Leaving page banner
 

ท้อง 7 เดือนใหญ่แค่ไหน อาการคนท้อง 7 เดือนเป็นอย่างไร 

ท้อง 7 เดือนใหญ่แค่ไหน อาการคนท้อง 7 เดือนเป็นอย่างไร 

Enfa สรุปให้

  • อายุครรภ์ 7 เดือน จะมีอาการคนท้องที่หลากหลาย ตั้งแต่อาการปวดสะโพก อาการปวดกระดูกเชิงกราน อาการท้องผูก อาการท้องแข็ง รวมถึงอาการอ่อนเพลียและเหนือยล้ามากขึ้นด้วย

  • ในช่วงอายุครรภ์ 7 เดือนนี้ ทารกจะมีขนาดยาวประมาณ 36 เซนติเมตร และน้ำหนักลูกในครรภ์ 7 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 900 - 1800 กรัม หรือทารกขนาดเท่ากับผักกาดหอมเต็มขนาด

  • ทารกอายุครรภ์ 7 เดือน สามารถตอบสนองต่อกลิ่นต่าง ๆ ได้ เพราะเซลล์ประสาทรับกลิ่นของทารกมีการพัฒนามากขึ้น เมื่อสัมผัสถึงกลิ่นต่าง ๆ เจ้าตัวเล็กอาจทำหน้าเบะหรือขยับศีรษะเป็นการตอบสนองต่อกลิ่นนั้น ๆ และหลังจากที่ทารกคลอดออกมา ลูกน้อยจะสามารถจดจำ หรือรู้สึกคุ้นเคยกับกลิ่นของคุณแม่ได้ 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ท้อง 7 เดือน นับจากอะไร
     • อาการคนท้อง 7 เดือน
     • ร่างกายของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ 7 เดือน
     • อัลตราซาวนด์ท้อง 7 เดือน
     • พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน
     • เช็กลิสต์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการตั้งครรภ์ 7 เดือนกับ Enfa Smart Club 

เมื่อตั้งท้องมาถึง 7 เดือนแล้ว ก็ถือว่าคุณแม่ได้ก้าวเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว ยินดีต้อนรับคุณแม่เข้าสู่ไตรมาส 3 ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งในระยะนี้คุณแม่ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง รวมถึงทารกในครรภ์เองก็เริ่มมีพัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย บทความนี้จาก Enfa มีสาระดี ๆ สำหรับคุณแม่ที่อายุครรภ์ 7 เดือนมาฝากค่ะ  

ท้อง 7 เดือน แปลว่าอะไร? อายุครรภ์ 7 เดือน นับจากอะไร?  


ท้อง 7 เดือน คือ คุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 7 เดือนแล้ว และมีอายุครรภ์ระหว่าง 27-30 สัปดาห์ นับว่าเป็นเดือนแรกของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์  

โดยอายุครรภ์ของคุณแม่จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด จากนั้นก็จะนับเพิ่มสัปดาห์ถัดไปเรื่อย ๆ เป็น 2 เดือน 3 เดือน เรื่อยไปจนกระทั่ง 9 เดือน ซึ่งจะเป็นช่วงไตรมาสสาม และใกล้จะมีการคลอดเกิดขึ้น    

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

อาการคนท้อง 7 เดือน เป็นยังไงบ้าง 


คุณแม่ที่อายุครรภ์ 7 เดือน อาจพบกับอาการคนท้องดังต่อไปนี้  

  • อาการปวดสะโพก เมื่อมดลูกขยายใหญ่ขึ้น ก็จะไปกดเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic nerve) ซึ่งเชื่อมอยู่ระหว่างบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวและกล้ามเนื้อขา ส่งผลให้เกิดอาการปวดสะโพกหรือปวดหลังส่วนล่างได้  

  • อาการปวดกระดูกเชิงกราน เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายทำการคลายข้อต่อที่เชื่อมกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้าง เพื่อเตรียมพร้อมเชิงกรานสำหรับการคลอดที่ใกล้เข้ามา กรณีเช่นนี้จึงส่งผลให้คุณแม่รู้สึกปวดเชิงกราน  

  • อาการท้องผูก เพราะระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและธาตุเหล็กเพิ่มระดับสูงขึ้นเป็นผลให้ระบบย่อยอาหารช้าลง ทำให้ท้องผูก  

  • อาการท้องแข็งเนื่องจากมดลูกหดรัดตัว (Braxton Hick Contraction) อาการเช่นนี้คุณแม่ควรระวัง หากมีอาการท้องแข็งเพราะมดลูกรัดตัวบ่อยเกินไป ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้  

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้น คุณแม่ก็จะรู้สึกอ่อนแรงมากขึ้น เนื่องจากขนาดท้องใหญ่ขึ้นและน้ำหนักตัวมากขึ้นด้วย  ทำให้จะลุกจะนั่ง หรือจะทำอะไรก็อ่อนเพลียอยู่บ่อย ๆ

อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน คุณแม่ควรรับมืออย่างไร 

คุณแม่ท้อง 7 เดือน ท้องแข็ง นั้นสามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ซึ่งปกติก็ถือว่าไม่ได้น่าเป็นห่วงอะไรนัก หากว่าอาการท้องแข็งนั้นอาจเป็นผลมาจากการมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ที่รุนแรง หรือเกิดจากการพลิกตัวของทารก การกลั้นปัสสาวะ หรือการรับประทานอาหารอิ่มจนเกินไป เป็นต้น  

ซึ่งวิธีการรับมือกับอาการท้องแข็ง ก็สามารถทำได้ ดังนี้  

  • ไม่กลั้นปัสสาวะ ยิ่งกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ ก็ยิ่งเสี่ยงจะทำให้ท้องแข็งมากขึ้น  

  • ไม่บิดตัวหรือบิดขี้เกียจบ่อย ๆ เพราะเสี่ยงจะทำให้เกิดความดันสูงในมดลูก อาจทำให้ท้องแข็งได้  

  • ระมัดระวังการมีเพศสัมพันธ์ เลือกท่าที่เอื้อต่อการตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงท่าเซ็กซ์ที่รุนแรงหรือโลดโผนเกินไป  

  • รับประทานอาหารแต่พอดี หากรับประทานอาหารมากไปอาจส่งผลให้อาหารไม่ย่อย  และเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาจนำไปสู่อาการท้องแข็งได้  

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ท้อง 7 เดือน ท้องแข็งบ่อยมาก ซึ่งอาจเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก และถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยมากเข้า อาจนำไปสู่อาการปากมดลูกเปิด ซึ่งเสี่ยงจะนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย  

ปวดหน่วงท้องน้อยตอนตั้งครรภ์ 7 เดือน ผิดปกติหรือไม่  

อาการปวดท้องน้อย ตั้งครรภ์ 7 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยทางสุขภาพโดยทั่วไป และสาเหตุที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรง ดังนั้น หากมีอาการปวดท้องน้อย หรือมีอาการปวดท้องน้อยนานติดต่อกัน 1 วันขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป  

ร่างกายของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ 7 เดือน มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง


คนท้อง 7 เดือน ท้องใหญ่แค่ไหน: เข้าใจลักษณะหน้าท้องของคนท้อง 7 เดือน   

อายุครรภ์ 7 เดือนนี้ คุณแม่จะมีขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น และมดลูกเองก็ขยายตัวใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโต ส่งผลให้หน้าท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม จนไม่สามารถสวมใส่เสื้อผ้าขนาดปกติได้แล้ว ต้องมาสวมชุดคลุมท้องแทน  

ท้อง 7 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโลกรัม  

คุณแม่แต่ละคนมีน้ำหนักตัวที่แตกต่างกัน นั่นทำให้น้ำหนักที่จะต้องเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งก่อนจะรู้ว่าน้ำหนักแม่ตั้งครรภ์ควรจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นเท่าไหร่ในแต่ละไตรมาส คุณแม่จะต้องคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย BMI ของตัวเองเสียก่อน  

เมื่อได้ค่า BMI มาแล้ว น้ำหนักของคุณแม่ในแต่ละไตรมาสจะมีการเพิ่มขึ้นที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้ว สำหรับคุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในแต่ละไตรมาส ดังนี้  

  • ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสแรกนี้ทารกยังตัวเล็กอยู่ คุณแม่ยังไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มน้ำหนักให้มากเกินกว่า 1-2 กิโลกรัม  

  • ไตรมาสที่ 2 ระยะนี้ทารกมีขนาดตัวที่โตขึ้น ทำให้คุณแม่อาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นราว ๆ 5-6 กิโลกรัม  

  • ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสสุดท้ายทารกมีขนาดตัวที่พร้อมสำหรับการคลอดที่เริ่มใกล้มาถึง โดยจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 3.5-4.5 กิโลกรัม แต่เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น คุณแม่บางคนอาจอึดอัดท้องจนกินอะไรได้น้อยลง   

