นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ตากุ้งยิงในเด็ก เกิดจากอะไร รับมือยังไงเมื่อลูกเป็นตากุ้งยิง

Enfa สรุปให้

  • ตากุ้งยิงในเด็ก มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่ดวงตา ทำให้เกิดอาการบวมแดง อักเสบ และมีอาการระคายเคืองเกิดขึ้น และมองเห็นเป็นตุ่มบวมแดงที่เปลือกตาบริเวณชิดโคนขนตา
  • ตากุ้งยิงเด็ก สามารถดูแลให้ดีขึ้นได้ด้วยการรักษาความสะอาดที่ดวงตา หมั่นประคบอุ่นบ่อย ๆ ควบคู่ไปกับการหยอดตา และการกินยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
  • เด็กเป็นตากุ้งยิง บางครั้งลูกอาจรู้สึกเจ็บปวดมากจนทนไม่ไหว ต้องมีการผ่าตัดระบายหนองออก เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด และอาการบวมแดงที่รุนแรง

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ตากุ้งยิง ถือเป็นหนึ่งในอาการทางสุขภาพที่พบได้บ่อยมากในเด็ก และมักทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวล กลัวว่าลูกจะมีอาการติดเชื้อรุนแรงจนกระทบต่อดวงตา บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับวิธีรับมือกับอาการตากุ้งยิงในเด็ก และวิธีป้องกันอาการตากุ้งยิงในเด็กไม่ให้เกิดบ่อย ๆ มาฝากค่ะ

ตากุ้งยิงในเด็ก อันตรายไหม


ตากุ้งยิงในทารก หรือตากุ้งยิงในเด็กเล็ก ถือเป็นอาการทางสุขภาพที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็ก ทั้งนี้เนื่องมาจากระบบภูมิคุ้มกันในเด็กนั้นยังไม่แข็งแรงเท่าวัยผู้ใหญ่ จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการอักเสบได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดวงตา บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อจนกลายเป็นตากุ้งยิงได้

อย่างไรก็ตาม อาการตากุ้งยิงนั้นสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ แต่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าปล่อยไว้อาจจะทำให้อาการตากุ้งยิงในเด็กแย่ลง มีอาการเจ็บปวดรุนแรง และกระทบการใช้ชีวิตประจำวันของลูกน้อย

ตากุ้งยิงเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร


ตากุ้งยิงในเด็กนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • การติดเชื้อที่บริเวณขอบดวงตา เนื่องจากมีสิ่งสกปรก เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย มาสัมผัสกับดวงตา ผ่านนิ้วมือ เส้นผม
  • การขยี้ตาบ่อย ๆ เสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อที่ดวงตาได้ง่ายหากมือสกปรก หรือการขยี้ตาบ่อย ๆ ก็เสี่ยงทำให้ดวงตามีการบวมอักเสบได้เช่นกัน
  • ต่อมไขมันทำงานผิดปกติ หรือต่อมไขมันบริเวณดวงตาเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดการบวม แดง และอักเสบที่เปลือกตาได้
  • เส้นผมไม่สะอาด อาจเพราะไม่ได้สระผมเป็นประจำ หรือมีการหมักหมม และผมยาวปรกหน้าจนถึงดวงตา เสี่ยงทำให้เชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรกสัมผัสกับดวงตาจนเกิดการติดเชื้อได้ หรือเส้นผมอาจทิ่มแทงดวงตาจนเกิดการอักเสบและลุกลามกลายเป็นตากุ้งยิงได้เช่นกัน
  • ลูกน้อยใช้สิ่งของร่วมกันผู้อื่น เช่น ผ้าเช่นหน้า ผ้าขนหนู อาจได้รับสิ่งสกปรก หรือเชื้อแบคทีเรีย และเกิดการติดเชื้อที่ดวงตาได้
  • ลูกน้อยใช้สายตานานเกินไป เช่น เล่นเกม ดูทีวี อ่านหนังสือ มักเสี่ยงทำให้เกิดอาการตาล้า เมื่อยตา ทำให้ลูกขยี้ตาบ่อย ๆ เสี่ยงที่จะเกิดการอักเสบจนกลายเป็นตากุ้งยิงในเด็กได้

