เมื่อต้องกลับไปทำงานและให้นมลูกไปด้วยนั้นสามารถทำได้ แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องอาศัย “ใจ” ความอดทน ความมีวินัยของคุณแม่อย่างมาก เรามีคุณแม่ 2 ท่านที่มีประสบการณ์ให้นมแม่กับลูกได้แม้จะกลับไปทำงานมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ประสบการณ์คุณแม่ให้นมลูกเมื่อกลับไปทำงาน : คุณเยาวรัตน์ บูรณพัฒน์


พยายามทำสต็อกนมก่อนกลับไปทำงาน

ก่อนหมดวันลาคลอด ดิฉันเริ่มกังวลกับการต้องกลับไปทำงาน โดยเฉพาะเรื่องสต็อกนมของลูก เพราะตัวเองไม่ค่อยได้ปั๊มนม ไม่ได้ทำสต็อกน้ำนมอย่างที่ควรจะทำไว้เลย ด้วยความที่เราอยู่กับลูกตลอดเวลาจึงถนัดให้ลูกดูดจากเต้ามากกว่า เพราะสะดวกและเราก็ไม่ต้องมาล้างมานึ่งเครื่องปั๊มและขวดนมด้วย ดิฉันเลยต้องคิดใหม่ มาเอาจริงเอาจังกับการปั๊มนม จากที่เคยได้น้ำนมน้อยแต่หลังจากการใช้เวลานานในการปั๊มนมและบีบนม น้ำนมก็เริ่มมา ก็ให้ลูกดูดเต้าสลับกับดูดขวด ซึ่งทำให้รู้สึกดีขึ้นมาหน่อยที่ความพยายามของเราเห็นผล พอจะมีสต็อกไว้ให้ลูกได้บ้าง

 

กลับไปทำงาน โชคดีที่เพื่อนร่วมงานเข้าใจ

การปั๊มนมที่ออฟฟิศของดิฉันนั้น โชคดีที่เจ้านายและเพื่อนร่วมงานต่างเข้าใจเรื่องนี้ดีมาก แม้ว่าเจ้านายจะเป็นผู้ชาย แต่เขาก็มีลูก ส่วนเพื่อนร่วมงานก็น่ารักและมักเตือนเราเมื่อถึงเวลาปั๊มนม

ที่ทำงานให้ดิฉันใช้ห้องเก็บสินค้าห้องหนึ่งเป็นที่ปั๊มนมได้วันละ 2-3 ครั้ง และพนักงานที่ใช้ห้องนั้นอยู่ก็น่ารัก เขารู้เมื่อฉันเดินเข้าไปในห้องแล้วก็ปล่อยให้ฉันได้มีเวลาส่วนตัวเพื่อปั๊มนม ไม่มีบ่นหรือแสดงท่าทีไม่พอใจที่ฉันไปขัดจังหวะงานของเขา ฉันรู้สึกขอบคุณพวกเขามากจริงๆ และอยากจะขอโทษเขาสำหรับความไม่สะดวกทั้งหลาย

 

กิจวัตรใหม่ : ปั๊มนมไปด้วยทำงานไปด้วย

การปั๊มนมที่ออฟฟิศ ดิฉันเตรียมเครื่องปั๊มนมแบบปั๊มคู่ ผ้าคลุมให้นม อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการเก็บนม ฯลฯ จำนวนการปั๊มนมในที่ทำงานที่ไม่ให้กระทบการงานที่ทำคือปั๊มวันละ 2 ครั้งๆ ละ 30 นาที คือก่อนเที่ยงและก่อนกลับบ้าน บางวันดิฉันก็กินข้าวมือหนึ่ง อีกมือก็ปั๊มนม พร้อมตอบข้อความเรื่องงานทางโทรศัพท์ หรือคุยงานทางโทรศัพท์ไปด้วย ความเป็นแม่ให้นมทำให้เราสามารถทำงานมือเป็นระวิงได้ในเวลาเดียวกัน แต่ต้องไม่ให้การปั๊มนมมาทำให้คุณภาพงานของเราลดลงหรือมีปัญหา

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

 

เมื่อกลับมาที่บ้าน เพิ่มการปั๊มกลางคืน 1 รอบ

ตอนเย็นกลับมาถึงบ้าน ก็เอานมที่ปั๊มจากที่ทำงานแช่ตู้เย็นไว้ แล้วให้ลูกดูดจากเต้าเลย ประมาณเที่ยงคืนก็ปั๊มอีกรอบ เพื่อให้น้ำนมไม่ลด ตอนนี้ถ้าลูกตื่นมากินนมกลางคืน ก็จะให้เขาดูดขวดแทน แต่เขานอนยาวได้แล้ว ตื่นอีกทีก็ตี 5-6 โมง ดิฉันก็ให้เขาดูดนมจากเต้าก่อนมาทำงานลดอาการเต้านมคัด พอไปถึงที่ทำงาน ใกล้ๆ เที่ยงก็ปั๊มนมตามตารางที่วางไว้ ส่วนวันหยุดหากไม่มีธุระต้องออกไปข้างนอกก็จะให้ลูกดูดจากเต้าเป็นส่วนใหญ่ ทำอย่างนี้จนตอนนี้ลูก 8 เดือนแล้ว ยังกินนมแม่อยู่ค่ะ

 

ประสบการณ์คุณแม่ให้นมลูกเมื่อกลับไปทำงาน : คุณสุภัชญา บุษบัณฑ์


 

ในวันแรกที่กลับไปทำงานหลังจากการให้กำเนิดบุตร คุณแม่อาจจะมีความรู้สึกเศร้าหมองและผิดที่ทิ้งลูกน้อยที่บ้าน

 

ก่อนกลับไปทำงาน ฝึกลูกดูดนมจากขวด

ตัวเองเริ่มปั๊มนมเพื่อเก็บน้ำนมแม่ตั้งแต่ลูกอายุ 2- 3 สัปดาห์ โดยจะปั๊มหลังจากลูกดูดทุกครั้ง ได้ทีละเล็กละน้อยก็นำมาใส่ขวดรวมๆ กัน ครบ1วันถึงจัดเก็บใส่ถุง เมื่อครบกำหนดลาคลอด 90 วันแล้ว นมที่มีในสต็อกมีพอลูกกินได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง

ก่อนที่จะมาทำงาน 2 สัปดาห์ ก็หัดให้ลูกดูดขวดนม โดยจะบีบน้ำนมแม่ใส่ขวด เลือกใช้จุกนม ไซส์ S ซึ่งรูเล็กสุดและบิดเกลียวแน่นๆ เพื่อให้ลูกดูดไม่ง่ายมาก เขาจะได้ไม่ติดจุกนม จะได้ไม่มีปัญหาเวลาต้องมาดูดเต้าอีกในตอนอยู่กับแม่ ฝึกกันอยู่ประมาณ 7 วัน กว่าลูกจะยอมดูดขวดได้

 

กลับไปทำงาน ปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง

มีคำแนะนำจากเพื่อนๆ ที่มีประสบการณ์ว่าหากต้องกลับไปทำงานและต้องการให้ลูกกินนมแม่ต่อไป เราต้องมีวินัยในการปั๊มนมอย่างมาก ก่อนหน้ากลับมาทำงาน ฉันก็ขออนุญาตหัวหน้าว่าขอใช้ที่ทำงานและขอใช้เวลาปั๊มนม โชคดีที่หัวหน้าเป็นผู้หญิงที่เคยมีลูกมาแล้ว เธอเข้าใจก็อนุญาต และก็แจ้งให้เพื่อนคนอื่นๆ ในแผนกได้รู้

ตัวเองปั๊มนมทุกๆ 3 ชม. โดยใช้ห้องประชุมเป็นมุมปั๊มนม ปั๊มวันละ 3 ครั้ง คือเวลา 9.00น. 12.00 น. และ 15.00 น. ครั้งละประมาณครึ่งชั่วโมง แต่การปั๊มนมในเวลาทำงานใช่ว่าจะราบรื่นทุกวัน บางวันมีประชุมหรืองานยุ่งจนไม่สามารถปลีกเวลาเพื่อปั๊มนมได้ แต่ก็ยังต้องปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอ ก็จะย้ายที่ปั๊มนมจากห้องประชุมมาเป็นโต๊ะทำงานแทน ซึ่งทำให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ใช้ผ้าคลุมบังเครื่องปั๊มไว้ มือหนึ่งปั๊มมือหนึ่งก็ทำงาน จนตอนหลังเราก็พบว่าวิธีปั๊มที่โต๊ะทำงานก็สะดวกดี เพราะไม่ต้องกังวลกับการต้องลุกหายไปจากโต๊ะ เพียงแต่ต้องเปลี่ยนเครื่องมาใช้แบบปั๊มมือแทน เพราะปั๊มแบบใช้ไฟฟ้าเสียงดังไปนิด พอปั๊มนมได้ก็นำถุงน้ำนมแม่ไปแช่ไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เมื่อถึงเวลาเลิกงาน ก็นำใส่กระเป๋าเก็บความเย็นเอากลับบ้าน

 

เมื่อกลับมาที่บ้าน ให้ลูกกินจากเต้า

ตัวเองจะบอกพี่เลี้ยงลูกว่า 2-3 ชั่วโมงก่อนเราจะกลับมาถึงบ้าน อย่าให้ลูกกินนมที่ปั๊มเก็บไว้ ให้รอกินจากเต้าเราเอง เพราะเราอยากใกล้ชิดลูกด้วย แล้วยังช่วยระบายน้ำนมออก เต้านมก็ได้ผลิตน้ำนมใหม่ด้วยไงคะ พอตกดึกสักตี 1 ก็ปั๊มนมอีกรอบ ตอนเช้าก่อนมาทำงานก็ให้ลูกดูดจากเต้าครั้งหนึ่ง แล้วไปปั๊มต่อที่ทำงาน ทำแบบนี้มาเรื่อยๆ จนลูก 6 เดือนกว่าแล้วยังกินนมแม่อยู่ ภูมิใจนะคะที่ทำได้ทั้งให้นมลูกและทำงานไปด้วย

การให้นมลูกไปด้วยทำงานไปด้วยจะประสบผลสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ความตั้งใจของคุณแม่จริงๆ ประสบการณ์ของคุณแม่ทั้งสองคนนี้ยืนยันได้ค่ะ

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


เพราะในน้ำนมเหลืองมี แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

กลับไปทำงานหลังคลอดอย่างไร ให้มั่นใจ หายห่วง พบคำตอบได้ที่นี่