Enfa สรุปให้:

  • น้ำนมแม่ในระยะ 1-3 วันหลังคลอด จะเป็นน้ำเหลือง เรียกว่า น้ำนมเหลืองที่มีโปรตีนสำคัญอย่างแลคโตเฟอร์ริน ซึ่งมีสีเหลืองไปจนถึงเหลืองเข้ม หรือบางครั้งอาจพบว่าเป็นสีส้มคล้ายกับไข่แดงก็ได้เช่นกัน

  • หลังหมดระยะน้ำนมเหลือง ก็จะกลายเป็นน้ำนมระยะที่ 2 และน้ำนมระยะที่ 3 ซึ่งจะมีสีขาวและสีขาวข้นตามลำดับ ยิ่งมีไขมันมาก น้ำนมแม่ก็จะยิ่งเป็นสีขาวข้นมาก

  • อย่างไรก็ตาม สีของน้ำนมแม่สามารถมีได้หลายสี ซึ่งสีที่เปลี่ยนไปก็จะเกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ยาปฏิชีวนะ โดยอาจจะีกลายเป็นน้ำนมสีเขียว สีแดง หรือสีดำก็ได้เช่นกัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • สีน้ำนมแม่มีสีอะไรบ้าง
     • สีนมแม่ปกติเป็นสีไหน
     • ประโยชน์ของนมแม่
     • น้ำนมเหลืองมีแลคโตเฟอร์ริน
     • จริงหรือที่นมแม่หมดประโยชน์หลัง 6 เดือน
     • กินนมแม่แล้วต้องกินน้ำตามหรือไม่

ตามภาพที่เรามักจะเห็นได้ตามสื่อต่าง ๆ ก็จะทำให้เราเข้าใจกันไปโดยปริยายว่านมแม่นั้นต้องมีสีขาวนวลแบบในภาพที่เราเห็นกันมาตลอด ซึ่งก็ไม่ผิดค่ะ เป็นความจริงที่นมแม่ส่วนใหญ่ก็จะมีสีขาวนวล แต่...รู้หรือไม่ว่า นมแม่ไม่ได้มีแค่สีขาวเท่านั้นหรอกนะ เพราะนมแม่สามารถกลายเป็นสีอื่น ๆ ได้ และสีที่เปลี่ยนไปของนมแม่ ก็บอกถึงอาการทางสุขภาพและความผิดปกติต่าง ๆ ได้ด้วย

สีน้ำนมแม่ มีสีอะไรและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง


นมแม่สีอะไรกันนะ? จริง ๆ แล้วสีของน้ำนมแม่นั้นไม่ได้เป็นสีขาวอยู่ตลอดเวลาเสมอไปค่ะ หรือถ้าจะพูดกันตามตรงแล้ว นมแม่ครั้งแรกที่ไหลออกจากเต้านั้นก็ไม่ใช่ว่าจะมีสีขาวล้วนเลยสักนิด โดยนมแม่หลังคลอดนั้นจะมีสีเหลืองหรือเหลืองเข้มด้วยซ้ำ จากนั้นจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีที่ขาว หรือออกขาวเหลือง ตามกระบวนการของนมแม่ ดังนี้

           • น้ำนมสีเหลือง หรือก็คือสีของ น้ำนมเหลือง หรือ Colostrum Milk คือ น้ำนมแรกสุดของแม่ พบได้ในช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอด เป็นหัวน้ำนมแม่และเป็นน้ำนมแรกสุดที่ร่างกายของแม่ผลิตออกมา มีสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันที่เป็นประโยชน์ต่อทารก และมีสีเหลือง ไปจนถึงเหลืองเข้ม หรือบางครั้งอาจพบว่าเป็นสีส้มคล้ายกับไข่แดงก็ได้เช่นกัน

           • นมแม่สีขาว เมื่อหมดน้ำนมเหลืองซึ่งมักจะพบได้ในช่วง 1-3 วันหลังคลอด หรือบางครั้งอาจมีน้ำนมเหลืองไหลออกมานานถึง 5 วันก็เป็นไปได้ค่ะ แต่หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ช่วง น้ำนมระยะที่ 2 หรือ Transitional Milk คือ เป็นช่วงที่น้ำนมของแม่จะเริ่มเปลี่ยนจากจากน้ำนมที่มีสีเหลืองเป็นสีขาวแทน

           • นมแม่สีขาวข้น หลังคลอดลูกได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะเข้าสู่ช่วงน้ำนมระยะที่ 3 หรือ Mature Milk คือเป็นช่วงที่เต้านมได้ผลิตนมแม่ออกมาแบบเต็มตัว และลักษณะของน้ำนมแม่ในระยะหลังจากนี้เป็นต้นไปก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะไขมัน หากไขมันมากน้ำนมก็จะมีสีขาวข้น

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

สีนมแม่ปกติเป็นสีไหน สีไหนอันตรายไม่ควรให้ลูกกิน


ปกติแล้วสีของนมแม่ที่เปลี่ยนไป มักจะไม่ค่อยส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อทารก และทารกยังสามารถกินนมแม่ต่อไปได้ตามปกติ แม้ว่าสีของนมแม่อาจจะเปลี่ยนไปจากนมแม่สีใสตามปกติ เช่น สีเหลือง สีเหลืองเข้ม สีขาว สีขาวข้น

นอกจากสีเหลืองและสีขาว ซึ่งเป็นสีนมแม่ที่พบได้โดยทั่วไปแล้ว นมแม่ก็ยังสามารถเปลี่ยนเป็นสีอื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น:

           • น้ำนมแม่สีเขียว: เกิดจากการกินอาหารที่มีสีเขียวอย่าง ผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักโขม สาหร่าย ตำลึง สมุนไพรบางชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มที่ผสมสีเขียวบางชนิด ก็ส่งผลให้น้ำนมแม่เปลี่ยนเป็นสีเขียวได้เช่นกัน

           • น้ำนมแม่สีชมพู ส้ม และแดง: หากสีน้ำนมแม่เป็นสีชมพู ส้ม และแดง เกิดจากการกินอาหารอย่าง บีทรูท แครอท น้ำส้ม หรืออาหารแต่งสีต่าง ๆ เป็นต้น

           • น้ำนมแม่สีน้ำตาล สีสนิม หรือสีแดงแบบมีเลือดปน: สีน้ำนมแม่แบบนี้ เกิดจากการมีเลือดปนผสมอยู่ในน้ำนม ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นสีน้ำตาล สีสนิม สีส้มเข้ม หรือสีแดง เห็นสีน้ำนมแบบนี้ ก็อย่างพึ่งตกใจไป เพราะอาจจะเกิดจากปัญหาหัวนมแตก หรือเส้นเลือดฝอยแตก น้ำนมนี้ไม่เป็นอันตราย ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วัน อาการก็จะดีขึ้น

สีน้ำนมแม่แบบไหนมีประโยชน์กับลูกน้อย
 

นอกจากนี้ สีน้ำนมแม่ที่เปลี่ยนไป อาจจะเกิดจากเต้านมมีภาวะท่อสนิม (Rusty Pipe Syndrome) หรือเกิดจากการอักเสบภายในเต้านม หากใช้เวลาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน

ส่วนสีของน้ำนมที่อาจจะส่งผลต่อทารกหรืออาจก่อให้เกิดอันตรานรุนแรงได้ก็คือ นมแม่ที่มีสีดำ ซึ่งหากนมแม่เปลี่ยนเป็นสีที่ออกคล้ำหรือมีสีดำ แพทย์จะแนะนำให้หยุดพักการให้นมลูกไปก่อน

เนื่องจากนมแม่ที่เป็นสีดำนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพราะคุณแม่กินยาปฏิชีวนะบางชนิดเข้าไป อย่างเช่น Minocycline เป็นต้น ซึ่งผลของการกินยาปฏิชีวนะนั้นจะส่งผลให้สีของน้ำนมแม่ดูคล้ำขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งปกติแล้วถ้าคุณแม่กินยาชนิดนี้อยู่จะไม่แนะนำให้นมลูก

ดังนั้น จึงถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณแม่จะต้องแจ้งคุณหมอทุกครั้งก่อนรับยาทุกชนิดว่ากำลังอยู่ระหว่างให้นมลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกได้รับยาปฏิชีวนะผ่านทางน้ำนมแม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของทารก หรือก่อให้เกิดอันตรายได้

ประโยชน์นมแม่ มีอะไรบ้าง


นมแม่ถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ทารกทุกคนควรได้รับอย่างต่อเนื่อง 6 เดือน ถึง 1 ปี เพราะในนมแม่นั้นมีสารอาหารที่สำคัญต่อทารก และให้ประโยชน์ต่อทารกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

