Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
คุณแม่หลายคนอาจมีคำถามถึงธาตุเหล็ก หนึ่งในสารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตที่เด็กทุกคนควรได้รับอย่างเพียงพอตามช่วงวัย เพราะธาตุเหล็กมีหน้าที่ช่วยขนส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
หากลูกได้รับธาตุเหล็กไม่พอ อาจเสี่ยงต่อภาวะซีด (Anemia) ทำให้เหนื่อยง่าย พัฒนาการช้า หรือมีผลต่อการเรียนรู้ในระยะยาว บทความนี้จะช่วยคุณแม่เข้าใจถึงความสำคัญของธาตุเหล็กต่อการเจริญเติบโตของเด็ก พร้อมแนะนำอาหารและนมที่ช่วยเสริมธาตุเหล็กอย่างเหมาะสมกับลูกน้อย
หากลูกขาดธาตุเหล็ก หรือทารกขาดธาตุเหล็ก อาจทำให้เกิด ภาวะซีด (Anemia) หรือ โลหิตจาง เพราะธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โปรตีนในเม็ดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
นอกจากนั้น ธาตุเหล็กยังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสมอง ระบบภูมิคุ้มกัน และการเจริญเติบโตโดยรวม ถ้าเด็กขาดธาตุเหล็กก็อาจนำไปสู่อันตราย หรือปัญหาสุขภาพในระยะยาว ดังนี้
พัฒนาการและสมอง
ธาตุเหล็กมีบทบาทต่อกระบวนการสร้างเส้นใยประสาทไมอีลิน (Myelin) ในระบบประสาท ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณประสาทอย่างมีประสิทธิภาพ หากทารกขาดธาตุเหล็กตั้งแต่เล็ก ๆ อาจส่งผลให้มีปัญหาด้านการเรียนรู้ การจดจำ หรือทักษะทางสมองในอนาคต สำหรับเด็กวัยเรียน หากมีภาวะโลหิตจาง จะส่งผลให้สมาธิสั้น เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่อยากเรียน เป็นต้น
ระบบภูมิคุ้มกัน
ธาตุเหล็ก ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับ ลูกขาดธาตุเหล็กมีโอกาสติดเชื้อหรือเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น หากเป็นแผลยังทำให้แผลหายช้าลง
การเจริญเติบโต
เด็กที่ขาดธาตุเหล็กอาจมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ หรือเติบโตช้า (Growth retardation) เพราะร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างเพียงพอ ซึ่งส่งผลให้เด็กเหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงในการเล่นหรือออกกำลังกาย ทำให้พลาดโอกาสเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว
จะเห็นได้ว่า ธาตุเหล็กมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูก เด็กที่ขาดธาตุเหล็กจึงมีความเสี่ยง และอาจอันตรายต่อพัฒนาการ และสุขภาพโดยรวมของลูก หากละเลยนานเกินไป ยิ่งจะส่งผลอย่างมากต่อสมองและการเจริญเติบโตในช่วงต้นของชีวิต
เมื่อลูกขาดธาตุเหล็ก อาการบางอย่างอาจไม่ปรากฏชัดเจนในช่วงแรก แต่หากคุณแม่ใส่ใจสังเกต จะพบสัญญาณบางอย่างของอาการเด็กขาดธาตุเหล็ก อาจกำลังเกิดขึ้นกับลูกของเรา
ผิวซีด เล็บซีด
อาการพื้นฐานของการขาดธาตุเหล็กคือ ภาวะโลหิตจาง ทำให้ผิวพรรณโดยรวมดูขาวซีด ไม่มีเลือดฝาดเหมือนเดิม คุณพ่อคุณแม่อาจหมั่นตรวจดูที่เล็บมือของลูก ถ้าเล็บซีดหรือเป็นสีขาวจางกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่สังเกตได้
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
เด็กอาจร้องไห้งอแงง่ายกว่าปกติ เพราะเขารู้สึกไม่ค่อยสบายตัว อ่อนเพลียง่าย เวลาทำกิจกรรมก็หมดแรงเร็ว บางรายอาจหายใจหอบ เมื่อใช้แรงเยอะ เช่น วิ่งเล่น หรือปีนป่าย
เบื่ออาหาร
เด็กที่ขาดธาตุเหล็กอาจเบื่ออาหาร หรือไม่อยากกินข้าว เนื่องจากระบบเมตาบอลิซึมและฮอร์โมนบางชนิดอาจรวน ส่งผลต่อความอยากอาหาร อาจสังเกตว่าลูกกินน้อยลง น้ำหนักไม่ค่อยขึ้น
สมาธิสั้นลง หรือขาดความกระตือรือร้น
การขาดธาตุเหล็กอาจส่งผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้เด็กไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรม หรือสนใจสิ่งรอบข้างน้อยลง บางคนอาจดูเฉื่อยชา ง่วงซึมบ่อยๆ
พฤติกรรมแปลก เช่น อยากกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร
ภาวะ Pica คือ การที่เด็กอยากกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร เช่น ดิน กระดาษ สีเทียน เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบในเด็กขาดธาตุเหล็ก แม้ไม่พบบ่อย แต่ควรระวัง
ลิ้นเลี่ยน
ลิ้นเลี่ยน หรือ Glossitis คือลักษณะของลิ้นที่มีสี และลักษณะที่เปลี่ยนไป คือ ปุ่มบนผิวลิ้นหาย ทำให้ลิ้นเรียบผิดปกติ
หากพ่อแม่พบสัญญาณเหล่านี้ควรตรวจเพิ่มเติม หรือปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขก่อนเกิดผลกระทบรุนแรงตามมา
ภาวะลูกขาดธาตุเหล็ก เกิดจากอะไรได้บ้าง การรู้สาเหตุจะช่วยให้คุณแม่ปรับปรุงโภชนาการลูกได้ตรงจุด ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร หรือเงื่อนไขสุขภาพบางอย่างก็เป็นไปได้เช่นกัน
สารอาหารไม่เพียงพอ
สาเหตุส่วนใหญ่ของการขาดธาตุเหล็กในเด็กมักมาจากการที่ลูกได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่เริ่มทานอาหารเสริม ถ้าผู้ปกครองเลือกเมนูที่ไม่เน้นธาตุเหล็ก ทำให้ลูกขาดสารอาหารนี้ไป หรือเด็กบางคนที่ติดกินแต่อาหารบางชนิด เช่น ข้าวขาว ไม่ค่อยกินเนื้อสัตว์ ตับ หรือผักใบเขียวเข้ม ก็มีโอกาสขาดธาตุเหล็กสูง
การดูดซึมธาตุเหล็กไม่ดี
เด็กบางคนอาจมีปัญหาการดูดซึมในลำไส้ เช่น เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือมีปัญหาระบบย่อยอื่น ๆ ทำให้ไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้เต็มที่ ถ้ามีสภาวะอื่นๆ ร่วม เช่น ท้องเสียเรื้อรัง อาจยิ่งส่งผลให้น้ำหนักลดและขาดธาตุเหล็กง่ายขึ้น
เติบโตเร็วแต่กินไม่ทัน
ในช่วงวัยที่เด็กโตเร็วมาก หรือภาวะการยืนตัว ที่เรียกว่า Growth Spurt ช่วงเวลานี้เด็กจะมีการอยากอาหารมากขึ้น มีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น ถ้าโภชนาการไม่สมดุล ร่างกายใช้ธาตุเหล็กมาก ทำให้เกิดการขาดง่าย เด็กบางคนจากที่เคยได้รับธาตุเหล็กเพียงพอ แต่เมื่อเกิดภาวะโตเร็วในช่วงหนึ่ง ร่างกายต้องการเหล็กเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสขาดได้
สภาวะการเสียเลือด
หากเด็กมีอาการตกเลือดจากทางเดินอาหาร หรือเจ็บป่วยที่ทำให้สูญเสียเลือด เช่น พยาธิในลำไส้ อาจทำให้ระดับธาตุเหล็กลดลง ในกรณีทารกแรกเกิด หากแม่มีภาวะโลหิตจางหรือขาดสารอาหารระหว่างตั้งครรภ์ ลูกอาจมีปริมาณเหล็กสะสมในร่างกายต่ำตั้งแต่แรกเกิด
พันธุกรรม หรือ โรคทางพันธุกรรม
บางโรคเกี่ยวข้องกับการผลิตเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เช่น ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) อาจทำให้เด็กขาดธาตุเหล็กหรือมีภาวะโลหิตจางเรื้อรังได้ แต่อย่างไรก็ตาม โรคเหล่านี้มีลักษณะและแนวทางการวินิจฉัยเฉพาะทาง
การทราบปริมาณธาตุเหล็กที่เด็กต้องการในแต่ละช่วงวัยช่วยให้คุณแม่สามารถกำหนดเมนูอาหารและเลือกผลิตภัณฑ์เสริมธาตุเหล็กให้เหมาะสม อย่าลืมว่า ความต้องการธาตุเหล็กจะแตกต่างกันไปตามอายุ น้ำหนักตัว และพัฒนาการของเด็ก
ทารก 0-6 เดือน
ทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนด มักมีปริมาณธาตุเหล็กสำรองมาจากแม่ใช้ได้ 4-6 เดือน น้ำนมแม่มีธาตุเหล็กอยู่ 0.35 mg/L ถ้าน้ำนมแม่ผลิตได้ 800 ml ต่อวัน ทารกจะไดรับธาตุเหล็ก 0.27mg ต่อวัน
ในทารกใน 6 เดือนแรก ได้รับธาตุเหล็ก 0.27 mg ต่อวันจากนมแม่ รวมกับธาตุเหล็กสะสม เหล็กจากการแตกตัวของฮีโมโกลบิน ก็เพียงพอต่อความต้องการ แต่ถ้าเด็กมีภาวะเสี่ยง เช่น แม่ขาดธาตุเหล็กระหว่างตั้งครรภ์ หรือทารกคลอดก่อนกำหนด อาจต้องพิจารณาเสริมธาตุเหล็กโดยแพทย์
ทารก 6-12 เดือน
ทารกในช่วงนี้เป็นวัยที่เริ่มทานอาหารเสริม ควบคู่กับนมแม่ ปริมาณที่แนะนำสำหรับธาตุเหล็กจะอยู่ราว ๆ 11 มก./วัน ควรเน้นอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ, เนื้อสัตว์, ไข่แดง, ผักใบเขียว หรือการให้อาหารเสริมธาตุเหล็กทารกเพื่อป้องกันภาวะขาดเหล็กที่อาจเกิดขึ้น
เด็ก 1-3 ปี
เด็กในอายุ 1-3 ปี ร่างกายต้องการธาตุเหล็กประมาณ 7 มก./วัน เด็กวัยนี้อาจกินยาก เลือกกิน จึงต้องใส่ใจจัดเมนูให้มีเนื้อสัตว์หรือผักใบเขียวเข้มเสมอ และหมั่นสังเกตว่าได้รับธาตุเหล็กพอหรือไม่
เด็ก 4 ปีขึ้นไป
ในช่วงวัยนี้ เด็กจะต้องการธาตุเหล็กประมาณ 10 มก./วัน และเป็นช่วงเวลาที่ลูกเริ่มไปโรงเรียน มีการเคลื่อนไหวและใช้พลังงานมากขึ้น และเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น (9-13 ปี และ 14-18 ปี) ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะผู้หญิงในช่วงมีประจำเดือน จะเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กได้หากอาหารไม่ครบถ้วนปริมาณธาตุเหล็กอาจสูงถึง 15 มก./วัน สำหรับเด็กหญิงเลยทีเดียว หากโภชนาการไม่เพียงพอ หรือกินแต่ขนมจุบจิบ อาจเสี่ยงขาดธาตุเหล็กตามมาได้
หัวใจสำคัญในการแก้ไขภาวะขาดธาตุเหล็กในเด็ก คือการปรับโภชนาการให้เหมาะสม เลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และเสริมด้วยสารอาหารอื่นที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมเหล็กได้ดียิ่งขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกอาหารเพื่อเสริมธาตุเหล็กให้ลูกง่ายๆ ได้ ดังนี้
1. เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์
เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เนื้อแดง และตับ เป็นแหล่งธาตุเหล็กจำพวก Heme Iron ที่ร่างกายดูดซึมได้ดีกว่าธาตุเหล็ก Non-Heme ในพืช โดยสามารถทำเมนูตับบดผสมข้าวต้มสำหรับเด็กเล็ก หรือเนื้อสัตว์บดในซุปสำหรับเด็กโต
2.ไข่แดง
ไข่แดงเป็นแหล่งโปรตีนและธาตุเหล็กที่สำคัญ สำหรับเด็กเล็กที่เริ่มอาหารเสริม ควรต้มไข่สุก และบดไข่แดงละเอียดผสมกับข้าว หรือให้เด็กโตทานไข่ต้ม ไข่ตุ๋น แต่ก็ต้องระวังเด็กบางคนอาจแพ้ไข่ แนะนำให้สังเกตอาการในช่วงแรกที่เริ่มให้ลูกรับประทานไข่
3. ผักใบเขียวเข้ม
ผักใบเขียวเช่น ผักโขม คะน้า บรอกโคลี ล้วนอุดมไปด้วยธาตุเหล็กแบบ Non-Heme iron แม้จะดูดซึมได้ไม่ดีเท่าเนื้อสัตว์ แต่คุณแม่ก็สามารถเสริมด้วยผลไม้ที่มีวิตามินซี (เช่น ส้ม ฝรั่ง กีวี) เพื่อช่วยเพิ่มการดูดซึมได้ โดยอาจทำเป็นสลัดผัก หรือผักลวกผสมกับเนื้อสัตว์ เพื่อให้เด็กได้ทั้งธาตุเหล็กและวิตามินควบคู่กันไป
4. ธัญพืชและถั่ว
ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเลนทิล และเมล็ดธัญพืชบางชนิดมีธาตุเหล็กสูง สามารถต้มให้เปื่อยทำซุปหรือบดผสมในเมนูต่างๆ รวมทั้ง ขนมปังหรือซีเรียลเสริมธาตุเหล็กก็เป็นตัวเลือกหนึ่ง แต่ต้องดูรายละเอียดบนฉลากโภชนาการเพื่อให้เด็กๆ ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
5. เสริมวิตามินซี
การกินอาหารที่มีวิตามินซีควบคู่กัน เช่น ส้ม กีวี มะเขือเทศ หรือฝรั่ง จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชได้ดียิ่งขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการกินหรือดื่มนมวัว ใกล้กับมื้ออาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะแคลเซียมอาจขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กได้
6. นมเสริมธาตุเหล็ก
นมสูตรที่เสริมธาตุเหล็ก หรือมีปริมาณเหล็กในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็กตามอายุ ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับเด็กที่กินอาหารหลักได้น้อย หรือในช่วงที่ต้องการเสริมธาตุเหล็กเพิ่มเติม
สำหรับทารกบางราย หรือเด็กบางคนที่มีภาวะขาดธาตุเหล็กค่อนข้างรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาธาตุเหล็ก ในรูปแบบยาน้ำหรือหยดสำหรับทารก เพื่อแก้ปัญหาการขาดธาตุเหล็ก
ยาธาตุเหล็กรูปแบบต่าง ๆ
ขนาดยาที่เหมาะสม
ระยะเวลาในการกิน
ผลข้างเคียง
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมว่า ยาธาตุเหล็กทารก เป็นทางเลือกสำหรับเด็กที่ขาดธาตุเหล็กมาก และต้องการแก้ไขด่วน ควรได้รับตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
นอกจากเมนูปกติในชีวิตประจำวัน บางครั้งอาจต้องมี “อาหารเสริมธาตุเหล็ก” หรือ “อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก” เพื่อให้ลูกได้รับเหล็กเพียงพอต่อความต้องการในการเจริญเติบโต
1.อาหารเสริมธาตุเหล็กทำเองที่บ้าน
2. อาหารเสริมธาตุเหล็กสำเร็จรูป
3. วิตามินซีช่วยดูดซึม
ข้อควรระวัง
ไม่ควรปรุงอาหารเสริมธาตุเหล็กให้มีรสเข้มข้น เช่น เค็มหรือหวานมากเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพเด็กในระยะยาว ในกรณีทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ควรเน้นนมแม่เป็นหลัก เว้นแต่แพทย์ระบุว่าต้องให้อาหารเสริมก่อนเวลา
นอกจากอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีธาตุเหล็กแล้ว เครื่องดื่มที่มีธาตุเหล็กสูง เป็นอีกตัวเลือกในการช่วยเสริมธาตุเหล็กให้ลูกได้ โดยเฉพาะสำหรับเด็กที่ชอบดื่มเครื่องดื่มมากกว่าเคี้ยวอาหารแข็ง คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับลูกได้ ดังนี้
คำแนะนำการดื่มเครื่องดื่มธาตุเหล็กสูง
ควรดูปริมาณน้ำตาลรวม และไม่ควรใส่น้ำเชื่อมหรือสารให้ความหวานมากเกิน เพราะอาจทำให้เด็กติดรสหวาน หากเป็นเด็กเล็ก ควรให้ดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่แทนที่นมแม่หรือนมปกติที่ให้ตามวัย
นมเสริมธาตุเหล็ก เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เหมาะกับการเสริมธาตุเหล็กให้กับลูก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถ เลือกสูตรเหมาะสมกับอายุ และปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ และยังสามารถเน้นนมที่มีคุณภาพ เช่น มีการเสริมสารอาหารอย่าง DHA, MFGM เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้สมวัย
ข้อดีของการเลือกนมเสริมธาตุเหล็ก
สะดวกในการบริโภค: เด็กหลายคนชอบดื่มนม การให้ “นมเสริมธาตุเหล็ก” จึงเป็นวิธีง่ายในการเพิ่มธาตุเหล็ก โดยไม่ต้องปรับเมนูอาหารมาก
เสริมสร้างเม็ดเลือดแดง: ป้องกันภาวะโลหิตจาง และช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอ
มีสารอาหารอื่น ๆ: ปกตินมสูตรเหล่านี้ มักมี DHA, โคลีน, วิตามิน และเกลือแร่หลากหลาย
นอกจากการเสริมธาตุเหล็กที่ช่วยเรื่องพัฒนาการที่จำเป็นให้กับลูกแล้ว การมีโภชนาการที่ดีก็มีความสำคัญไม่แพ้กันค่ะ อยากให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี ต้องเลือกเอนฟาโกรที่มี MFGM มีหลากหลายสูตรเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูก เพราะเด็กทุกคนต่างกัน
Enfa สรุปให้ นมเสริมธาตุเหล็ก เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เหมาะกับการเสริมธาตุเหล็กให้กับลูก โดยคุณพ่...
อ่านต่อมผง คือ ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากน้ำนม มาผ่านวิธีฆ่าเชื้อ ทำการระเหยน้ำออกด้วยวิธีทำแห้ง จนได้ลักษณ...
อ่านต่อ