ตารางน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์

Leaving page banner
 
ตารางน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์

คำนวณ BMI

Don’t know your BMI?`

คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง

ตารางน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์

ตารางการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ ช่วยให้คุณทำความเข้าใจค่าปกติของน้ำหนักคุณช่วงตั้งครรภ์ ว่าควรเป็นอย่างไร
น้ำหนักน้อยเกินไป
(BM1 < 18.5)
12.5 - 18 กก.
น้ำหนักปกติt
(BMI 18.5 to 24.9)
11.5 - 16 กก.
น้ำหนักเกินมาตรฐาน
(BMI 25 to 29.9)
7 - 11.5 กก.
น้ำหนักเกิน (แบบโรคอ้วน)
(BMI 30 หรือสูงกว่า)
5 - 9 กก.
 

หมายเหตุ: ตารางนี้แสดงน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น สำหรับการตั้งครรภ์ของทารกคนเดียว

ปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ในระหว่างตั้งครรภ์

นอกจากทารกแล้ว น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ยังประกอบด้วยปัจจัยอีกหลายอย่าง3:
รก
0.5-1 กก.
น้ำคร่ำ
1 กก.
เนื้อเยื่อเต้านม
0.5-1 กก.
ปริมาณเลือด
1-2 กก.
ไขมันที่สะสมไว้เพื่อสร้างนมแม่
3-4 กก.
มดลูกใหญ่
1.5 กก.
ลูกน้อย
3.5-4 กก.
ของเหลวในร่างกายอื่นๆ
2 กก.
 
 

 

Key Highlight

  • การเพิ่มน้ำหนักในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณแม่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ที่ตามเกณฑ์ จะสามารถช่วยให้ทารกมีสุขภาพสมบูรณ์เมื่อคลอดบุตร

  • ถ้าหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่เกณฑ์แนะนำเอาไว้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่จะคลอดทารกที่มีขนาดตัวเล็กเกินไป และทารกน้ำหนักแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย ก็อาจจะมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาจมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น ทั้งยังเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการล่าช้า ไม่เติบโตตามวัยด้วย

  • แต่ถ้าหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวสูงเกินกว่าที่เกณฑ์แนะนำเอาไว้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่จะคลอดทารกที่มีขนาดตัวใหญ่เกินไป ซึ่งเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดหรือการผ่าตัดคลอด ทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และโรคอ้วนในเด็ก


What's up here?

     • ทำความเข้าใจกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
     • น้ำหนักคนท้อง ควรเป็นเท่าไหร่
     • BMI หญิงตั้งครรภ์
     • คนท้องน้ำหนักขึ้นกี่โล
     • น้ำหนักแม่ตั้งครรภ์ คำนวณอย่างไร
     • น้ำหนักหญิงตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส
     • วิธีดูแลน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์
     • สาเหตุที่คนท้องน้ำหนักลด
     • สาเหตุที่คนท้องน้ำหนักขึ้น
     • ไขข้อข้องใจเรื่องน้ำหนักคนท้องกับ Enfa Smart Club

ช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 10-16 กิโลกรัม ซึ่งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักนั้นมีนัยสำคัญและมีที่มาที่ไป คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ถือว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่และเด็กทั้งในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด

บทความนี้จาก Enfa จะพาคุณแม่มาดูกันว่า เมื่อวัดจากโปรแกรมคำนวณน้ำหนักคนท้องแล้ว น้ำหนักของคุณแม่ยังอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ น้ำหนักคนท้อง ควรเป็นเท่าไหร่ และBMI หญิงตั้งครรภ์ ที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร


น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ บ่งบอกอะไร?


การเพิ่มน้ำหนักในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณแม่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ที่ตามเกณฑ์ จะสามารถช่วยให้ทารกมีสุขภาพสมบูรณ์เมื่อคลอดบุตร และคุณแม่มีน้ำนมพร้อมสำหรับดูแลลูก

ถ้าหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่เกณฑ์แนะนำเอาไว้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่จะคลอดทารกที่มีขนาดตัวเล็กเกินไป และทารกน้ำหนักแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย ก็อาจจะมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาจมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น ทั้งยังเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการล่าช้า ไม่เติบโตตามวัยด้วย