ในช่วงไตรมาสที่สามคุณแม่บางคนมีน้ำหนักที่ลดลง หากน้ำหนักลดลงมาไม่กี่กิโลกรัมก็อย่าตกใจ ถือเป็นเรื่องปกติ 

อัลตราซาวนด์ท้อง 7 เดือน คุณแม่จะเห็นอะไรบ้างนะ


การอัลตราซาวนด์เมื่ออายุครรภ์ 7 เดือน ถือเป็นช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่จะสามารถเห็นทารกเริ่มมีขนอ่อน ดวงตาของทารกสามารถกะพริบได้ เห็นกระดูกและกล้ามเนื้อมากขึ้น เห็นริมฝีปากกับจมูกชัดขึ้น  

ขนาดและน้ำหนักทารกในครรภ์ 7 เดือน   

ในช่วงอายุครรภ์ 7 เดือนนี้ ทารกจะมีขนาดประมาณ 36 เซนติเมตร และน้ำหนักลูกในครรภ์ 7 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 900 - 1800 กรัม หรือทารกขนาดเท่ากับผักกาดหอมเต็มขนาด  

รูปทารกในครรภ์ 7 เดือน ตอนนี้ลูกน้อยตัวเท่านี้แล้วนะ  

ทารกในครรภ์ 7 เดือน จะมีขนาดที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสัปดาห์ ดังนี้:  

อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ มีขนาดเท่ากับกะหล่ำดอก  

อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ มีขนาดยาวเท่ากับแตงร้าน  

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ มีขนาดเท่ากับบัตเตอร์นัท สควอช  

อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ มีขนาดเท่ากับผักกาดหอมเต็มขนาด  

ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน? ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหนกันนะ  

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือช่วงอายุครรภ์ 7 เดือน คุณแม่หลาย ๆ คนก็จะเริ่มสงสัยว่าตั้งครรภ์ 7 เดือนลูกอยู่ท่าไหน? หรืออยากจะรู้ว่าทารกในครรภ์ 7 เดือน จะเริ่มกลับศีรษะหรือยังนะ?  

ซึ่งในอายุครรภ์ 7 เดือนนี้ทารกในครรภ์เริ่มมีการกลับหัวไปทางช่องคลอด เตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่ใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ  

แล้วท้องแฝด 7 เดือน จะเป็นยังไงบ้างนะ

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด ทารกแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการเหมือนกับการตั้งครรภ์ลูกคนเดียวตามปกติ ทั้งน้ำหนักและขนาดตัว เพียงแต่พัฒนาการของทารกแฝดในครรภ์นั้น จะเป็นพัฒนาการแบบคูณสอง เพราะว่ามีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน ดังนั้น พัฒนาการของทารกในครรภ์ ก็จะเป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน 2 คน  

อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์แฝดนั้นถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีแนวโน้มสูงต่อการคลอดก่อนกำหนด ตั้งแต่อายุครรภ์ 7 เดือนขึ้นไป คุณแม่ควรสังเกตอาการต่าง ๆ ให้ดี เพราะบางอาการอาจเป็นจุดเริ่มต้นของอาการใกล้คลอดก็ได้  

พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน ที่คุณแม่ควรรู้ 


ช่วงอายุครรภ์ 7 เดือน ทารกจะมีพัฒนาการที่เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้  

  • ทารกเริ่มมีขนาดตัวโตเต็มที่  

  • ทารกพัฒนาอวัยวะเพศอย่างสมบูรณ์ โดยทารกเพศหญิงจะมีการพัฒนาช่องคลอดขึ้นมา ส่วนทารกเพศชายจะมีการพัฒนาลูกอัณฑะ   

  • ประสาทการได้ยินของทารกพัฒนาอย่างสมบูรณ์  

  • ทารกเริ่มตอบสนองต่อเสียง แสง รวมถึงความเจ็บปวดต่าง ๆ  

  • ทารกจะผลิตไขมันออกมาเรื่อย ๆ จนกว่าจะสิ้นสุดการตั้งครรภ์  

  • ทารกสามารถขยับนิ้วมือและกำมือได้  

  • ทารกสามารถตอบสนองต่อกลิ่นต่าง ๆ ได้ เพราะเซลล์ประสาทรับกลิ่นของทารกมีการพัฒนามากขึ้น เมื่อสัมผัสถึงกลิ่นต่าง ๆ เจ้าตัวเล็กอาจทำหน้าเบะหรือขยับศีรษะเป็นการตอบสนองต่อกลิ่นนั้น ๆ และหลังจากที่ทารกคลอดออกมา ลูกน้อยจะสามารถจดจำ หรือรู้สึกคุ้นเคยกับกลิ่นของคุณแม่ได้  

  • ทารกมีการนอนหลับแบบกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว (Rapid eye movement sleep หรือ REM sleep) ซึ่งหมายความว่าเจ้าตัวเล็กอาจกำลังฝันอยู่  

อาหารบํารุงครรภ์ 7 เดือน ที่คุณแม่ควรรับประทาน  

หากจะถามว่า ท้อง 7 เดือนควรกินอะไร ก็แน่นอนว่าจะต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ดังนี้  

  • โฟเลตหรือกรดโฟลิก เป็นสารอาหารมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองและไขสันหลังของทารก และคุณแม่ควรได้รับโฟเลตอย่างเพียงพอในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาหารที่อุดมด้วยโฟเลต เช่น บร็อคโคลี่ ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่ว ถั่ว ถั่วเลนทิล อะโวคาโด กะหล่ำดาว กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขมและคะน้า  

  • ดีเอชเอ DHA (Docosahexaenoic Acid) คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท นอกจากนี้ยังอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่าง เช่น การคลอดก่อนกำหนด หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้อีกด้วย อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น คุณแม่ควรกินอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง หรือดื่มนมสูตรเสริมดีเอชเอก็ดีเช่นกันค่ะ  

  • ไอโอดีน หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ อาจทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายผิดปกติ และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ได้ ซึ่งไอโอดีนอยู่ในจำพวกอาหารทะเลทุกชนิด ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา  

  • คาร์โบไฮเดรต การกินคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยลดอาการแพ้ท้องในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ย่อยง่าย และให้พลังงานสูง ช่วยลดอาการคลื่นไส้ อย่างไรก็ตาม คนท้องไม่ควรกินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เพราะอาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วนระหว่างตั้งครรภ์ได้  

  • โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น จัดว่าเป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญที่คุณแม่ควรได้รับจากการกินอาหารในแต่ละวัน เพราะโคลีนมีส่วนสำคัญในการบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ การกินอาหารที่ให้สารโคลีนอย่างเพียงพอจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ได้  

  • ไฟเบอร์ เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ไม่ว่าจะเป็นแม่ก่อนคลอด แม่อุ้มท้อง แม่หลังคลอด หรือแม่ให้นมลูกก็ควรได้รับอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างตั้งครรภ์ ควรกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเป็นประจำ เพราะไฟเบอร์จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ไฟเบอร์ยังช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงและอาจช่วยป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษได้อีกด้วย โดยสามารถได้ไฟเบอร์จากอาหารจำพวกผักและผลไม้ต่าง ๆ  

  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทที่แข็งแรง อาหารที่อุดมด้วยสังกะสี เช่น เนื้อวัว ผักโขม จมูกข้าวสาลี เห็ด หอยนางรม เนื้อแกะ เมล็ดฟักทองและสควอช ไก่ ถั่ว เป็นต้น

  • โปรตีน เป็นส่วนประกอบสำคัญของดีเอ็นเอ เนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อ ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเอนไซม์ในร่างกายและจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่เหมาะสมของทารกในครรภ์อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เช่น พืชตระกูลถั่ว คีนัว ถั่วเลนทิล ไก่ เนยถั่ว เนื้อสัตว์ และถั่วเหลือง  เป็นต้น

  • กรดไขมันโอเมก้า 3 มีความจำเป็นต่อการพัฒนาดวงตาและสมองในทารกในครรภ์ และมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพของหัวใจ การทำงานที่เหมาะสมของระบบสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโตของผิวหนัง ผม และกระดูก อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า เช่น น้ำมันพืช ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ถั่วเหลือง ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น  

  • ธาตุเหล็ก สำคัญต่อกระบวนการสร้างเม็ดเลือดและการลำเลียงออกซิเจนไปยังทารก หากคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อย ก็จะส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังทารกได้น้อย ซึ่งหากทารกได้ออกซิเจนน้อย ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต ทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางอีกด้วย อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ปลา เต้าหู้ ตับ ถั่วเหลือง ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ถั่วและเมล็ดพืช ผักใบเขียวเข้ม  ผลไม้แห้ง และไข่ เป็นต้น  

  • วิตามินซี หากธาตุเหล็กเป็นสารอาหารสำคัญที่ขาดไม่ได้ วิตามินซีก็เป็นอีกหนึ่งคู่ดูโอ้ของธาตุเหล็กที่ไม่ควรห่างกัน เพราะวิตามินซีจะทำหน้าที่สำคัญในการการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างเพียงพอ อาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี ได้แก่ พริกเขียวและแดง มะเขือเทศ มันเทศ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดาว กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และผักใบเขียว เป็นต้น  

  • วิตามินดี เป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน การพัฒนาฟันและกระดูกที่แข็งแรง และการแบ่งเซลล์ที่แข็งแรงในทารก อาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี เช่น ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ไข่แดง น้ำมันตับปลา และนมหรือซีเรียลเสริมวิตามินดี  

  • วิตามินบี 6 มีสรรพคุณช่วยลดอาการคลื่นไส้และอาเจียน อาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 6 เช่น เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก ไข่ ผลไม้รสเปรี้ยว พืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่ว เมล็ดพืช และอะโวคาโด 

หรือกลุ่มอาหารที่คุณแม่ควรจะเน้นรับประทานให้เพียงพออยู่ตลอดการตั้งครรภ์ คือ  

  • ผักต่าง ๆ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรที่จะต้องกินผักหรือมีผักอย่างน้อย 3 ถ้วยต่อวัน เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของแม่และทารกในครรภ์ และควรเลือกผักหลากสี หลากชนิดเพื่อให้ได้รับสารอาหารและรสชาติที่หลากหลาย เช่น คะน้า ผักโขม บร็อคโคลี่ มันเทศ มะเขือเทศ แครอท ฟักทอง พริกหยวก ข้าวโพด มะเขือม่วง กะหล่ำปลี ไม้ตีกลอง เป็นต้น  

  • ผลไม้ต่าง ๆ เนื่องจากผลไม้มีสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของทารก ซึ่งผลไม้สดจะให้คุณค่าทางสารอาหารที่ดีกว่าน้ำผลไม้และผลไม้กระป๋องหรือผลไม้แช่แข็ง โดยผลไม้ที่เหมาะกับแม่ตั้งครรภ์ เช่น เมล่อน อะโวคาโด ทับทิม กล้วย ฝรั่ง ส้ม มะนาวหวาน สตรอเบอร์รี่ และแอปเปิ้ล เป็นต้น  

  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม เพราะผลิตภัณฑ์จากนมนั้นถือเป็นแหล่งแคลเซียมชั้นดี ซึ่งแคลเซียมนั้นสำคัญมากสำหรับการพัฒนากระดูกที่แข็งแรงและแข็งแรง โดยคุณแม่สามารถได้รับแคลเซียมจากอาหารหลากหลายชนิด เช่น นม โยเกิร์ต และชีสแข็ง เป็นต้น  

นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ อีกหนึ่งอาหารคนท้องที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพการตั้งครรภ์ที่แข็งแรงได้  

บางครั้งคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะมีปัญหาเรื่องของการแพ้นมวัว หรือแพ้นมจากพืชชนิดอื่น ๆ นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยเสริมสุขภาพสำหรับแม่ตั้งครรภ์ ที่สำคัญคือควรเลือกนมสำหรับคนท้องที่มี DHA และโฟเลตสูง ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับแม่ตั้งครรภ์   

  • DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการกินอาหาร โดย DHA มีสำคัญต่อกระบวนการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ เช่น สมอง ผิวหนัง ดวงตา ทั้งยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่าง เช่น การคลอดก่อนกำหนด หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด  

  • โฟเลต ซึ่งเป็นกลุ่มวิตามินบีที่สำคัญมาก หากคุณแม่ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้ เพราะโฟเลตทำหน้าที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง คุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกจำเป็นต้องได้รับโฟเลตเพื่อช่วยในการสร้างหลอดประสาท และสมองที่สมบูรณ์ของทารก 

Enfamama TAP No. 1

เช็กลิสต์สำหรับแม่ท้อง 7 เดือน เริ่มไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรทำอะไรบ้าง


 อายุครรภ์ 7 เดือน ถือว่าเป็นเดือนแรกของไตรมาส 3 และคุณแม่ได้เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว ซึ่งในอายุครรภ์ 7 เดือนนี้ คุณแม่ก็ยังคงมีหลาย ๆ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ได้แก่  

  • หากคุณแม่ผ่านการผ่าคลอดมาก่อน เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 เดือน ควรปรึกษาถึงแนวโน้มการคลอด ว่าจะต้องทำการผ่าคลอดหรือเปล่า หรือสามารถคลอดธรรมชาติได้ตามปกติ  

  • เริ่มตั้งชื่อลูก หรือเตรียมชื่อสำหรับตั้งชื่อให้ลูกหลังคลอด เพื่อทำการแจ้งเกิด  

  • เริ่มเตรียมของสำหรับการคลอดได้  

  • หมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ หากมีอาการใดที่อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยผ่านเพราะคิดว่าคงไม่เป็นไร เนื่องจากช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ทารกอาจจะมีการคลอดก่อนกำหนดได้  

ไขข้อข้องใจเรื่องการตั้งครรภ์ 7 เดือนกับ Enfa Smart Club  


 ท้อง 7 เดือน มีเลือดออก อันตรายไหม

ปกติแล้วอาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์นั้นมักสันนิษฐานว่ามีความผิดปกติขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยอาจจะเป็นการแท้ง การท้องลม หรือมีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกก็ได้

ดังนั้น ถ้าหากคุณแม่ที่อายุครรภ์ 7 เดือนมีเลือดออกทางช่องคลอด ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา  

 ท้อง7เดือน ลูกดิ้นแรงมาก ถือว่าปกติหรือไม่

การนับลูกดิ้นนั้น คุณแม่ควรจะนับทุกวัน และนับในเวลาเดิมเสมอ โดยถ้าลูกเตะหรือกระแทก 1 ครั้ง นับเป็นลูกดิ้น 1 ครั้ง ลูกเตะหรือกระแทกอีก 1 ครั้ง นับเป็นลูกดิ้น 2 ครั้ง   

โดยในระยะเวลา 1 ชั่วโมง คุณแม่จะต้องนับลูกดิ้นได้มากกว่า หรือตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป แต่ถ้าภายในชั่วโมงแรก ลูกดิ้นน้อยหรือดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง และพยายามนับใหม่ในชั่วโมงถัดไป ถ้าหาก 1 ชั่วโมงถัดไปแล้วก็พบว่าลูกยังดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที  

 ท้อง 7 เดือน เวียนหัว คลื่นไส้ ผิดปกติหรือไม่ 

ปกติแล้ว อาการหน้ามืดของคนท้อง 7 เดือน นี้จะไม่ค่อยมีเหลืออยู่แล้ว ส่วนมากมักจะเป็นอาการอ่อนเพลียซะส่วนใหญ่  

อย่างไรก็ตาม อาการแพ้ท้องนั้นเป็นเรื่องปัจเจก คุณแม่แต่ละคนมีอาการแพ้ท้องหนักเบาและยาวนานไม่เท่ากัน บางคนพอไตรมาส 2 ก็ไม่เหลืออาการแพ้ท้องแล้ว แต่คุณแม่บางคนเข้าไตรมาสที่ 3 แล้วก็ยังมีอาการแพ้ท้องอยู่  

ซึ่งถ้าหากอาการวิงเวียนศีรษะและคลื่นไส้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่ ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา  

 ท้อง 7 เดือน เตรียมของให้ลูกได้หรือยัง

จริง ๆ แล้วของเตรียมคลอดนั้นสามารถเตรียมเมื่อไหร่ก็ได้ เพียงแต่ถ้าเตรียมไว้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1-2 กว่าจะถึงกำหนดคลอด สิ่งของบางอย่างอาจจะชำรุดเสียหายได้ ดังนั้น ถ้าคุณแม่อาจจะเริ่มเตรียมเมื่อมีอายุครรภ์ 7 เดือน ก็ถือว่าไม่สายเกินไปค่ะ  

 ผลไม้สําหรับคนท้อง 7 เดือน ควรกินอะไรดี

คนท้องสามารถกินผลไม้ได้ทุกชนิด เว้นเสียแต่ว่าคุณแม่จะมีอาการแพ้ผลไม้บางชนิด ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ชนิดนั้น ๆ   

 อาการปวดหลังของคนท้อง 7 เดือน บรรเทายังไงได้บ้าง

หากคุณแม่มีอาการปวดหลัง สามารถใช้การประคบร้อนและประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังได้ แต่ถ้าอาการปวดหลังรุนแรงมากขึ้นจนกระทั่งกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา


    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    EFB Form

    EFB Form