           ภูมิคุ้มกันที่ทารกได้จากแม่ ในน้ำนมแม่นั้นอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน แอนติบอดีและสารพันธุกรรมหลายชนิด โดยเฉพาะในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่มีแลคโตเฟอร์ริน ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยปกป้องเซลล์ และป้องกันการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย

           รับสารอาหารในนมแม่ ทารกวัยแรกเกิด - 6 เดือน ยังไม่สามารถกินอาหารอื่น ๆ ได้นอกจากนมแม่ เพราะระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ การกินอาหารอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นมแม่ อาจทำให้ทารกท้องผูก ท้องเสีย เกิดการติดเชื้อ หรือมีผลต่อการทำงานของลำไส้ได้ นมแม่เป็นแหล่งอาหารเดียวที่เหมาะสำหรับทารกวัยแรกเกิด - 6 เดือน และมีสารอาหารที่ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นโปรตีน ไขมัน และวิตามินต่าง ๆ

           น้ำนมเหลืองของแม่มีแลคโตเฟอร์ริน หรือ Lactoferrin ที่เป็นโปรตีนสำคัญชนิดหนึ่ง พบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง มีส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา จึงลดโอกาสการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร หรืออาการท้องเสีย ส่งเสริมให้เด็กมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

           นมแม่มี MFGM หรือ Milk Fat Globule Membrane เป็นสารอาหารสมองในน้ำนมแม่ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาท เชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง

           นมแม่ดีต่อสุขภาพลำไส้ เนื่องจากในนมแม่นั้นมีสารภูมิคุ้มกันและแอนติบอดี้ที่มีประโยชน์ต่อการย่อยในระบบทางเดินอาหาร ทั้งยังมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้อีกด้วย จึงลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในลำไส้ รวมถึงลดความเสี่ยงของโรคท้องร่วงได้ด้วย

จริงหรือที่ นมแม่หมดประโยชน์ หลัง 6 เดือน


คุณแม่มักจะได้รับคำแนะนำว่าควรให้ลูกได้กินนมต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน ทีนี้จึงอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเมื่อพ้นจาก 6 เดือนไปแล้ว นมแม่จะหมดคุณค่าทางสารอาหาร ก็เลยให้เลิกกิน

แต่จริง ๆ แล้วนมแม่สามารถให้ต่อเนื่องได้ 1-2 ปีเลยค่ะ และคุณค่าทางสารอาหารในนมแม่ก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปแต่อย่างใด ทว่าเมื่อลูกอายุได้ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว สารอาหารในนมแม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารกอีกต่อไป ร่างกายของเด็กต้องการพลังงานและสารอาหารที่มากขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโต

จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่ถึงต้องเริ่มให้ลูกกินอาหารตามวัยเมื่อลูกมีอายุ 6 เดือนนั่นเองค่ะ โดยในระหว่างที่ให้ลูกกินอาหารตามวัยคุณแม่ยังสามารถให้นมลูกควบคู่ไปพร้อม ๆ กันได้

กินนมแม่แล้ว ต้องให้ลูกกินน้ำตามหรือไม่


หนึ่งในคำถามสำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่อาจจะกำลังข้องใจกันอยู่ก็คือ ทำไมคนแก่ชอบให้ทารกกินน้ำ? ซึ่งหากไล่เรียงเหตุผลกันแล้ว ก็จะพบว่าแต่ละคนก็มีเหตุผลที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น เพื่อเป็นการล้างปากเด็กหลังกินนม เพื่อป้องกันอาการสะอึก เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น เพื่อไม่ให้เด็กคอแห้ง เป็นต้น มากไปกว่านั้น ยังมีผู้ใหญ่หลายคนเข้าใจผิดอีกด้วยว่าการให้ทารกดื่มน้ำนั้นเป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำกัน

จริง ๆ แล้วในนมแม่ก็มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักสูงถึง 80% อยู่แล้ว ทารกจึงไม่จำเป็นจะต้องดื่มน้ำเข้าไปอีก และทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ยังไม่ควรดื่มน้ำค่ะ เพราะถ้าหากเด็กได้ดื่มน้ำ จะทำให้กินนมได้น้อยลง เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร อีกทั้งยังเสี่ยงต่ออาการท้องเสียด้วยหากว่าน้ำที่ให้เด็กดื่มนั้นไม่สะอาด

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน



บทความแนะนำสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่