นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ กับพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 23

  • ช่วงตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ ตอนนี้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักกว่าครึ่งกิโลกรัม

  • ทุกส่วนของร่างกายจะโตขึ้นมาได้สัดส่วน เหมือนทารกแรกเกิดที่ครบกำหนด เพียงแต่เล็กและผอมเพราะยังไม่มีการสะสมชั้นไขมันใต้ผิวหนัง

  • ปอดเริ่มผลิตสารลดแรงตึงผิว ซึ่งจะช่วยให้ถุงลมในปอดพองตัวเมื่อหายใจเข้าและหดตัวเมื่อหายใจออก โดยยังคงรูปเดิมไว้ ไม่ยุบหรือเกาะติดกันเวลาหดตัว 

  • เส้นเลือดในปอดจะขยายและพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจ ซึ่งทารกที่อายุครรภ์ได้ 23 สัปดาห์จะเริ่มฝึกการหายใจ โดยการหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าสู่ปอดที่กำลังพัฒนา ซึ่งเป็นการฝึกการทำงานของกระบังลมเสียมากกว่า  ไม่ได้หายใจเพราะต้องการอากาศ เนื่องจากทารกจะได้รับออกซิเจนจากคุณแม่ผ่านทางรกอยู่แล้ว  

  • ทารกสามารถเปลี่ยนท่า เปลี่ยนตำแหน่งได้ทั้งวัน ตอนเช้าอาจเอาหัวลง แต่ตอนบ่ายก็อาจกลับเอาหัวขึ้น เนื่องจากมดลูกยังมีรูปทรงกลมอยู่ ยังมีพื้นที่ภายในกว้างขวาง ทารกจึงสามารถดิ้นได้อย่างอิสระ

คุณแม่มีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อตั้งท้องอายุครรภ์ 23 สัปดาห์

  • เมื่ออายุครรภ์ 23 สัปดาห์ อาจพบว่าข้อเท้าและเท้าดูบวมๆ ขึ้นเรื่อยๆ ทุกสัปดาห์ เนื่องจากช่วงนี้การหมุนเวียนของเลือดมีการเปลี่ยนแปลงทำให้มีการกักเก็บน้ำในบางส่วนของร่างกายเพิ่มขึ้นหรือที่เราเรียกว่า “อาการบวมน้ำ” ร่างกายจะมีปริมาณน้ำมากขึ้นตามจุดต่างๆให้ลองสังเกตความผิดปกติของอาการบวมน้ำอย่างใกล้ชิดถ้ารู้สึกว่านี่ไม่ใช่การบวมน้ำธรรมดาเช่น มีอาการบวมมากจนขาใส มีอาการบวมน้ำเริ่มขึ้นมาที่แขน หน้า หรือแม้แต่รอบดวงตาให้รีบปรึกษาคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอันตรายกับคุณแม่ที่ท้องมาแล้ว 23 สัปดาห์

  • เมื่อท้องโตมากขึ้น น้ำหนักมากขึ้น ก็จะทำให้ศูนย์ถ่วงของร่างกายคุณแม่หนักมาทางด้านหน้ามากขึ้น คุณแม่ต้องแอ่นหลังต้านน้ำหนักมากขึ้น กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักมากขึ้น กล้ามเนื้อหลังต้องออกแรงดึงกลับถึง 5 เท่าของน้ำหนักของมดลูก ทำให้ปวดหลังได้ง่าย คุณแม่ที่ท้องได้ 23 สัปดาห์ควรใช้กล้ามเนื้อหลังน้อยที่สุด ยืนตัวตรง หลีกเลี่ยงการใช้กล้ามเนื้อหลัง ไม่ก้มขึ้นลงโดยใช้กล้ามเนื้อหลัง  แต่ให้ใช้วิธีย่อเข่าลงแทนยืนตัวตรง เดินตัวตรง หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง  

โปรดอ่านข้อมูลเบื้องต้น และคลิก

“เข้าสู่เว็บไซต์”

เพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama