คุณแม่ทุกคนต่างอยากให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี พูดคุยรู้เรื่อง มีเหตุผล ฯลฯ นั่นคือภาพสวยๆ ในความคิดคุณแม่ แต่บางครั้งคุณแม่ก็พบความจริงว่าเมื่อลูกต้องการสิ่งใดแล้วไม่ได้ หรือถูกขัดใจ ลูกจะเอาแต่ใจตัวเอง จะไม่ยอมฟังใคร จะอาละวาดลงไปนอนร้องกรี๊ดกับพื้น ช่างขัดแย้งกับภาพสวยๆ ที่คุณแม่คิดไว้เสียจริงๆ ใช่มั้ยคะ

จริงๆ แล้ว ภาพที่คุณแม่ต้องการให้ลูกอารมณ์ดี ควบคุมตัวเองได้ สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะเรื่องนี้คุณแม่สามารถสอนลูกได้ โดยเริ่มตั้งแต่วัยเตาะแตะได้เลยค่ะ แม้ลูกวัยนี้ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ยังชินกับการที่อยากได้อะไรต้องได้ทันที แต่เราสามารถสอนเขาให้รู้จักอดทน ยับยั้งตัวเอง ไม่ให้มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ได้ค่ะ

สมัครเป็นครอบครัวเอนฟากับชมวันนี้ ลุ้นสิทธิ์รับ Voucher 20,000.

<

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี ควบคุมตัวเองได้ ทักษะสำคัญที่ลูกต้องมี

ในโลกยุคหน้า ความฉลาดทางวิชาการอาจไม่ใช่สิ่งชี้วัดความสำเร็จอีกต่อไป เพราะใครๆ ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ แต่คนที่รู้จักอารมณ์ดี ยับยั้งชั่งใจ ควบคุมตัวเองได้ รู้จักรอคอย คือคนที่จะประสบความสำเร็จ

มีผลการวิจัยระบุออกมาว่าเด็กที่ควบคุมตัวเองได้เมื่อโตขึ้นจะปรับตัวและเข้าสังคมได้ดีกว่า และยิ่งกว่านั้นการที่เด็กสามารถควบคุมตัวเอง ไม่เอาแต่ใจตัวเอง และอดทนรอได้ ทำให้พวกเขามีทักษะทางอารมณ์ที่ดีกว่าคนที่อดทนรอคอยไม่ได้ และมีแนวโน้มจะเป็นคนตรงต่อเวลา มีเหตุผล รักษาคำพูด ไม่เอาแต่ใจ สามารถจัดการกับความขัดแย้งได้ ที่สำคัญสามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดและประสบความสำเร็จในชีวิตในที่สุด

ช่วงเวลานี้ จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องเริ่มสอนการควบคุมอารมณ์ให้ลูก ถ้าปูพื้นฐานให้เขาเป็นคนจิตใจดี ใจเย็น อารมณ์ดี ควบคุมตัวเองได้ตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เขาเติบโตมาเป็นคนที่คนอื่นอยากเข้าใกล้ อยากร่วมงานด้วย และเข้าสังคมได้ดีกว่าคนอื่นๆ

อย่าปล่อยให้เด็กมีความรุนแรงเมื่ออารมณ์เสีย ควรปรับปรุงดูแลลูกให้อยู่ในวิสัยที่ดี

 

อย่าให้ลูกควบคุมอารมณ์ไม่ได้แล้วแสดงอาการแบบนี้

อาการเหล่านี้คืออาการที่เราจะพบบ่อยในเด็กที่ไม่ได้รับการฝึกให้ควบคุมตัวเอง เขาจึงแสดงความโกรธ ความก้าวร้าวออกมาเมื่อถูกขัดใจ

  • หยิกคนอื่น

  • ดึงผมคนอื่น

  • ขว้างปาข้าวของ

  • โมโหร้าย อาละวาด

  • ชักดิ้นชักงอเมื่อถูกขัดใจ

  • ร้องไห้นานเป็นชั่วโมง

  • ตบหน้าพ่อแม่หรือทำร้ายคนเลี้ยงดู เช่น พี่เลี้ยง

สอนลูกให้ควบคุมตัวเองให้ได้ คุณแม่ทำได้!

