นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ยาเร่งคลอด จำเป็นแค่ไหน? ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก

Enfa สรุปให้

  • ยาเร่งคลอด หรือ ยากระตุ้นคลอด คือยาที่ช่วยกระตุ้นให้มดลูกหดตัว เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่กระบวนการคลอดเหมือนคลอดธรรมชาติ โดยปกติร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพื่อทำหน้าที่นี้เอง แต่ในบางกรณีแพทย์จะพิจารณาให้ยาเร่งคลอดในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการรอคลอดตามธรรมชาติ
  • ยาเร่งคลอดกี่ชั่วโมงคลอดขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ถ้าเป็นครรภ์แรกหรือคลอดลูกคนแรก อาจใช้เวลานานกว่าคนที่เคยคลอดมาก่อน ถ้าร่างกายตอบสนองต่อยาได้ดีอาจคลอดภายใน 4–12 ชั่วโมง 
  • ให้ยาเร่งคลอดนานไหมกว่าจะคลอด ปกติแล้วอาจใช้เวลา 6–12 ชั่วโมงหรือมากกว่า ถ้าผ่านไปนานแล้วยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือทารกมีภาวะเสี่ยง อาจต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีผ่าคลอดแทน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เมื่อตั้งครรภ์จนใกล้ถึงกำหนดคลอดคุณแม่หลายคนคงเริ่มนับถอยหลังรอวันเห็นหน้าลูกน้อย แต่ยิ่งใกล้ถึงวันกำหนดคลอด ก็ยิ่งทวีความตื่นเต้นและวิตกกังวลอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อคุณหมอแจ้งว่าอาจต้อง “เร่งคลอด” หรือ “ใช้ยาเร่งคลอด” เพราะร่างกายยังไม่เริ่มบีบตัวเอง หรือมีปัจจัยที่ทำให้ต้องคลอดเร็วขึ้น 

คำถามที่มักเกิดขึ้นหลังจากนั้น คือ ยาเร่งคลอดคืออะไร ออกฤทธิ์อย่างไร เจ็บไหม ใช้ยาเร่งคลอดกี่ชั่วโมงคลอด ในบทความนี้ Enfa จะพาไปทำความเข้าใจทุกแง่มุมของการใช้ยาเร่งคลอดอย่างละเอียด เพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมพร้อมอย่างสบายใจมากขึ้นค่ะ

ทั้งนี้ เหตุผลที่ต้องใช้ยาเร่งคลอดนั้นมีหลายประการ เช่น เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์นานเกินกำหนด (เกิน 41–42 สัปดาห์) หรือมีภาวะที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน น้ำคร่ำน้อย หรือทารกหยุดโตในครรภ์ ในบางกรณีแพทย์อาจเร่งคลอดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหากรอคลอดเองตามธรรมชาติ การใช้ยาเร่งคลอดจึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ค่ะ

 

ยาเร่งคลอด คืออะไร


ยาเร่งคลอด หรือ ยากระตุ้นคลอด คือยาที่ช่วยกระตุ้นให้มดลูกหดตัว เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่กระบวนการคลอดเหมือนคลอดธรรมชาติ โดยปกติร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพื่อทำหน้าที่นี้เอง แต่ในบางกรณี แพทย์จะพิจารณาให้ยาเร่งคลอดในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการรอคลอดตามธรรมชาติ เช่น

  • ตั้งครรภ์เกิน 41–42 สัปดาห์
  • น้ำคร่ำน้อยหรือถุงน้ำคร่ำรั่ว
  • ทารกมีภาวะความเสี่ยง เช่น หยุดเจริญเติบโต
  • คุณแม่มีภาวะเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

ยาเร่งคลอด มีกี่ชนิด


ยาเร่งคลอดมีอะไรบ้าง มีกี่ชนิด ปกติแล้วแพทย์จะเลือกใช้ยาเร่งคลอดให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคุณแม่และระดับความพร้อมของปากมดลูก ตัวอย่างยาเร่งคลอด

 

ออกซิโทซิน (Oxytocin)

เป็นยาที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะเป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่กระตุ้นให้มดลูกบีบตัว ใช้ในรูปแบบการหยดยาทางเส้นเลือด (IV drip) โดยแพทย์จะปรับระดับให้เหมาะสมตามการตอบสนองของคุณแม่ ส่วนมากใช้ในรูปแบบฉีดเข้าทางหลอดเลือด มักใช้หลังจากปากมดลูกเปิดบางส่วนแล้ว

 

โปรสตาแกลนดิน (Prostaglandins)

เป็นสารที่ช่วยทำให้ปากมดลูกนุ่มและบางตัว พร้อมสำหรับการคลอด และกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก มีทั้งแบบใช้เหน็บช่องคลอด เจลป้ายปากมดลูก หรือยาเม็ดรับประทาน ส่วนมากนิยมใช้ในรูปแบบเจลหรือเหน็บในช่องคลอด เพื่อเตรียมปากมดลูกก่อนคลอด

 

นอกจากการใช้ยาเร่งคลอดแล้ว ยังมีวิธีช่วยเร่งคลอดแบบไม่ใช้ยา แต่ใช้การกระตุ้นโดยกลไกธรรมชาติ หรืออาจใช้ควบคู่กับการใช้ยาก็ได้ เช่น

  • การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Artificial Rupture of Membranes / AROM) โดยเจาะถุงน้ำคร่ำด้วยเครื่องมือปลายทู่ ทำให้น้ำคร่ำไหลออกมากระตุ้นมดลูกบีบตัว
  • การกระตุ้นหัวนม (Nipple Stimulation) โดยทำให้ร่างกายหลั่งออกซิโทซินตามธรรมชาติ ช่วยเร่งการหดรัดตัวของมดลูก

 

ให้ยาเร่งคลอดเจ็บไหม


คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่า การใช้ยาเร่งคลอดเจ็บไหม การให้ยาเร่งคลอดเจ็บกว่าคลอดเองไหม ความจริงคือ การเจ็บท้องอาจเริ่มเร็วและรุนแรงขึ้น เพราะยาทำให้มดลูกหดตัวอย่างสม่ำเสมอและแรงขึ้นกว่าการเริ่มคลอดตามธรรมชาติ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะแพทย์สามารถให้ความช่วยเหลือบรรเทาอาการปวดได้ เช่น การฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง หรือการให้ยาแก้ปวดชนิดอื่นตามความเหมาะสม 

 

ยาเร่งคลอดออกฤทธิ์อย่างไร


ยาเร่งคลอดออกฤทธิ์หลัก ๆ ผ่าน สองกลไก คือ

 

กระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว (Uterine Contractions)

โดยยา Oxytocin และ Prostaglandins เป็นตัวอย่างยาที่ออกฤทธิ์โดยทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัวอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการหดตัวของมดลูกเหล่านี้จะช่วยดันศีรษะทารกลงต่ำเข้าสู่ช่องเชิงกราน กดปากมดลูกให้บางลง และเปิดขยายออก และผลักดันทารกออกจากมดลูกเมื่อถึงระยะคลอด โดยกลไกนี้จะเลียนแบบการบีบตัวแบบธรรมชาติที่เกิดในกระบวนการคลอดนั่นเอง

 

ทำให้ปากมดลูกนุ่มและบางตัว (Cervical Ripening)

โดยยา Prostaglandins เช่น Dinoprostone และ Misoprostol มีฤทธิ์อีกด้านคือเปลี่ยนโครงสร้างของเนื้อเยื่อปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกนุ่มขึ้น บางลง และเปิดได้ง่ายขึ้น เมื่อปากมดลูกพร้อมแล้ว มดลูกที่หดตัวจะสามารถดันทารกออกมาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

 

ทั้งนี้ ยาเร่งคลอดต้องให้ในปริมาณที่เหมาะสม ถ้าให้มากเกินไป อาจทำให้มดลูกหดตัวถี่เกินไปจนทารกขาดออกซิเจน หรือมดลูกหดรัดตัวเกินขีดจำกัดทำให้เสี่ยงมดลูกแตก โดยเฉพาะในคนที่เคยผ่าคลอดมาก่อน จึงต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ทั้งการหดตัวของมดลูกและการเต้นของหัวใจทารก

 

ให้ยาเร่งคลอดนานไหมกว่าจะคลอด


คำถามที่พบบ่อยคือ ยาเร่งคลอดกี่ชั่วโมงคลอด เหน็บยาเร่งคลอดกี่ชั่วโมงคลอด ให้ยาเร่งคลอดนานไหมกว่าจะคลอด อาจเพราะชื่อของยาเร่งคลอดบอกถึงการคลอดที่ไม่ปกติทำให้คุณแม่ได้ฟังแล้วกังวลใจนั่นเอง ซึ่งคำตอบของข้อสงสัยเหล่านี้นั้นขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น 

  • ถ้าเป็นครรภ์แรกหรือคลอดลูกคนแรก อาจใช้เวลานานกว่าคนที่เคยคลอดมาก่อน
  • ถ้าปากมดลูกยังไม่เปิด ต้องใช้เวลานานขึ้นอีก กว่าจะเข้าสู่ระยะคลอด
  • ถ้าร่างกายตอบสนองต่อยาได้ดี อาจคลอดภายใน 4–12 ชั่วโมง
  • บางรายที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์อาจพิจารณาผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัย 

 

ปากมดลูกไม่เปิดเร่งคลอดนานไหม


ปากมดลูกไม่เปิดเร่งคลอดนานไหม หากปากมดลูกยังไม่เปิดเลย แพทย์จะเริ่มจากการให้ prostaglandin เพื่อช่วยให้ปากมดลูกนุ่มและเริ่มเปิด ซึ่งอาจใช้เวลา 6–12 ชั่วโมงหรือมากกว่า หลังจากนั้นจึงพิจารณาให้ oxytocin หรือเจาะถุงน้ำคร่ำ ถ้าผ่านไปนานแล้วยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือทารกมีภาวะเสี่ยง อาจต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีผ่าคลอดแทน

ทั้งนี้ ยาเร่งคลอดเป็นเครื่องมือที่แพทย์ใช้เพื่อให้การคลอดเป็นไปอย่างปลอดภัย เมื่อร่างกายยังไม่เริ่มต้นกระบวนการคลอดเอง หรือเมื่อมีความจำเป็นทางการแพทย์ การเข้าใจหลักการทำงาน ประเภทของยา ระยะเวลาที่อาจใช้ และความรู้สึกเจ็บระหว่างการเร่งคลอด จะช่วยให้คุณแม่เตรียมใจและวางแผนคลอดได้อย่างมั่นใจ ที่สำคัญคือควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์ตลอดกระบวนการ

 

เลือกโภชนาการที่มี MFGM ช่วยให้ลูกน้อยมี IQ/EQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก


น้ำนมแม่เป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญที่ลูกน้อยจะได้รับ โดยควรให้น้ำนมแม่ตั้งแต่ลูกตลอดไปจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารอาหารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “MFGM” หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม (Milk Fat Globule Membrane) ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสปิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น 

สารอาหารในนมแม่เหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ MFGM ในนมแม่ ยังมีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก

*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561

 

ไขข้อข้องใจเรื่องยาเร่งคลอดกับ Enfa Smart Club


เหน็บยาเร่งคลอดเจ็บไหม

การเหน็บยาเร่งคลอดอาจมีอาการเจ็บบ้างตอนสอดยา เพราะต้องใส่เข้าไปถึงปากมดลูก หลังเหน็บยาอาจมีอาการปวดหน่วง ๆ หรือเริ่มปวดบีบเหมือนเจ็บท้องคลอด ซึ่งระดับความเจ็บขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละคน

 

ฉีดยาเร่งคลอดกี่ชั่วโมงถึงคลอด

โดยเฉลี่ยการฉีดยาเร่งคลอดจะใช้เวลา 6–12 ชั่วโมงหากปากมดลูกเริ่มเปิดแล้ว แต่บางรายอาจต้องใช้เวลามากกว่า 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะถ้าปากมดลูกยังไม่พร้อม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุครรภ์ ตำแหน่งทารก และสภาพปากมดลูกก่อนเริ่มยาด้วย
 

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Cart TH Join Enfamama