นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คนท้องนอนไม่หลับ สาเหตุ ผลกระทบ และวิธีรับมืออย่างปลอดภัย

Enfa สรุปให้

  • คนท้องนอนไม่หลับ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง อาการแพ้ท้อง ปวดเมื่อย หรือความเครียด หากเป็นเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพแม่และลูกในครรภ์
  • คนท้องนอนไม่หลับไตรมาส 3 เพราะท่าทางการนอนลำบาก ลูกดิ้นบ่อย ปวดหลัง หายใจไม่สะดวก และความกังวลใกล้คลอด ส่งผลให้ตื่นกลางดึกบ่อยและหลับยากกว่าช่วงอื่นของการตั้งครรภ์
  • วิธีแก้อาการนอนไม่หลับของคนท้อง ทำได้โดยปรับพฤติกรรม เช่น เข้านอนตรงเวลา หลีกเลี่ยงคาเฟอีน ทำสมาธิ ใช้หมอนรองครรภ์ และเลี่ยงหน้าจอก่อนนอน หากไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาใด ๆ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ฮอร์โมนที่แปรปรวน การขยายตัวของมดลูก และอารมณ์ที่เปลี่ยนไป ล้วนส่งผลต่อการนอนหลับ ปัญหาเรื่องคนท้องนอนไม่หลับจึงเป็นเรื่องที่คุณแม่หลายคนเผชิญโดยเฉพาะคนท้องไตรมาส 3

ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณแม่ไปทำความเข้าใจและจัดการปัญหาคนท้องนอนไม่หลับอย่างเหมาะสม เพื่อให้คุณแม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งของแม่และลูกในครรภ์ค่ะ

 

คนท้องนอนไม่หลับอันตรายไหม


การนอนไม่เพียงพอในช่วงตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และลูกได้หลายประการ การที่คนท้องนอนไม่หลับตอนกลางคืนอาจส่งผลกับความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และอาจเพิ่มโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด

ดังนั้น หากถามว่าคนท้องนอนไม่หลับอันตรายไหม ตอบได้ว่ามีความเสี่ยงผลกระทบหลายอย่าง คือ อาจทำให้ภูมิคุ้มกันของแม่ลดลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือมีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและความผูกพันกับทารกในอนาคต

 

คนท้องนอนไม่หลับ เกิดจากสาเหตุอะไร


คนท้องนอนไม่หลับเกิดจากสาเหตุหลายอย่างที่สัมพันธ์กัน อีกทั้งแต่ละสาเหตุยังสามารถเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ส่งผลให้แม่ท้องนอนไม่หลับ ทำให้การนอนหลับถูกขัดขวางซ้ำ ๆ จนกลายเป็นวงจรของอาการนอนไม่หลับเรื้อรังได้อีก โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนท้องนอนไม่หลับ คือ

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ส่งผลต่อวงจรการนอน ทำให้ง่วงกลางวันและหลับไม่ลึกในเวลากลางคืน
  • อาการแพ้ท้อง ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว คลื่นไส้ หรืออาเจียนในเวลากลางคืน
  • ภาวะร่างกายเปลี่ยนแปลง เช่น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มดลูกที่ขยายตัว กดทับกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ต้องลุกเข้าห้องน้ำบ่อย
  • อาการเจ็บปวดหรือไม่สบายตัว เช่น ปวดหลัง ตะคริวที่ขา หรือความรู้สึกแน่นท้อง
  • ความเครียดและความวิตกกังวล เกี่ยวกับการคลอด สุขภาพของลูก หรือบทบาทใหม่ในชีวิต

 

คนท้องนอนไม่หลับ ไตรมาส 1


ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อระบบประสาทกลางและวงจรการนอนของคุณแม่ โดยเฉพาะการนอนหลับลึกที่อาจลดลง ทำให้คนท้องอ่อน ๆ นอนไม่หลับกลางคืนได้

นอกจากนี้ คนท้องนอนไม่หลับ ไตรมาส 1 ยังมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ หรือปัสสาวะบ่อยก็รบกวนการหลับในช่วงกลางคืนอีกด้วย ขณะเดียวกันก็ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ครั้งแรก เช่น กลัวแท้ง หรือกังวลเรื่องสุขภาพของลูก ทำให้สมองยังคงตื่นตัวแม้ร่างกายจะเหนื่อยล้า ส่งผลให้ในช่วงนี้คุณแม่บางคนอาจมีอาการง่วงนอนระหว่างวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน ทำให้นอนผิดเวลาและสะสมความอ่อนเพลียเรื้อรังได้ หากคนท้องอ่อน ๆ นอนไม่หลับเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์

 

คนท้องนอนไม่หลับ ไตรมาส 2


คนท้องนอนไม่หลับ ไตรมาส 2 จะต่างจากการตั้งครรภ์ช่วยไตรมาสแรกเล็กน้อย แม้ว่าเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่รู้สึกสบายขึ้นจากอาการแพ้ท้อง แต่บางคนยังคงประสบปัญหานอนไม่หลับเช่นเดิม หรือตื่นมากลางดึกแล้วนอนต่อไม่ได้ อาจมาจากการเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของทารก โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน การนอนตะแคงซ้ายซึ่งเป็นท่าที่ดีที่สุดในการส่งเลือดไปยังทารกก็อาจทำให้ไม่ถนัดหรือนอนไม่สบาย อีกทั้งอาการกรดไหลย้อนที่เริ่มเด่นชัดขึ้นในช่วงนี้จากแรงกดของมดลูกต่อกระเพาะอาหาร ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่รบกวนการหลับอีกด้วย

 

คนท้องนอนไม่หลับ ไตรมาส 3


การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 3 ท้องที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดในท่าทางการนอน การเปลี่ยนท่าก็ทำได้ลำบาก ความรู้สึกแน่นท้อง หายใจไม่สะดวก ตะคริว และปวดหลัง ล้วนเป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วไปในคนท้องนอนไม่หลับ ไตรมาส 3

นอกจากนี้ ทารกในครรภ์ยังเริ่มมีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนและถี่ขึ้นโดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ซึ่งตรงกับช่วงที่คุณแม่ต้องการพักผ่อน ทำให้เกิดการตื่นซ้ำบ่อย ๆ นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการคลอด เช่น กลัวเจ็บ กลัวการผ่าคลอด หรือความพร้อมทางบ้าน ก็ทำให้คุณแม่รู้สึกกดดันจนหลับไม่ลง

 

อาการนอนไม่หลับคนท้อง เริ่มในช่วงไหนของการตั้งครรภ์


อาการนอนไม่หลับสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ไตรมาส 1 และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 3 โดยมีลักษณะอาการต่างกันไปในแต่ละช่วง ดังนี้

  • ไตรมาส 1 เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อาการแพ้ท้อง และความกังวลในช่วงเริ่มต้นการตั้งครรภ์
  • ไตรมาส 2 บางรายอาการดีขึ้น แต่อาจมีปัญหาจากการนอนตะแคง หรือเริ่มรู้สึกแน่นท้อง
  • ไตรมาส 3 พบท่าทางการนอนลำบาก ลูกดิ้นบ่อย ปวดเมื่อยและความวิตกกังวลใกล้คลอด

การเฝ้าสังเกตอาการในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์จะช่วยให้คุณแม่เตรียมตัวและหาทางรับมือได้ตรงจุดมากขึ้น นอกจากนี้การสังเกตตนเองเป็นประจำจะทำให้พบความผิดปกติในการตั้งครรภ์ได้เร็วมากขึ้นด้วย

 

คนท้องกลางคืนนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี


คนท้องกลางคืนนอนไม่หลับ เกิดจากสาเหตุหลักคือ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาการแพ้ท้อง ภาวะร่างกายเปลี่ยนแปลง อาการเจ็บปวดหรือไม่สบายตัว และความเครียดความวิตกกังวลต่าง ๆ ส่งผลให้คนท้องนอนไม่หลับ แต่สามารถบรรเทาได้ ดังนี้

  • จัดห้องนอนให้น่านอน เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสม แสงไฟนวล และเสียงเงียบสงบ
  • สร้างกิจวัตรก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงช้า
  • หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยากและเครื่องดื่มคาเฟอีนหลังบ่ายสองโมง
  • งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน เพราะแสงสีฟ้ารบกวนวงจรการหลับ

 

คนท้องตื่นกลางดึก หลับยาก ทำยังไงให้นอนหลับสนิท


คนท้องตื่นกลางดึก หลับยาก มักเกิดจากการปวดหลัง ตะคริว หรือท้องแน่นตามมา หากคุณแม่กำลังประสบปัญหานี้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้โดย

  • ดื่มนมอุ่นหรือน้ำอุ่นเล็กน้อยเพื่อผ่อนคลาย
  • ฝึกหายใจช้า ๆ หรือทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ
  • ใช้หมอนรองขา/รองท้อง ช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น
  • หากนอนไม่หลับภายใน 20–30 นาที ควรลุกขึ้นทำกิจกรรมเบา ๆ เช่น อ่านหนังสือ แล้วค่อยกลับไปนอนใหม่

 

คนท้องนอนไม่หลับ กินยาอะไรได้บ้าง


การใช้ยานอนหลับขณะตั้งครรภ์ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยาหลายชนิดอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารก โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาให้เฉพาะในกรณีที่คนท้องนอนไม่หลับมีอาการส่งผลกระทบรุนแรง และไม่มีวิธีอื่นได้ผล ตัวอย่างยาที่แพทย์ให้ เช่น

  • Diphenhydramine (เช่น Benadryl) อนุญาตให้ใช้ในบางกรณีโดยแพทย์
  • Doxylamine ใช้ร่วมกับวิตามิน B6 สำหรับอาการแพ้ท้องและช่วยให้นอน
  • สมุนไพร เช่น ดอกคาโมมายล์ หรือเมลาโทนิน ยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยชัดเจนในหญิงตั้งครรภ์ จึงควรหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

ทั้งนี้ คนท้องนอนไม่หลับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและไม่ควรมองข้าม เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งของแม่และลูกในครรภ์ การเข้าใจสาเหตุในแต่ละไตรมาส พร้อมใช้วิธีรับมืออย่างปลอดภัย จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น หากอาการยังรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการดูแลที่เหมาะสม

 

อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่


การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลามหัศจรรย์ของชีวิตคุณแม่ นอกจากสัญญาณการมีชีวิตของทารกในครรภ์แล้ว สุขภาพที่ดีและการเจริญเติบโตอย่างมีพัฒนาการสมวัยยังเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรรักษาสุขภาพให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้รับโภชนาการครบถ้วน เพื่อส่งต่อสารอาหารที่ดีสู่ลูกน้อย

นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Cart TH Join Enfamama