Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
วัยเด็ก แน่นอนว่าสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคน พวกเราอาจจะผ่านพ้นช่วงเวลาเหล่านั้นมาหลายสิบปีแล้ว แต่นึกหวนคืนไปเมื่อไหร่ก็ยังได้พบกับความสุขและความทรงจำดี ๆ มากมายที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราได้กลายมาเป็นพ่อแม่คนแล้ว เราก็กำลังอยู่ในช่วงเวลาที่จะต้องอบรมและเลี้ยงดูลูกน้อยให้มีวัยเด็กที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และมีพัฒนาการที่สมวัย บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับวัยเด็กและการเสริมพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยมาฝากค่ะ
วัยเด็ก คือ ช่วงวัยของเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งคำว่า “เด็ก”ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะหมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบุูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิภาวะด้วยการสมรส
ดังนั้น ผู้ที่มีอายุยังไม่เกิน 18 ปี ก็จะยังถือว่าเป็นวัยเด็กอยู่นั่นเองค่ะ แต่ถึงแม้จะยังเป็นเด็ก เด็กทุกคนก็มีสิทธิที่จะต้องได้รับการเลี้ยงดู อบรม ดูแล การศึกษา การรักษาพยาบาล และสิทธิอื่น ๆ อย่างเท่าเทียมเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ และการละเมิดสิทธิเด็กไม่ว่าในทางใดก็ตาม จะต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้
พัฒนาการแต่ละช่วงวัยของเด็กนั้นมีความแตกต่างกันไปอย่างชัดเจน เมื่ออายุมากขึ้น พัฒนาการต่าง ๆ ก็จะก้าวกระโดดและมีศักยภาพด้านต่าง ๆ มากขึ้นตามอายุและร่างกายที่เจริญเติบโตสมวัย ดังนี้
วัยเด็กตอนต้น
วัยเด็กตอนต้น คือ เด็กที่มีอายุระหว่าง 2-6 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้ก็จะอยู่ในช่วงวัยเตรียมอนุบาลและวัยอนุบาลนั่นเองค่ะ โดยพัฒนาการทั่วไปสำหรับช่วงวัยเด็กตอนต้น จะมีดังนี้
พัฒนาการเด็ก 2-3 ปี
สำหรับเด็กเล็กวัย 2-3 ปีนั้น เป็นช่วงเวลาที่กำลังพัฒนาอารมณ์และความรู้สึก เด็กวัยนี้เริ่มเรียนรู้ที่จะเข้าใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น รู้จักที่จะแสดงความโกรธหรือความผิดหวัง ในบางครั้งจึงอาจแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวบ่อย ขณะเดียวกันก็เริ่มเข้าใจผลกระทบจากพฤติกรรมของตัวเองและผู้อื่น เช่น รับรู้ว่าผู้อื่นกำลังดีใจ เสียใจ ร้องไห้
ในด้านภาษา เด็กวัย 2 ปี เพิ่งจะเริ่มพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ที่ยังไม่มีความซับซ้อนมากนัก เช่น หิวข้าว ไปไหน ร้อน ไม่สวย เป็นต้น แต่เมื่ออายุ 3 ปี ก็จะพูดได้คล่องขึ้น เริ่มมีบทสนทนาที่ยาวขึ้น และเล่าเรื่องง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันได้
ขณะเดียวกัน เด็กในวัยนี้ก็จะชอบการเลียนแบบและบทบาทสมมุติด้วย สามารถจดจำคำพูด ท่าทาง และการแสดงออกที่พบเห็นจากพ่อแม่ คนใกล้ชิด หรือในโทรทัศน์ได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังคำพูดต่อหน้าเด็กเล็ก เพราะเด็กวัยนี้พร้อมจะเลียนแบบและจดจำไปใช้ทันที ซึ่งเด็กวัย 2-3 ปีก็ยังเล็กเกินกว่าจะเข้าใจได้ว่าทำไมคำพูดแบบนี้ถึงยังไม่เหมาะสม
ในส่วนของพัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว เด็กวัย 2-3 ปี สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว วิ่งได้เร็วขึ้น ปีนป่ายได้โดยไม่ต้องคอยช่วยพยุง ทั้งยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันบางอย่างด้วยตนเองได้แล้ว เช่น ล้างมือเอง สวมเสื้อผ้าได้เอง เริ่มกิน้ขาวเองได้ เป็นต้น
พัฒนาการเด็ก 3-4 ปี
เด็กวัย 3-4 ปี ถือว่าเป็นช่วง "วัยซนคนมหัศจรรย์" ค่ะ เพราะลูกวัยนี้จะเต็มไปด้วยจินตนาการและพลังงานที่พร้อมจะสงสัย ตั้งคำถาม และทดลองทำสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่หยุดยั้งกันเลยทีเดียว
คุณพ่อคุณแม่อาจจะได้ยินคำถามที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ทำไม” วันละหลายรอบ ซึ่งนั่นเป็นพัฒนาการที่สำคัญมากของเด็กในวัยนี้ เพราะเด็ก ๆ เริ่มเรียนรู้ได้มากขึ้น เข้าใจกฎกติกาที่มีความซับซ้อนเล็กน้อยได้ และยังสามารถสื่อสารเรื่องต่าง ๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย
สำหรับพัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว เด็กวัยนี้สามารถเดินขึ้น-ลงบันไดสลับเท้าได้ เตะและจับลูกบอล วิ่งขี่จักรยานสามล้อ และยืนขาเดียวได้นานถึง 5 วินาที ซึ่งทำให้เด็ก ๆ มีพลังงานพร้อมที่จะทำกิจกรรมสุดสนุกได้ทั้งวันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ขณะที่พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม เด็ก ๆ เริ่มที่จะเข้าใจความรู้สึกที่หลากหลายได้มากขึ้น เช่น เศร้า โกรธ หรือดีใจ โดยสามารถรับรู้และคาดเดาสาเหตุของอารมณ์นั้น ๆ ได้ มากไปกว่านั้น ยังมีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ปกครอง เพื่อน ๆ และคุณครูมากขึ้นด้วย
เด็กวัยนี้สามารถที่จะตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองได้ เช่น เกมที่อยากเล่น เสื้อผ้าที่อยากใส่ อาหารที่ชอบ เพื่อนที่สนิท เพื่อนที่ไม่ชอบ เป็นต้น
พัฒนาการเด็ก 4-6 ปี
พัฒนาการที่สำคัญของเด็กในวัยนี้ที่จะปรากฎให้เห็นได้อย่างชัดเจน มีดังนี้
1.พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
เด็กในวัยนี้มักเพลิดเพลินกับการเล่นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน และมีความสามารถในการทำกิจกรรมกับเพื่อนได้อย่างราบรื่น ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงการเริ่มแสดงออกถึงความเป็นเจ้าของในสิ่งของหรือความสัมพันธ์มากขึ้นเริ่มแยกแยะความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ชัดเจนขึ้น เช่น แยกว่าคนไหนคือเพื่อนสนิท คนไหนไม่สนิท หรือคนไหนที่ไม่ชอบ
นอกจากนี้ เด็ก ๆ ยังเริ่มตระหนักถึงผลกระทบจากคำพูดและการกระทำต่อความรู้สึกของตนเอง เริ่มเรียนรู้และเข้าใจว่าพฤติกรรมแบบใดที่ทำให้รู้สึกมีความสุข และแบบใดที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ
2.พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
เด็กวัยนี้เริ่มสนุกกับการเคลื่อนไหวที่หลากหลายมากขึ้น เพราะสามารถที่จะเดิน วิ่ง ปีน ป่าย ได้อย่างคล่องแคล่ว เด็กบางคนเริ่มที่จะสนุกกับการเรียนว่ายน้ำและว่ายน้ำเป็นตั้งแต่อายุ 4-6 ปี เพราะพัฒนาการร่างกายที่คล่องตัวมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ สามารถทำกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น
3.สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กวัยนี้ถือว่าโตมากพอที่จะทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องมาคอยกำกับดูแลตลอดเวลา สามารถอาบน้ำด้วยตัวเองได้อย่างสะอาด ไปตัดผมได้โดยไม่ร้องไห้ กินข้าวเองได้ ทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เองได้ ถือเป็นช่วงวัยที่สำคัญในการที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มปลูกฝังเรื่องของการมีวินัยให้กับเด็ก ๆ ในวัยนี้ค่ะ
4.พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
เด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเรื่องที่มีความลึกซึ้งและซับซ้อนมากขึ้นได้ สามารถพูดจาและเรียบเรียงเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดมากขึ้นได้ เข้าใจกติกาและกฎเกณฑ์ที่ยากขึ้นได้ ตลอดจนการมีคำศัพท์และคำแสลงเฉพาะกลุ่มของตัวเองอีกด้วย เด็ก ๆ หลายคนก็สามารถที่จะสื่อสารด้วยภาษาที่ 2-3 ได้อย่างคล่องแคล่วด้วยเช่นกัน
วัยเด็กตอนกลาง คือ เด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปีขึ้นไป ซึ่งก็จะอยู่ในช่วงวัยเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา โดยเด็กในวัยนี้ก็จะมีพัฒนาการสำคัญ ๆ ด้านต่าง ๆ ดังนี้
พัฒนาการสำคัญ ๆ ของเด็กอายุ 6-7 ปี เช่น
พัฒนาการสำคัญ ๆ ของเด็กอายุ 8-9 ปี เช่น
พัฒนาการสำคัญ ๆ ของเด็กอายุ 10-12 ปี เช่น
วัยเด็กตอนปลาย คือ เด็กที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี ซึ่งก็คือเด็กวัยรุ่นที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษานั่นเอง โดยเด็กในวัยนี้ก็จะมีพัฒนาการแห่งวัยที่สำคัญ ๆ ดังนี้
พัฒนาการวัยเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมและสนับสนุนลูกให้เติบโตอย่างสมวัย ทำได้หลายวิธี ดังนี้
เพื่อให้ลูกน้อยพัฒนาการสมอง, IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่า การดูแลเรื่องอาหารการกินและโภชนาการของลูกถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพื่อให้ลูกน้อยได้กินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เสริมสร้างการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกายและสมอง สามารถเรียนรู้และทำกิจกรรมตามวัยได้อย่างเต็มที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทารกควรจะต้องได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะในนมแม่มี MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
Enfa สรุปให้ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกน้อย สา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกพัฒนาการช้าควรทําอย่างไร ต้องไม่กังวลเกินกว่าเหตุ เพราะเป็นเรื่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทารกชอบทําเสียงในลําคอ ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น เสียง...
อ่านต่อ