คุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร
ช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38 สมองลูกเติบโตเร็วมาก มีน้ำหนักเกือบถึง 400 กรัม การทานอาหารที่มีสารอาหารที่เหมาะสม จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมองได้ดียิ่งขึ้น
เจ้าตัวเล็กของคุณแม่เริ่มกลายเป็นเจ้าตัวกลมแล้ว ด้วยชั้นไขมันที่เพิ่มขึ้นใต้ผิวหนัง น้ำหนักของลูกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.1 ก.ก (เว็บไทย 2.95 ก.ก.) และวัดความยาวจากศีรษะถึงปลายเท้าได้ประมาณ 18 – 21 นิ้ว (45.7 ถึง 53.3 ซ.ม.)
เล็บมือและเล็บเท้ากำลังพัฒนาเต็มที่ คุณแม่อาจแปลกใจที่รู้ว่าเล็บเท้าลูกเมื่อแรกเกิดจะยาวจนใช้ที่ตัดเล็บตัดได้
ระบบสืบพันธุ์ของลูกพัฒนาเต็มที่ ถ้าเป็นลูกชาย ลูกอัณฑะจะเลื่อนลงในถุงอัณฑะ ถ้าเป็นลูกสาว อวัยวะเพศด้านนอกจะปรากฏชัดขึ้น กระเพาะปัสสาวะของลูกมีขนาดเพิ่มขึ้นจากเพียง 20 มิลลิเมตรมาอยู่ที่ราว 60 มิลลิเมตร มีความกว้างเพิ่มขึ้นจาก 10 มิลลิเมตรเป็น 20 มิลลิเมตรในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 19-38
สมองของลูกในครรภ์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนมีน้ำหนักเกือบ 400 กรัม
สมองลูกในช่วง 5 ปีแรก จะโตประมาณร้อยละ 85 ของขนาดสมองผู้ใหญ่ คุณแม่ควรให้การเริ่มต้นชีวิตที่ดีแก่ลูกโดยรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโคลีนเพื่อช่วยเสริมสร้างความจำให้ลูก
ตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในครรภ์ สมองของลูกน้อยพัฒนามาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่เต็มที่เพียง 25% เท่านั้นเมื่อเทียบกับน้ำหนักสมองของผู้ใหญ่ จะต้องพัฒนาสมองต่อเนื่องหลังจากคลอดแล้ว โดยภายใน 2 ปีแรกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนมีขนาดเป็น 75% เมื่อเทียบกับน้ำหนักสมองของผู้ใหญ่เลยทีเดียว
การทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ โคลีน โฟลิค DHA ซิงค์ ธาตุเหล็กและอื่นๆยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสมองของลูกน้อยต่อไป เพื่อให้เค้าพร้อมรับอนาคตทุกรูปแบบ และส่งเสริมการพัฒนาสมองต่อเนื่องหลังคลอด
ช่วง 2–3 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการท้องเสียซึ่งเป็นอาการปกติที่แสดงว่าใกล้ถึงเวลาคลอดแล้ว คุณแม่ควรเตรียมพร้อมดังนี้
ดื่มน้ำให้มากเพียงพอ เพื่อทดแทนของเหลวที่สูญเสียไปในการถ่ายท้อง
พบแพทย์ คุณแม่ส่วนมากจะมีอาการท้องเสียเพียงแค่ 2–3 วัน ถ้าหากคุณแม่ยังคงถ่ายท้องเป็นเวลานานกว่านั้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำหรือรับใบสั่งยาทันที
คุณแม่อาจมีอาการ “เจ็บเตือน” ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเฉียบพลันบริเวณช่องคลอด ซึ่งเกิดจากลูกดิ้นไปกระทบเส้นประสาทบริเวณเชิงกราน ถ้าเกิดอาการแบบนี้ คุณแม่ไม่ต้องตื่นตกใจ เพราะเป็นอาการทั่วไปของคนท้องในระยะนี้ คุณแม่ควรพยายามพักเท้าโดยการนอนราบให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อลดแรงกดและอาการไม่สบายตัว
คุณแม่ควรใช้ช่วงเวลานี้ตกลงกับครอบครัว และว่าที่คุณพ่อถึงบทบาทของแต่ละคนในวันคลอด ใครเข้าห้องคลอด ใครถ่ายภาพ และอื่นๆ เป็นโอกาสที่ดีในการกระชับความสัมพันธ์ของครอบครัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าตัวเล็ก
หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby
สัปดาห์ที่ 18 ของการกระตุ้นการตั้งครรภ์ ระบบประสาทรับสัมผัสหู หรือการได้ยิน จะเริ่มสร้างตอนลูกมีอ...
อ่านต่อสัปดาห์ที่ 19 ของการกระตุ้นการตั้งครรภ์ การที่คุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ในภาวะที่มีสมาธิ จิตใจจดจ่ออยู่ก...
อ่านต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 27 ทารกในครรภ์ตัวยาวประมาณหนึ่งฟุต และหนักกว่า 1 กิโลกรัม อว...
อ่านต่อ