเดียวกันกับการอาเจียน การแพ้นม หรือแพ้อาหารสามารถทำให้เกิดอาการแหวะนมได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่คุณแม่กินเข้าไป และไหลผ่านทางน้ำนม นมผง หรืออาหารเสริมเพิ่มเติมตามวัย

  

 

• การถูกกระตุ้น

 

เด็กทารก และเด็กโต สามารถอาเจียนได้จากสาเหตุอย่าง เกิดการะตุ้นให้อาเจียน เช่น การไอ และการกิน หรือลิ้มรสอาหารที่ไม่ชอบ ก็สามารถก่อให้เกิดการอาเจียนได้ 

 

 

• การกลืนอากาศเข้าไป

 

หากระหว่างการให้นม ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปพร้อมกันด้วย ก็สามารถก่อให้เกิดอาการแหวะนมได้ 

 

• เมารถ

 

อาการเมารถสามารถเกิดขึ้นกับเด็ก เหมือนที่เกิดกับผู้ใหญ่ อาการอาเจียน อาจจะมีสาเหตุมาจากอาการเมารถ

 

 

• กรดไหลย้อน

 

ในเด็กบางรายที่มีอาการแหวะนม อาจจะเกิดจากกรดไหลย้อน ซึ่งหากเป็นด้วยสาเหตุนี้ ให้สังเกตอาการ หรือปฏิกิริยาหลังจากการแหวะนม เช่น หงุดหงิด งอแง หรือแสดงอาการไม่สบายตัว เป็นต้น

 

 

จะดูแลลูกน้อยที่มีอาการอาเจียน และแหวะนมอย่างไร

หลักจากที่คุณแม่หาสาเหตุเบื้องต้นได้แล้วว่า เพราะอะไรถึงทำให้ลูกน้อยมีอาการอาเจียน และแหวะนม ควรลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาหาร และการดูแล ดังนี้

หากเกิดจากสาเหตุการให้นม หรืออาหารมากเกินไป หรือเร็วไป และการกลืนอากาศ

ควรปรับเปลี่ยนท่าให้นม ในลักษณะที่เอียง ตั้งขึ้น หรืออุ้มลูกนั่ง เพื่อให้นมได้ไหลลงกระเพาะได้ง่าย ลดอากาศที่จะหลุดเข้าไปในกระเพาะจนทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง รวมทั้งการให้นม หรืออาหารที่ลดน้อยลงกว่าเดิม ไม่ให้นมมากเกินตามความต้องการ

หลังจากการให้นม หรืออาหารแล้ว ควรจับลูกเรอ ไม่ควรจับนอนทันที สำหร้บเด็กโต อาจจะชวนออกไปเดินย่อยอาหาร เพื่อป้องกันการอาเจียน

หากเกิดจากการแพ้นม หรือแพ้อาหาร

สำหรับการแพ้นม ในคุณแม่ที่ให้นมแม่ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีนนมวัว หรือน้ำตาลแลคโตส เพื่อป้องกันสารอาหารเหล่านี้ไหลผ่านน้ำนมแม่ รวมทั้งในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นที่ต้องให้นมผง เพื่อทดแทนนมแม่ ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอรับคำแนะนำสำหรับการเปลี่ยนนม

สำหรับเด็กทารกที่เริ่มกินอาหารเสริมตามวัย และเด็กโต เพื่อป้องกันอาการอาเจียน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ นอกจากนี้ คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปตรวจว่ามีอาการแพ้อาหารชนิดใดบ้าง พร้อมปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะสามารถให้แนวทางในการรักษาอาการได้

อย่างไรก็ตาม การอาเจียน และแหวะนมเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ และเป็นเรื่องปกติ แต่หากเกิดการอาเจียน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ผื่นขึ้น ตัวร้อน ท้องเสีย ปวดท้อง อาเจียนปนเลือด เป็นต้น ควรรีบพาลูกน้อยนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาโดยด่วน

นอกจากนี้ คุณแม่สามารถขอรับคำแนะนำจากกุมารแพทย์ เพื่อนำแนวทางไปปรับใช้ และดูและลูกน้อยได้อีกด้วย

แบบไหนที่เรียกว่า “แพ้โปรตีนนมวัว”


สิ่งหนึ่งที่คุณแม่จะได้ยินบ่อย ๆ จากคนรอบข้าง เมื่อลูกน้อยมีปัญหาระบบย่อยอาหารนั่นคือ “แพ้โปรตีนนมวัว” อาการแพ้นมวัว เป็นอาการแพ้อาหารที่สามารถพบได้บ่อยในเด็ก ซึ่งเด็กสามารถแสดงอาการแพ้โปรตีนนมวัว ได้ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 1 ขวบ

อาการแพ้โปรตีนนมวัว จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเด็กทารกมีกินอาหารอื่น ๆ นอกจากนมแม่ เช่น เมื่อเริ่มเปลี่ยนการให้นมแม่เป็นนมผง หรือเมื่อเริ่มกินอาหารเสริมเพิ่มเติมตามวัย นอกจากนี้ อาจจะมีโอกาสที่อาการจะเกิดในเด็กทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากสารอาหารที่แม่กินเข้าไปผ่านนมแม่ออกมา แต่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้น้อย โดยอาการแพ้โปรตีนนมวัว สามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

          1. อาการเกิดแบบรวดเร็ว หรือทันที: จะเกิดอาการ หรือแสดงการแพ้ทันที หลังกินนมวัว หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีนนมวัว
          2. อาการเกิดล่าข้า: จะแสดงอาการแพ้หลังจากกินนมวัว หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีนนมวัว เป็นเวลาหลายชั่วโมง หรือหลายวันหลังจากการกิน

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้โปรตีนนมวัว

คุณแม่สามารถสังเกตอาการแพ้โปรตีนนมวัวเบื้องต้นได้ ดังนี้

          • มีผื่นแดง คัน หรือบวมที่บวมที่ริมฝีปาก ใบหน้า และรอบดวงตา
          • ปวดท้อง ไม่สบายท้อง ท้องร่วง หรือท้องผูก
          • อาเจียน หรือแหวะนม
          • มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก
          • ถ่ายเป็นเลือด
          • งอแง หยุดหงิด เมื่อถึงเวลาให้นม
          • น้ำหนักลด

ในบางรายอาจจะมีอาการแพ้อย่างรุนแรง และสามารถเกิดขึ้นได้ทันที กะทันหัน โดยส่วนใหญ่ เด็กที่มีอาการแพ้โปรตีนนมวัวแบบรุนแรง จะเกิดได้ในครอบครัวที่มีประวัติการแพ้โปรตีนนมวัวรุนแรงมาก่อน หรือมีการตรวจพบว่ามีระดับอิมมูโนโกลบูลิน อี (IGE) สูง ซึ่งอาการรุนแรงที่แสดงออกมา ได้แก่

          • อาการบวมในปาก หรือลำคอ
          • หายใจลำบากมีเสียงหวีด หรือหายใจถี่
          • ลมพิษ เป็นลม
          • ความดันโลหิตต่ำ
          • อาการชัก

ดูแลลูกน้อยที่มีอาการแพ้โปรตีนนมวัวอย่างไร

หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการที่คล้ายกับอาการแพ้โปรตีนนมวัว ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจว่า สาเหตุเกิดที่มีอาการเกิดจากการแพ้โปรตีนนมวัวหรือไม่ ในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่า ลูกน้อยแพ้โปรตีนนมวัว แพทย์ก็จะทำการรักษา และแนะนำการดูแลลูกน้อย

การรักษา และดูแลเด็กมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว อันดับแรกคือการงด และหลีกเลี่ยงอาหารอย่างนมวัว รวมทั้งอาหารที่มีส่วนประกอบของนมวัว ในกรณีที่ตรวจพบในเด็กวัยทารกที่กินนมผง แพทย์อาจจะแนะนำให้กินนมสูตรพิเศษ หรือในกรณีที่เด็กทารกกินนมแม่ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนนมวัว

เมื่อทำการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ลูกน้อยจะได้รับการตรวจ และประเมินผลในทุก ๆ 6 – 12 เดือน เพื่อดูว่าอาการบรรเทาลงหรือไม่

แบบไหนที่เรียกว่า “แพ้น้ำตาลแลคโตส”


เมื่อรู้จักอาการแพ้โปรตีนนมวัวแล้ว สิ่งที่คุณแม่อาจจะได้ยินต่อมาคือ “แพ้น้ำตาลแลคโตส” เพราะการแพ้น้ำตาลแลคโตส ก็เป็นอาการแพ้อาหารจำพวกนมเช่นกัน โดยเป็นการเกิดปฏิกิริยาเมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้

แลคโตส เป็นน้ำตาลธรรมชาติ ที่พบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ว่าจะนมแม่ นมวัว และนมที่เกิดจากสัตว์เรียกลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ โดยแลคโตสจะประกอบไปด้วยน้ำตาล 2 ชนิดรวมกัน ได้แก่ กลูโคส และกาแลคโตส

เมื่อร่างกายรับสารอาหารที่มีแลคโตสประกอบเข้าไป ก็จะทำการย่อยโดยใช้เอนไซม์อย่าง กาแลคเตส ทำการย่อยแลคโตส หากร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์กาแลคเตสได้เพียงพอตามความต้องการ ก็จะอาจจะนำไปสู่การแพ้น้ำตาลแลคโตส

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้น้ำตาลแลตโตส

คุณแม่สามารถสังเกตอาการแพ้น้ำตาลแลคโตสเบื้องต้นได้ ดังนี้

          • ท้องเสีย ท้องอืด
          • ตดบ่อย
          • ปวดท้อง ไม่สบายท้อง
          • มีแก๊สในกระเพาะ

อาการแพ้น้ำตาลแลคโตส โดยส่วนมากจะแสดงอาการที่มีปัญหาไม่สบายท้อง เช่น ปวดท้อง หรือมีแก๊สในกระเพาะ ในเด็กทารกที่ยังไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาได้ ให้คุณแม่ลองสังเกตท่าหางของลูกน้อย เมื่อมีปัญหาไม่สบายท้อง เช่น กำมือแน่น แอ่นหลังขึ้น เตะ หรือยกขา งอแง ร้องไห้ เป็นต้น

ดูแลลูกน้อยที่มีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตสอย่างไร

คุณแม่มีข้อสงสัยว่าลูกน้อยมีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจทดสอบอาการแพ้ เนื่องจากอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส มีอาการคล้ายคลึงกับอาการไม่สบายท้องอื่น ๆ และมักไม่ค่อยเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี แต่ก็เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ลูกน้อยมีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส ในกรณีเด็กที่ได้รับนมแม่ แพทย์ก็จะแนะนำให้คุณแม่ให้นมแม่ต่อไป ในส่วนของเด็กที่มีความจำเป็นต้องกินนมผง แทนนมแม่ อาจจะต้องเปลี่ยนสูตรนม ตามคำแนะนำของแพทย์ รวมทั้งในเด็กโตที่เริ่มกินอาหารเสริมตามวัย ก็อาจจะต้องงด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลแลคโตสไปสักพัก

อย่างไรก็ตาม อาการแพ้น้ำตาลแลคโตส เป็นอาการที่ไม่ได้เป็นตลอดไป สามารถหายได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีกครั้ง หากร่างกายมีปัญหาไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้

อาหารที่มีน้ำตาลแลคโตสเป็นส่วนประกอบ

คุณแม่อาจจะต้องพิถีพิถันในการเลือกอาหารให้ลูกน้อยเพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่พบว่าลูกมีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะระบุบนฉลากว่ามีส่วนประกอบอย่างน้ำตาลแลคโตสอยู่หรือไม่ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลแลคโตส เช่น

          • โยเกิร์ต
          • ข้าวโอ๊ตปรุงสำเร็จ
          • นมผงสูตรทั่วไป
          • มันฝรั่งบดสำเร็จรูป
          • แพนเค้ก คุกกี้
          • นมจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น นมวัว นมแพะ
          • ไอศกรีม
          • นมข้น
          • ชีส

ความแตกต่างระหว่างการแพ้โปรตีนนมวัว กับแพ้น้ำตาลแลคโตส

ถึงแม้การแพ้ทั้งสองอย่างจะมีอาการคล้าย ๆ กัน แต่ก็มีความแตกต่าง ดังนี้

แพ้โปรตีนนมวัว

แพ้น้ำตาลแลคโตส

 

อาการแพ้โปรตีนนมวัว เป็นอาการแพ้อาหาร ที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฎิกิริยากับโปรตีนในนม มักพบอาการตั้งแต่อายุยังน้อย 

 

อาการแพ้น้ำตาลแลคโตส เป็นอาการที่เกิดจากการที่ไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ เนื่องจากร่างกายผลิตเอนไซม์ในการย่อยแลคโตสได้ไม่ทัน หรือไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย

 

 

เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน 

 

 

ไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน 

 

 

มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร แสดงอาการทางผิวหนัง เช่น เป็นผื่น รวมทั้งอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น หายใจถี่ หายใจลำบาก เป็นต้น

 

 

มีอาการเฉพาะระบบทางเดินทางอาหาร เช่น ท้องร่วง ท้องเสีย ปวดท้อง ไม่สบายท้อง แต่ไม่มีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบอื่น ๆ เช่น เป็นผื่น หายใจติดขัด เป็นต้น

 

 

สำหรับคนที่มีอาการแพ้โปรตีนนมวัว การกินนมวัวในประมาณเล็กน้อย จะสามารถแสดงอาการแพ้ได้ทันที โดยไม่ต้องกินเป็นจำนวนมาก 

 

 

สำหรับคนที่มีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส การกินอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลแลคตโตสเพียงเล็กน้อย จะไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้แบบทันที เหมือนกับอาการแพ้โปรตีนนมวัว

 

 

คุณแม่จะรับมือกับอาการลูกไม่สบายท้อง หรือแพ้อาหารอย่างไร และเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์


ตลอดช่วงเวลาในการเติบโตของเด็ก ตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยอนุบาล ร่างกายของเด็ก ๆ จะมีการพัฒนาตามขั้นตอน และตามลำดับ สำหรับคุณแม่แล้ว ต้องเข้าใจก่อนว่า ระบบย่อยอาหาร รวมทั้งอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อย อาจจะยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เหมือนของผู้ใหญ่ ดังนั้นปัญหาระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องเผชิญบ่อยครั้ง เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้

สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตลูกน้อย จดจำลักษณะ และพฤติกรรมต่าง ๆ ยิ่งในช่วงวัยเด็กทารก ที่เขายังไม่สามารถสื่อสารได้ สิ่งที่เขาพยายามจะบอกเมื่อเกิดอะไรขึ้นกับตัวเขานั่นคือ การร้องไห้ ซึ่งลูกจะใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสาร ในช่วงที่ยังไม่สามารถพูดออกมาได้

นอกจากการร้องไห้แล้ว พฤติกรรมอื่น ๆ ยังสามารถบอกคุณแม่ให้ทราบได้เช่นกัน อย่างที่เราได้กล่าวกันไปในตอนต้น การสังเกตอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าทาง ลักษณะของอุจจาระ การแหวะนม หรืออาเจียน รวมทั้งอาการป่วย เช่น ตัวร้อน เป็นผื่น ล้วนแต่เป็นสัญญาณแจ้งเตือนให้เราได้ทราบว่าลูกน้อยมีปัญหากับระบบย่อยอาหาร

เมื่อคุณแม่สังเกตแล้ว และคาดการว่าลูกอาจจะเป็นเพราะสาเหตุนั้น ๆ ควรหาวิธีบรรเทาอาการเบื้องต้น เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัว หรือดีขึ้น นอกจากนี้ ยังควรหาวิธีป้องกัน อย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยง และป้องกันปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยที่จะเกิดขึ้น

หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีลักษณะร้ายแรง อย่าลังเล และรอคอยดูอาการต่อ ควรรีบพาลูกน้อยเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด และทำรักษา ซึ่งหลังจากการรักษาควรนำคำแนะนำของแพทย์ มาใช้ในการดูแลลูกน้อยต่อไป

          • The Science Behind Infant Digestion
          • ระบบย่อยอาหาร
          • ระบบการย่อยอาหารหรือระบบทางเดินอาหาร
          • เนื้องอกลำไส้ตรง รักษาอย่างไร? ไม่ต้องมีถุงหน้าท้อง
          • Digestive System
          • How Big Is Your Stomach?
          • Reflux in babies
          • Soothing a crying baby
          • 5 Common Baby Tummy Troubles and How to Help
          • Breastfeeding challenges: Colic
          • How to Care for Yourself When Your Baby Has Colic
          • Colic
          • What Does Your Baby’s Poop Color Say About Their Health?
          • How Often Do Breastfed and Formula-Fed Newborn Babies Poop?
          • The Best Remedies for Your Baby’s Constipation
          • Breastfeeding challenges: Constipation
          • Why Babies Vomit—and What You Can Do About It
          • Why Babies Spit Up
          • Signs and Symptoms Your Baby May Be Lactose Intolerant
          • What should I do if I think my baby is allergic or intolerant to cows' milk?
          • Lactose intolerance
          • Confused about lactose intolerance?
          • Lactose Intolerance or Milk Allergy: What's the Difference?
          • What Is Lactose?
          • Cow’s Milk Allergy in Children: Symptoms and Diagnosis