ทารกในครรภ์อายุ 7 สัปดาห์ ก็มีอวัยวะสำคัญหลายอย่างส่วนหัวจะใหญ่กว่าลำตัว มีจุดสีดำเล็กๆบริเวณตา และสมองมีร่องรอยของหู มีปุ่มแขนขาเล็กๆ ขึ้นมารวมทั้งเหมือนจะมีหางเล็กๆ โผล่ออกมาด้วย ซึ่งหางเล็กๆนี้จะค่อยๆ กลายเป็นกระดูกก้นกบในไม่กี่สัปดาห์
ตับของทารกในท้องอายุ 7 สัปดาห์ ก็เริ่มฟอกเซลล์เม็ดเลือดแดงได้แล้ว และรอจนกว่าไขกระดูกจะพัฒนาเติบโตเพื่อมารับหน้าที่นี้ต่อไปค่ะ
ทารกอายุครรภ์ 7 สัปดาห์เริ่มผลิตฮอร์โมนอินซูลินสำหรับช่วยในการย่อยอาหารลำไส้เองก็เริ่มก่อตัวเป็นโพรงเพื่อที่จะส่งถ่ายเลือดและออกซิเจนรวมทั้งสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายของทารกในครรภ์
เมื่ออายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ขนาดของมดลูกเริ่มขยายตัวเป็นสองเท่ามดลูกที่โตขึ้นอาจจะทำให้มีอาการหน่วงๆ ถ่วงๆ ในท้องน้อย คุณแม่อาจเจ็บบริเวณปีกมดลูกได้ง่าย เนื่องจากเมื่อมดลูกโตขึ้น ปีกมดลูกก็จะถูกดึงรั้งตึง
บางคนอาจคลื่นไส้ อาเจียน และเริ่มเบื่ออาหาร อีกทั้งรู้สึกเหมือนจะป่วยในตอนเช้าๆ ของแต่ละวัน อารมณ์จะขึ้น-ลงมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องอาจมีอาการแสบบริเวณลิ้นปี่จากการอาเจียน เพราะน้ำย่อยที่อาเจียนออกมาจะทำให้แสบหลอดอาหารได้ง่าย ควรดื่มน้ำกลั้วคอล้างปากทุกครั้งหลังอาเจียน
ช่วงที่ท้องได้ 7 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกปวดฉี่บ่อยขึ้นกว่าเดิมเพราะมดลูกที่โตขึ้นเริ่มไปกดทับกระเพาะปัสสาวะแล้ว
ไตมีการฟอกเลือดเพิ่มขึ้น (มากขึ้นกว่า 10% ก่อนท้องและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 40-45% เมื่อท้องเต็มที่)
Enfa สรุปให้ อายุครรภ์ 42 สัปดาห์ เกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัย แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือคุ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อายุครรภ์ 41 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการคลอดเกินกำหนด จากปกติกำหนดคลอดจะอยู่ระหว่างอายุค...
อ่านต่อตะคริวขณะตั้งครรภ์ การเกิดตะคริวขณะตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากร่างกายมีก...
อ่านต่อ