สิ่งที่เด็กในวัยเตาะแตะชอบทำก็คือ การเรียกร้องความสนใจ เพราะเขาเรียนรู้และจดจำมาตั้งแต่เล็กว่าเมื่อหิวนมก็ร้องไห้แล้วก็จะได้กินน้ำนม เมื่อเด็กเรียนรู้ว่าถ้าอยากได้อะไรก็จะร้องไห้ เวลาเขาต้องการอะไรก็จะร้องไห้ตลอดเวลาเพราะเขาจำได้ว่าวิธีนี้ได้ผล นี่คือเหตุผลว่าทำไมเวลาไปห้างหรือทำอะไรแล้วไม่ได้ดั่งใจ ลูกจึงร้องไห้และเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้น เด็กจะเรียนรู้ว่าถ้าร้องไห้ธรรมดาไม่ได้ เขาก็จะเพิ่มระดับไปสู่ขั้นที่สองแล้วพ่อแม่จะยอมตามใจ 

ช่วงเวลานี้ น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ทดสอบความอดทนของทั้งคุณแม่และลูกว่าใครจะยอมใคร แต่มีวิธีที่คุณแม่จะค่อยๆ สอนให้ลูกลดการอาละวาดและเอาแต่ใจลง

หากไม่ต้องการให้ลูกเพิ่มระดับการอาละวาดเมื่อถูกขัดใจ นี่คือช่วงเวลาสำคัญในการสอนเขาค่ะ นั่นคือ คุณแม่ต้องวางเฉย ไม่ยอมทำตามในสิ่งที่เขาต้องการ เหตุผลที่เราควรวางเฉย ซึ่งไม่ใช่การทอดทิ้งเมื่อลูกร้องไห้ โวยวายอาละวาด ก็คือ :

 
อารมณ์และพฤติกรรมของคนสามารถเสริมได้ด้วยอาหารที่มีประโยชน์
  1. เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กพัฒนาการควบคุมตัวเอง คือเขาควรรู้ว่าเขาควรเงียบเอง

  2. เมื่อเด็กมีข้อ 1 จะทำให้การร้องไห้ครั้งต่อไปใช้เวลาสั้นลงๆ โดยไม่ต้องพึ่งพิงใครมาช่วยโอ๋หรือเบี่ยงเบนให้เงียบ

  3. เมื่อเด็กมีข้อ 2 โอกาสที่เด็กพยายามใช้สมองส่วนคิดจะมีมากกว่าส่วนอารมณ์ ดังนั้นโอกาสตัดสินใจไม่ร้องไห้โวยวายจะสูงขึ้นในครั้งต่อไปด้วย คือได้ผลตอนนี้และได้ผลในครั้งต่อๆ ไป เช่น พยายามไม่ร้องตั้งแต่แรก ต่างจากการเบี่ยงเบนให้เงียบหรือโอ๋ให้เงียบ เด็กจะเข้าสู่การร้องไห้ได้ง่าย

  4. บอกลูกว่า “ลูกร้องไห้จนเราคุยกันไม่เข้าใจแล้วละ แม่จะรอลูกเงียบแล้วเราค่อยคุยกัน” คุณแม่ต้องสงบ หนักแน่น รวมทั้งต้องมีสีหน้าที่ไม่แสดงความโกรธ และช่วงที่รอลูกเงียบ ไม่ควรมีลักษณะของการทอดทิ้งให้ลูกกลัวหรือกังวลมากขึ้น

  5. เมื่อลูกสงบ มีสติ คิดมากขึ้น คุณแม่ก็ทบทวนเรื่องเมื่อสักครู่นี้กับลูก ให้เขาเล่าเหตุการณ์ เล่าความรู้สึก และเราจะพยายามช่วยเขาแก้ปัญหาในครั้งต่อไป เช่น เมื่อลูกเล่าเสร็จ “แม่เข้าใจแล้วว่า หนูยังอยากเล่นพี่โพนี่อยู่ ยากจริงๆ เนอะที่ต้องคืนให้คนอื่นเล่นบ้าง...ถ้างั้น ครั้งหน้า ถ้ามีงานสนุกแบบนี้อีก เรามาให้เร็วกว่านี้อีกสักครึ่งชั่วโมง ลูกจะได้มีเวลาเล่นนานขึ้นมากกว่านี้ ดีมั้ยคะ” การชวนลูกพูดแบบนี้ ลูกได้บอกสิ่งที่อยู่ในใจและรู้ว่าเราเข้าใจ ไม่ได้มาตำหนิหรือซ้ำเติม

  6. เด็กที่มีข้อ 1-5 แล้ว หากเกิดปัญหาเอาแต่ใจ เขาจะไม่ใช่วิธีการร้องไห้ตั้งแต่แรกแต่จะรู้จักตัดใจแทน หรือหากร้องไห้ก็จะหยุดเร็ว เพราะลูกเรียนรู้แล้วว่าไม่มีประโยชน์ที่จะร้อง แต่หากไม่ได้ฝึกมา เขาก็จะร้องไห้เหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม การวางเฉยต่อการร้องไห้อาละวาดของลูกนั้น คุณแม่ต้องแน่ใจว่าเราควบคุมอารมณ์ได้ ไม่เดินหนีเพราะโกรธลูก แต่เป้าหมายคือให้ลูกเรียนรู้ว่าเขาควรเงียบเอง เมื่อฝึกบ่อยๆ ลูกก็จะค่อยๆ ควบคุมตัวเองได้

พ่อแม่คือแบบอย่างที่ดีของลูก

นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก  เมื่อพ่อแม่โกรธ ไม่พอใจ ต้องไม่แสดงอาการอาละวาดด้วยท่าทีโกรธเกรี้ยวให้ลูกเห็น ต้องควบคุมตัวเอง ให้นิ่งหรือปลีกตัวออกมาจนรู้สึกผ่อนคลายเสียก่อนแล้วค่อย ๆ พูดคุยกับคนรอบข้างด้วยท่าทีสงบ ไม่ดุดัน โกรธเกรี้ยว ทำให้ลูกเห็นเป็นประจำเพื่อให้ซึมซับตัวอย่างที่ดีในการจัดการอารมณ์โกรธและการควบคุมตัวเอง

จะเห็นได้ว่านอกจากการมีช่วงเวลาในการพัฒนาสมองของลูก การดูแลร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดีแล้ว ช่วงเวลาของการสอนให้ลูกมีหัวคิดและหัวใจที่ดี (mind&heart) ต่อตนเองและคนอื่น ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะจะทำให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นที่รักของคนรอบข้าง

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

MFGM ช่วยพัฒนาสมอง ภูมิคุ้มกัน อารมณ์ และพัฒนาการต่างๆ ของลูก

คุณแม่อาจสงสัยว่าอาหารจะช่วยพัฒนาอารมณ์ลูกได้อย่างไร การให้ลูกได้รับสารอาหารที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาสมองและอารมณ์ลูกได้ เพราะสารอาหารมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และสมองเป็นศูนย์กลางของพัฒนาการต่างๆ รวมทั้งพัฒนาการทางอารมณ์ สารอาหารที่ว่าก็คือ MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน และ ดีเอชเอ ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบมากในเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา

นอกจากนี้ MFGM และดีเอชเอ ยังส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ ของเด็กดังนี้

  • พัฒนาระดับสติปัญญา

    มีงานวิจัยทางคลินิกพบว่าเด็กที่ได้รับ ร่วมกับกรดไขมันดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว อีกทั้งเมื่อ MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วันในห้องปฏิบัติการ จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว*

  • เสริมภูมิคุ้มกัน

    พบว่าโปรตีนบางชนิดใน MFGM มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายลูกแข็งแรงต่อสู้กับการติดเชื้อได้ เมื่อสุขภาพดี ลูกก็เรียนรู้สิ่งรอบตัวได้อย่างมีความสุข

  • พัฒนาอารมณ์

    MFGM จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์ของเขาได้**

  • พัฒนาร่างกายและการเคลื่อนไหว

    มีงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการร่างกาย โดยเฉพาะทักษะการใช้กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวที่ดีกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม

  • พัฒนาภาษาและการสื่อสารที่ซับซ้อนกว่า

    มีงานวิจัยในเด็กพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการด้านภาษาที่ดีและทักษะการสื่อสารที่ซับซ้อนกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม

  • เพิ่มสมาธิจดจ่อที่นานกว่า

    งานวิจัยในเด็กพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำนานกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม