ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
จริงหรือ? ที่รับวัคซีนโควิด-19 จะทำให้มีบุตรยาก

จริงหรือ? ที่รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะทำให้มีบุตรยาก

เราอาจจะได้ยินเรื่องผลข้างเคียงในการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็น แขนอ่อนแรงบ้าง เหนื่อยล้าบ้าง หรือเป็นไข้บ้าง อาการเหล่านี้เป็นผลข้างเคียงที่ได้รับการรายงานจากผู้ที่รับวัคซีนไปแล้ว แต่ก็มีอีกเสียงบอกมาว่า ผลข้างเคียงจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก!

ยิ่งสำหรับใครที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ หรือเตรียมพร้อมทำ IVF ได้ยินเรื่องนี้ ก็คงจะกังวลใจไม่น้อยว่า ถ้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข้าไป จะทำให้มีบุตรยาก เสี่ยงสูญเสียทารกในครรภ์ หรือทารกในครรภ์มีพัฒนาการไม่เต็มที่ เรื่องนี้เป็นจริงหรือไม่?

แต่เรื่องนี้มีที่มาอย่างไร

สำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า วัคซีนตัวนี้มีหลายประเภท มีกระบวนการผลิตที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาวัคซีนนั้น ๆ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของวัคซีนได้ดังนี้

          1. วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม ได้แก่ วัคซีนดีเอ็นเอ (DNA) หรือเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA)
          2. วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine)
          3. วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine)
          4. วัคซีนชนิดเนื้อตาย (Inactivated vaccine)

โดยวัคซีนเหล่านี้ มีวิธีที่จะจัดการไวรัสโควิด-19 ในวิธีที่แตกต่างกันออกไป แต่วัคซีนทุกประเภทจะมีหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะจัดการกับตัวโปรตีนเฉพาะตัวหนึ่ง ที่ประกอบอยู่ในไวรัสโควิด-19 และเมื่อพูดถึงโปรตีน ก็มีข้อวิตกกังวลกันว่า วัคซีนจะเข้าไปจัดการโปรตีนที่เรียกว่า “syncytin-1” ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการสร้างรก และมีส่วนช่วยในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์

แล้วเป็นเป็นจริงหรือไม่ ที่ว่าฉีดวัคซีนแล้วทำให้มีบุตรยาก

แม้ว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะมีเป้าหมาย มุ่งเป้าไปที่โปรตีนที่ประกอบในไวรัสโควิด-19 แต่ตัววัคซีนไม่ได้มีเป้าหมายไปที่โปรตีน syncytin-1 ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญต่อการตั้งครรภ์ในผู้หญิง และโปรตีนตัวนี้ไม่ได้เป็นส่วนประกอบของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นถือเป็นเรื่องไม่จริง ที่การฉีดวัคซีนจะทำให้มีบุตรยาก และยังไม่มีหลักฐานการทางแพทย์ระบุว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะมีผลเสียต่อภาวะเจริญพันธุ์ในผู้หญิง

สรุปว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้หญิงที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ยังสามารทำได้ นอกจากนี้ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่ได้มีข้อห้ามสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ แต่หากทราบว่า ตนเองตั้งครรภ์หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว ให้เลื่อนการฉีดเข็มที่ 2 ออกไปก่อน และให้รับวัคซีนอีกเข็มหลังการตั้งครรภ์ หรือในช่วงการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 หรือ 3 กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงที่จะติดโควิด-19 โดยให้ดูประโยชน์และความเสี่ยงของการรับวัคซีนเป็นหลัก

ทั้งนี้ หากเรามีความกังวลกับการรับวัคซีนโควิด-19 สามารถขอคำปรึกษา และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประกอบการพิจารณาในการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19

มาร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันกับ Enfa Smart Club พร้อมรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และอ่านบทความดี ๆ สำหรับลูกน้อยแบบนี้ได้ที่นี่

อัปเดตข้อมูลเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564

Reference:

          - The Covid-19 Vaccine Does Not Cause Infertility. Here’s Why People Think It Does. https://bit.ly/35IMKrM
          - Fact check: Available mRNA vaccines do not target syncytin-1, a protein vital to successful pregnancies. https://reut.rs/3zRKuN1
          - How do COVID-19 vaccines work?. https://bit.ly/2UpeT4T
          - วัคซีน covid 19 คำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน สำหรับสุภาพสตรี: ยง ภู่วรวรรณ. https://bit.ly/2UdXFXY

บทความที่แนะนำ

7 ขั้นตอน! สอนลูกน้อยล้างมือ ให้ห่างไกลจากไวรัส
วัคซีนโควิด-19 ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตรหรือไม่?
ให้นมลูกจะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไหม?
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner