Enfa สรุปให้:

  • ทารกเพศชายวัย 7 เดือน หนักประมาณ 8.3 กิโลกรัม สูงประมาณ 69.2 เซนติเมตร ทารกเพศหญิงวัย 7 เดือน หนักประมาณ 7.6 กิโลกรัม สูงประมาณ 67.3 เซนติเมตร

  • เด็ก 7 เดือน เริ่มมีการเคลื่อนไหวที่อิสระมากขึ้น สามารถพยุงตัวนั่งเองได้ เริ่มที่จะพยายามคลานในระยะสั้น ๆ ชอบที่จะหยิบจับสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา

  • โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก 7 เดือนบางคนที่กล้ามเนื้อลำตัวพัฒนาพร้อมสู่การคลานได้แล้ว ก็สามารถคลานเล่นได้ทั้งวันจริงๆ เพราะสิ่งต่างๆ รอบตัวล้วนน่าสนใจไปเสียหมด

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • มีอะไรบ้างเกิดขึ้นในช่วงอายุ 7 เดือน
     • น้ำหนักและส่วนสูงของทารกวัย 7 เดือน
     • การกินของทารกวัย 7 เดือน
     • การขับถ่ายของทารกวัย 7 เดือน
     • การนอนของทารก 7 เดือน
     • พัฒนาการเด็กทารก 7 เดือน
     • กระตุ้นพัฒนาการทารก 7 เดือนอย่างไร
     • ไขข้อข้องใจเรื่องพัฒนาการทารกวัย 7 เดือน กับ Enfa Smart Club

ย่างเข้าสู่เดือนที่ 7 แล้ว คุณพ่อคุณแม่เริ่มที่จะเห็นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกมากขึ้น สิ่งที่เพิ่งเริ่มทำได้ดีในเดือนก่อน เดือนนี้ลูกอาจจะทำได้ดีกว่าเดิม แต่พัฒนาการของเด็กวัย 7 เดือนมีอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่จะช่วยเสริมพัฒนาการลูกได้อย่างไร Enfa พร้อมแล้วที่จะต้อนรับคุณพ่อคุณแม่เข้าสู่โลกของเจ้าตัวเล็กวัย 7 เดือน

เด็ก 7 เดือน มีอะไรบ้างที่เกิดขึ้นในช่วงอายุ 7 เดือน


เด็กวัย 7 เดือน ต้องขอใช้คำว่า No More การนิ่งเฉย เพราะเด็กวัยนี้สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระมากขึ้น สามารถคลานไปมาได้ตลอดทั้งวัน เป็นช่วงเวลาที่พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของลูกน้อยก้าวกระโดดอย่างมาก

เด็ก 7 เดือนพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น เล่นของเล่นได้มากขึ้น ขอให้คุณพ่อคุณแม่เตรียมใจเอาไว้เลยว่านี่จะเป็นอีกหนึ่งเดือนที่เรียกอาการเหงื่อตกได้มากทีเดียวค่ะ

น้ำหนักและส่วนสูงของทารก 7 เดือน


เมื่อทารกเข้าเดือนที่ 7 ทารกก็จะมีรูปร่างที่ใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวมากขึ้น และมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนจะมีน้ำหนักและส่วนสูงที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่ก็มีบ้างบางกรณีที่ทารกวัย 7 เดือนมีน้ำหนักและส่วนสูงที่เกินหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น

น้ำหนักทารก 7 เดือน

น้ำหนักของทารกวัย 7 เดือนนั้น สามารถแบ่งออกตามเพศโดยกำเนิดได้ดังนี้

     • ทารกเพศชายวัย 7 เดือน หนักประมาณ 8.3 กิโลกรัม
     • ทารกเพศหญิงวัย 7 เดือน หนักประมาณ 7.6 กิโลกรัม

ส่วนสูงทารก 7 เดือน

ส่วนสูงของทารกวัย 6 เดือนนั้น สามารถแบ่งออกตามเพศโดยกำเนิดได้ดังนี้

     • ทารกเพศชายวัย 6 เดือน สูงประมาณ 69.2 เซนติเมตร
     • ทารกเพศหญิงวัย 6 เดือน สูงประมาณ 67.3 เซนติเมตร

การกินของทารก 7 เดือน


เด็กวัย 7 เดือนสามารถที่จะกินอาหารที่มีความแข็ง หรืออาหารที่เป็นก้อนได้มากขึ้นแล้วค่ะ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นจะต้องบดอาหารให้ละเอียดจนเกินไป เพื่อให้เด็กวัย 7 เดือนได้ปรับตัวเข้ากับเนื้อสัมผัสของอาหารใหม่ ๆ บ้าง

โภชนาการสำหรับทารก 7 เดือน

เมื่อทารกอายุได้ 7 เดือน คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า ทารก 7 เดือน กินข้าวกี่มื้อ? ซึ่งส่วนนี้อาจจะแตกต่างกันไปนะคะ เด็กบางคนอาจจะยังกินอาหารแข็งหรืออาหารตามวัยได้ไม่เก่งมาก สำหรับเด็กบางคนอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับอาหารใหม่ ๆ ก็อาจจะต้องกินแค่ 1-2 มื้อต่อวัน แต่โดยมากแล้วเด็กอายุ 7 เดือน สามารถที่จะกินข้าวได้ 2-3 มื้อต่อวันแล้วค่ะ

ส่วนโภชนาการหลัก ๆ นั้นก็ยังจำเป็นจะต้องเน้นให้ลูกกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่เช่นเดิมค่ะ ประกอบไปด้วย

     • เนื้อสัตว์ เช่น ตับ เนื้อปลา ไข่ต้ม หมูสับบด
     • ผัก เช่น บัตเตอร์นัท สควอช มันเทศ มันฝรั่ง ฟักทอง บดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
     • ผลไม้ เช่น กีวี แอปเปิ้ล กล้วย อะโวคาโด บดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
     • ธัญพืช เช่น ข้าวสวย ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์

ปริมาณนมที่เหมาะสมสำหรับเด็ก 7 เดือน

ลูกวัย 7 เดือน แม้จะเริ่มกินอาหารตามวัยได้มากขึ้นแล้ว แต่ก็ยังต้องควบคู่ไปกับการกินนมแม่หรือนมผงอยู่เช่นเดิมค่ะ เพ่อให้ลูกได้สารอาหารที่เพียงพอ แล้วแบบนี้ เด็ก 7 เดือน กินนมกี่ออนซ์กันล่ะ? เด็กวัย 7 เดือนนี้จะกินนมครั้งละ 7-8 ออนซ์ และจะกินนมประมาณ 4-6 ครั้งต่อวันค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

การขับถ่ายของทารก 7 เดือน


ทารกวัย 7 เดือน แน่นอนค่ะว่าเมื่อเริ่มกินอาหารอื่น ๆ ควบคู่ไปกับนมแม่และนมผง อัตราความถี่ในการอุจจาระก็อาจจะเพิ่มมากขึ้น ลักษณะอุจจาระ รวมถึงสีของอุจจาระ ก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปตามอาหารที่กิน จากที่เมื่อก่อนจะเป็นอุจจาระจากการกินนมแม่แค่เพียงอย่างเดียว

ทารก 7 เดือน ถ่ายวันละกี่ครั้ง

สุขภาพของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกันค่ะ ดังนั้น จึงถือว่าเป็นเรื่องยากที่จะเจาะจงว่าเด็กวัย 7 เดือนจะขับถ่ายวันละกี่ครั้ง อาจจะเป็น 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง หรือ 4-6 ครั้งต่อวันก็ได้เช่นกันค่ะ

สีอุจจาระของทารกวัย 7 เดือน

อุจจาระปกติควรจะเป็นสีเหลืองหรือสีเหลืองเข้ม แต่ในช่วงวัย 7 เดือนนี้ คุณแม่อาจะเริ่มสังเกตว่าสีอุจจาระของลูกบางครั้งก็เปลี่ยนไป โดยบางครั้งอาจมีสีเขียวออกมาด้วย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้และไม่ใช่เรื่องผิดปกตินะคะ เพราะเด็กวัยนี้เริ่มกินอาหารอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่แล้ว สีของอุจจาระ อาจแปรเปลี่ยนไปตามผักและผลไม้ที่ทารกกินเข้าไปได้ค่ะ

แต่ถ้าหากทารกมีอุจจาระสีดำ อุจจาระสีแดง อุจจาระสีขาว และอุจจาระสีเทา ถือว่าเป็นสัญญาณอันตราย ควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ

การนอนของทารก 7 เดือน


การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์และแข็งแรง จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพาลูกน้อยเข้านอนให้เหมาะสม

เด็ก 7 เดือนนอนกี่ชั่วโมง

เด็กวัย 7 เดือน ควรจะนอนให้ได้ประมาณ 14 - 15 ชั่วโมงต่อวัน แบ่งเป็นนอนตอนกลางวัน 3 - 4 ชั่วโมง และนอนตอนกลางคืนอีก 11 ชั่วโมง

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน


พัฒนาการทารก 7 เดือน ต้องขอบอกคุณพ่อคุณแม่ไว้ตรงนี้เลยว่า เดือนนี้ลูกไม่อยู่นิ่งอีกต่อไปแล้ว คุณแม่เตรียมฟิตร่างกายไว้ดี ๆ เพราะสำหรับเด็กบางคนที่กล้ามเนื้อลำตัวพัฒนาพร้อมสู่การคลานได้แล้ว เขาจะคลานเล่นได้ทั้งวันจริง ๆ เพราะสิ่งต่าง ๆ รอบตัวล้วนน่าสนใจไปเสียหมด... มาดูพัฒนาการของลูกน้อยเดือนนี้กันค่ะ

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก 7 เดือน

     • เริ่มแสดงอาการติดแม่มากขึ้น แม้เขาจะมีอิสระในการสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว แต่ก็มักหันมาดูว่ามีแม่อยู่ในสายตาหรือไม่เช่นกัน

     • เมื่อลูกติดแม่ เขาก็จะไม่ไว้วางใจคนอื่น ๆ โดยเฉพาะคนแปลกหน้า เขาจะอาละวาดหากปล่อยไว้กับคนที่เขาไม่รู้จักมาก่อนตามลำพัง

     • หัวเราะง่ายเมื่อได้เล่นเกมที่ชอบ  หรือมีเรื่องที่กระตุ้นความสนใจ เช่น แกล้งทำเป็นของจะหล่นแล้วแกล้งตกใจเมื่อของหล่น เป็นต้น  ลูกก็จะหัวเราะได้ง่าย ๆ และเมื่อคุณแม่ตั้งท่าจะทำซ้ำ ยังทำไม่เสร็จลูกก็หัวเราะออกมาก่อนแล้ว นั่นหมายถึงเขารู้และจำได้ว่าท่าเริ่มต้นของคุณเป็นส่วนหนึ่งของท่าทางที่เคยทำให้เขาหัวเราะได้นั่นเอง

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารของเด็ก 7 เดือน

     • ส่งเสียงเป็นคำ ๆ ที่มีทั้งเสียงสระและพยัญชนะผสมกันได้บ้างแล้ว เช่น ปะปา มะมา

     • สนใจฟังเสียงที่ได้ยินทั้งเสียงของตัวเองและเสียงคนอื่น ซึ่งเขาพยายามที่จะเลียนแบบ ช่วงนี้จึงเป็นโอกาสเหมาะที่คุณแม่จะช่วยเพิ่มคำศัพท์ต่าง ๆ ให้ลูก สอนลูกเรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ชวนลูกคุย หรืออ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาของลูก

พัฒนาการด้านสมองของเด็ก 7 เดือน

     • ลูกวัยนี้เรียนรู้จักอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตอนนี้ลูกนั่งได้แล้วและก้มตัวมองเห็นอวัยวะเพศของตัวเองได้แล้วด้วย ดังนั้น หากเขาจะจับเพื่อสำรวจอวัยวะส่วนนี้บ้าง คุณแม่ไม่ต้องตกใจ แค่เบี่ยงเบนความสนใจเขาไปที่ของเล่นแทนก็พอ

     • สมองของลูกพัฒนาได้ตลอดเวลา นอกจากจำลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้แล้ว เดือนนี้ลูกยังสามารถเชื่อมโยงความคิดได้มากขึ้นด้วย เห็นได้จากการที่ลูกสามารถคาดเดาได้ว่าคุณพ่อกลับบ้าน จากเสียงประตู หรือรู้ว่าถึงเวลาอาหารแล้วจากเสียงการเตรียมอาหารของแม่

     • สามารถเชื่อมโยงภาพสัตว์กับเสียงร้องได้ เช่น แมว ร้องเมี้ยว หมาเห่าโฮ่งๆ ซึ่งความสามารถนี้เป็นผลจากการที่คุณแม่ป้อนข้อมูลให้กับลูกบ่อย ๆ จึงทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้ จดจำ และเชื่อมโยงได้ในที่สุด

     • เริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับขนาดของวัตถุ สังเกตได้จากการถือของเล่นสองชิ้น ที่มีขนาดแตกต่างกัน แล้วมองสลับไปสลับมา ถ้าคุณแม่ป้อนข้อมูลให้ลูกโดยบอกว่าอันนี้ใหญ่อันนี้เล็ก ทำบ่อย ๆ ลูกก็พร้อมจะเรียนรู้และเข้าใจได้

พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็ก 7 เดือน

     • พัฒนาการเด็ก 7 เดือน กล้ามเนื้อของลูกจะมีพัฒนามากขึ้น  นอกจากเพื่อการนั่งที่มั่นคงแล้ว ยังเป็นการเตรียมพร้อมไปสู่การเคลื่อนไหว เช่น การคลาน ยืน และเดินในอนาคตด้วย

     • ลูกจะนั่งได้มั่นคงแล้วเพื่อฝึกฝนการคืบคลานต่อไป ซึ่งนอกจากความพร้อมของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่ช่วยให้ลูกคลานได้แล้ว สมองส่วนบนและล่างที่ควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านั้นต้องทำงานประสานกันได้ดีด้วย คุณแม่จึงต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหวระหว่างวันมากกว่าปล่อยให้ลูกนอนอยู่กับที่ โดยอาจจะหาของเล่นมาล่อหลอกให้ลูกพยายามเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ และเรียนรู้ที่จะคืบและคลานอย่างถูกวิธี

     • เมื่อลูกเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระมากขึ้น เขาก็พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ทุกเวลา สิ่งที่ต้องระวังคือ  ปลั๊กไฟ บันได พัดลม และของมีคมต่าง ๆ   รวมทั้งเครื่องเรือนที่ไม่ค่อยมั่นคงนัก เพราะเมื่อคลานได้ ลูกก็พร้อมที่จะเหนี่ยวตัวขึ้นเกาะยืนได้เช่นกัน

     • หยิบจับของเล่นได้คล่องแคล่ว และชอบใช้มือหยิบอาหารใส่ปากเอง

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

กระตุ้นพัฒนาการเด็ก 7 เดือน ด้วยวิธีไหน


การกระตุ้นพัฒนาการนั้นถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ แข็งแรง และสมวัย คุณพ่อคุณแม่สามารถเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ทุกวัน เช่น

     • สำหรับเด็ก 7 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นคุยกับลูกบ่อย ๆ ค่ะ พยายามหาบทสนทนามาคุยกับลูก อาจจะเป็นการคุยตอนเปลี่ยนผ้าอ้อม ตอนอาบน้ำ ตอนเล่นของเล่น เพื่อช่วยเพิ่มคลังคำศัพท์ให้ลูกได้จดจำมากขึ้น และยังช่วยให้เด็กจดจ่อกับบทสนทนา และมีการโต้ตอบเพื่อการสื่อสารมากขึ้นด้วย

     • หมั่นฟังลูกพูดบ่อย ๆ แม้ว่าลูกจะพูดไม่เป็นภาษาหรือฟังไม่เข้าใจก็ตาม ตอบกลับด้วยร้ำเสียงที่อบอุ่น เป็นการแสดงออกให้ลูกเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่ใส่ใจที่จะฟังในสิ่งที่ลูกพูด สิ่งนี้จะช่วยสร้างทักษะด้านภาษาและการสื่อสารได้เป็นอย่างดี

     • อ่านหนังสือให้ลูกฟังบ่อย ๆ เลือกหนังสือนิทานที่มีภาพและสีสันชัดเจน ช่วยเสริมทักษะความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ และเสิรมทักษะทางภาษาได้ดี

     • พาลูกออกไปเล่นนอกบ้านให้มากขึ้น เด็กวัย 7 เดือนเป็นวัยที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวค่ะ การพาลูกอออกไปพบกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการเรียนรู้ได้

อย่างไรก็ตาม ในทุกกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับลูก ควรใส่ใจเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเวลาพาลูกออกไปข้างนอก ควรเลือกช่วงเวลาที่แดดไม่ร้อน เลือกสถานที่ที่ปลอดจากมลพิษ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกป่วยง่ายค่ะ

ของเล่นเด็ก 7 เดือน

การเล่นของเล่น ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยเสริมพัฒนาทักษะให้กับเด็กได้หลายด้าน ตั้งแต่พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ภาษา การสื่อสาร ตลอดจนอารมณ์และสังคม โดยของเล่นที่เหมาะกับเด็ก 7 เดือนก็มีด้วยกันหลายอย่างค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

     • ของเล่นที่เคลื่อนไหวได้ หรือมีล้อ ทารกจะเริ่มคลานตาม หรือเคลื่อนไหวตามของเล่นนั้น ๆ เป็นการเสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวได้ดีค่ะ

     • ของเล่นที่มีเสียง เช่น กล่องดนตรี รถบังคับที่มีดนตรี ก็เหมาะกับเด็กวัยนี้นะคะ เพราะเมื่อเด็กได้ยินเสียงดนตรี ก็จะเริ่มมีการตอบโต้กับเสียงที่ได้ยิน เด็กอาจจะพยายามลุกขึ้นนั่งหรือยืน หรือเริ่มมีการทำท่าทางประกอบเพลง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระวังคือเรื่องของความไวค่ะ เพราะเผลอแป๊บเดียว ลูกอาจจะคว้าเอาของเล่นเข้าปากได้ โดยเฉพาะของเล่นชิ้นเล็ก ๆ ที่หากเด็กคว้าเข้าปาก อาจจะส่งผลเสียได้ ควรติดตามดูอย่างใกล้ชิดในเวลาที่ลูกเล่นของเล่นนะคะ

ไขข้อข้องใจเรื่องพัฒนาการเด็ก 7 เดือน กับ Enfa Smart Club


 เด็ก 7 เดือน กินผลไม้อะไรได้บ้าง?

เด็ก 7 เดือนสามารถกินผลไม้ได้ผลายชนิดมากขึ้นค่ะ แต่ยังควรเป็นผลไม้ที่มีความนิ่มและไม่แข็งหรือเหนียวจนเกินไปค่ะ เพื่อให้เด็กสามารถกินได้ง่าย และย่อยง่าย เช่น กล้วย แอปเปิ้ล มะม่วงสุก อะโวคาโด กีวี เป็นต้น

 ลูก 7 เดือน ยังไม่คลานปกติไหม?

เด็กจะเริ่มคลานในช่วงอายุ 6 - 10 เดือน และเด็กแต่ละคนก็เริ่มคลานในช่วงเวลาที่ต่างกัน เด็กบางคนอาจเริ่มคลานในช่วงอายุ 6 เดือน เด็กบางคนอาจจะไปเริ่มคลานเอา 8 เดือนก็มี ดังนั้น ลูก 7 เดือนยังไม่คลาน ก็ยังไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ

 ลูก 7 เดือน ยังไม่นั่งปกติไหม?

เด็ก 7 เดือน ยังไม่ยอมนั่ง หรือยังต้องคอยให้พ่อแม่ประคองลุกขึ้นนั่ง ยังไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ เพราะช่วงเวลาที่เด็กจะเริ่มลุกขึ้นนั่งเองนั้นจะอยู่ระหว่างเดือนที่ 6 - 8 แต่ถ้าเข้าเดือนที่ 9 แล้วลูกยังไม่สามารถลุกขึ้นนั่งเองได้ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค่ะ

 ลูก 7 เดือน คอไม่แข็งปกติไหม?

ลูกจะเริ่มคอแข็งเมื่ออายุ 4-6 เดือน และช้าสุด 7-9 เดือน ดังนั้น หากลูก 7 เดือนแล้วแต่คอยังไม่แข็ง จึงยังไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ แต่ถ้าพ้นจาก 9 เดือนไปแล้วคอลูกยังไม่แข็ง ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

 เด็ก 7 เดือนท้องเสีย ดูแลอย่างไร?

หากลูกท้องเสีย อย่าเพิ่งให้ลูกกินอะไรตามความเข้าใจแบบผิด ๆ ไปเองนะคะ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทางการแพทย์ค่ะ เพราะการให้ลูกกินยาแก้ท้องเสีย หรือใช้เกลือแร่ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก อาจทำให้อาการท้องเสียของลูกแยาลงได้ค่ะ



บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย