นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกมีกลิ่นตัวใช้อะไรดี? เผยเคล็ดลับดูแลลูกมีกลิ่นตัวคาว

Enfa สรุปให้

  • ลูกมีกลิ่นตัวใช้อะไรดี มีหลายทางเลือกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับระงับกลิ่นตัวเด็กๆ ตั้งแต่ สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ทำความสพอาดสำหรับเด็ก
  • กลิ่นตัวคาว เกิดจาก กลิ่นที่ออกแนวเปรี้ยว ๆ หรือเหมือนกลิ่นคาวปลา/คาวนม มีหลายเหตุ เช่น การหมักหมมของเหงื่อและแบคทีเรียบนผิว, อาหารที่กิน เช่น เนื้อแดง อาหารทะเล เครื่องเทศบางชนิด
  • ลูกมีกลิ่นตัวคาว  ส่วนใหญ่ไม่อันตราย แค่อาจเกิดจากเหงื่อหมักหมม หรืออาหาร แต่ถ้ามีอาการอื่นร่วม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะผิดปกติ เช่น โรคมีกลิ่นเหม็น ซึ่งสามารถแก้ไขเบื้องต้นด้วยการดูแลความสะอาดและปรับโภชนาการ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

กลิ่นตัวเด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนอาจไม่ทันสังเกต ด้วยความเชื่อที่ว่า “เด็กต้องมีกลิ่นหอม” ตามธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริงนั้น กลิ่นตัวลูกอาจเป็นได้ตั้งแต่กลิ่นทั่วไป จนถึงลักษณะ “ลูกมีกลิ่นตัวคาว” หรือ “ลูกตัวเหม็นคาว” ที่ไม่ได้หายไปแม้จะอาบน้ำให้ลูกบ่อยแล้วก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อลูกเติบโตขึ้น เริ่มวิ่งเล่น ออกแรง หรือแม้กระทั่งในเด็กเล็กบางคนที่ยังเป็นทารกก็อาจมีปัญหาทารกคอมีกลิ่นเหม็น หรือกลิ่นตัวอับอีกด้วย 

บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกลิ่นตัวเด็กทุกแง่มุม  ที่อาจสะท้อนช่วงเปลี่ยนผ่านด้านฮอร์โมนและพฤติกรรม เพื่อให้คุณแม่หรือผู้ปกครองเตรียมรับมืออย่างเหมาะสม


กลิ่นเด็กทารก ปกติควรเป็นอย่างไร 

กลิ่นเด็กทารก ปกติควรเป็นอย่างไร เด็กทารกแต่ละคนต่างมีกลิ่นเฉพาะตัว กลิ่นตัวทารกนั้นมาจากทฤษฎีหลัก ๆ 2 ทฤษฎีด้วยกันค่ะ 

ทฤษฎีหนึ่ง กล่าวว่า กลิ่นนี้มาจากต่อมเหงื่อของเด็กทารก ซึ่งกลิ่นนี้จะติดตัวเด็กๆ อยู่เพียง 6 สัปดาห์เท่านั้น เนื่องจากระบบการเผาผลาญของเด็ก ๆ จะเปลี่ยนไปเมื่อเริ่มมีการดื่มมแม่ได้ด้วยตัวเอง แทนการรับสารอาหารผ่านสายสะดือ

อีกหนึ่งทฤษฎีบอกว่า กลิ่นหอมนั้นเป็นกลิ่นตามธรรมชาติที่มาจากไขมันในทารกแรกเกิด และสภาพผิวที่ยังบอบบางไม่ค่อยมีกลิ่นเหงื่อเหมือนผู้ใหญ่  หลังจากที่ไขหลุดออกจากร่างกาย และบริเวณหนังศีรษะ กลิ่นจะยังติดอยู่ ก่อนที่จะค่อยๆ จางหายไปในที่สุด 

แต่ถึงแม้จะเป็นทฤษฎีอ้างอิง กลิ่นตัวของลูกๆ สำหรับคุณแม่นั้น แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน คุณแม่ก็จะยังจำกลิ่นลูกตัวเองได้อยู่เสมอ 

ในบางกรณี “กลิ่นเด็ก” ที่หลายคนคุ้นเคย ก็อาจพบ “ทารกมีกลิ่นตัวเหม็น” หรือ “ทารกคอมีกลิ่นเหม็น” ในบางจุดด้วยเหมือนกัน กลิ่นตัวทารกอาจมีรายละเอียดอื่นๆ ดังนี้ 

กลิ่นตัวทารกตามธรรมชาติ
ในวัยทารกแรกเกิดนั้น อาจเกิดจากกลิ่นน้ำคร่ำหรือไขมันที่ติดผิวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นสารสีขาวที่ห่อหุ้มร่างกาย แม้ว่าสารเหล่านี้จะถูกชำระล้างออกไปแล้ว แต่อาจเหลือกลิ่นอยู่ได้หลายสัปดาห์

กลิ่นตัวทารกจากขุยตามผิวหนัง 
เกิดจากการลอกเป็นขุยตามผิวหนัง ศีรษะหรือคิ้ว อาจใช้ Baby Oil หรือน้ำมันมะกอกทาเพื่อให้
ไขมันส่วนเกินนั้นลอกออกได้

กลิ่นตัวทารกจากเหงื่อ 
โดยเฉพาะวัย 1 -3 ปี เด็กๆ จะเริ่มมีความซุกซนมากขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้น จึงมีเหงื่อออกมากตามไปด้วยเพราะต่อมไขมันทำงานมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนอาจทำให้เกิดการหมักหมม เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลรักษาความสะอาดให้ดีอย่างถี่ถ้วน ก็จะทำให้กลิ่นต่างๆ ค่อยๆ หายไปได้ค่ะ

กลิ่นปากทารก 
ทารกมีกลิ่นปาก กลิ่นปากของลูกน้อยอาจเกิดจากการที่ลูกน้อยไม่ยอมให้แปรงฟัน ควรคุยทำความเข้าใจกับลูกว่า หนูนั้นกินอาหารเข้าไปทุกวัน ถ้าไม่ทำความสะอาดจะทำให้ฟันผุ ปวดฟัน และทำให้ปากมีกลิ่นได้

กลิ่นจากการอักเสบติดเชื้อจากการหยิบจับสิ่งของ
ในวัยนี้เด็กๆ จะชอบหยิบจับสิ่งของต่างๆ เข้าปาก หรือตามอวัยวะต่างๆ เช่น หู จมูก ซึ่งอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อทำให้เกิดกลิ่นได้เช่นกัน การป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายสำหรับเด็กวัยนี้คือการไม่ซื้อของเล่นที่มีขนาดเล็กให้เล่น 

โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของของเล่นในวัยเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีควรมีขนาดใหญ่กว่าแกนกระดาษทิชชูค่ะ ควรรักษาความสะอาดอย่างถูกวิธีและสะอาดหมดจดสม่ำเสมอ โดยหลังอาบน้ำควรเช็ดตามซอกมุม ขาหนีบ ชอกคอ  หู และใบหูทุกครั้ง ก็เป็นวิธีช่วยป้องกันกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ ของเจ้าตัวเล็กได้ค่ะ 

เหตุผลที่ทารกทั่วไปไม่มีกลิ่นตัวแรง

  • ต่อมเหงื่อยังไม่พัฒนาเต็มที่: ทารกยังไม่มีการหลั่งเหงื่อมากเหมือนผู้ใหญ่วัยรุ่นที่เริ่มเข้าสู่วัยฮอร์โมน
  • ยังไม่มีเชื้อแบคทีเรียที่สร้างกลิ่นมาก: ผิวของทารกมีค่า pH ที่ไม่เอื้อต่อการเจริญของแบคทีเรียก่อกลิ่น
  • กลิ่นหอมธรรมชาติ: น้ำมันบนผิวทารก (Vernix) ช่วงแรกเกิด มักให้กลิ่นอ่อน ๆ ที่หลายคนบอกว่า “น่าหลงใหล”

หลายๆ ครั้ง คุณแม่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมลูกๆ ยังมีกลินเหม็นคาว แม้ยังเป็นทารก ก็ตาม จริงๆ แล้ว กลิ่นไม่พึงประสงค์นี้ มีได้หลายสาเหตุ  ไม่ว่าจะเป็น ความอับชื้นตามซอกคอ รักแร้ หรือขาหนีบ เพราะว่า ทารกมีผิวหนังเป็นชั้นพับหลายแห่ง ถ้าทำความสะอาดไม่ทั่วถึง อาจเกิดแบคทีเรียสะสม คราบนมและน้ำลาย หากทารกเรอหรือแหวะนม แล้วมีคราบนมตกค้างตามคอหรือแก้ม จนเกิดการหมักหมมก็อาจส่งกลิ่นเหม็นคาวได้ หรือ ปัญหาสุขภาพเฉพาะ: ในกรณีหายาก อาจมีภาวะผิดปกติทางการเผาผลาญสารบางอย่าง (เช่น Trimethylaminuria) ทำให้เหงื่อหรือปัสสาวะมีกลิ่นคาวปลา แต่พบไม่บ่อย

ข้อแนะนำการดูแลทารกไม่ให้มีกลิ่นตัว คุณแม่สามารถดูแลได้ ดังนี้ 

  1. อาบน้ำสม่ำเสมอ: แต่อย่าอาบบ่อยเกินไปจนผิวแห้ง ควรใช้น้ำอุณหภูมิพอดีและสบู่เด็กสูตรอ่อนโยน
  2. เช็ดตัวหลังอาบน้ำ: ไม่ให้ผิวยังคงความชื้นในรอยพับ ควรซับเบา ๆ ทุกซอกคอ รักแร้ ขาหนี
  3. เปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีหากเปียกนม น้ำลาย: ลดการหมักหมมของเชื้อแบคทีเรีย
  4. เลือกผ้าฝ้ายระบายอากาศ: ป้องกันความอับชื้น

 

เด็กเริ่มมีกลิ่นตัวกี่ขวบ

ในช่วงวัยที่เด็กเติบโต ต่อมเหงื่อ (Apoeccrine Sweat Gland) จะค่อย ๆ พัฒนา ทำให้กลิ่นตัวเริ่มเปลี่ยนไปจากความ “หอมนุ่ม” ของทารก มาเป็น “กลิ่นตัวตามธรรมชาติ” ของเด็ก บางคนอาจถึงขั้น “ลูกมีกลิ่นตัวคาว” หรือ “ลูกตัวเหม็นคาว” ถ้าออกแรงมากและมีการหมักหมม 

ช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีกลิ่นตัว

  • วัยอนุบาล (2-5 ขวบ): จริง ๆ แล้ว เด็กวัยนี้ยังไม่ค่อยมีปัญหากลิ่นตัวรุนแรงเท่าผู้ใหญ่ เนื่องจากต่อมเหงื่อ Apocrine ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่บางคนอาจเริ่มเห็นว่าหลังวิ่งเล่นเหงื่อออก มีกลิ่นอับเบา ๆ อาจเป็นเพราะเหงื่อสะสม
  • วัยประถม (6-10 ขวบ): ช่วงปลายประถมจะเริ่มได้กลิ่นชัดขึ้น เพราะบางคนเข้าสู่วัยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเล็กน้อย ต่อมเหงื่อขยายตัวมากขึ้น
  • วัยก่อนเป็นวัยรุ่น (ประมาณ 10-12 ขวบ): ช่วงนี้อาจเห็นกลิ่นตัวเหมือนผู้ใหญ่ได้เลย เพราะฮอร์โมนเพศเริ่มหลั่งมากขึ้น ทำให้เหงื่อและไขมันผิวหนังมีส่วนผสมให้เกิดกลิ่นง่าย

ปัจจัยที่ทำให้ “ลูกมีกลิ่นตัว” เร็วกว่าปกติ

  • พันธุกรรม: ถ้าพ่อแม่มีแนวโน้มต่อมเหงื่อหรือมีประวัติกลิ่นตัวแรง ลูกอาจมีโอกาสคล้ายกัน
  • โภชนาการ: การกินอาหารกลิ่นจัด หรือโปรตีนบางชนิดอาจส่งผลต่อกลิ่นตัว เช่น เนื้อแดง, กระเทียม, เครื่องเทศ
  • การดูแลความสะอาด: ถ้าเด็กเล่นเหงื่อออกแล้วไม่ได้อาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที อาจเกิดการหมักหมมจนกลิ่นแรง
  • ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ: ถ้าเด็กมีพัฒนาการเข้าสู่วัยรุ่นเร็ว หรือมีความผิดปกติของต่อมหมวกไต อาจมีฮอร์โมนเพศเพิ่มจนมีกลิ่นตัวเร็วเกินวัย

สัญญาณควรระวังเมื่อกลิ่นตัวแรงเกินวัย
กลิ่นตัวเกิดจากปัจจัยหลัก ๆ คือ การมีเหงื่อออก ร่วมกับการย่อยสลายไขมันของแบคทีเรียที่ผิวหนัง โดยการที่เหงื่อออกนั้นเกิดจากการทำงานของต่อมเหงื่อ ซึ่งมี 2 แบบ คือ ต่อมเหงื่อทั่วไป มีมากที่ฝ่ามือฝ่าเท้าและต่อมเหงื่อชนิดที่มีการสร้างไขมันจำเพาะออกมาด้วย มีมากที่รักแร้ หนังศีรษะ อวัยวะเพศ ต่อมเหงื่อชนิดนี้จะเริ่มทำงานเมื่อเริ่มมีการทำงานของฮอร์โมนเพศตอนเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นที่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกลิ่นเหงื่อจากต่อมเหงื่อทั่วไป

สาเหตุอื่นที่ทำให้ลูกมีกลิ่นตัวเร็ว ได้แก่ ลูกมีอาการแสดงของการเข้าสู่วัยหนุ่มเร็วกว่าปกติ เช่นลูกอัณฑะโต ขนรักแร้หรือขนที่อวัยวะเพศ การเจริญเติบโตเร็วเกินปกติ หรือน้ำหนักตัวและส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

กรณีนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะลูกอาจมีความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ จำเป็นต้องได้รับการรักษา มิฉะนั้นลูกอาจหยุดโตเร็วกว่าปกติ ทำให้ตัวเตี้ยกว่าที่ควร

นอกจากนี้โรคที่มีเหงื่อออกมากกว่าคนปกติ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ ก็ทำให้เด็กมีกลิ่นตัวได้เช่นกัน หรือโรคที่มีความผิดปกติในการเผาผลาญกรดแอมิโนบางตัวทำให้เด็กมีกลิ่นตัวจำเพาะ เมื่อรักษาโรคที่เป็นสาเหตุแล้ว กลิ่นตัวจะดีขึ้น

แม้แต่อาหาร เครื่องดื่ม หรือยาบางอย่างอาจถูกขับออกทางเหงื่อ ทำให้เกิดกลิ่นตัวได้ เช่น หัวหอม กระเทียม ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ จึงควรลองหยุดอาหารเหล่านี้แล้วดูอาการ

 

ลูกมีกลิ่นตัวคาว อันตรายไหม 

เมื่อพ่อแม่สังเกตว่า ลูกตัวเหม็นคาว หรือ ลูกมีกลิ่นตัวคาว ไม่ใช่แค่กลิ่นอับเหงื่อธรรมดา อาจสงสัยว่าเป็นอันตรายไหม มีสาเหตุจากอะไร

กลิ่นตัวคาวคืออะไร
กลิ่นตัว “คาว” มักหมายถึงกลิ่นที่ออกแนวเปรี้ยว ๆ หรือเหมือนกลิ่นคาวปลา/คาวนม อาจเกิดได้จากหลายเหตุ เช่น

  • การหมักหมมของเหงื่อและแบคทีเรียบนผิว
  • อาหารที่กิน เช่น เนื้อแดง อาหารทะเล เครื่องเทศบางชนิด
  • โรคเมตาบอลิซึมหายาก เช่น Trimethylaminuria (TMAU) ที่ทำให้ร่างกายขับสาร Trimethylamine ซึ่งมีกลิ่นคาวปลาออกทางเหงื่อและปัสสาวะ

ลูกมีกลิ่นตัวคาว อันตรายไหม
โดยทั่วไปไม่อันตราย ถ้าเป็นเพียงกลิ่นเหงื่อหมักหมม หรือผลจากอาหาร ไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพรุนแรง แค่ต้องปรับการดูแลความสะอาดและโภชนาการ

ยกเว้นในกรณีที่ลูกมีภาวะกลิ่นตัวเหม็น (Trimethylaminuria) ซึ่งพบได้น้อยมาก หากลูกมีกลิ่นคาวปลาแรง แม้เพิ่งอาบน้ำแล้วก็ตาม อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของเอนไซม์ในร่างกาย

บางครั้ง ลูกตัวเหม็นคาว อาจเพราะติดเชื้อรา หรือผิวหนังอักเสบ หากมีรอยแดง ผื่น คัน ควรปรึกษากุมารแพทย์

วิธีดูแลเบื้องต้นเมื่อพบว่าลูกตัวเหม็นคาว

  • ตรวจสอบจุดอับ: คอ รักแร้ ขาหนีบ หลังใบหู ลองเช็ดหรืออาบน้ำเพิ่มความสะอาด
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อย: หากลูกเล่นจนเหงื่อท่วม ควรเช็ดตัวและเปลี่ยนเสื้อทันที
  • สังเกตอาหาร: ถ้าลูกกินอาหารกลิ่นแรง เช่น ปลาเค็ม กระเทียมมาก อาจทำให้เหงื่อมีสารที่มีกลิ่นเมื่อถูกย่อยในร่างกาย
  • ปรึกษาแพทย์: หากมีกลิ่นผิดปกติรุนแรงหรือมีอาการอื่นร่วม

เคล็ดลับลดกลิ่นตัวคาว

  • อาบน้ำด้วยน้ำอุ่นผสมสบู่หรือแชมพูเด็กสูตรอ่อนโยน
  • ใช้น้ำยาซักผ้าเด็กที่ไม่ระคายเคือง แต่กำจัดกลิ่นได้ดี
  • เติมวิตามินบีหรืออาหารที่มีคลอโรฟิลล์ในเมนู เช่น ผักใบเขียว ช่วยลดการสร้างสารก่อกลิ่นในร่างกาย
  • สอนให้เด็กใช้ผ้าเช็ดเหงื่อเองเมื่อเริ่มโต

ลูกมีกลิ่นตัวคาว ส่วนใหญ่ไม่อันตราย แค่อาจเกิดจากเหงื่อหมักหมม หรืออาหาร แต่ถ้ามีอาการอื่นร่วม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะผิดปกติ เช่น โรคกลิ่นตัวเหม็น (Trimethylaminuria) แก้ไขเบื้องต้นด้วยการดูแลความสะอาดและปรับโภชนาการ

 

กลิ่นตัวคาว เกิดจากอะไร

เมื่อ “ลูกมีกลิ่นตัวคาว” มากกว่าปกติ จนพ่อแม่สงสัยว่า “กลิ่นตัวคาวเกิดจาก” อะไรได้บ้าง สามารถสรุปสาเหตุหลัก ๆ ที่อาจพบในเด็กหลายช่วงวัย ดังนี้ 

การสะสมของแบคทีเรียบนผิว
สภาวะอับชื้น เหงื่อสะสมตามซอกคอ รักแร้ ข้อพับ ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต มีกลิ่นคาว ๆ หรือเหม็นอับ โดยเฉพาะเด็กที่วิ่งเล่น ไม่ยอมอาบน้ำทันที เสื้อผ้าชุ่มเหงื่อจนหมักหมม

อาหารกลิ่นแรง หรือ เนื้อสัตว์บางชนิด
เนื้อแดง เครื่องใน ปลาทะเลบางชนิด เมื่อลูกกินมากเกินไป อาจขับสารบางอย่างผ่านเหงื่อหรือปัสสาวะจนมีกลิ่นคาว ถั่วหรือพืชตระกูลกะหล่ำ (เช่น กะหล่ำปลี บรอกโคลี) แม้เป็นอาหารสุขภาพ แต่มีสารที่อาจทำให้เหงื่อหรือแก๊สมีกลิ่นได้เช่นกัน 

ฮอร์โมนและกรรมพันธุ์
เด็กบางคนมีภาวะเจริญเติบโตเร็ว หรือ มีฮอร์โมนทางเพศสูง ทำให้ต่อมเหงื่อผลิตสารบางอย่างมาก กลิ่นจึงแรง ขณะที่ พันธุกรรมบางอย่าง เช่น ภาวะ Trimethylaminuria ทำให้ร่างกายย่อยสาร Trimethylamine ไม่ได้ และขับออกมาทางเหงื่อเป็นกลิ่นคาวปลา

การใช้ยา และการติดเชื้อ
ยาบางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญจนเหงื่อมีกลิ่นคาว รวมทั้ง การติดเชื้อราหรือแบคทีเรียบนผิวหนัง ทำให้เกิดกลิ่นอับหรือเหม็นคาว

การขาดสารอาหารหรือโภชนาการไม่สมดุล
ขาดวิตามินบีหรือสังกะสี อาจส่งผลให้กลิ่นตัวแรงขึ้น อีกทั้ง การทานน้ำไม่พอ ทำให้ของเสียถูกขับออกทางเหงื่อมากกว่าปกติ

กลิ่นตัวคาวเกิดจากการหมักหมมของเหงื่อ แบคทีเรีย อาหารกลิ่นแรง ฮอร์โมน หรือภาวะทางพันธุกรรมบางอย่าง ควรแก้ไขโดยดูแลความสะอาด ปรับเมนูอาหาร และหากสงสัยโรคควรปรึกษาแพทย์

 

ทารกมีกลิ่นตัวเหม็น ดูแลยังไงดี

แม้ทารกส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีกลิ่นตัว แต่งานจริงบางครั้งผู้ปกครองอาจพบว่า ทารกมีกลิ่นตัว หรือ ทารกคอมีกลิ่นเหม็น เพราะบริเวณคอเป็นจุดอับที่เหงื่อหรือน้ำนมไหลซ่อนอยู่ได้ง่าย มาดูวิธีดูแลกันเลยค่ะ 

ทำความสะอาดเป็นประจำ

  • อาบน้ำวันละ 1-2 ครั้ง: เลือกสบู่หรือแชมพูสูตรอ่อนโยนสำหรับเด็กทารก ปราศจากสารเคมีรุนแรง
  • เช็ดซอกคอและข้อพับ: หลังอาบน้ำหรือระหว่างวัน หากทารกมีน้ำลายหรือนมไหล ควรใช้ผ้าอุ่นชุบน้ำเช็ดอย่างนุ่มนวล ไม่ให้เกิดการเสียดสีเกินไป

เลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศดี

  • ผ้าฝ้ายเนื้อนุ่มช่วยให้เหงื่อไม่หมักหมม ลดโอกาสเกิดแบคทีเรีย
  • หลีกเลี่ยงชุดหนาเกินไปในอากาศร้อน ควรปรับอุณหภูมิห้องให้สบาย 24-26 องศา

ตรวจดูปัญหาสุขภาพ

  • ถ้าทารกกินนมแม่ อาจตรวจดูว่าคุณแม่ทานอาหารกลิ่นแรง เช่น กระเทียม เครื่องเทศมากไปหรือไม่ เพราะอาจผ่านน้ำนมมาถึงลูกได้
  • ถ้าพบผื่นแดง ผิวลอก หรือแผลน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้ อาจเป็นการติดเชื้อราหรือแบคทีเรีย ควรพาไปพบแพทย์

เคล็ดลับลดกลิ่นตัวในทารก

  • เปลี่ยนผ้าอ้อมและผ้าเช็ดน้ำลายบ่อย: ลดการหมักหมมของเชื้อโรค
  • เช็ดเหงื่อระหว่างวัน: หากอากาศร้อนจนทารกเหงื่อออกมาก ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัวเบา ๆ
  • ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย: บางครั้งการทาแป้งเด็ก กํช่วยดูดความชื้น แต่ควรใช้ปริมาณเล็กน้อยและหลีกเลี่ยงการสูดดมแป้ง

 

ลูกมีกลิ่นตัวใช้อะไรดี

เมื่อเด็กโตขึ้น เริ่มมีกลิ่นตัวชัดเจน หลายพ่อแม่อาจสงสัยว่า “ลูกมีกลิ่นตัวใช้อะไรดี” ในเมื่อเราไม่อยากใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ใหญ่ที่มีสารเคมีแรงเกินกับผิวเด็ก เรามีคำแนะนำต่อไปนี้

ผลิตภัณฑ์อาบน้ำและระงับกลิ่นเฉพาะสำหรับเด็ก
บางแบรนด์ออกแบบ “สบู่หรือครีมอาบน้ำเด็กสูตรลดแบคทีเรีย” แต่ยังคงอ่อนโยน ไม่ทำร้ายผิวเด็ก สเปรย์หรือโรลออนเด็กสำหรับเด็กโตประมาณ 6-7 ขวบขึ้นไป บางยี่ห้อพัฒนามาเพื่อผิวบอบบาง แต่ต้องดูฉลากว่าปลอดสารแอลกอฮอล์หรือพาราเบนหรือไม่

สูตรธรรมชาติหรือสมุนไพร
บางครอบครัวใช้สูตรสมุนไพรอ่อน ๆ เช่น ตะไคร้ ใบเตย หรือมะกรูด ผสมในน้ำอาบ แต่ควรระวังการแพ้ หรือ การใช้น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) เจือจางในอัตราที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เช่น ลาเวนเดอร์ ช่วยกลิ่นหอมอ่อน ๆ และผ่อนคลาย

เทคนิคการดูแลเสื้อผ้า
ซักผ้าลูกด้วยน้ำยาซักผ้าเด็กที่ลดการสะสมแบคทีเรีย อบผ้าให้แห้งสนิท แดดจัด หรือใช้เครื่องอบผ้า หากลูกมีกลิ่นตัวแรง ควรเปลี่ยนเสื้อวันละ 2-3 ครั้ง หลีกเลี่ยงผ้าใยสังเคราะห์ (Polyester) ให้ใช้ผ้าฝ้าย

ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ได้ไหม
บางบ้านลองใช้โรลออนผู้ใหญ่ หรือสบู่ขจัดแบคทีเรียสูตรเข้มข้น ซึ่งอาจแรงเกินไปสำหรับผิวเด็ก เสี่ยงแพ้หรือผิวแห้ง ถ้าจำเป็นจริง ๆ ควรลองปริมาณเล็กน้อย และสังเกตอาการแพ้ หรือปรึกษาแพทย์ก่อน

อาหารเสริมเพื่อช่วยลดกลิ่นตัว
วิตามินบี เช่น บี1 บี2 บี6 บี12 สังกะสี (Zinc) ช่วยระบบเมตาบอลิซึม และลดกลิ่นตัวในบางกรณี แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้ลูกกิน รวมทั้งการน้ำดื่มเพียงพอ ลดของหวานและขนมกรุบกรอบที่อาจทำให้เกิดกลิ่นตัวมากขึ้น


นมแม่ที่มี MFGM เพื่อ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่า

แม้ว่าเรื่อง “กลิ่นตัว” อาจจะไม่เกี่ยวโดยตรงกับโภชนาการมากนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่ลูกมีสุขภาพภายในดี ระบบเผาผลาญสมดุล และได้รับสารอาหารสำคัญ ช่วยลดปัญหากลิ่นตัวหรือสิ่งผิดปกติอื่น ๆ ได้ในระดับหนึ่ง 

การใส่ใจโภชนาการอย่างเหมาะสม ในช่วง 1,000 วันแรกของลูก เป็นช่วงเวลาสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา โดย 80% ของสมอง จะเติบโตสูงสุดในช่วง 2 ขวบปีแรก และ 90% จะเติบโตสูงสุดในช่วง 5 ปีแรก ด้วยเหตุนี้ โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของลูกน้อย จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

โภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกน้อย โดยคุณแม่สามารถเสริมสร้างโภชนาการที่ดีได้ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ตั้งแต่ 6 เดือนแรก และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปี

เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น

*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561

 

ไขข้อข้องใจเมื่อท้อง 14 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club

กลิ่นตัวของลูก ถือเป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องเอาใจใส่ เพราะนอกจากจะหมายถึงสุขอนามัยที่ดีของเด็กๆ แล้ว ยังสะท้อนถึงการเจริญเติบโตที่ดีมีคุณภาพอีกด้วย Enfa Smart Club อยากชวนคุณแม่มาทำความเข้าใจเรื่องกลิ่นตัวของลูกน้อยให้มากขึ้นกันค่ะ 

ลูก 2 ขวบ มีกลิ่นตัว

โดยปกติ เด็กวัย 2 ขวบกลิ่นตัวจะไม่แรงเท่าวัยเด็กโตกว่า เพราะต่อมเหงื่อยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่ก็อาจจะมีเด็กบางคนที่กลิ่นตัวชัดเจน ส่วนใหญ่เกิดจากการสะสมของเหงื่อหรือน้ำนม สำหรับเด็กที่ยังดื่มนมขวดหรือกินเองเลอะเทอะ บางกรณีอาจเป็นปัญหาการอาบน้ำไม่ทั่วถึงหรือการหมักหมมที่คอ ข้อพับ รักแร้

คำแนะนำ

  • เน้นอาบน้ำวันละ 1-2 ครั้งด้วยสบู่เด็กสูตรอ่อนโยน
  • เช็ดตัวหลังลูกวิ่งเล่น หรือเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีที่ลูกเหงื่อออก
  • ตรวจดูซอกคอ รักแร้ และหลังใบหู หากมีคราบนม หรือรอยอับ ควรเช็ดให้แห้งเบา ๆ

ลูก 7 ขวบ มีกลิ่นตัว

วัย 7 ขวบนั้นถือว่าเริ่มเข้าวัยประถม บางคนมีกิจกรรมวิ่งเล่นเยอะในโรงเรียน ต่อมเหงื่อเริ่มทำงานมากขึ้น ได้เหงื่อออกประจำวัน กลิ่นตัวของเด็กวัยนี้ หลักๆ จึงมักจะมาจากเหงื่อหมักหมม เสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศดี และเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้กลิ่นตัวชัดขึ้น

คำแนะนำ

  • สอนลูกให้รู้จักดูแลตัวเอง เช่น พกผ้าเช็ดเหงื่อ หรือเปลี่ยนเสื้อหลังเล่นกีฬา
  • พิจารณาใช้สบู่ที่ช่วยลดแบคทีเรีย แต่ยังอ่อนโยนสำหรับเด็ก
  • เน้นโภชนาการ เช่น ผักผลไม้ วิตามินและแร่ธาตุ เพื่อไม่ให้กลิ่นตัวเกิดจากการเผาผลาญอาหารผิดปกติ
  • ถ้ากลิ่นแรงผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจภาวะฮอร์โมน

ลูก 10 ขวบ มีกลิ่นตัว

เด็กวัย 10 ขวบ ถือว่าเป็นช่วยใกล้เข้าสู่วัยรุ่น ในเด็กบางคนอาจเริ่มมีฮอร์โมนเพศหลั่งมากขึ้น ซึ่งกระตุ้นต่อมเหงื่อให้ผลิตสารก่อกลิ่น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน, มีเหงื่อออกมาก, ทานอาหารกลิ่นแรง, และการออกกำลังกายหนักในบางกรณีก็ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นทั้งสิ้น 

คำแนะนำ

  • หากกลิ่นตัวแรงจนรบกวนชีวิตประจำวัน อาจลองผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นที่อ่อนโยนสำหรับเด็กโต
  • ให้ลูกอาบน้ำหลังเล่นกีฬาทุกครั้ง ใส่เสื้อผ้าระบายอากาศดี
  • ปรับพฤติกรรมการกิน ลดของทอด ของมัน ของหวานที่อาจกระตุ้นกลิ่นตัว
  • ติดตามว่ามีสัญญาณเข้าสู่วัยรุ่นเร็วไหม เช่น ขนรักแร้, หน้าอกเริ่มขึ้น, ประจำเดือน หากเกิดเร็วเกิน ปรึกษาแพทย์

 

  • rakluke. กลิ่นตัวเด็กทารกไม่ได้มีแค่หอมอย่างเดียว กลิ่นทารกบอกอาการและโรคที่พ่อแม่ต้องดูแล. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.rakluke.com/child-development-all/baby-development/item/2020-03-21-13-50-24.html. [4 กุมภาพันธ์ 2568]
  • amarinbabyandkids. กลิ่นตัวทารก นอกจากหอมแล้วยังบอกโรคได้. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.amarinbabyandkids.com/health/ador-baby/. [7 กุมภาพันธ์ 2568]
  • bangkokhospital. อย่าปล่อยให้ลูกเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/content/precocious-puberty. [7 กุมภาพันธ์ 2568]
  • amarinbabyandkids. ลูกเริ่มมีกลิ่นตัว. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.amarinbabyandkids.com/kids/7-12-57/. [7 กุมภาพันธ์ 2568]
  • รพ.ศิริราช. สัญญาณเตือนเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยที่พ่อแม่ต้องรู้. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/precocious-puberty. [7 กุมภาพันธ์ 2568]

 

โปรดอ่านข้อมูลเบื้องต้น และคลิก

“เข้าสู่เว็บไซต์”

เพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama