ในยุคที่สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เข้ามีบทบาทในชีวิตของคนยุคนี้จนปฏิเสธไม่ได้ ไม่เฉพาะกับผู้ใหญ่ ตัวเด็กเองก็ดูเหมือนว่าชีวิตของเขาหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีไม่พ้นเช่นกัน แต่คุณแม่เองก็อาจไม่มั่นใจว่าหากให้ลูกเล่นสมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต จะส่งผลดีหรือผลเสียกับลูกมากกว่ากัน แล้วจะเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาลูกติดมือถือ กลายเป็นเด็กก้มหน้าทั้งวันตั้งแต่เล็กหรือไม่ เรื่องนี้มีทางป้องกันค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ตั้งรับเทคโนโลยีอย่างไร

ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งนิยมชมชอบกับเทคโนโลยี แต่บางคนก็ท้วงติงว่าอาจเร็วเกินไปที่จะให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับเทคโนโลยี อย่างโทรศัพท์มือถือสมาร์ท โฟน หรือแท็บเล็ตตั้งแต่เล็กๆ แต่ไหนๆ ชีวิตของเราและเด็กๆ ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ แทนที่จะพาลูกถอยห่าง เราควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อการเรียนรู้ของลูกดีกว่า

  • โหลดแอปพลิเคชั่น เลือกเกมเพื่อการเรียนรู้ของลูก ในยุคที่แอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน มีมากมาย คุณพ่อคุณแม่บางคนนั้น เมื่อเห็นว่าเลี่ยงที่จะให้ลูกเกี่ยวข้องไม่ได้จริงๆ แทนที่จะปฏิเสธ ก็เลือกที่จะโหลดแอปพลิเคชั่นที่เป็นสื่อการเรียนการสอนออกมาให้ลูกได้เรียนรู้ เช่น แอปพลิเคชั่นที่สอนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ที่เมื่อเด็กกดไปที่ตัว A ก็จะมีการออกเสียง “เอ” แล้วก็จะมีการยกตัวอย่างคำศัพท์ให้เขาดู ด้วยภาพที่เคลื่อนไหว ก็จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน เช่น แอป Animal ABC: Learn Alphabet for Kids , Kid’s Animal Reader: Study and Learn with Sound หรือโหลดนิทานมาฟังกับลูกจากแอป Noah’s Ark Storybook, นิทานอีสป, นิทานก่อน, นิทานเด็ก หรือแอป A+ Genius Baby ก็มีนิทานดนตรีดีๆ ที่สามารถโหลดมาฟังได้ เพื่อพัฒนาสมองและการเรียนรู้ของลูกได้อย่างดี

  • ดูคลิปด้วยกัน ใน YouTube มีคลิปดีๆ น่ารักๆ ที่เหมาะกับเด็กอยู่มากมาย คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกแล้วดูด้วยกันได้ โดยเราเป็นคนเลือกและเปิดให้เขาเอง จากนั้นก็ลองกันพูดคุยถึงคลิปที่ได้ดูไปว่าลูกมีความอย่างไร ชอบหรือไม่ ทำไม ฯลฯ เป็นการฝึกความคิดและทักษะทางภาษาให้ลูกไปในตัว และเป็นตัวอย่างลูกได้เรียนรู้ถึงวิธีเลือกคลิปที่ดีมาดู

  • ใช้กล้องเป็นผู้ช่วยการเรียนรู้ของลูก กล้องในโทรศัพท์มือถือในยุคนี้มีคุณภาพสูงมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถนำใช้กล้องนี้มาเป็นผู้ช่วยในการเรียนรู้ของลูก เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่อยากให้เขาได้เรียนรู้จดจำ โดยเฉพาะลำดับขั้นของเวลา เขาสามารถถ่ายเก็บไว้ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และสามารถย้อนกลับไปดูใหม่ และนำภาพมาร้อยเรียงตามลำดับขั้นของเหตุการณ์ได้ เช่น หากเขาปลูกต้นไม้ ก็ถ่ายภาพต้นไม้ของเขาในแต่ละขั้นตอนของการเจริญเติบโต และให้เขาทำ Chart การเจริญเติบโตของต้นไม้ด้วยตัวเขาเอง ถ่ายภาพขั้นตอนการทำงานศิลปะของลูกเองที่เริ่มต้นและลงท้ายด้วยผลงานที่ออกมาในตอนสุดท้าย หรือถ่ายภาพวงจรชีวิตของผีเสื้อที่เริ่มจากไข่ หนอนแก้ว ดักแด้ และเป็นผีเสื้อสวยในที่สุด หากทำได้เช่นนี้ จะเป็นการใช้โทรศัพท์มือถือได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ของลูก

เด็กเล็กกำลังถ่ายรูปปลาด้วยโทรศัพท์มือถือ

ป้องกันลูกติดมือถือได้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณแม่จะเลือกใช้เทคโนโลยีกับลูกแล้วก็ตาม แต่เชื่อแน่ว่าคุณแม่เองก็ไม่ได้ต้องการให้ลูกก้มหน้าอยู่กับมือถือหรือแท็บเล็ตตลอดเวลา คุณแม่จึงต้องมีหลักการในบางเรื่องไว้ เพื่อป้องกันลูกติดเทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น :

  • กำหนดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม เล่นแอปพลิเคชั่น หรือดูคลิปต่างๆ บนมือถือหรือแท็บเล็ต คุณแม่ต้องกำหนดเวลาไว้ เช่น ลูกวัย 3-5 ปี ต้องเล่นไม่เกินครึ่งชั่วโมง เพราะไม่อย่างนั้นจะนำไปสู่การ “ติด” รวมทั้งส่งผลเสียต่อสายตาได้ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรให้ใช้สื่อเหล่านี้ เพราะเขายังเด็กเกินไปที่จะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเข้าใจว่ามันคืออะไร

  • เรียนรู้ด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นหรืออยู่กับเทคโนโลยีตามลำพัง หากต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน เมื่อลูกเล่นแอปพลิเคชั่น หรือเกม ไม่ว่าจะเล่นจากโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต พ่อแม่ก็ต้องอยู่ใกล้ๆ เพื่อคอยดูแล ชี้แนะ

  • ทำกิจกรรมอื่นกันด้วย ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยการเรียนรู้ของลูกที่พ่อแม่สามารถทำด้วยกันได้นอกเหนือจากการเล่นกับเทคโนโลยีเหล่านี้ เช่น การอ่านนิทานด้วยกัน เล่นต่อบล็อก วิ่งเล่นกลางแจ้ง ฯลฯ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยลูกแบ่งเวลาให้ได้ทำกิจกรรมเหล่านี้ด้วย เพื่อชีวิตของลูกจะได้มีความสมดุลในการทำกิจกรรม

  • พ่อแม่คือตัวอย่าง หากไม่ต้องการให้ลูก “ติด” มือถือ คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องไม่ติดเช่นกัน ลูกๆ ไม่ควรเห็นภาพว่าคุณพ่อคุณแม่ก้มหน้าดูหน้าจอโทรศัพท์ตลอดเวลา เมื่ออยู่กับลูกควรมีเวลาพูดคุย หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ด้วยกัน นั่นคือเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นถึงการใช้มือถืออย่างพอเหมาะพอควร เรียกว่าต้องแสดงให้ลูกเห็นว่ามือถือไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

ดังนั้น แม้ว่าเราจะไม่สามารถปิดกั้นลูกจากกระแสของโทรศัพท์มือถือได้ แต่ด้วยการจัดการที่ดี การดูแลเอาใจใส่การใช้โทรศัพท์มือถือของลูกอย่างใกล้ชิด ก็จะป้องกันปัญหาลูกติดมือถือตั้งแต่เล็กได้ค่ะ

แม่กับลูกสองคนบนโซฟากำลังดูโทรศัพท์มือถือ

อย่ามองข้าม...สารอาหารเพื่อพัฒนาสมองและอารมณ์ลูก

การเลือกแอปพลิเคชั่นที่ดีจะช่วยพัฒนาสมองและอารมณ์ให้ลูกได้ เช่นเดียวกับการให้ลูกได้รับโภชนาการที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาทั้งสมองและอารมณ์ลูกได้ เพราะสารอาหารมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และสมองเป็นศูนย์กลางของพัฒนาการต่างๆ รวมทั้งพัฒนาการทางอารมณ์ โดยเฉพาะสารอาหารที่มีในนมผงของลูก อย่าง MFGM ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ดีเอชเอ กรดไขมันซึ่งพบมากในเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา

มีงานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว* และงานวิจัยยังพบอีกว่า MFGM จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์ของเขาได้* คุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับสารอาหารเพื่อพัฒนาสมองและอารมณ์ลูกนะคะ

*Reference: NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012;28:749-752.
คุณแม่รู้ไหม สมองลูกน้อยพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์ถึง 3 ขวบปีแรก ผู้เชียวชาญพร้อมให้คำปรึกษาได้ที่นี่