ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์ กุมารแพทย์
สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

คุณแม่เคยเจอปัญหาแบบนี้ไหมคะ ลูกนอนหลับยาก บางครั้งลูกตื่นบ่อย ซึ่งการนอนของเด็กทารกโดยธรรมชาติแล้ว จะใช้เวลากับการนอนมากถึงวันละ 16 ชั่วโมง และมักตื่นมาทุก 3 – 4 ชั่วโมงเพื่อกินนม จนเมื่อเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป จะสามารถหลับกลางคืนได้ยาวนานขึ้น

แต่ทำไมลูกของเรายังคงหลับยาก แถมบ้างครั้งตื่นขึ้นมาร้องไห้ งอแงตอนกลางคืนอยู่บ่อย ๆ ปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร ชวนไปหาคำตอบกันค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

สาเหตุลูกนอนหลับยาก หรือตื่นบ่อย


สาเหตุการนอนหลับยาก หรือตื่นบ่อยของลูกน้อย มีด้วยกันหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งได้ ดังนี้

1. กินนมบ่อยครั้งเกินไป
ลูกนอนหลับยาก หรือตื่นบ่อย สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คุณแม่ให้นมลูกบ่อยเกินไป เช่น ตอนกลางวันให้นมลูกทุก 1 – 2 ชั่วโมง หรือให้นมทุกครั้งที่ลูกร้อง เมื่อลูกตื่น หรือร้อง คุณแม่มักคิดว่าลูกหิว เลยป้อนนมให้ลูก ซึ่งโดยธรรมชาติของเด็ก เมื่อมีจุกนมหรือหัวนมแม่เข้ามาสัมผัสในปาก ระบบประสาทจะสั่งให้เกิดการดูด เมื่อลูกดูดคุณแม่ก็คิดว่าลูกหิวจึงให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ตื่น ลูกจึงชินกับการกินนมแบบนี้ กลางคืนจึงตื่นมาร้องบ่อยเพื่อกินนมเหมือนช่วงกลางวัน

2. กินนมมากเกินไป
เมื่อลูกตื่นหรือร้อง คุณแม่มักคิดว่าลูกหิวก็ป้อนนมให้ลูกทุกครั้ง ลูกจึงได้รับนมมากเกินความต้องการ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้หิว กลายเป็นว่าลูกกินนมมากไปจนเกิดอาการอึดอัด แน่นท้องจนนอนหลับไม่สนิท

3. สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้ลูกน้อยนอนหลับไม่สนิท คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้นอนในห้องที่มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป เพราะเขาจะอาจะรู้สึกไม่สบายตัว จนไม่สามารถนอนหลับได้ อุณหภูมิห้องที่เหมาะกับลูกควรอยู่ประมาณที่ 24 – 26 องศาเซลเซียส

นอกจากอุณหภูมิห้องแล้ว สภาพแวดล้อมห้องนอนที่มีเสียงดังรบกวน ก็มีผลต่อการนอนของลูก และทำให้เขาตื่นบ่อยได้เช่นกัน

4. ลูกไม่สบาย
เป็นหวัด โคลิก ไม่สบายท้อง ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกนอนหลับยาก และตื่นมาร้องกวนได้ สำหรับอาการไม่สบายท้อง หากเป็นเด็กกินนมผงอาจเกิดจากปัญหาระบบย่อยของลูกยังทำงานไม่สมบูรณ์ จึงยังย่อยโปรตีน และน้ำตาลแลคโตสในนมไม่ได้ ทำให้เกิดแก๊สในท้อง เกิดอาการไม่สบายท้อง และตื่นบ่อย

5. ลูกแพ้นม
หากลูกกินนมแม่ก็เป็นไปได้ว่า ลูกอาจจะแพ้อาหารบางอย่างที่ส่งผ่านทางน้ำนมแม่ เช่น แพ้นมวัว อาหารทะเล ชีส ฯลฯ หรือถ้าเด็กกินนมผงก็อาจเกิดจากการแพ้โปรตีนนมวัว ทำให้เกิดอาการคัดจมูกหายใจไม่ออก หายใจครืดคราด เกิดอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวต่าง ๆ จนรบกวนการนอนของเด็กได้ และทำให้ลูกหลับยาก

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้เด็ก

ถ้าลูกหลับยาก หรือตื่นบ่อยเพราะอาการแพ้นมวัว
บางกรณีลูกหลับยาก ตื่นบ่อยนั้น อาจเกิดจากความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวจากอาการแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งในเด็กกินนมแม่อาจแพ้จากนม หรืออาหารที่แม่กินเข้าไปแล้วส่งผ่านทางน้ำนมแม่ ส่วนเด็กที่กินนมผงก็แพ้โปรตีนนมวัวในนมผงนั่นเอง กรณีนี้มีแนวทางแก้ไข ดังนี้

          1. กรณีกินนมแม่: คุณแม่ควรตรวจสอบว่าลูกมีอาการเหล่านี้หลังจากคุณแม่กินอาหารชนิดใด พบว่าอาหารที่จะทำให้ลูกแพ้ได้ง่ายก็ เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม ชีส อาหารทะเล แป้งสาลี เป็นต้น คุณแม่ควรงดอาหารเหล่านี้ขณะให้นม

          2. กรณีกินนมผง: หากคุณแม่ให้นมผงกับลูก และพบว่าลูกมีอาการตื่นบ่อย ร้องกวน หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงครืดคราดบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังกินนม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ว่าลูกน้อยของเรามีปัญหาการแพ้โปรตีนนมวัวหรือไม่

คุณหมอจะแนะนำนมที่เหมาะกับอาการของลูก โดยเป็นนมสูตรสำหรับเด็กแพ้โปรตีนนมวัว สูตรที่มีโปรตีนผ่านการย่อยอย่างละเอียดเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ซึ่งนมสูตรนี้จะมีโปรตีนขนาดเล็ก ไม่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ส่วนจุลินทรีย์สุขภาพ LGG จะช่วยการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ช่วยทำให้ลำไส้แข็งแรง ซึ่งช่วยสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้หายจากการแพ้โปรตีนนมวัว และมีงานวิจัยทางการแพทย์ที่รองรับว่าช่วยรักษาเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวให้หายขาด ทำให้เด็กกลับมากินนมสูตรปกติได้ภายใน 1 ปี

วิธีแก้ปัญหาลูกนอนยาก หรือตื่นบ่อย


          1. ทำบรรยากาศให้เงียบสงบเหมาะแก่การนอน: กล่อมลูกเบา ๆ พร้อมเปิดไฟสลัว ๆ ทิ้งไว้ เมื่อลูกหลับแล้ว ให้เปิดไฟนั้นทิ้งไว้ทั้งคืน หรือหรี่ลงอีกเล็กน้อย จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและหลับสนิทขึ้น

          2. ตรวจสอบอุณหภูมิและความเรียบร้อยของห้องนอน: ตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีสิ่งใดที่จะรบกวนการนอนของลูก เช่น อุณหภูมิห้องพอเหมาะ (24 – 26 องศาเซลเซียส) ผ้าอ้อมลูกไม่เปียก ไม่มีมดบนเตียงนอน เป็นต้น

          3. ไม่ให้นมทุกครั้งที่ลูกตื่น: เมื่อลูกอายุได้ 3 – 4 เดือน หากลูกตื่นขึ้นมา ให้ลองตบก้นให้หลับ หรืออุ้มปลอบดูก่อนแทนการให้ลูกดูดนม เด็กหลายคนก็จะหลับต่อได้โดยไม่ต้องให้นม การพยายามลดการป้อนนมทุกครั้งที่ลูกตื่นหรือร้องไห้ จะทำให้ลดปริมาณนมที่ลูกได้รับลง ลูกจะได้ไม่อิ่มมากจนอึดอัด

          4. ให้ลูกดูดจุกปลอมก่อนนอน: สำหรับลูกเล็กวิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ลูกนอนหลับได้ดี แต่ควรใช้หลังจากที่ลูกสามารถดูดเต้าได้ดีแล้ว หรืออายุเกิน 1 เดือนขึ้นไปในเด็กกินนมแม่ เนื่องจากอาจทำให้ติดจุกนมและไม่ดูดเต้าได้ พอลูกหลับสนิทค่อยดึงออก หากลูกตื่นและต้องการดูดจุกหลอก ให้คุณแม่เปลี่ยนเป็นตบหลังเบา ๆ ปลอบลูกแทน และไม่ควรใช้วิธีนี้นานเมื่อลูกอายุ 1 ขวบไปแล้ว

          5. เช็กอาการของลูก: ลูกตัวร้อนหรือไม่ มีอาการของโคลิกหรือไม่ เพื่อจะได้ดูแลรักษาลูกได้ถูกต้องตรงจุด หรือหากลูกไม่สบายท้องจากนมที่กินก็อาจเลือกนมสูตรย่อยง่ายที่มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน และมีน้ำตาลแลคโตสต่ำกว่าสูตรปกติจะช่วยลดอาการไม่สบายท้องของลูกได้ การที่ลูกหลับยาก หรือตื่นบ่อย นอกจากจะทำให้คุณแม่ต้องกังวลใจ พักผ่อนไม่เพียงพอกับการที่ต้องตื่นมาดูแลลูกแล้ว ยังส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของตัวลูกน้อยเองด้วย เมื่อคุณแม่ได้รู้ถึงสาเหตุก็จะสามารถหาทางแก้ไขให้ปัญหานี้ลุล่วงไปได้ตรงจุด

บทความแนะนำสำหรับสุขภาพลูกน้อย