cervix-dilation

ปากมดลูกเปิด สัญญาณใกล้คลอด ที่คุณแม่ต้องเตรียมพร้อม!

 

Key Highlight

  • โดยปกติแล้ว ปากมดลูก ของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดปิดกั้นอยู่ เพื่อป้องกันเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม แต่เมื่อใกล้คลอด และระดับฮอร์โมนของคุณแม่สูงขึ้น จะทำให้ปากมดลูก เริ่มขยายมากขึ้นหรือเริ่มเปิดออก ทำให้มูกและเลือดที่บริเวณปากมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด ส่วนเส้นเลือดที่บริเวณปากมดลูกจะมีการแตก จึงมีเลือดออกมาพร้อมมูก

  • ซึ่งการเปิดออกของมดลูกนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน คุณแม่หลาย ๆ คน อาจจะมีอาการปากมดลูกเปิดเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือไม่กี่วันก็คลอดแล้ว แต่คุณแม่อีกหลายคนอาจจะมีอาการปากมดลูกเปิดนานราวสัปดาห์กว่าจะมีการคลอดเกิดขึ้น

  • และปกติแล้วแพทย์จะรอให้ปากมดลูกเปิดกว้างเองตามธรรมชาติ แต่ก็มีบางกรณีที่แพทย์จำเป็นต้องเร่งให้มีมดลูกเปิดออกกว้างขึ้น เช่น ครบ 40 สัปดาห์แล้วยังไม่มีแนวโน้มว่าปากมดลูกจะขยายกว้างขึ้น แพทย์ก็จะใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปากมดลูกเปิดเร็วขึ้น เช่น ใช้ฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของมดลูก เพื่อเร่งการขยายปากมดลูก หรือทำการกวาดมดลูก เป็นต้น


เลือกอ่านตามหัวข้อ

• ปากมดลูกเปิด คืออะไร
• ปากมดลูกจะเริ่มเปิดเมื่อไหร่
• ปากมดลูกเปิด คุณแม่จะมีอาการอย่างไร
• ปากมดลูกเมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดคลอด เป็นอย่างไร
• วิธีทําให้ปากมดลูกเปิดเร็ว 
• ปากมดลูกไม่เปิด แบบนี้คุณแม่ต้องทำยังไงดี
• ไขข้องข้องใจเรื่องอาการปากมดลูกเปิดกับ Enfa Smart Club 


ปากมดลูกเปิด เป็นหนึ่งในสัญญาณของอาการใกล้คลอด ที่บอกว่าอีกไม่นานแล้วนะที่เจ้าตัวเล็กจะได้ออกมาลืมตาดูโลกแล้ว แต่...อาการปากมดลูกเปิดนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลายระยะ มาดูกันว่าอาการปากมดลูกเปิดแบบไหนที่บอกว่าใกล้คลอด และปากมดลูกเปิดกี่เซนติเมตรถึงจะรู้ว่าใกล้คลอด มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันกับบทความนี้จาก Enfa กันค่ะ 

ปากมดลูกเปิด คืออะไร? ลักษณะเป็นอย่างไร?


ปากมดลูก เป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดว่าคุณแม่จะคลอดง่ายหรือยาก หากปากมดลูก ยังแข็ง ไม่เปิด แม้จะมีการหดรัดตัวของมดลูก การคลอดก็จะเป็นไปได้ยาก  

โดยปกติแล้ว ปากมดลูก ของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดปิดกั้นอยู่ เพื่อป้องกันเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม  

เมื่อใกล้คลอด และระดับฮอร์โมนของคุณแม่สูงขึ้น จะทำให้ ปากมดลูก เริ่มขยายมากขึ้น ทำให้มูกและเลือดที่บริเวณปากมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด ส่วนเส้นเลือดที่บริเวณปากมดลูกจะมีการแตก จึงมีเลือดออกมาพร้อมมูก 

ซึ่งการเปิดออกของมดลูกนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน คุณแม่หลาย ๆ คน อาจจะมีอาการปากมดลูกเปิดเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือไม่กี่วันก็คลอดแล้ว แต่คุณแม่อีกหลายคนอาจจะมีอาการปากมดลูกเปิดนานราวสัปดาห์กว่าที่มีการคลอดเกิดขึ้น 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ปากมดลูกจะเริ่มเปิดเมื่อไหร่? 


ระยะเวลาที่ปากมดลูกเปิดของคุณแม่แต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันออกไป บางคนเริ่มช้า บางคนเริ่มเร็ว แต่โดยมากแล้วอาการปากมดลูกนี้จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ไปจนถึง 40 สัปดาห์ ซึ่งช่วงระยะเวลานี้อาจเกิดการคลอดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ใช่คุณแม่ทุกคนที่จะคลอดในสัปดาห์ที่ 40 เสมอไป 

อย่างไรก็ตาม หากปากมดลูกเปิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 หรือมีอาการปากมดลูกเปิดในอายุครรภ์ระหว่าง 20-36 สัปดาห์ ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีการคลอดก่อนกำหนด คุณแม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันที 

ขณะที่ปากมดลูกเปิด คุณแม่จะมีอาการอย่างไร?


ขณะที่ปากมดลูกเปิด คุณแม่ถึงการหดเกร็งของมดลูกได้ อาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ 

  • มีอาการคล้ายเป็นตะคริวที่บริเวณขา 

  • คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ 

  • รู้สึกว่าน้ำเดิน หรือน้ำคร่ำแตก 

  • มีอาการแน่นท้อง หรือปวดท้องร่วมด้วย โดยจะปวดเป็นพัก ๆ  

  • ปวดเมื่อยบริเวณหลังหรือท้องส่วนล่าง 

  • รู้สึกไม่ค่อยสบายตัว 

จะเกิดอะไรขึ้นกับปากมดลูกเมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดคลอด?


เมื่อคุณแม่เข้าสู่ระยะการคลอด ปากมดลูกควรจะเปิดอย่างน้อย 1 เซนติเมตร/ชั่วโมง ซึ่งการคลอดโดยธรรมชาตินั้น จะแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 

  • ระยะที่ 1 ช่วงนี้ปากมดลูกจะเปิดประมาณ 3 เซนติเมตร ระยะนี้อาจใช้เวลาถึง 20 ชั่วโมงสำหรับคุณแม่บางท่าน 

  • ระยะที่ 2 คุณแม่จะรู้สึกปวดท้องมากขึ้น เพราะการหดรัดตัวของมดลูกจะแรงและถี่ขึ้น ช่วงนี้ปากมดลูกจะเปิดประมาณ 4-10 เซนติเมตร และมดลูกจะมีการหดรัดตัวทุก ๆ 15-30 นาที การหดรัดตัวแต่ละครั้ง ใช้ระยะเวลานานถึง 1 นาที 

  • ระยะที่ 3 ปากมดลูกจะเปิด 10 เซนติเมตร เพื่อให้หัวเด็กโผล่ออกมาที่ปากมดลูกและสามารถเข้าสู่กระบวนการเบ่งคลอด ในระยะนี้เป็นระยะที่คุณหมอจะให้คุณแม่เริ่มเบ่งคลอดธรรมชาติ โดยอาจใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณแม่ถึงกำหนดคลอดแล้ว แต่ทว่าอาการใกล้คลอด ที่สำคัญอย่าง ปากมดลูก ยังไม่เปิดหรือเปิดน้อย คุณหมออาจจะทำการเร่งคลอดซึ่งมีหลายวิธี เพื่อให้ปากมดลูกเปิด ซึ่งกรรมวิธีในการเร่งคลอดนั้นมีความปลอดภัย โดยคุณหมอจะพิจารณาจากความพร้อมในการคลอดตามธรรมชาติของคุณแม่ และสุขภาพของทารกในครรภ์ค่ะ 

ปากมดลูกเปิดกี่เซนติเมตรถึงคลอด? 


ปกติแล้วแพทย์จะเริ่มให้ทำการเบ่งคลอดโดยธรรมชาติเมื่อปากมดลูกเริ่มเปิดตั้งแต่ 8-10 เซนติเมตร 

วิธีทําให้ปากมดลูกเปิดเร็ว


ปกติแล้วแพทย์จะรอให้ปากมดลูกเปิดกว้างเองตามธรรมชาติ แต่ก็มีบางกรณีที่แพทย์จำเป็นต้องเร่งให้มีมดลูกเปิดออกกว้างขึ้น เช่น ครบ 40 สัปดาห์แล้วยังไม่มีแนวโน้มว่าปากมดลูกจะขยายกว้างขึ้น แพทย์ก็จะใช้วิธีดังต่อไปนี้เพื่อกระตุ้นให้ปากมดลูกเปิดเร็วขึ้น 

  • แพทย์จะใช้ฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของมดลูก เพื่อเร่งการขยายปากมดลูก 

  • แพทย์จะทำการกวาดมดลูก โดยใช้นิ้วกวาดไปที่บริเวณปากมดลูกเพื่อให้ปากมดลูกเกิดการขยายตัว 

ปากมดลูกไม่เปิด แบบนี้คุณแม่ต้องทำยังไงดี? 


กรณีที่ปากมดลูกไม่เปิด อาจพบได้ในหลายกรณี เช่น ตั้งท้องเกินกำหนด หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนจะถึงกำหนดคลอด หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่ปากมดลูกจะเปิด ซึ่งแพทย์อาจจำเป็นจะต้องทำการเปิดมดลูก และเร่งการคลอดให้เกิดขึ้น ดังนี้ 

  • แพทย์อาจพิจารณาใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของมดลูก และเร่งการขยายตัวของปากมดลูก 

  • แพทย์จะทำการกวาดมดลูก โดยใช้นิ้วกวาดไปที่บริเวณปากมดลูกเพื่อให้ปากมดลูกเกิดการขยายตัว 

  • การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ โดยแพทย์จะสอดนิ้วเข้าไปให้ลึกสุดของปากมดลูก แล้วหมุนนิ้วอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อทำการเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ เป็นการกระตุ้นให้มีการหลั่งเอนโซม์ phospholipase A2 เพื่อทำให้มดลูกมีการหดรัดตัว 

  • การเจาะถุงน้ำคร่ำ แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเข็มถักโครเชต์เพื่อเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกออก เพื่อทำให้มดลูกมีการหดรัดตัว 

  • ใช้ยาเร่งคลอด แพทย์จะให้ยาเร่งคลอดกับคุณแม่ผ่านทางสายน้ำเกลือ เพื่อเร่งให้เกิดการคลอด และกระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัว 

ไขข้องข้องใจเรื่องอาการปากมดลูกเปิดกับ Enfa Smart Club 


1. ท้อง 39 สัปดาห์ ปากมดลูกยังไม่เปิด ผิดปกติหรือไม่? 

คุณแม่แต่ละคนมีกำหนดคลอดที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะคลอดตั้งแต่สัปดาห์ที่ 37 ขณะที่บางคนอาจจะคลอดในสัปดาห์ที่ 40 พอดี  

ดังนั้น หากสัปดาห์ที่ 39 แล้วปากมดลูกยังไม่เปิด ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะเริ่มเปิดในสัปดาห์ที่ 40 แต่เกินสัปดาห์ที่ 40-42 แล้วยังไม่มีอาการปากมดลูกเปิด แพทย์จะทำการเร่งคลอดทันทีตามข้อบ่งชี้

2. ปากมดลูกเปิด 1 ซม กี่วันคลอด? 

ปากมดลูกเปิดแค่ 1 เซนติเมตร จะยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้นในระยะนี้ เพราะการคลอดจะเริ่มขึ้นเมื่อปากมดลูกเริ่มเปิดได้ตั้งแต่ 8-10 เซนติเมตรขึ้นไป 

3. ปากมดลูกเปิด 2 ซม. กี่วันคลอด? 

ปากมดลูกเปิดแค่ 2 เซนติเมตร จะยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้นในระยะนี้ เพราะการคลอดจะเริ่มขึ้นเมื่อปากมดลูกเริ่มเปิดได้ตั้งแต่ 8-10 เซนติเมตรขึ้นไป 

4. ปากมดลูกเปิดแล้วปิดได้ไหม? 

โดยปกติแล้ว เมื่อปากมดลูกเปิดแล้วจะยังไม่สามารถปิดสนิทได้ จนกว่ามีการคลอดเสร็จสิ้น 

แต่ก็มีคุณแม่หลายรายที่ปากมดลูกเปิดได้ 1-2 เซนติเมตรแล้วแต่ก็ปิดลง แต่ยังไม่ปิดสนิท เพียงแต่หดตัวลงกว่าครั้งแรกที่เริ่มขยายตัว 

5. ปากมดลูกเปิดชั่วโมงละกี่เซน 

ระยะการเปิดของมดลูกนั้นจะแตกต่างกัน ดังนี้ 

  • ระยะที่ 1 ช่วงนี้ปากมดลูกจะเปิดประมาณ 3 เซนติเมตร ระยะนี้อาจใช้เวลาถึง 20 ชั่วโมงสำหรับคุณแม่บางท่าน 

  • ระยะที่ 2 คุณแม่จะรู้สึกปวดท้องมากขึ้น เพราะการหดรัดตัวของมดลูกจะแรงและถี่ขึ้น ช่วงนี้ปากมดลูกจะเปิดประมาณ 4-8 เซนติเมตร และมดลูกจะมีการหดรัดตัวทุก ๆ 15-30 นาที การหดรัดตัวแต่ละครั้ง ใช้ระยะเวลานานถึง 1 นาที 

  • ระยะที่ 3 ปากมดลูกจะเปิด 8-10 เซนติเมตร เพื่อให้หัวเด็กโผล่ออกมาที่ปากมดลูกและสามารถเข้าสู่กระบวนการเบ่งคลอด ในระยะนี้เป็นระยะที่คุณหมอจะให้คุณแม่เริ่มเบ่งคลอดธรรมชาติ โดยอาจใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 



    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    EFB Form

    EFB Form

    X