ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ทารกท้องผูกสาเหตุมาจากไหน

ปัญหาท้องผูกในทารกถือว่าเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่คุณแม่อาจเผชิญอยู่ และสร้างความกังวลใจไม่น้อย การรู้ที่มาของปัญหานี้อาจช่วยให้คุณแม่หาทางรับมือกับปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งสาเหตุของอาการท้องผูกในทารกและเด็กเล็กสามารถแบ่งสาเหตุได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ท้องผูกที่มีสาเหตุจากโรคทางกาย และ ท้องผูกไร้โรคทางกาย (functional constipation) ท้องผูกจากโรคทางกายอาจเกิดจาก โรคของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ หรือ ฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์ผิดปกติเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะสงสัยสาเหตุในกลุ่มนี้หากทารกมีอาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณเตือนร่วมด้วย เช่น มีประวัติถ่ายขี้เทาช้าเมื่อแรกเกิด หรือ มีการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการผิดปกติ หากไม่มีสาเหตุทางกายที่ทำให้ท้องผูก ก็จะจัดอยู่ในกลุ่มท้องผูกไร้โรคทางกาย ซึ่งอาจมีสาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไปในแต่ละวัย ลองมาดูกันค่ะ

ท้องผูกในเด็กทารกวัย 6 เดือนแรก

สาเหตุของอาการท้องผูกในเด็กทารกวัย 6 เดือนแรก มีดังนี้

1. สาเหตุจากนมที่ลูกกิน ทารกที่กินนมแม่มักไม่เกิดปัญหาท้องผูก เนื่องจากน้ำนมแม่มีไขมันและโปรตีนที่ช่วยให้อุจจาระไม่แข็งตัว ช่วยให้ขับถ่ายง่าย ส่วนเด็กที่กินนมผงจะเกิดปัญหาท้องผูกได้มากกว่า เพราะนมผงมีส่วนผสมของสารอาหารที่อาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานมากขึ้น ทำให้อุจจาระแข็งกว่านมแม่ หรือการชงนมที่ไม่ถูกสัดส่วนตามที่แนะนำ เช่น เข้มหรือเจือจางเกินไป ก็ทำให้เด็กท้องผูกได้ นอกจากนี้ มีทารกที่ท้องผูกเรื้อรังอาจมีความสัมพันธ์กับอาการของการแพ้นมวัว ในทารกที่กินนมผง หรือ ทารกที่กินนมแม่ที่กินอาหารที่มีส่วนประกอบของนมวัว เป็นต้น

วิธีแก้ไขคือ : ทารกที่กินนมแม่แล้วมีปัญหาท้องผูก คุณแม่ควรกินอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น เช่น ผักผลไม้ หากไม่ดีขึ้นหรือท้องผูกเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์

ท้องผูกในเด็กทารก เป็นปัญหาระบบขับถ่ายที่เป็นหนางในสาเหตุที่ลูกน้อยงอแง

 

  • สำหรับทารกที่กินนมผงแล้วท้องผูก  ให้ลองเปลี่ยนนมเป็นสูตรที่มีใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย อย่างเช่น พีดีเอ็กซ์ (PDX) และ กอส  (GOS) เส้นใยอาหารทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ ด้วยโครงสร้างของพีดีเอ็กซ์ที่ซับซ้อนกว่าไฟเบอร์ชนิดอื่น จึงทำให้กระบวนการย่อยเป็นไปอย่างช้าๆ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของจุลินทรีย์สุขภาพ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ได้อย่างทั่วถึง เป็นการรักษาสมดุลในลำไส้ ขณะที่กอส ก็จะช่วยกระตุ้นและเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เด็กระบบขับถ่ายที่ดีแล้ว ยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับเด็กอีกด้วย

เมื่อเด็กได้รับนมที่มีส่วนผสมของเส้นใยอาหารสุขภาพทั้งพีดีเอ็กซ์ และ กอส ที่จะทำงานควบคู่กันภายในลำไส้ใหญ่ เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ สนับสนุนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ลดอาการท้องผูก ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้น ดีต่อสุขภาพและการขับถ่ายของเด็ก

2. การคลอดก่อนกำหนด ทารกคลอดก่อนกำหนดจะพบปัญหาทารกท้องผูกได้ง่ายกว่าทารกทั่วไป เนื่องจากระบบย่อยอาหารยังเจริญไม่เต็มที่ ส่งผลให้อาหารเคลื่อนผ่านทางเดินอาหารช้าและย่อยได้ไม่สมบูรณ์ อุจจาระจึงแห้งและแข็ง

วิธีแก้ไขคือ : ให้ลูกกินนมแม่จะช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ แต่หากลูกต้องกินนมผง ควรปรึกษาคุณหมอถึงการเลือกสูตรนมที่เหมาะสมกับระบบย่อยอาหารของลูกในกรณีนี้

 

ท้องผูกในเด็กเล็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป

สาเหตุของอาการท้องผูกในเด็กเล็กวัย 6 เดือนขึ้นไป มีดังนี้

  • นมผงที่ลูกกิน เนื่องจากนมผงมีส่วนผสมของสารอาหารที่อาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานมากขึ้น ส่งผลให้อุจจาระเป็นก้อนแข็ง แต่ปัจจุบันมีนมสูตรที่ผสมใยอาหารช่วยในการย่อยอย่างเช่น พีดีเอ็กซ์ และ กอส ซึ่งต่างเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ ช่วยเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีให้มีศักยภาพในการขจัดเชื้อโรค เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูกให้แข็งแรง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหาร ช่วยปรับการทำงานของลำไส้ให้สมดุล จึงส่งผลดีต่อระบบการย่อยของลูก

นอกจากนี้ การชงที่ไม่ได้สัดส่วนตามที่แนะนำ เช่น เข้มข้นหรือเจือจางเกินไป ก็ทำให้เด็กท้องผูกได้เช่นกัน

วิธีแก้ไขคือ : หากลูกไม่ได้กินนมแม่ ให้ปรึกษาคุณหมอถึงสูตรนมผงที่เหมาะสมกับลูกน้อย เช่น นมสูตรที่มีใยอาหารอย่าง พีดีเอ็กซ์ และ กอส ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบทางเดินอาหารและขับถ่าย และลดอาการท้องผูกลงได้
อีกทั้ง คุณแม่ควรตรวจสอบการชงนมว่า ได้ชงตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์นมนั้นๆ หรือไม่ เพราะนมแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีสัดส่วนของนมต่อน้ำที่ชงไม่เท่ากัน จึงควรทำตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

2. สาเหตุจากการเปลี่ยนนม เมื่อถึงวัยหนึ่ง เด็กต้องเปลี่ยนนมจากสูตรหนึ่งเป็นอีกสูตรหนึ่งที่มีสารอาหารที่เหมาะกับวัยของเขามากกว่า และก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องผูกได้

ท้องผูกในเด็กทารก เป็นปัญหาระบบขับถ่ายที่เป็นหนางในสาเหตุที่ลูกน้อยงอแง

วิธีแก้ไขคือ : ต้องค่อยๆ เปลี่ยนนมให้ลูกเพื่อป้องกันปัญหาลูกท้องผูก ซึ่งทำได้คือ

  • วิธีที่ 1 ชงนมเดิมและแทรกนมใหม่ในแต่ละมื้อ โดยเพิ่มสัดส่วนของนมใหม่ขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ ลดสัดส่วนนมเดิม โดยวันที่ 1-3 ใช้นมใหม่ 1 ช้อนแทนนมเดิมในทุกขวด วันที่ 4-6 ใช้นมใหม่ 2 ช้อน แทนนมเดิม วันที่ 7-9 ใช้นมใหม่ 3 ช้อนแทนนมเดิม จนเปลี่ยนเป็นนมใหม่ทั้งขวดในวันที่ 10 เป็นต้นไป

  • วิธีที่ 2 สลับมื้อนม เป็นการให้นมใหม่ทั้งขวดสลับกับการให้นมเดิมทั้งขวดตลอดทั้งวัน โดยวันที่ 1-3 ใช้นมใหม่แทนนมเดิม 1 ขวดในมื้อแรก ที่เหลือเป็นนมเดิม วันที่ 4-6 ใช้นมใหม่ 2 ขวดแรก วันที่ 7-9 ให้นมใหม่ 3 ขวดแรก วันที่ 10 เป็นต้นไป ให้นมใหม่ทั้งหมด

3. สาเหตุจากอาหารที่ลูกกิน เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป สามารถกินอาหารเสริมได้แล้ว แต่อาหารเสริมบางอย่างไม่ได้มีน้ำเป็นส่วนผสมเท่ากับนม อีกทั้งอาหารเสริมบางเมนูก็มีกากใยต่ำ เด็กจึงไม่ได้รับกากใยเพียงพอ ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย

วิธีแก้ไขคือ : หากลูกกินอาหารเสริมแล้วไม่ถ่าย ให้เพิ่มเมนูผักใบเพื่อเพิ่มเส้นใยที่ช่วยในการย่อย เช่น ตำลึง บรอกโคลี ผักกาดขาว ฯลฯ ซึ่งคุณแม่สามารถนำมาบด สับ ตุ๋นกับไข่ ฯลฯ ให้ลูกกินได้ รวมทั้งผลไม้และธัญพืชต่างๆ ให้มากขึ้น

4. สาเหตุจากจากการขาดน้ำ หากลูกได้รับน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายจะดูดซึมน้ำจากอาหารที่กินเข้าไป รวมถึงน้ำจากกากของเสียในร่างกาย ส่งผลให้อุจจาระแห้งและแข็งจนขับถ่ายลำบาก จนกลายเป็นท้องผูกในที่สุด เราจะรู้ได้ว่าลูกกินน้ำน้อยหรือไม่สังเกตจากการที่ลูกปัสสาวะน้อยลง

วิธีแก้ไขคือ : ควรให้ลูกจิบน้ำบ่อยๆ และอาจให้ลูกกินน้ำลูกพรุนหรือน้ำลูกแพร์ เพื่อกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ คุณแม่ควรผสมน้ำเปล่าด้วย เพื่อเจือจางความหวานของน้ำผลไม้เหล่านี้

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พิจารณาสาเหตุต่างๆ ของอาการทารกท้องผูกแล้วไม่เข้าข่ายสาเหตุเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะลูกอาจมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ความผิดปกติของลำไส้หรือระบบย่อย หรือสาเหตุจากความผิดปกติทางกายภาพ เด็กบางคนมีความผิดปกติบริเวณทวารหนัก ความผิดปกติของประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ และความผิดปกติของประสาทไขสันหลังส่วนปลายซึ่งควบคุมการถ่ายอุจจาระ ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกได้ จำเป็นต้องการการตรวจและวินิจฉัยที่ละเอียดมากขึ้น จะได้แก้ไขปัญหาทารกท้องผูกให้ตรงจุดต่อไป เพื่อให้ลูกน้อยมีความสุขกับการขับถ่ายและคุณแม่จะได้ไม่กังวลอีกต่อไปค่ะ

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

บทความที่แนะนำ

นมแม่ดีที่สุด ช่วยให้ระบบขับถ่ายและสมองดี
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner