เบาหวานขณะตั้งครรภ์

อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์คุณหมอจะทดสอบกลูโคสในร่างกายของคุณแม่ คุณแม่อาจสงสัยเพราะเหตุใดระดับกลูโคสจึงสูงช่วงตั้งครรภ์?

เนื่องจากเมื่อตั้งครรภ์ รกจะสร้างฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่คอยคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าภาวะนี้ไม่ได้รับการควบคุม จะทำให้เกิดอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์และส่งผลกระทบต่อทั้งตัวแม่และทารกในครรภ์ได้ค่ะ นอกจากเบาหวานแล้วคุณแม่ควรดูแลสุขภาพในเรื่องใดอีกบ้าง เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดี คลิก..

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

การทดสอบอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีขั้นตอนอย่างไร

การทดสอบอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะทำโดยการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคเบาหวานในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ จะเริ่มทำเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์หรือเริ่มตรวจเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกสำหรับคุณแม่ที่มีอัตราเสี่ยงสูงโดยคุณหมอจะให้คุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง หากพบว่าระดับการทดสอบเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะทำโดยการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคเบาหวานในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ จะเริ่มทำเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์หรือเริ่มตรวจเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก สำหรับคุณแม่ที่มีอัตราเสี่ยงสูง คุณหมอจะให้คุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง หากพบว่าระดับน้ำตาลเท่ากับหรือมากกว่า 140 มก./ดล.บ่งชี้ว่าคุณแม่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และต้องทำการทดสอบต่อโดยให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม ถ้าค่าที่ได้มากกว่า 185 มก./ดล. ให้วินิจฉัยว่าคุณแม่ท่านนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยไม่ต้องตรวจเพิ่มเติม

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ในช่วงที่คุณแม่มีภาวะอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ความเสี่ยงต่อคุณแม่

คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และมีระดับน้ำตาลสูงจะทำให้มีความเสี่ยงมากมาย เช่น ..

  • เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์พิษ
  • เกิดภาวะเสื่อมของระบบหลอดเลือด ตา ไต และปลายประสาท
  • เกิดความดันโลหิตสูงติดเชื้อง่ายโดยเฉพาะระบบทางเดินปัสสาวะ

ความเสี่ยงต่อลูกน้อย

  • เมื่อคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และมีระดับน้ำตาลที่สูงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์ ทำให้ทารกจะมีร่างกายใหญ่กว่าปกติ เป็นอุปสรรคต่อการคลอดจนอาจได้รับอันตรายขณะคลอด อาจเกิดการแท้งการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกตายในครรภ์ได้
  • หลังคลอดระบบการหายใจของทารกอาจมีปัญหาพัฒนาช้ากว่าปกติ ไม่สามารถหายใจได้เองเมื่อแรกคลอด
  • เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเหลืองหลังคลอดมากกว่าทารกทั่วไป
  • หากคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ก็อาจพบระดับน้ำตาลในเลือดทารกต่ำได้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลต่อการทำงานของสมอง

วิธีป้องกันภาวะอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 

ภาวะแทรกซ้อนจากอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์เหล่านี้ สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้หากคุณแม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดทั้งก่อนและตลอดการตั้งครรภ์

นอกจากการดูแลรักษาจากคุณหมออย่างใกล้ชิดแล้ว ตัวคุณแม่ตั้งครรภ์เองก็ควรควบคุมระดับน้ำตาลโดยการควบคุมอาหาร พยายามลดอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาล และเพิ่มอาหารพวกโปรตีนและผัก และหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น มะม่วงหรือทุเรียน พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาทำร้ายตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