Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
“ลูกปวดท้องบิด” ถือเป็นหนึ่งในปัญหายอดฮิตของคุณแม่มือใหม่ใช่ไหมคะ? หลายคนอาจเคยเห็นลูกมีอาการร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุชัดเจน จนอดสงสัยไม่ได้ว่า “ลูกปวดท้องบิดทําไงดี” โดยเฉพาะช่วงเย็นหรือกลางคืน บางครั้งสังเกตได้ว่าลูกกำมือแน่น ยกเข่าขึ้นมาแนบอก เหมือนเจ็บปวดที่ท้องจนตัวงอ อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงปัญหาท้องบิด
ขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่อาจกังวลว่า “ทารกปวดท้องบิดทําไงดี” “จะปลอบอย่างไรให้เขาหยุดร้อง” อีกทั้งบางครั้งอาจได้ยินคำแนะนำหลายรูปแบบ ทั้งอุ้มให้ลูกคว่ำ หรือให้ลองปรับอาหารของแม่เองถ้ากำลังให้นมลูก
บทความนี้จะพาคุณแม่มารู้จักอาการที่บอกว่าลูกปวดท้องบิด สาเหตุที่ลูกปวดท้องบิด วิธีดูแลที่เหมาะสม รวมถึงการจับตาสัญญาณว่าอาจเป็นการแพ้นมวัว เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ
เมื่อคุณแม่เห็นลูกมีท่าทางเหมือน “ปวดท้องบิด” โดยเฉพาะในช่วงเย็นหรือค่ำ ลูกน้อยอาจร้องไห้โหยหวน หยุดยากมาก และแสดงพฤติกรรมเหมือนเจ็บที่ท้อง สิ่งแรกที่คุณแม่ควรทำคือ ตั้งสติ และประเมินอาการลูกว่าเข้าข่ายอาการ “โคลิค” หรือไม่ หรือมีสาเหตุอื่น เช่น ท้องเสีย หรือติดเชื้อ
ทำความเข้าใจกับ “โคลิค” (Colic)
โคลิค (Colic) มักเกิดในเด็กช่วงอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ จนถึง 3-4 เดือน เป็นอาการร้องไห้รุนแรงแบบไม่มีสาเหตุทางการแพทย์ชัดเจน มักเกิดช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของวัน โดยเฉพาะช่วงเย็นหรือค่ำ ซึ่งเด็กจะร้องไห้ในลักษณะ “ปวดท้องบิด” คือ ร้องเสียงดัง สีหน้าเหมือนปวด พยายามยกเข่าเข้าหาท้อง ท้องอาจแข็งตึง
สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกปวดท้องบิด เช่น
วิธีเบื้องต้นที่สามารถทำได้
ทารกปวดท้องบิดทําไงดี
สำหรับทารกเล็กที่ยังไม่ถึง 3 เดือน มักมีอาการโคลิค ถ้าไม่มีอาการผิดปกติอื่น เช่น ไข้ ท้องเสียรุนแรง น้ำหนักลด ควรใช้วิธีปลอบโยนก่อน สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกอาจลองปรับอาหารของตนเองดูค่ะ หากสงสัยว่าอาหารบางอย่างทำให้ลูกปวดท้อง เช่น อาหารรสจัด นมวัว หรือเครื่องดื่มมีคาเฟอีน เพราะสารบางอย่างอาจผ่านน้ำนมไปกระตุ้นระบบย่อยลูก
การสังเกตว่า “ลูกกำลังปวดท้องบิดจริงหรือเปล่า” เป็นสิ่งสำคัญค่ะคุณแม่ เพราะเด็กเล็กไม่สามารถบอกเราเป็นคำพูดได้ เด็กอาจร้องไห้ด้วยสาเหตุอื่นๆ เช่น หิว หนาว ร้อน หรือผ้าอ้อมเปียก ดังนั้นมาลองดูสัญญาณที่เด่นชัดกันค่ะ
1. ร้องไห้รุนแรงและเป็นช่วงเวลาหนึ่ง
การร้องไห้ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องบิดมักเป็นเวลาเดิมของวัน หรือเป็นช่วงเย็นเป็นส่วนใหญ่ หรือ เด็กร้องติดต่อกันนานกว่า 3 ชั่วโมง ต่อเนื่องหลายวันในสัปดาห์ (3 วันขึ้นไป) โดยที่เราไม่พบสาเหตุอื่น เช่น ท้องเสีย ไข้ ฯลฯ
2. ท่าทางที่แสดงออกว่าลูกปวดท้องบิด
เด็กจะงอขาเข้าหาหน้าท้อง เหมือนพยายามบิดตัว หรือบางครั้งจะกำมือแน่น หน้าแดง นอกจากนี้ท้องอาจแข็งตึง ถ้าลองจับดูอาจรู้สึกว่ามีลมเยอะ
3. ไม่มีสาเหตุอื่นที่อธิบายได้
หากคุณพ่อคุณแม่เช็กหมดแล้ว ไม่ได้ขาดนมหรือน้ำ ไม่ได้หิวนอน ไม่ได้อึฉี่เปียกชื้น หรือตัวร้อน ลูกก็ยังร้องแบบ “ไม่มีสาเหตุ” นั่นอาจเป็นสัญญาณของโคลิคหรือปวดท้องบิด หากมีไข้สูง อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย อาจต้องระวังสาเหตุอื่น เช่น การติดเชื้อในลำไส้
4. สังเกตการผายลมและเรอ
เด็กปวดท้องบิดมักจะผายลมหรือเรอบ่อยขึ้น ถ้าหลังจากผายลมหรือเรอแล้ว อาการร้องไห้เบาลง แสดงว่าอาจเป็นเพราะแก๊สในท้องมาก
5. ระยะเวลาอาการ
อาการปวดท้องบิดหรือโคลิคมักเกิดในช่วงอายุ 2 สัปดาห์ - 4 เดือน หลังจากนั้นอาการจะค่อยๆ ลดลงและหายไปในที่สุด ทั้งนี้ในเด็กบางคนอาจมีอาการยาวไปถึง 5-6 เดือน แต่ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่หายได้เองเมื่อระบบย่อยอาหารพัฒนา
สาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการปวดท้องบิด จริงๆ แล้วอาการ “ปวดท้องบิด” ในเด็กเล็กมักเกิดจากปัจจัยต่างๆ หลายประการค่ะ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระบบย่อยอาหาร หรือปัจจัยทางอารมณ์ก็มีส่วนร่วมด้วย ดังนี้
1. ระบบย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์
ในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังเกิด ระบบย่อยอาหารของลูกยังพัฒนาไม่เต็มที่ การย่อยนมอาจทำให้เกิดแก๊สมาก หรือมีภาวะกรดไหลย้อนเล็กน้อย จึงทำให้ลูกปวดท้องบิดได้ อีกทั้งยังขาดเอนไซม์บางชนิดที่ย่อยโปรตีนนมได้สมบูรณ์ ทำให้นมหมักหมมในลำไส้
2. แก๊สในท้องมาก
หากลูกดูดนมแบบรีบเร่งหรือดูดขวดแล้วกลืนอากาศเข้าไปมาก อาจเกิดแก๊สในกระเพาะและลำไส้ ทําให้ท้องอืด ปวดท้องบิด ในบางครั้งแม้ดูดจากอกคุณแม่ก็ยังมีโอกาสกลืนอากาศได้เช่นกันค่ะ ถ้าหากท่าให้นมไม่เหมาะสม หรือลูกร้องก่อนดูดนม
3. แพ้นมวัวหรือแพ้อาหาร
สำหรับเด็กที่กินนมผสมหรือมีโปรตีนจากนมวัว อาจเกิดการแพ้โปรตีนบางอย่าง ทำให้ปวดท้องหลังดื่มนม มีแก๊สเยอะ อาจมีผื่นหรือถ่ายเหลวร่วมด้วย สำหรับเด็กที่กินนมแม่ ถ้าแม่กินอาหารบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เช่น ผลิตภัณฑ์นมวัว ถั่ว ลูกอาจมีอาการแพ้ผ่านน้ำนมได้ค่ะ
4. ปัจจัยทางอารมณ์
แม้ระบบย่อยอาหารจะเป็นสาเหตุหลัก แต่ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความเครียดในครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง อาจเพิ่มความไวต่ออาการปวดท้องบิด เด็กบางคนรับรู้ความตึงเครียดจากแม่หรือคนรอบข้าง ก็ยิ่งส่งผลให้ร้องโคลิคมากขึ้น
หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ทราบแล้วว่าอาการ “ลูกปวดท้องบิด” มักเกี่ยวข้องกับโคลิคหรือปัญหาระบบย่อยอาหาร ยังมีวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการและปลอบโยนได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ ดังนี้
1. สัมผัสเพิ่มความอบอุ่น
คุณพ่อคุณแม่ลองอุ้มลูกแนบอก หรือห่อตัวด้วยผ้าห่มนุ่มๆ ดูค่ะ เพราะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย อาจทำให้ร้องไห้ลดลง นอกจากนี้ลองสัมผัสด้วยความนุ่มนวล เช่น ลูบหลัง หรือตบก้นเบาๆ ช่วยให้เด็กผ่อนคลายและอาจไล่แก๊สได้
2. เปลี่ยนท่าหรืออุ้มคว่ำ
แนะนำท่าอุ้มคว่ำบนแขน (Magic Hold หรือ Colic Hold) อาจช่วยลดอาการปวดท้องและอาการจุกเสียดจากแก๊ส เพราะท้องของลูกได้รับการกดเบาๆ ท่านี้ช่วยให้ลูกน้อยอึง่าย ตดง่าย บางคนก็เรอในท่านี้ได้ค่ะ เพราะเป็นท่าที่ลูกเคยขดตัว คุดคู้อยู่ในครรภ์ หากลูกชอบท่านี้ คุณแม่อาจนั่งบนเก้าอี้แล้ววางลูกคว่ำบนตัก ขยับตักเล็กน้อยเป็นจังหวะ
3. เปิดเสียงสีขาว (White Noise)
