ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
วชิรพยาบาล

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

คุณแม่ให้นมแม่บางคนเมื่อกลับไปทำงาน มีเหตุต่างๆ นานาที่ทำให้ต้องหยุดให้นมแม่ จนทำให้น้ำนมหด น้ำนมน้อย ร่างกายไม่ผลิตน้ำนม จนทำให้คุณแม่ยอมถอดใจ คิดที่จะเลิกล้มความตั้งใจที่จะให้นมแม่ ขอบอกว่าอย่าเพิ่งถอดใจค่ะ คุณแม่สามารถกู้น้ำนมคืนกลับคืนมาได้ ด้วยวิธีที่เรานำมาฝากค่ะ

การกู้น้ำนมคืออะไร


การกู้น้ำนมหรือการเรียกน้ำนมแม่กลับคืน (Relactation) เป็นการเปิดโอกาสให้กับคุณแม่หลายคนที่เคยให้นมแม่มาก่อนแล้วหยุดให้นมไปช่วงหนึ่ง ได้สามารถกลับมามีน้ำนมให้ลูกอีกครั้ง เพื่อประโยชน์ที่ลูกน้อยจะได้รับ โดยอาศัยการกระตุ้นเต้านมเพื่อเพิ่มการผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม

 

เตรียมตัวก่อนกู้น้ำนม


เมื่อคุณแม่ตั้งใจแน่วแน่ที่จะกู้น้ำนม คุณแม่ต้องดูแลโภชนาการให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและครบถ้วน เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม ดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอ และมีเวลาใกล้ชิดลูก ตามปกติแม่ที่ทำงานนอกบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการมีน้ำนมไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกอยู่แล้วหากมาหมั่นปั๊มในที่ทำงานด้วย หากคุณแม่ไม่มีเวลาอาจต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติที่จะพยายามเรียกน้ำนมแม่กลับคืน ทั้งนี้ระยะเวลาในการเรียกน้ำนมอาจจะ 2-3 วันไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ก็มี ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายและระยะเวลาที่คุณแม่หยุดให้นมไป ถ้าหยุดให้นมไปนานก็จะใช้เวลามากกว่า

 

การที่จะทำให้ร่างกายแม่ผลิตนมออกมา คุณแม่ต้องไม่เครียดและใส่ใจกับอาหารการดินมากขึ้น

 

วิธีการกู้น้ำนมคืน


• มีวินัยในการปั๊มนม

คุณแม่ทำงานนั้นไม่สามารถให้ลูกดูดนมบ่อยได้ เพราะไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา ต้องมาปั๊มนมในที่ทำงาน และการกู้น้ำนมสำหรับแม่ทำงานนั้นหัวใจอยู่ที่วินัยและความสม่ำเสมอในการปั๊ม คุณแม่ต้องปั๊มนมให้ถี่ขึ้นทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละ 20-30 นาที โดยปั๊มให้ครบ 10 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง โดยช่วงสัปดาห์แรกที่กู้น้ำนมจะออกมาน้อยมากหรือบางคนไม่ออกมาเลย คล้ายกับช่วงแรกที่เริ่มปั๊มนมใหม่ ๆ หลังคลอด ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณแม่ว่าหยุดให้นมนานแค่ไหน เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 น้ำนมจะเริ่มมาเองโดยที่คุณแม่ต้องรักษาความถี่ของการปั๊มอย่างต่อเนื่อง

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

• เลือกใช้เครื่องปั๊มแบบปั๊มคู่

เครื่องปั๊มแบบปั๊มคู่จะให้ผลดีที่สุด เพราะเมื่อเรานำน้ำนมออกมาจากทั้งสองเต้าพร้อมกันจะได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า และช่วยประหยัดเวลา จะได้ไม่กินเวลางานมากนัก และช่วยกระตุ้นน้ำนมด้วย

• ใช้ยาช่วย

ในกรณีที่กระตุ้นด้วยวิธีต่างๆ ผ่านไป 2 สัปดาห์แล้ว แต่น้ำนมยังไม่มา คุณแม่สามารถใช้ยาแลคโตกัส (Lactogogues) เป็นตัวช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนมร่วมกับการกระตุ้นเต้านมได้ และให้หยุดใช้ยาเมื่อน้ำนมมีมากขึ้น การปั๊มกระตุ้นเต้านมอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้มีการสร้างน้ำนมต่อไป

• ลดความถี่การปั๊มลงเมื่อน้ำนมมาแล้ว

คุณแม่อาจใช้เวลาในการกู้น้ำนมอยู่ประมาณหนึ่งเดือนปริมาณน้ำนมจะค่อยๆ กลับมาเท่าเดิม จนในที่สุดสามารถมีน้ำนมให้ลูกกินอย่างเพียงพอ เมื่อคุณแม่กู้จนได้ปริมาณน้ำนมตามที่ต้องการแล้ว ก็สามารถลดจำนวนการปั๊มให้เหลือ 7-8 ครั้งต่อ 24 ชั่วโมงได้ โดยที่ยังคงรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ได้

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


เพราะมี แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

เลือกนมผงให้ลูกกินสลับนมแม่


ระหว่างกู้น้ำนม คุณแม่อาจมีความจำเป็นต้องให้ลูกกินนมผงเสริมบ้าง ในกรณีที่แม่มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนมเลย โดยควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารที่ใกล้เคียงนมแม่ เช่น MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ ซึ่งเยื่อหุ้มนี้ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อร่างกายและสมองเด็ก, ดีเอชเอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา ถือเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ของเด็ก
ที่สำคัญ จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว
การกู้น้ำนมหรือการเรียกน้ำนมแม่กลับคืนถือเป็นอีกความหวังและอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณแม่ที่น้ำนมหด น้ำนมน้อยแต่ต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ต่อไป ขอให้คุณแม่ตั้งใจจริงและไม่ยอมแพ้ น้ำนมแม่ก็จะกลับมาในที่สุดค่ะ

กลับไปทำงานหลังคลอดอย่างไร ให้มั่นใจ หายห่วง พบคำตอบได้ที่นี่