Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การเลี้ยงลูก เป็นภารกิจที่เต็มไปด้วยความรักความทุ่มเท ยิ่งในครอบครัวที่มีลูกหลายคนยิ่งต้องใช้พลังความรักความเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่มากเป็นพิเศษ แต่ในหลายครอบครัว ก็อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดเหตุการณ์พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น ลูกคนโตดูแลตัวเองได้เก่ง เลยถูกละเลยความต้องการทางอารมณ์ บางบ้านลูกคนกลางรู้สึกไม่ได้รับความสนใจเท่าพี่หรือน้อง หรือลูกคนเล็กมักได้รับการเอาใจเป็นพิเศษ ทำให้พี่คนโตอิจฉา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นในทุกรูปแบบของครอบครัว และมักนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง หรือแม้แต่ผลกระทบต่อความมั่นใจของลูกได้ในระยะยาว
บางครั้งพ่อแม่อาจไม่รู้ตัวว่ากำลังทำให้เกิดการรักลูกไม่เท่ากัน กว่าจะสังเกตได้ก็เมื่อลูกโตขึ้นแล้วพูดเปรยว่า “แม่รักแต่พี่ ไม่สนใจหนูเลย” หรือ “ทำไมพ่อเอาใจแต่น้อง” ซึ่งอาจเกิดปมในใจพัฒนาเป็นปัญหาพฤติกรรมในอนาคตได้ ความรักความเอาใจใส่ลูกๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้ลูกๆ ทุกคนได้รับความรักและการพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่
การที่พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน เพราะอะไร อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยหลากหลาย ตั้งแต่บุคลิกของลูกแต่ละคน สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงประสบการณ์ในอดีตของพ่อแม่เอง แม้คนเป็นพ่อเป็นแม่จะรักลูกทุกคน แต่ระดับ “ความสนิท” หรือ “ความเอาใจใส่” บางทีก็เกิดความลำเอียงได้โดยไม่เจตนากลายเป็น พ่อ หรือ แม่รักลูกไม่เท่ากัน ในที่สุด โดยสามารถแยกรายละเอียดได้ ดังนี้
ความแตกต่างของบุคลิกและลักษณะลูก
บางครอบครัว แม่รักลูกคนเล็กมากกว่าเพราะเห็นว่ายังอ่อนแอ หรือรักลูกคนโตเพราะเขาต้องการความช่วยเหลือน้อย เลยให้สิทธิพิเศษอื่น แทนที่จะเป็นความรักเท่าเทียม
ลักษณะนิสัยของพ่อแม่เอง
สถานการณ์ทางชีวิต
ความไม่ตั้งใจให้เกิดความลำเอียง
เมื่อความรักเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้ ความรู้สึกในการแสดงออกกับลูกแต่ละคนไม่เท่ากันจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่หากคุณเป็นพ่อแม่ที่มีลูกมากกว่า 1 คน การระวังในแสดงออกถึงความรู้สึกต่อลูกแต่ละคนต่างหากที่เป็นเรื่องสำคัญ พ่อแม่ไม่อาจรักลูกได้เท่ากัน แต่สามารถแสดงออก และทำหน้าที่ของ พ่อแม่ ต่อลูกทุกคนอย่างเท่าเทียมกันได้
แน่นอนว่าการ “แม่รักลูกไม่เท่ากัน” หรือ “พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน” ย่อมกระทบต่อจิตใจเด็ก แต่ผลจะรุนแรงหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย บวกกับบุคลิกของเด็กแต่ละคน ในแง่จิตวิทยาและการเลี้ยงดูมีคำอธิบายอยู่หลากหลาย พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน จิตวิทยา อธิบายผลกระทบต่อเด็กไว้ ดังนี้
ทฤษฎีการผูกพัน (Attachment Theory)
John Bowlby นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ได้คิดค้น ‘ทฤษฎีความผูกพัน’ (Attachment theory) ขึ้นโดย ให้ความเห็นว่า สายสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่ จะมีผลกระทบต่อลูกในระยะยาว คือ เด็กทุกคนต้องการความรู้สึกปลอดภัย (Secure Base) จากพ่อแม่ หากเด็กคนใดรู้สึกว่าไม่ได้รับความรักเท่าพี่น้อง อาจทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ (Insecure Attachment)
ความไม่มั่นคงนี้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ในอนาคตของเด็ก เช่น ความยากลำบากในการสร้างมิตรภาพ หรือความไม่เชื่อใจในผู้อื่น
ทฤษฎีเปรียบเทียบทางสังคม (Social Comparison Theory)
การเปรียบเทียบทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นเพราะต้องการข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สภาพแวดล้อม เพื่อประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพของตนเอง และเป็นการตั้งเป้าหมายส่วนตัว ซึ่งในสถานการณ์นี้ เด็กมีแนวโน้มเปรียบเทียบตัวเองกับพี่น้อง เช่น ทำไมพ่อแม่เอาใจอีกคนมากกว่าหนู ทำไมพี่ได้นั่นได้นี่หนูกลับไม่ได้
หากการเปรียบเทียบพบว่า “ฉันด้อยค่า” “ฉันไม่เป็นที่รัก” อาจทำให้เกิดปมด้อย ขาดความมั่นใจ หรือกระตุ้นพฤติกรรมต่อต้าน เช่น ก้าวร้าวหรือเก็บตัว
ผลกระทบต่อสุขภาพจิต
ผลต่อความสัมพันธ์ระยะยาวในครอบครัว
เมื่อโตขึ้น ลูกที่ถูกลำเอียงอาจห่างเหินกับพ่อแม่ หรือมีความสัมพันธ์ไม่ดีต่อพี่น้อง ในทางกลับกัน ลูกที่ถูกตามใจมากอาจกลายเป็นคนมีปัญหาด้านการปรับตัว และคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Self-Centered)
แนวทางแก้ไขเชิงจิตวิทยา
ในมุมจิตวิทยา ภาวะ พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน อาจส่งผลต่อบุคลิกและอารมณ์ของเด็กในระยะยาว ทั้งระดับความมั่นคงทางอารมณ์ การเข้าสังคม และความสัมพันธ์พี่น้อง ควรรีบปรับปรุงเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต
เมื่อคุณแม่หรือพ่อสังเกตว่า “เฮ้ย เราอาจจะลำเอียง” หรือ “ดูรักลูกคนเล็กมากกว่าคนโต” จะต้องแก้ไขยังไงดี? อย่าลืมว่ามันไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือสายเกินไป ความรักที่ไม่เท่ากันเป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่เมื่อพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันแล้วรู้ตัวเอง การที่พ่อแม่ใส่ใจและพร้อมปรับตัว ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะเสริมสร้างสุขภาพจิตของลูกทุกคน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีเหล่านี้
1. สำรวจตัวเองและยอมรับความเป็นจริง
2. สื่อสารกับลูกทุกคนอย่างเท่าเทียม
3. หาวิธีแสดงความรักที่เหมาะกับลูกแต่ละคน
บางคนชอบกอด ชอบสัมผัส บางคนชอบคำชมเชิงบวก บางคนชอบการใช้เวลาด้วยกัน การทำกิจกรรม รวมถึงให้เขารู้ว่าทุกคนสำคัญเท่ากัน ระวังไม่พูดเปรียบเทียบเชิงลบ เช่น “ทำไมไม่เก่งเหมือนพี่” หรือ “ทำไมทำไม่ได้อย่างน้อง”
4. จัดสรรหน้าที่และผลตอบแทนอย่างยุติธรรม
หากให้ลูกคนหนึ่งช่วยงานบ้านมากกว่า ต้องมีเหตุผลชัดเจน เช่น อายุเยอะกว่า ความสามารถเหมาะสม แต่ก็ควรให้รางวัลหรือคำชมในระดับที่เหมาะสมด้วย เด็กคนไหนเล็กกว่าย่อมต้องการความช่วยเหลือเพิ่ม แต่ไม่ใช่เอาใจเกินเหตุ จนคนโตคิดว่า “แม่รักลูกไม่เท่ากัน”
5. ปรับแนวคิดเรื่อง “ความเท่าเทียม” กับ “ความยุติธรรม”
บางครั้ง “ความเท่าเทียม” (เหมือนเป๊ะทุกอย่าง) อาจไม่ใช่ “ความยุติธรรม” ถ้าลูกคนหนึ่งต้องการพิเศษเพราะป่วยหรือมีความต้องการพิเศษ ก็ต้องช่วยตามจำเป็น แต่ก็ต้องอธิบายให้ลูกคนอื่นเข้าใจ ใช้ภาษาอธิบายเหตุผลแก่ลูก เช่น “แม่ไม่ได้รักพี่น้อยกว่า แต่น้องยังเล็ก ต้องป้อนข้าว… พี่ดูแลตัวเองได้เก่งแล้ว”
6. ขอความช่วยเหลือหากจำเป็น
หากปัญหาลึกถึงขั้นเกิดความขัดแย้งในบ้าน รุนแรง ให้ปรึกษานักจิตวิทยาเด็กหรือครอบครัว หรือผู้ใหญ่ในครอบครัวขยาย เช่น ปู่ย่าตายาย อาจช่วยบาลานซ์ถ้าแม่คนเดียวไม่สามารถแบ่งเวลากับลูกหลายคนได้เท่ากัน
เมื่อตระหนักว่า แม่รักลูกไม่เท่ากัน หรือ พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน สามารถแก้ไขได้โดยเริ่มจากการยอมรับความลำเอียงที่เกิดขึ้น ปรับวิธีดูแล และสื่อสารอย่างเปิดกว้าง สร้างบรรยากาศที่ลูกทุกคนรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่รักและมีคุณค่า
Enfa สรุปให้ แคปชันรักผัวกวน ๆ ถึงจะกวนจิต กวนใจ น่าหยิกแค่ไหน ก็ยังน่ารักเสมอ สามีที่น่ารักขนาด...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ วันเด็กวันที่เท่าไหร่? สำหรับวันเด็กประจำปี 2569 จะตรงกับวันเสาร์ที่ 10 มกราคม ซึ่ง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ร้านตัดผมส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยให้บริการกับเด็ก เพราะเด็กมักจะอยู่ไม่นิ่ง ...
อ่านต่อ