Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ทารกเป็นสิวที่หน้า อาจจะน่าตกใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ แต่จริงๆ แล้วถือเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด วันนี้ Enfa จะชวนมาทำความเข้าใจและวิธีการดูแลสิวในเด็กทารกกันค่ะ
สิวทารกแรกเกิด มักเกิดขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์แรกหลังคลอด มีลักษณะเป็นตุ่มแดง หรือสิวข้าวสารบริเวณใบหน้า เช่น หน้าผาก แก้ม และคาง สาเหตุหลักเกิดจากฮอร์โมนของคุณแม่ที่ถ่ายทอดผ่านทางรก และน้ำนม ส่งผลให้ต่อมไขมันของทารกทำงานมากขึ้น สิวชนิดนี้มักหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์โดยไม่ต้องรักษา
สิวข้าวสาร (Milia) เกิดจากการอุดตันของเคราตินใต้ผิวหนัง คือเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือโปรตีนเคราตินที่ติดค้างอยู่ในรูขุมขนเล็กๆ ทำให้เกิดเป็นตุ่มเล็กๆ สีขาว หรือสีเหลืองขุ่นบนใบหน้าของลูกน้อย โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก หรือแก้ม
ส่วนใหญ่สิวข้าวสารในทารกจะเห็นตั้งแต่แรกเกิด หรืออายุไม่กี่สัปดาห์ และมักจะหายไปเองภายใน 2-3 เดือนโดยไม่ต้องรักษาอะไร คุณแม่ไม่ควรบีบหรือแกะ เพราะอาจจะทำให้ผิวลูกน้อยระคายเคืองหรืออักเสบได้
สิวทารกแรกเกิด หรือสิวในทารก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกวัยแรกเกิดถึง 2-3 เดือน โดยมักปรากฏเป็นตุ่มแดง หรือมีหัวขาวเล็ก ๆ บริเวณใบหน้า เช่น แก้ม หน้าผาก และคาง สาเหตุหลักของการเกิดสิวทารกนั้นเกิดจาก ฮอร์โมนของแม่ที่ส่งผ่านมาทางรก และน้ำนม ทำให้ต่อมไขมันของทารกทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดสิวชั่วคราว นอกจากนี้ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความไวต่อสิ่งแวดล้อม การระคายเคืองจากน้ำลาย นมแม่ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ก็อาจมีส่วนทำให้สิวทารกเกิดขึ้นได้
สิวในเด็กทารก เป็นภาวะชั่วคราวที่มักหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา โดยทั่วไปจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเองภายใน 4-6 สัปดาห์ โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นใดๆ
อย่างไรก็ตาม หากสิวในทารกมีลักษณะอักเสบรุนแรง หรือมีแนวโน้มเป็นเรื้อรัง ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อพิจารณาวิธีดูแลที่เหมาะสม
ทั้งนี้การดูแลผิวของทารกให้สะอาด อ่อนโยน และหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารระคายเคือง จะช่วยให้สิวหายเร็วขึ้น และลดโอกาสเกิดการระคายเคือง หรือรอยแผลเป็นได้
สิวทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่มักหายไปเองโดยไม่ต้องรักษาเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามการดูแลผิวที่เหมาะสมสามารถช่วยให้สิวทารกหายเร็วขึ้น และลดการระคายเคืองได้ วิธีดูแลรักษาสิวทารกที่แนะนำ ได้แก่ ล้างหน้าด้วยน้ำอุ่น และสบู่สูตรอ่อนโยนสำหรับทารก หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี หรือไขมันสูง ไม่ควรบีบ หรือแกะสิวเพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือทิ้งรอยแผลเป็น หากสิวมีอาการรุนแรง หรือไม่ดีขึ้นภายในไม่กี่เดือน ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสม
โดยทั่วไป สิวทารกไม่จำเป็นต้องใช้ครีมรักษา เนื่องจากสามารถหายไปเองได้ตามธรรมชาติภายในไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องใช้ครีมทาสิวทารก ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ปราศจากสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง และได้รับการรับรองว่าปลอดภัยสำหรับผิวบอบบางของทารก เช่น ครีมที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์สูตรอ่อนโยน หรือสารลดการอักเสบในระดับอ่อน
ในกรณีที่สิวมีอาการรุนแรง หรือเป็นเรื้อรัง ควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนใช้ครีมเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัย และเหมาะสมกับผิวของทารก
หากทารกมีสิวควรดูแลผิวอย่างอ่อนโยนโดย ล้างหน้าด้วยน้ำอุ่น และสบู่สูตรอ่อนโยนสำหรับทารก วันละ 1-2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีหรือส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่ควรบีบหรือแกะสิว เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและรอยแผลเป็น
นอกจากนี้ควรเลือกใช้เสื้อผ้า เครื่องนอนที่สะอาด และระบายอากาศได้ดี หากสิวไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอักเสบรุนแรง ควรปรึกษากุมารแพทย์เป็นลำดับถัดไป
นอกจากการดูแลสุขภาพรวมถึงร่างกายส่วนต่าง ๆ ของลูกน้อยอย่างใส่ใจอยู่เสมอ สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะละเลยไม่ได้ คือการเสริมสร้างโภชนาการให้กับลูกน้อยโดยเฉพาะในช่วง 5 ขวบปีแรกของชีวิต
ทั้งนี้โภชนาการที่ดีที่สุดต่อลูกน้อยนั้นมาจากนมแม่ ซึ่งมี MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่ อย่างนมแม่ หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่
แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
หากทารกมีสิวที่ใบหน้าคุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลมากนัก เพราะส่วนใหญ่มักหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตามควรดูแลผิวของทารกอย่างอ่อนโยน และสังเกตอาการเป็นระยะ
หากพบว่าทารกมีตุ่มเหมือนสิวขึ้นตามใบหน้า ควรดูแลผิวของทารกอย่างอ่อนโยนโดย ทำความสะอาดใบหน้าด้วยน้ำอุ่น และสบู่สูตรอ่อนโยนสำหรับทารกวันละ 1-2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีหรือส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
นอกจากนี้ ไม่ควรบีบ แกะ หรือถูตุ่มเหล่านั้น เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อ หากตุ่มไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรง ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อประเมิน และให้คำแนะนำในการดูแลที่เหมาะสม
สิวฮอร์โมนทารก หรือสิวทารกแรกเกิดเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมนของมารดาที่ถ่ายทอดผ่านทางรก และน้ำนม ทำให้ต่อมไขมันของทารกทำงานมากขึ้น มักปรากฏเป็น ตุ่มแดงเล็ก ๆ สิวหัวขาว หรือสิวข้าวสารบริเวณใบหน้า เช่น แก้ม หน้าผาก และคาง
โดยทั่วไปสิวทารกมักไม่ทิ้งรอยแผลเป็น เนื่องจากเป็นภาวะชั่วคราวที่สามารถหายไปเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน แต่หากมีการ บีบ แกะ หรือถูบริเวณที่เป็นสิว ก็อาจทำให้เกิดการอักเสบ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรอยดำ หรือแผลเป็นได้ ดังนั้นจึงควรดูแลผิวของทารกอย่างอ่อนโยน และหลีกเลี่ยงการ บีบ แกะ เกา บริเวณสิวของทารก
Enfa สรุปให้ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกน้อย สา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกพัฒนาการช้าควรทําอย่างไร ต้องไม่กังวลเกินกว่าเหตุ เพราะเป็นเรื่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทารกชอบทําเสียงในลําคอ ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น เสียง...
อ่านต่อ