เด็กบางคนสงบลงเมื่อได้ยินเสียงเครื่องดูดฝุ่น พัดลม หรือเสียงซ่าเบาๆ เพราะเป็นเสียงสม่ำเสมอ คล้ายกับเสียงตอนที่ลูกอยู่ในครรภ์คุณแม่ ซึ่งเป็นเสียงที่ลูกเคยชิน เสียงสีขาว เป็นเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง-กลาง-ต่ำมาควบรวมกัน มีความถี่สม่ำเสมอ ทำให้ลูกน้อยรู้สึกถึงความสงบนิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงจากภาวะธรรมชาติ เสียงสิ่งแวดล้อมแบบต่อเนื่อง เช่น เสียงซู่ซ่าทีวี, เสียงน้ำไหล, เสียงพัดลม หรือเสียงแอร์ เป็นต้น หรือคุณพ่อคุรแม่อาจใช้เพลงกล่อมเด็ก เสียงธรรมชาติ เช่น ฝนตก ลำธาร ก็ได้ค่ะ
4. นวดท้องตามเข็มนาฬิกา
ให้คุณแม่ลองใช้นิ้วนวดเบาๆ บริเวณท้องของลูกวนตามเข็มนาฬิกาประมาณ 3 นาที เพื่อช่วยกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้เล็กน้อย และไล่แก๊ส ควรนวดขณะที่ลูกไม่ร้องหนัก เพื่อไม่ให้เด็กร้องมากขึ้น
5. ปรับอาหารของคุณแม่ที่ให้นมแม่
ถ้าคุณแม่สงสัยว่าอาหารบางอย่างกระตุ้นอาการโคลิค เช่น นมวัว ถั่ว ผักตระกูลกะหล่ำ ลองงดอาหารเหล่านี้ทีละชนิด เพื่อสังเกตอาการว่าดีขึ้นหรือไม่นะคะ และคุณแม่ควรดื่มน้ำมากๆ และทานอาหารสมดุล หากแม่มีโภชนาการดี มักช่วยลดปัจจัยที่ส่งเสริมอาการปวดท้องของลูก
6. ปรึกษาแพทย์หากอาการรุนแรง
ถ้าลูกมีอาการร้องไห้รุนแรงมาก ตลอดวัน มีอาเจียน หรือถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายเป็นเลือด น้ำหนักไม่ขึ้น ควรรีบพาไปหาหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุ
เมื่อเห็นว่าลูก “ปวดท้องบิด” หรือ “ลูกเจ็บท้องบิด” โดยเฉพาะหลังการกินนม คุณพ่อคุณแม่ควรระวังว่าอาจเป็นสัญญาณของ “แพ้นมวัว” ซึ่งอาการปวดท้อง ยังเป็นอาการที่เป็นสัญญาณเตือนอาการแพ้นมวัวได้
แพ้นมวัวคืออะไร
การแพ้นมวัว (Cow Milk Protein Allergy) เกิดจากการที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อโปรตีนในนมวัว ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถทำให้เกิดความผิดปกติได้ในหลายๆ อวัยวะของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินหายใจ โดยอาการแพ้นมวัวสามารถพบอาการได้หลายรูปแบบ และอาการอาจจะเกิดขึ้นทันหรือภายใน 1 - 3 ชม. หรือใช้เวลานานหลายวันหรือเป็นสัปดาห์
ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกต 14 อาการต่อไปนี้ ซึ่งเป็นอาการแพ้นมวัวที่สามารถสังเกตได้
หากพบว่ามีอาการข้างต้น ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุของอาการต่อไปว่าเป็นอาการแพ้นมวัวหรือไม่ และหากพบว่าลูกน้อยมีอาการแพ้นมวัว คุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้ ดังนี้
ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ* โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (eHP) ซึ่งมีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และโพรไบโอติกส์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง หยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาสในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
*ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว (Cow Milk Protein Allergy).
Enfa สรุปให้ เด็กปวดท้องแล้วอ้วกเกิดจากอะไร สามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การติดเช...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกปวดท้องบิดทําไงดี ให้คุณแม่ลองอุ้มลูกในท่าคว่ำบนแขน เดินเบา ๆ หรือแกว่งช้า ๆ อาจ...
อ่านต่อโดย นพ.วสุ กำชัยเสถียรกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันในเด็ก โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีน...
อ่านต่อ