ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปั๊มนมที่คุณแม่มือใหม่ควรระวัง


คุณแม่หลายคนคงศึกษาเกี่ยวกับวิธีปั๊มนมหลังคลอดไว้แล้ว ถ้าฝึกบ่อยๆ รับรองว่าไม่นานก็เป็นคุณแม่นักปั๊มที่มีน้ำนมสต็อคเก็บไว้ให้ลูกยามที่คุณแม่ออกไปทำงานได้แบบไม่ต้องกังวล แต่มีอีกหลายอย่างที่คุณแม่ผู้ผ่านประสบการณ์การปั๊มนมอยากบอกต่อ ซึ่งเรื่องเหล่านี้อาจช่วยให้การปั๊มนมของคุณแม่ไม่มีข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ และช่วยให้เราระมัดระวังและเรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านั้นได้

6 เรื่องการปั๊มนมที่คุณแม่ควรรู้และระวัง


 

1. ระวังปัดขวดนมที่เพิ่งปั๊มเสร็จหก!

ข้อนี้เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย เพราะว่าขวดที่มีน้ำนมที่เพิ่งปั๊มเสร็จใหม่ๆ จะมีสายต่อไปที่เครื่องปั๊ม จะเกิดเหตุบ่อยมากๆ คือคุณแม่ลืมถอดสาย แล้ววางไว้บนโต๊ะ ทีนี้ถ้าสายเกิดขยับรั้งขวดนมหกตกลงบนพื้นหรือคว่ำไปบนโต๊ะ น้ำนมไหลออกมาทางกรวยเกือบหมด หรือจะถอดสายออกไปแล้วตั้งขวดที่มีน้ำนมเปิดฝาไว้รอเตรียมเทใส่ถุงเก็บน้ำนม คุณแม่หยิบโน่นหยิบนี่ มือไปปัดขวดเทน้ำนมหกเกลี้ยงขวด ความรู้สึกผิด ความท้อแท้จะเกิดขึ้นมาทันที ดังนั้นควรระวังตัวเองทุกครั้ง ทำให้เป็นสเต็ปติดมือ ให้ระวัง พยายามเทน้ำนมใส่ถุงแช่ตู้เย็นให้เร็วที่สุด

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

2. ปิดฝาตู้แช่นมไม่สนิท

เป็นสิ่งที่คุณแม่ปั๊มนมที่ใช้ตู้แช่เย็นช่องฟรีซกับทุกคนในครอบครัวเกิดขึ้นได้ เพราะบางครั้งคนในบ้านหรือคุณแม่เองหยิบถุงน้ำนม หรือของที่แช่ออกมาแล้วปิดไม่สนิท น้ำนมที่แช่แข็งไว้ละลายเสียทั้งตู้ก็มี คุณแม่ที่มีประสบการณ์บอกว่าอารมณ์ตอนนั้นคือช็อคมาก ต้องทิ้งนมสต็อคทั้งหมด แล้วพยายามพาลูกน้อยไปด้วยเกือบทุกที่ที่สามารถให้เขาดูดเอาจากเต้าได้ พร้อมกับขยันปั๊มนมเพื่อทำสต็อคทดแทน รวมทั้งยอมจ่ายเงินซื้อตู้เก็บน้ำนมแยก พร้อมกับติดป้าย “ปิดให้สนิท” เพื่อเป็นการเตือนทุกคนให้คอยช่วยดู

3. ใช้กรวยที่ไม่ตรงกับขนาดของหัวนม

ประสบการณ์จริงของคุณแม่อีกท่านที่ได้รับเครื่องปั๊มนมส่งต่อมาจากรุ่นพี่ คุณแม่ท่านนี้เล่าว่าพยายามปั๊มในช่วง 1-2 เดือนแรกแล้วรู้สึกว่าน้ำนมออกมาไม่มากเท่าที่ควร เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของกรวยปั๊มนม เพราะขนาดที่เล็กหรือใหญ่เกินไปทำให้ระยะเวลาที่น้ำนมจะเริ่มพุ่งอาจจะช้า อัตราการไหลไม่ดี ปริมาณน้ำนมออกมาไม่ได้เท่าที่ควร คุณแม่ท่านนี้จึงบอกว่าตอนที่ใช้กรวยขนาดใหญ่เกินไป สังเกตเห็นว่าฐานหัวนมไม่แนบสนิทไปกับตัวกรวย น้ำนมไหลไม่ดี พอเปลี่ยนเป็นขนาดที่เล็กลง น้ำนมก็ไหลออกมาได้ดีได้มากขึ้น ดังนั้นการเลือกกรวยให้ตรงกับขนาดของเต้านมก็เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้เช่นกัน