ลูกเป็นตากุ้งยิง มักมีอาการอย่างไร


ตากุ้งยิงในเด็ก สามารถจำแนกแบ่งออกตามอาการได้เป็น 2 ชนิด คือ

ตากุ้งยิงในเด็กแบบภายนอก หรือตากุ้งยิงชนิดหัวผุด  

อาการตากุ้งยิงแบบนี้จะมองเห็นลักษณะการบวมอักเสบอย่างชัดเจนที่เปลือกตา และมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ลูกมีก้อนที่เปลือกตา มองเห็นบริเวณชิดโคนขนตามีตุ่มหนองบวมแดงออกมา พบได้ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง
  • มีอาการคันระคายเคืองที่ดวงตา เหมือนมีเศษผงเข้าตาตลอดเวลา ทำให้ลูกอยากขยี้ตาบ่อย ๆ 
  • ลูกน้อยมีอาการเจ็บปวดเล็กน้อยที่บริเวณดวงตา
  • หัวหนองที่บริเวณเปลือกตาสามารถบวมขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นหัวหนองขนาดใหญ่และแตกออก ก่อนจะค่อย ๆ ยุบไปได้เอง

ตากุ้งยิงในเด็กแบบหลบใน

อาการตากุ้งยิงแบบนี้จะมองไม่เห็นการอักเสบจากภายนอก เพราะจะเกิดการบวมแดงและอักเสบอยู่ภายในเปลือกตาบนหรือเปลือกตาล่าง ทำให้อาการตากุ้งยิงนั้นมีความรุนแรงและก่อให้เกิดความรำคาญกับลูกน้อยมากยิ่งขึ้น โดยมีอาการที่พบได้ ดังนี้

  • ลูกน้อยจะมีอาการเจ็บปวดดวงตามากผิดปกติ เพราะการอักเสบเกิดขึ้นภายใน ทำให้ตุ่มที่อักเสบมีการสัมผัสกับดวงตาตลอดเวลา จึงรู้สึกเจ็บปวดที่ดวงตามากกว่าตากุ้งยิงแบบภายนอก
  • ลูกน้อยมีน้ำตาไหลออกมามากผิดปกติ
  • ลูกน้อยอยากขยี้ตาถี่ขึ้น รู้สึกระคายเคืองตามากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกรำคาญที่ดวงตาตลอดเวลา

เด็กเป็นตากุ้งยิง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลยังไงดี


ลูกเป็นตากุ้งยิงรักษาไงดี? หากลูกเป็นตากุ้งยิง คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลอาการของลูกให้ดีขึ้นได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ทำการประคบอุ่นบ่อย ๆ หรือประมาณ 4 ครั้งต่อวัน เพื่อลดการอักเสบ ลดการบวมแดง
  • เช็ดทำความสะอาดตาด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น หรือน้ำสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหมักหมมสิ่งสกปรก
  • หากพาลูกไปพบแพทย์ และแพทย์ให้ยามากิน ควรดูแลให้ลูกกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ลดหรือเพิ่มยาเองโดยไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
  • หากแพทย์ให้ยาหยอดตา หรือยาป้ายตา ควรดูแลหยอดตาและทายาให้ลูกอย่างสม่ำเสมอตามคำสั่งแพทย์ เพื่อให้อาการตากุ้งยิงในเด็กดีขึ้น
  • คอยดูแลไม่ให้ลูกสัมผัสหรือขยี้ดวงตา เพราะจะยิ่งทำให้ตากุ้งยิงอักเสบกว่าเดิม
  • ดูแลให้ลูกล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสิ่งสกปรก หรือเชื้อแบคทีเรีย เสี่ยงจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าอาการตากุ้งยิงของลูกไม่ดีขึ้นเลย และลูกมีอาการเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากอาการตากุ้งยิงในเด็กบางคนอาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดระบายเอาหนองออก เพื่อบรรเทาอาการอักเสบและอาการเจ็บปวด

ลูกเป็นตากุ้งยิงไม่หายสักที เพราะอะไรกันนะ


อาการตากุ้งยิงของลูกไม่หายสักที อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • ระบบภูมิคุ้มกันของลูกอ่อนแอ ทำให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้น
  • ใช้ยาหยอดตาไม่ถูกกับอาการของตากุ้งยิง อาจทำให้อาการตาแดงลดลง แต่อาการอักเสบและหนองยังคงอยู่
  • ลูกน้อยชอบขยี้ตา หรือไม่ล้างมือก่อนสัมผัสดวงตา ยิ่งทำให้การติดเชื้อ การอักเสบมีแต่จะแย่ลง
  • อาการตากุ้งยิงอาจเกิดจากต่อมไขมันทำงานผิดปกติ มีการอุดตันมาก ทำให้อาการตากุ้งยิงหายช้า

อย่างไรก็ตาม อาการตากุ้งยิงสามารถเป็นแล้วเป็นอีกได้ หากคุณพ่อคุณแม่ละเลยการสั่งสอนเรื่องความสะอาดและการดูแลตัวเอง หากลูกไม่ชอบล้างมือ และชอบเล่นเปื้อนสกปรก แต่ไม่ทำความสะอาดร่างกายตัวเองให้ดี ก็มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อที่ดวงตาซ้ำ ๆ ได้

มากไปกว่านั้น บางครั้งตากุ้งยิงในเด็กเกิดจากต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ มีการอุดตันง่าย ก็ทำให้เกิดตากุ้งยิงซ้ำ ๆ ได้ง่าย หรือใช้เวลานานกว่าจะรักษาหาย

สัญญาณที่บอกว่าคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ


หากลูกน้อยมีอาการตากุ้งยิงแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

  • ลูกมีอาการเจ็บปวดที่ดวงตามากจนทนไม่ไหว หรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การมองเห็นลดลง นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
  • อาการบวมแดงมีการขยายตัว เช่น ตุ่มเริ่มใหญ่ขึ้น หรือแผ่วงแดงที่กว้างขึ้น

โดยทั่วไปนั้นการหยอดตา การทายา กินกินยาปฏิชีวนะ และการหมั่นประคบอุ่น สามารถช่วยให้อาการตากุ้งยิงดีขึ้นตามลำดับได้ภายใน 4-5 วัน แต่ถ้าหากพบว่าอาการของลูกไม่ดีขึ้นเลยภายใน 48 ชั่วโมง หรือตุ่มแดงเริ่มแผ่วงกว้าง ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที

เลือกโภชนาการที่มี MFGM เพื่อ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่า


การเจ็บไข้ได้ป่วย อาจเป็นอุปสรรคขัดขวางพัฒนาการของลูกน้อยได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจเรื่องความสะอาดของลูกอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ป้องกันไม่ลูกป่วยง่าย หรือไม่สบายบ่อย ๆ

นอกจากเรื่องความสะอาดแล้ว โภชนาการที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง และมีพัฒนาการด้านสมองที่ก้าวหน้า สามารถที่จะเรียนรู้และทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตได้อย่างสมวัย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทารกทุกคนควรจะต้องได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับ MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น  

*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561

ไขข้อข้องใจเรื่องตากุ้งยิงในเด็ก กับ Enfa Smart Club


ลูก 2 ขวบ เป็นตากุ้งยิง ต้องไปโรงพยาบาลไหม?

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูก 2 ขวบเป็นตากุ้งยิง หรือมีอาการคล้ายกับตากุ้งยิง ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับยาที่เหมาะสมกับอาการ หรือบางครั้งแพทย์อาจวินิจฉัยให้ทำการผ่าตัด เพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบที่รุนแรง

ลูกเป็นตากุ้งยิง 3 เดือน ไม่หาย อันตรายไหม?

หากลูกน้อยเป็นตากุ้งยิงนานหลายวันแล้ว แต่ไม่มีทีท่าว่าจะหายดีสักที หรือเป็นตากุ้งยิงติดต่อกันนานเกิน 1 สัปดาห์ หรืออาการตากุ้งยิงแย่ลง หรือมีอาการบวมแดงมากขึ้นภายในช่วง 48 ชั่วโมงแรก ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอาการ และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งอาจจะต้องมีการกินยาร่วมด้วย หรืออาจจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดตากุ้งยิงก็ได้เช่นกัน

    • โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4. เมื่อลูกน้อยโดน “ตากุ้งยิง” เล่นงาน…คุณแม่ต้องรีบจัดการด่วน!!!. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/. [14 พฤษภาคม 2025]
    • โรงพยาบาลวิมุต. "ตากุ้งยิง " สาเหตุการเกิด และแนวทางการรักษา. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.vimut.com/article/Hordeolum. [14 พฤษภาคม 2025]
    • โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ. “ตากุ้งยิง” โรคตาที่พบบ่อยที่สุดในช่วง โควิด-19. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/content-stye-eyes. [14 พฤษภาคม 2025]
    • MedPark Hospital. โรคตากุ้งยิง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/hordeolum. [14 พฤษภาคม 2025]
    • หมอปัณฑิตา หมอเด็กภูเก็ต Dr Panthita Phuket Pediatrician. โรคตากุ้งยิงในเด็ก Hordeolum in Child. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=_cFWiiewsOo. [14 พฤษภาคม 2025]
    * นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
    Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
    เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
    Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

    คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

    กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

    Line TH
    Cart TH Join Enfamama