เชื่อว่าคุณแม่ที่มีลูกวัยนี้ ต่างต้องมีช่วงเวลาที่ทั้งชื่นใจและวุ่นวายใจ เมื่อต้องเผชิญกับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วของลูก เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวก็เข้ามากอด คลอเคลีย  มาหอมแก้ม มาแสดงความรักให้แม่ได้ชื่นใจ เดี๋ยวก็ปฏิเสธไม่ให้แม่กอด อยากเดินออกไปจากแม่ ลูกวัยนี้จะแสดงอารมณ์ให้เห็นอย่างชัดเจน เราลองมาเรียนรู้พัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกน้อยวัยเตาะแตะกันนะคะ เพื่อรับมืออารมณ์ของลูกให้ได้ แล้วคุณแม่จะมีแต่ความชื่นใจในที่สุดค่ะ

สมัครเป็นครอบครัวเอนฟากับชมวันนี้ ลุ้นสิทธิ์รับ Voucher 20,000.
สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ลักษณะพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกวัยเตาะแตะเป็นแบบนี้

พัฒนาการด้านอารมณ์ คือความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึก เช่น พอใจ ไม่พอใจ รัก ชอบ โกรธ เกลียด กลัว และเป็นสุข ความสามารถในการแยกแยะความรู้สึก ความลึกซึ้งและการควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสมเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือตัวเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บางครั้งจึงรวมพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมเป็นกลุ่มเดียวกัน

เด็กวัยเตาะแตะอย่างเจ้าตัวน้อยของคุณแม่จะแสดงออกด้านอารมณ์เด่นชัดขึ้น มีความสนใจในเรื่องต่างๆ ค่อนข้างสั้น คุณแม่จะเห็นว่าเวลาดีใจ เสียใจ โกรธ หรือกลัว ลูกก็จะแสดงอารมณ์ออกมาเต็มที่ ทั้งกระโดด กอด ตบมือ โวยวาย ร้องไห้เสียงดัง ทุบตี ขว้างปาสิ่งของ ไม่พอใจเมื่อถูกห้าม ฯลฯ เพียงชั่วครู่ก็จะหายไป โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้า 2 ขวบ ทั้งนี้เพราะเขาเริ่มมีพัฒนาการที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เริ่มปฏิเสธ เริ่มต่อต้านมากขึ้น

วัยเตาะแตะเมื่อมีอารมณ์เอาแต่ใจ ไม่ควรตะคอกหรือใช้ความรุนแรงแก่เด็ก
 

อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ที่แสดงออกมามีดังนี้

  • รัก เมื่อเด็กรู้สึกมีความสุข จะแสดงออกด้วยการกอด ยิ้ม หัวเราะ อยากอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลหรือสิ่งที่รัก และอาจติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ตุ๊กตา หมอน ผ้าห่ม

  • สนุกสนาน เกิดจากความสุข การประสบความสำเร็จในกิจกรรมที่ทำ หรือได้รับสิ่งใหม่ๆ เด็กจะแสดงออกด้วยการตบมือ ยิ้ม หัวเราะ กระโดด กอด ฯลฯ

  • โกรธ เมื่อถูกขัดใจ ถูกแย่งของเล่น ถูกห้ามไม่ให้ทำพฤติกรรมบางอย่าง เด็กจะแสดงออกด้วยการทุบตี กัด ข่วน หรือพูดจาแสดงความโกรธเกรี้ยว

  • กลัว กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวคนแปลกหน้า กลัวความมืด กลัวผี ซึ่งมักจะมาจากจินตนาการของเด็กเอง

  • อิจฉา เมื่อมีน้องใหม่ และเด็กไม่เข้าใจ อาจแสดงความโกรธ ก้าวร้าว หรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนอื่นๆ เช่น ดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอน

  • เศร้า เสียใจ เกิดขึ้นเมื่อเด็กรู้สึกสูญเสียสิ่งที่รักหรือสิ่งที่มีความสำคัญ เช่น ของเล่น จึงแสดงออกด้วยอาการที่เศร้าซึม ไม่ยอมเล่น ไม่กิน

  • เป็นตัวของตัวเอง เนื่องจากเด็กสามารถไปไหนมาไหนได้เองมากขึ้น ทำให้มีอิสระ อยากทำอะไรเอง ดังนั้นพฤติกรรมไม่เอา ไม่ทำ เกิดขึ้นแทบจะทุกวัน เช่น ไม่ยอมให้แม่ป้อน จะกินเอง จะทำอะไรเองทุกอย่าง เมื่อพ่อแม่ไม่ยอมก็เกิดพฤติกรรมร้องดิ้น อาละวาดตามมา

 
อาหารนั้นสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านอารมณ์ในเด็กวันเตาะแตะได้เช่นเดียวกัน
 

ข้อดีเมื่อลูกควบคุมอารมณ์ได้

หากลูกได้ฝึกการเรียนรู้ที่จะแสดงออกซึ่งอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ อย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เขาจะมีมีจิตใจที่แจ่มใส ร่าเริง หนักแน่น ไม่เป็นเด็กเอะอะโวยวาย รู้จักแบ่งปัน เห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักการรับและให้ความช่วยเหลือ สามารถเผชิญปัญหาและใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาได้ ให้ความร่วมมือในปฏิบัติตามกฎระเบียบ กติกาต่างๆ รู้จักขอบคุณและขอโทษ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง เรียกว่าลูกจะเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขต่อไป และตัวคุณแม่เองก็มีความสุขด้วยใช่มั้ยคะ

รับมือพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกวัยเตาะแตะแบบนี้สิ

  • เมื่อลูกอาละวาด กอดลูกไว้ในอ้อมแขน มองสบตาเขาด้วยความรัก ใช้ความอ่อนโยนทำให้เขาสงบลง

  • ให้ลูกมีเพื่อน ด้วยการพาเขาไปเข้าสังคมกับเด็กวัยเดียวกัน เช่น พาลูกไปเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม หรือ play groups ที่มีเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้การอยู่กับผู้อื่น การทำตามกฎกติกาของกลุ่ม การรอคอย การแบ่งปัน ฯลฯ

  • เมื่อลูกแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ยอมทำตามพ่อแม่ แทนที่จะบังคับแล้วติดป้ายว่าลูกดื้อ ให้เบี่ยงเบนความสนใจหรือให้ทางเลือกกับเขาแทน เช่น เมื่อเขาไม่ยอมเก็บของเล่นหลังเล่นเสร็จ อาจชวนกันเก็บของเล่นไปด้วยกัน แทนที่จะให้เขาเก็บคนเดียว หรือถ้าเก็บของเล่นเสร็จแม่จะอ่านนิทานให้ฟัง ให้เขาเลือกว่าจะฟังเรื่องอะไร ระหว่างหนูน้อยหมวกแดงกับแจ๊ค ผู้ฆ่ายักษ์ เป็นต้น แทนการบังคับซึ่งทำให้เขาสูญเสียอิสรภาพในการคิดตัดสินใจด้วยตัวเอง การใช้คำพูดกับลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่สร้างความกดดันให้กับเขาจนเกิดการต่อต้าน

  • แม่รู้นะว่าหนูโกรธ บอกให้ลูกรู้ว่าอารมณ์ที่เขากำลังเป็นอยู่นั้นคืออารมณ์ชนิดใด เช่น หนูกำลังโกรธอยู่ใช่ไหมคะ คุณแม่ก็เคยโกรธเหมือนกัน  แล้วสอนให้ลูกรู้ว่าคนอื่นก็มีความรู้สึกแบบนี้ได้เหมือนกัน แต่เดี๋ยวมันก็หายไป  จากนั้นพยายามเบี่ยงเบนลูกออกมาจากอารมณ์นั้นไหนลองนับ 1 2 3 ดูซิ อารมณ์โกธรหายไปหรือยัง ลูกเสียใจที่ของเล่นพังใช่มั้ยคะ ไม่เป็นไรของมันพังกันได้ ลูกเล่นชิ้นอื่นไปก็ได้นะ ฯลฯ การบอกลักษณะอารมณ์ที่ลูกเป็นอยู่ จะช่วยให้สามารถรับมือกับอารมณ์นั้นๆ ได้เมื่อได้ฝึกเรื่อยๆ

เสริมโภชนาการเพื่อพัฒนาสมอง ภูมิคุ้มกัน และอารมณ์ให้ลูกน้อย

นอกจากการดูแลและส่งเสริมการพัฒนาการทางอารมณ์ให้ลูกแล้ว การให้ลูกได้รับโภชนาการที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาทั้งสมอง ภูมิคุ้มกัน และอารมณ์ลูกได้ เพราะสารอาหารมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และสมองเป็นศูนย์กลางของพัฒนาการต่างๆ รวมทั้งพัฒนาการทางอารมณ์ และลูกวัยนี้อยู่ในวัยเรียนรู้ เขาต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี ร่างกายแข็งแรง เพื่อให้การเรียนรู้ไม่สะดุด ซึ่งสารอาหารที่ช่วยเรื่องเหล่านี้ได้แก่ MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน, DHA กรดไขมันที่พบมากที่เยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

มีงานวิจัยทางคลินิกพบว่า :

  • เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับ DHA มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว

  • MFGM ทำงานร่วมกับ DHA ที่เวลา 21 วันในห้องปฏิบัติการ จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว*

  • พบว่าโปรตีนบางชนิดใน MFGM มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายลูกแข็งแรงต่อสู้กับการติดเชื้อได้ เมื่อสุขภาพดี ลูกก็เรียนรู้สิ่งรอบตัวได้อย่างต่อเนื่อง

  • MFGM จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์ของเขาได้**

  • เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการร่างกาย โดยเฉพาะทักษะการใช้กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวที่ดีกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม การมีพัฒนาการทางร่างกายที่ดีจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีได้ เพราะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างที่ต้องการ