Enfa สรุปให้

  • การสักทับรอยแผลผ่าคลอด สามารถทำได้ สีที่ใช้ในการสัก ไม่ซึมเข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำนม จึงไม่ส่งผลเสียต่อแม่ให้นมลูก และทารกกินนมแม่ก็ไม่ได้รับอันตรายใด ๆ จากการสักของแม่

  • การสักเพื่อปิดแผลผ่าคลอด ควรทำกับช่างสักที่มีความชำนาญ ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือติดโรคติดต่อจากอุปกรณ์ที่ไม่สะอาด

  • ก่อนทำการสัก ควรแน่ใจว่าต้องการสักจริง ๆ และเลือกรอยสักที่ถูกใจจริง ๆ เพราะการลบรอยสักในวันข้างหน้า อาจต้องใช้ระยะเวลานาน หรืออาจไม่สามารถลบออกได้หมด

    เลือกอ่านตามหัวข้อ

         • สักทับรอยแผลผ่าคลอดอันตรายไหม
         • สักทับแผลผ่าคลอด เริ่มทำได้เมื่อไหร่
         • ไอเดียรอยสักทับแผลผ่าคลอด
         • ข้อดีข้อเสียในการสักทับรอยแผลผ่าคลอด

    หลังผ่าคลอด คุณแม่หลายคนอาจพบว่ารอยแผลเป็นจากการผ่าคลอดนั้นมันเห็นชัดเจนเสียเหลือเกิน จนเกิดไอเดียอยากจะไปสักทับรอยแผลเป็น เพื่อกลบร่องรอยจากการผ่าคลอดให้หายไป  

    แต่...การสักทับรอยแผลผ่าคลอดสามารถทำได้ไหม ถ้าสักแล้วจะเสี่ยงอันตรายหรือเปล่า แล้วการสักทับแผลผ่าคลอดมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้างนะ บทความนี้จาก Enfa จะชวนคุณแม่มาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ 

    สักทับรอยแผลเป็นผ่าคลอดอันตรายไหม


    รอยสักปิดแผลผ่าคลอด ไม่ใช่เรื่องใหม่ค่ะ เป็นวิธีหลีกหนีรอยแผลเป็นจากการคลอดลูกที่หลายต่อหลายคนทำกันมานานมากแล้ว ซึ่งการสักทับรอยผ่าคลอดนั้น ไม่มีอันตรายต่อแม่และทารกค่ะ สามารถทำการสักได้เลยหลังจากที่แผลสมานกันสนิทดีแล้ว 

    สิ่งสำคัญคือการเลือกร้านสักและช่างสักที่มีความชำนาญ ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากอุปกรณ์ที่ไม่สะอาด รวมถึงการใช้สีสักที่ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองด้วย 

    เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

    คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

    Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

    คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

    อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่

    สักทับแผลผ่าคลอด เริ่มทำได้เมื่อไหร่


    สักทับแผลผ่าคลอด แน่นอนว่าสามารถทำได้หลังจากที่แผลหายดีแล้ว แต่ตอบได้ยากค่ะว่าเมื่อไหร่แผลถึงจะหายเป็นปกติ เพราะระยะเวลาฟื้นตัวและระยะเวลาที่แผลผ่าคลอดจะหายสนิทนั้นแตกต่างกัน บางคนหายช้า บางคนหายเร็ว  

    ดังนั้น ดีที่สุดคือรอให้แผลผ่าคลอดสมานตัวติดกันดีก่อน อาจใช้เวลา 4-8 สัปดาห์ขึ้นไป หรือขึ้นอยู่กับแพทย์อนุญาตว่าสามารถทำการสักได้แล้วหรือยัง หากแพทย์เซย์ Yes จึงจองคิวไปสักได้เลยค่ะ 

    ไอเดียรอยสักทับแผลผ่าคลอด


    หากคุณแม่ตัดสินใจแล้วว่า ยังไงก็จะไปสัก ก็สามารถที่จะหาลายสักทับแผลผ่าคลอดเก๋ ๆ ลายสักปิดแผลผ่าคลอดสวย ๆ ที่ถูกใจ แล้วนำไปเป็นแบบให้ช่างสักทำการสักผิดทับแผลผ่าคลอดกันได้เลยค่ะ Enfa มีไอเดียที่น่าสนใจมาฝากคุณแม่ เผื่อเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการสักในครั้งนี้ค่ะ 

    ลายสักทับแผลผ่าคลอดแนวตั้ง 

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    1. รูปดอกไม้ ถือว่าเป็นหนึ่งในลายสักยอดฮิตสำหรับการสักในแนวตั้งเลยค่ะ คุณแม่สามารถเลือกดอกไม้ที่ชอบ มาเป็นแบบให้ช่างสักได้เลย 

    ภาพจาก: New York Post

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    2. หรือถ้าไม่ชอบดอกไม้ แต่มีสัตว์เลี้ยงตัวโปรดสุดน่ารัก สามารถสักเป็นรูปสัตว์เลี้ยงของตัวเองก็ยังได้ค่ะ 

    ภาพจาก: New York Post

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    3. สักเป็นไอเทมมินิมอลต่าง ๆ เช่ว โบว์ ริบบิ้น กรรไกร อาวุธต่าง ๆ ฯลฯ ก็ดูน่ารักไปอีกแบบ ค่ะ 

    ภาพจาก: tattoogrid.net

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    4. สักเป็นรูปต้นไม้ เป็นคุณแม่สาย Go Green มองดูแล้วก็ชวนสบายตาดีเหมือนกันนะคะ 

    ภาพจาก: tattoogrid.net

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    5. หรือถ้าชอบความเรียบง่าย ไม่หวือหวา แต่มีกิมมิกน่ารัก ๆ อาจจะสักเป็นเส้นตรง หรือเส้นประ ก็ดูเก๋ไปอีกแบบค่ะ 

    ภาพจาก: tattoogrid.net

    สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

    ลายสักทับแผลผ่าคลอดแนวนอน 

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    1. รอยสักรูปวิวทิวทัศน์ อาจจะเป็นวิวทิวเขา วิวต้นไม้ หรือจะเป็นทะเล ก็ปกปิดรอยแผลผ่าคลอดแนวนอนได้ดีเหมือนกันนะ 

    ภาพจาก: New York Post 

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    2. รอยสักรูปดอกไม้ อาจจะเป็นดอกกุหลาบ หรือดอกไม้ตระกูลไม้เลื้อย ก็เหมาะใช้เป็นลวดลายทับแผลผ่าคลอดเช่นกัน 

    ภาพจาก: New York Post

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    3.  หรือจะเป็นแนวแฟนตาซี สยายปีกกว้าง เป็นรูปนางฟ้า หรือสัตว์ในเทพนิยาย ก็ดูเท่ไปอีกแบบค่ะ 

    ภาพจาก: New York Post

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    4. ลวดลายกราฟิตี้ ก็เป็นอีกอีกลายที่นิยมใช้สำหรับการสัก เพิ่มเสน่ห์ให้กับหน้าท้องของคุณแม่ได้เหมือนกัน 

    ภาพจาก: New York Post

    รอยสักทับแผลผ่าคลอด

    5.  สักเป็นคำคม บทกลอน หรือบทกวีท่อนที่ชอบ ก็เป็นไอเดียกลบแผลผ่าคลอดที่ไม่เลวเลยค่ะ 

    ภาพจาก: designzzz

    แผลผ่าคลอดเป็นคีลอยด์ สามารถสักทับรอยแผลเป็นนูนได้ไหม 

    การสักทับคีลอยด์นั้น มีโอกาสที่จะทำให้เกิดคีลอยด์เพิ่มขึ้นได้ จึงควรปรึกษากับแพทย์ก่อนว่าคีลอยด์ที่มีอยู่นั้น ปลอดภัยที่จะทำการสักทำหรือไม่ เพราะบางคนอาจเป็นคีลอยด์ได้ง่ายอยู่แล้ว การไปสักจึงอาจทำให้มีปัญหาคีลอยด์ซ้ำซ้อนได้ค่ะ 

    ข้อดีข้อเสียในการสักทับรอยแผลผ่าคลอด


    การสักทับรอยผ่าคลอด มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่คุณแม่ควรทำการศึกษาก่อนที่จะตัดสินใจสัก ดังนี้ 

    ข้อดี 

    • ช่วยกลบรอยผ่าคลอดที่ไม่น่าดู ให้เกิดความสวยงามและน่ามองมากขึ้น 

    • คุณแม่มีความมั่นใจมากขึ้น รู้สึกดีกับร่างกายของตัวเองมากขึ้น 

    • สามารถสวมใส่เสื้อผ้าที่เผยรอยแผลได้อย่างมั่นใจมากขึ้น 

    ข้อเสีย 

    • หากเลือกช่างสักที่ไม่มีความชำนาญ อาจได้รอยสักที่ไม่ถูกใจ ซึ่งการแก้ไขหรือลบรอยสักนั้นอาจทำได้ยาก 

    • หากใช้อุปกรณ์สักที่ไม่สะอาด หรือฆ่าเชื้อไม่ถูกหลักอนามัย อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือโรคติดต่อต่าง ๆ ได้ 

    • หากดูแลแผลจากการสักไม่สะอาด อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือแย่ที่สุดคือทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดตามมาได้ 



    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด