ลูกน้อยไม่ยอมเคี้ยว ปัญหาใหญ่แก้อย่างไรดี?

สำหรับเด็กเล็กในวัย 1 ขวบนั้น การเคี้ยว ถือเป็นหนึ่งในพัฒนาการสำคัญที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโต เนื่องจากการเคี้ยวเป็นส่วนหนึ่งของการย่อยอาหาร ถ้าหากเด็กในวัยนี้เคี้ยวไม่เป็น จะส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกายเพราะสำหรับลูกน้อยวัยนี้นั้น นมแม่ จะกลายเป็นเพียงอาหารเสริมและอาหารหลักจะเปลี่ยนเป็นอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่แทน 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

การเคี้ยวนั้นเป็นประโยชน์ต่อเด็กวัยนี้เป็นอย่างมาก เพราะการเคี้ยวเป็นการใช้กล้ามเนื้อส่วนกราม การขยับกล้ามเนื้อบริเวณแก้ม คอ และเป็นการฝึกใช้ลิ้นของเด็ก ซึ่งเป็นพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งของกรามและฟัน 

นอกจากนี้ เด็กในวัย 1 ขวบหรือโตกว่านั้นจะเริ่มมีการเรียนรู้เกิดขึ้น เด็กจะไม่อยู่นิ่งและชอบขยับตัวไปมา ไม่สนใจทานอาหาร ดังนั้น เด็กในวัยนี้จึงควรรับประทานอาหารที่มีลักษณะแข็งขึ้นเพื่อฝึกการเคี้ยวให้นานขึ้นและจดจ่อกับการเคี้ยวให้นานขึ้น  

ถ้าครบขวบแล้ว คุณแม่พบว่าลูกมีปัญหาเคี้ยวไม่เป็น สิ่งที่ต้องทำคือเริ่มต้นฝึกกันอย่างจริงจังค่ะ แม้จะเป็นเรื่องยากกว่าการฝึกในช่วงขวบปีแรกก็ตาม โดยค่อยๆ ให้ลูกกินอาหารที่แข็งขึ้น เพื่อให้ได้ฝึกเคี้ยวบ้าง และต้องฝึกด้วยท่าทีเชิญชวน บรรยากาศสนุกสนาน ไม่บังคับฝืนใจ คุณพ่อคุณแม่อาจทำให้ดูว่าการเคี้ยวเป็นอย่างไร บอกลูกว่าอาหารเอร็ดอร่อยขึ้นเพียงใดจากการที่ได้เคี้ยว หรือมีอาหารอร่อยอื่นๆ รออยู่อีกมากถ้าลูกเคี้ยวเป็น เป็นต้น

ที่สำคัญ คุณแม่ต้องใจแข็ง ค่อยๆ ลดอาหารอ่อนลง เพิ่มอาหารแข็งขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ

ฟันแข็งแรง ช่วยการบดเคี้ยวอาหาร

  • เด็กวัย 1 ปี จะมีฟันหน้า 6-8 ซี่ เด็กจึงกัดและเริ่มฉีกอาหารได้ แต่ฟันเคี้ยวคือฟันกรามยังไม่ขึ้น เด็กวัยนี้จึงยังใช้เหงือกในการบดอาหารเคี้ยวอาหาร

  • ย่างเข้าปีที่ 2 ลูกจะมีฟันกราม เด็กจึงสามารถเคี้ยวอาหารชิ้นโตและเหนียวขึ้นได้ (แต่ยังเป็นฟันกรามของฟันน้ำนมอยู่ )

  • เมื่อลูกเริ่มมีฟันกรามแล้วจะามารถเคี้ยงและกลืนได้อย่าง่ายดายขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังอาการผิดปกติที่อาจเกิดได้ เช่น สำลัก ติดคอ เป็นต้น

MFGM is an essential nutrient found in breast milk and MFGM fortified milk.