เมื่อลูกน้อยก้าวเข้าสู่วัย 1 ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหวขยับตัวไปมา ในเด็กบางคนนั้นสามารถที่จะยืนขึ้นได้ด้วยตนเองแล้ว หรือบางคนอาจจะเริ่มเดินได้และเข้าใจชื่อเรียกของตนเอง พัฒนาการเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นยินดีของคุณแม่แต่ก็อันตรายต่อตัวเด็กเองเช่นกันหากคุณแม่ไม่ระมัดระวัง วันนี้เอนฟาจะพามาดูกันว่าคุณแม่ควรระมัดระวังเรื่องใดบ้างสำหรับเด็กวัยกำลังซนแบบนี้ 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air
  1. ไม่ปล่อยลูกไว้คนเดียวใกล้แหล่งน้ำ

    ไม่ว่าจะน้ำในกะละมัง ในอ่างอาบน้ำ สระน้ำตื้นๆ ห้ามปล่อยลูกไว้ตามลำพังเด็ดขาดแม้เพียงหนึ่งนาทีก็ตาม เด็กวัยนี้จะอยากรู้อยากลอง เจอน้ำเขาจะเล่นเลย และสามารถเกิดอันตรายที่เราไม่คาดฝันจากการจมน้ำได้

  2. หาราวกั้นบันได

    ราวบันไดสำคัญมาก เพราะเด็กจะเริ่มยืนขึ้นเกาะราวบันได และเขาก็อยากจะก้าวขึ้นลง ให้คุณแม่ติดประตูกั้นตรงบริเวณทางลงบันได และลงกลอนให้แน่นหนาทุกครั้ง เพื่อป้องกันลูกพลัดตกลงมา และอย่าปล่อยให้ลูกเล็กขึ้นลงบันไดตามลำพัง ถึงแม้ว่าจะเริ่มขึ้นลงบันไดเป็นบ้างแล้วก็ตาม

  3. วางรีโมทให้พ้นมือลูก

    รีโมทในที่นี้หมายถึงรีโมทคอนโทรลประตูบ้านและประตูรถ ควรวางให้พ้นมือลูก เคยมีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่าลูกวัยหนึ่งขวบของเธอกดรีโมทเปิดประตู แล้วเหมือนพยายามจะออกจากประตูไป โชคดีเธอเห็นทัน รีโมททุกอย่างจึงต้องวางไว้ที่สูงๆ ที่เด็กหยิบไม่ถึง

 
เคล็ดลับดูแลเด็กซนวัย 1 ขวบ
 
  1. ปลั๊กไฟ

    • บ้านไหนมีลูกวัยลูกหนึ่งขวบต้องหาตัวติดปลั๊กไฟมาติดไว้ทุกจุด เด็กวัยนี้เริ่มมีความอยากรู้อยากเห็น เมื่อเห็นปลั๊กไฟก็จะเข้าไปดูแล้วเอามือแหย่รูเสียบปลั๊กได้

    • เมื่อชาร์ตแบตโทรศัพท์เสร็จแล้ว อย่าทิ้งคาปลั๊กเสียบเอาไว้ เพราะเสี่ยงที่ลูกอาจเดินมาแล้วอมเล่นได้

  2. ตู้-โต๊ะต้องล็อก

    • ต้องปิดล็อกตู้ ลิ้นชักทุกครั้ง เพื่อกันเด็กไปดึงหรือเปิดเล่น เพราะของในตู้หรือลิ้นชักอาจจะหล่นลงมาทับเด็กได้

    • ตู้หรือลิ้นชักที่เก็บของใช้ที่มีอันตราย เช่น ยา ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ หรือของมีคมอย่างมีด กรรไกร ต้องเก็บให้มิดชิด ล็อกให้ดีทุกครั้ง หรือนำไปเก็บในที่ที่แน่ใจว่าปลอดภัยพ้นมือลูก เพื่อป้องกันลูกเอาของอันตรายเหล่านี้ไปเล่น

    • หากโต๊ะที่ใช้มีมุมแหลม มีเหลี่ยมคม ควรหาซื้อยางปิดมุมมาใส่เพื่อป้องกันลูกเดินชน

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM
  1. ดูแลพื้นห้อง

    • ควรเช็ดพื้นห้องให้แห้งเสมอ หรือห้ามไม่ให้ลูกไปเล่นในบริเวณที่มีพื้นลื่น ๆ เพราะอาจจะทำให้ลื่นหกล้มได้

    • เก็บกวาดพื้นให้โล่ง อย่าให้มีเศษของเล็ก ๆ เช่น กระดุม เมล็ดถั่ว ลวดเย็บกระดาษ ข้าวสาร ยา ตกหล่นหลงเหลืออยู่ เพราะลูกอาจจะเก็บกินเข้าไปและติดคอเป็นอันตรายได้

  2. ยาต่างๆ ต้องระวัง

    ยาทุกชนิดเก็บไว้ในตู้เก็บยาเสมอ หากไม่เก็บให้พ้นมือเด็ก เมื่อเด็กเดินไปเจอยาต่างๆ เขาอาจเทออกมาเล่น เอาเข้าปาก เป็นอันตรายได้

  3. อย่าทิ้งลูกไว้ในรถ

    ไม่ว่าจะแค่แวะลงไปซื้อของแป๊บเดียวหรือใช้เวลานาน อย่าปล่อยลูกไว้ในรถตามลำพังเป็นอันขาด เพราะเด็กอาจเผลอไปกดปุ่มต่างๆ จนล็อกเขาไว้ข้างในได้

  4. ระวังของร้อน

    ให้ระวังเมื่อใช้เตารีด กาน้ำร้อน อย่าปล่อยทิ้งไว้ เมื่อใช้เสร็จให้เก็บเข้าตู้หรือบริเวณที่พ้นมือเด็ก ช่วงนี้ไม่ควรใช้ผ้าคลุมโต๊ะใดๆ เพราะเด็กอาจจะดึงชายผ้าทำให้ของบนโต๊ะเช่น แก้ว จาน ชาม ตกแตก หรือน้ำร้อนหกมาโดนลูกได้

 
ดูแลเด็กซน
 
  1. เครื่องใช้ไฟฟ้า

    • เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ความร้อน เช่น เตารีด เตาอบ เครื่องปิ้งขนมปัง ต้องเก็บไว้ให้พ้นมือลูก และต้องบอกกับเขาว่าของเหล่านี้ร้อนมาก ห้ามจับหรือเล่นเด็ดขาดจะทำให้มือลูกเจ็บได้

    • แม้ลูกจะยังเล็ก แต่ก็ควรย้ำเตือนถึงอันตรายของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม เครื่องดูดฝุ่น เตาร้อนต่าง ๆ เพื่อให้ลูกจดจำและระวังตัวอยู่เสมอ

    • หลังใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ควรเก็บให้เรียบร้อย ไม่ปล่อยสายไฟยาวเกะกะ เพราะสายไฟอาจจะทำให้สะดุดหกล้ม หรือพันคอเด็กจนหายใจไม่ออกได้

    • ควรปิดฝาถังเครื่องซักผ้าทุกครั้ง ทั้งในระหว่างและหลังจากใช้งานเสร็จ เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ลูกวัยซนปีนเข้าไปเล่น หรือพลัดตกลงไปในเครื่องซักผ้าได้

สำหรับเด็กในวัยนี้แล้วสิ่งรอบตัวต่างๆอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ วิธีปกป้องลูกน้อยที่ดีที่สุดเลยก็คือดูแลลูกอย่างใกล้ชิดด้วยความระมัดระวัง บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าภายในบ้านตนเองนั้นปลอดภัยและปล่อยปละละเลย ซึ่งไม่ควรทำ สิ่งที่ทำได้อย่างเช่นการติดตั้งยางกันชน รั้วกั้นบันได และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยต่างๆ จะช่วยเสริมความปลอดภัย ลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้ 

 

คุณแม่รู้ไหม สมองลูกน้อยพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์ถึง 3 ขวบปีแรก ผู้เชียวชาญพร้อมให้คำปรึกษาได้ที่นี่