การใช้กรวยที่ไม่ตรงขนาดกับหัวนมจะทำให้น้ำนมไหลออกมาได้ไม่เต็มที่ / นมยานไม่ได้เกินจากการที่ปั๊มนมออกบ่อย

 

4. เครื่องปั๊มนมสองข้างดีกว่าปั๊มข้างเดียว

ในช่วงก่อนคลอดหรือหลังจากคลอดใหม่ๆ เราอาจได้ยินคนบอกว่าถ้าไม่แน่ใจว่าน้ำนมเราจะมากหรือไม่ ก็ลองซื้อเครื่องปั๊มแบบปั๊มข้างเดียวก่อน เพราะราคาถูกกว่ากัน แต่ความจริงแล้วการปั๊มน้ำนมทั้งสองข้างพร้อมกันจะทำให้ประสิทธิภาพการไหลของน้ำนมออกมาได้ดีกว่าและประหยัดเวลากว่ามาก ดังนั้นการซื้อเครื่องปั๊มนมที่ราคาสูงกว่า แต่ใช้ได้นานกว่าก็จะคุ้มกว่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งใจจะให้นมแม่นานต่อเนื่อง

5. ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดเต้านมก่อนปั๊มนม

คุณแม่อาจสงสัยในเรื่องนี้ จริงๆ แล้วก่อนปั๊มนมหรือให้ลูกดูดนม คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเช็ดหรือทำความสะอาดเต้านมหรือหัวนมก่อน เพียงแต่ก่อนปั๊มนมคุณแม่ล้างมือตัวเองให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ การเช็ดหรือล้างหัวนมบ่อยๆ จะทำให้ผิวยิ่งแห้ง ทำให้หัวนมแตกได้ง่ายขึ้น ส่วนการทำความสะอาดเต้านมขณะอาบน้ำ ให้ใช้สบู่ทำความสะอาดตามปกติก็พอ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาพิเศษเฉพาะส่วนใดๆ เพราะน้ำยานั้นอาจไปขจัดไขมันตามธรรมชาติที่ผลิตมาเพื่อหล่อลื่นหัวนม และลานนมออก จะทำให้ผิวบริเวณนั้นแห้งและแตกง่ายได้

6. ปั๊มนมไม่ให้ห่างเกิน 3 ชั่วโมง

ปัญหาอย่างหนึ่งของคุณแม่มือใหม่คือยังปั๊มนมไม่เก่ง ปั๊มได้น้ำนมน้อยเกินไป ดังนั้น ให้คุณแม่ลองดูว่าแต่ละวันปั๊มนมถี่พอหรือไม่ นั่นคือปั๊มทุก 3 ชั่วโมง ข้างละ 15-20 นาที วันละ 8 ครั้ง โดยควรรักษาระยะห่างในการปั๊มแต่ละครั้งไม่ให้ห่างกันเกิน 3 ชั่วโมง เต้านมที่คัดมากๆ และน้ำนมไม่ได้ถูกปล่อยออก จะทำให้ร่างกายหยุดผลิตน้ำนม น้ำนมก็จะค่อยๆ น้อยลง ที่สำคัญ คุณแม่ทำใจให้สบาย ไม่เครียด ก่อนปั๊มนม 3-5 นาที ให้ดื่มน้ำอุ่นสัก 1 แก้ว คุณแม่ทำแบบนี้บ่อยๆ ไม่นานน้ำนมก็จะมาตามที่ต้องการค่ะ

คุณแม่สามารถนำประสบการณ์การปั๊มนมเหล่านี้ไปปรับใช้กับตัวเอง เพื่อให้การปั๊มนมเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรค ลูกน้อยก็จะได้กินนมแม่อย่างเพียงพออย่างที่คุณแม่ตั้งใจไว้ค่ะ

 

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


เพราะในน้ำนมเหลืองมี แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย และในน้ำนมแม่ยังมี MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่