แต่ถ้าหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวสูงเกินกว่าที่เกณฑ์แนะนำเอาไว้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่จะคลอดทารกที่มีขนาดตัวใหญ่เกินไป ซึ่งเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดหรือการผ่าตัดคลอด ทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และโรคอ้วนในเด็ก

น้ำหนักคนท้อง ควรเป็นเท่าไหร่


น้ำหนักคนท้องแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เพราะพื้นฐานน้ำหนักเดิมของคนท้องแต่ละคนไม่เหมือนกัน จำเป็นจะต้องคำนวณหาค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะเห็นภาพว่าคุณแม่ควรจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นเท่าไหร่ แต่โดยทั่วไปแล้ว น้ำหนักคนท้องจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10-16 กิโลกรัม ในกรณีที่น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ

BMI หญิงตั้งครรภ์ ที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร


ก่อนที่คุณแม่จะทราบว่าน้ำหนักของตัวเองนั้นตามเกณฑ์หรือไม่ แล้วน้ำหนักที่ควรเพิ่มขณะตั้งครรภ์ควรจะเป็นเท่าไหร่ คุณแม่จะต้องทราบข้อมูลสำคัญในการคำนวณหาน้ำหนักคนท้องที่เหมาะสมอย่าง ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI เสียก่อน โดยวิธีการคำนวณง่าย ๆ ก็คือ

ค่าดัชนีมวลกาย BMI = น้ำหนักตัว[กิโลกรัม]  

                                  ส่วนสูง[เมตร] ยกกำลังสอง 

ก็จะได้เป็น 60 กิโลกรัม / 1.75 เมตร x 1.75 เมตร = 19.5 ก็จะได้ค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ

หรือเพื่อความสะดวก คุณแม่สามารถทดลองใช้โปรแกรมคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย BMI เพื่อหาค่า BMI ของตนเองได้

เมื่อได้ค่า BMI มาเรียบร้อยแล้ว คุณแม่ก็สามารถนำมาเทียบกับตารางด้านล่าง เพื่อดูว่าค่าBMI ของตนเองนั้น มากหรือน้อยกว่าเกณฑ์

 

คนท้องน้ำหนักขึ้นกี่โล


โดยทั่วไปแล้ว น้ำหนักคนท้องจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10-16 กิโลกรัม โดยจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรก 1-2 กิโลกรัม และหลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ไปจนกระทั่งคลอด ในกรณีดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ

น้ำหนักแม่ตั้งครรภ์ คำนวณอย่างไร


การคำนวณหาน้ำหนักของแม่ตั้งครรภ์นั้น ใช้สูตรเดียวกับการหาค่าดัชนีมวลกาย BMI ดังนี้

ค่าดัชนีมวลกาย BMI = น้ำหนักตัว[กิโลกรัม]  

                                  ส่วนสูง[เมตร] ยกกำลังสอง 

ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่หนัก 60 กิโลกรัม สูง 175 เซนติเมตร

ก็จะได้เป็น 60 กิโลกรัม / 1.75 เมตร x 1.75 เมตร = 19.5 ก็จะได้ค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ

หรือเพื่อความสะดวกคุณแม่สามารถที่จะคำนวณโดยใช้โปรแกรมคำนวณหาค่าBMI เลยก็ได้เช่นกัน

ข้อสำคัญคือต้องมีค่า BMI เมื่อได้ค่า BMI มาแล้ว ก็สามารถนำมาเทียบกับตารางเพื่อดูว่าน้ำหนักของคุณแม่ต่ำกว่าเกณฑ์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือมากกว่าเกณฑ์ และดูว่าค่าเฉลี่ยน BMI เท่านี้ ควรจะเพิ่มน้ำหนักตอนตั้งครรภ์ให้ได้เท่าไหร่ ดังตารางด้านล่างนี้

 

น้ำหนักคนท้อง กรณีตั้งท้องลูกคนเดียว

 

น้ำหนักคนท้อง กรณีตั้งท้องลูกแฝดสอง

 

น้ำหนักหญิงตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส เป็นอย่างไร


น้ำหนักของคุณแม่ในแต่ละไตรมาสจะมีความแตกต่างกันไป ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าคุณแม่แต่ละคนมีปัจจัยทางร่างกายที่แตกต่างกัน น้ำหนักตัวต่างกัน ค่าBMI ต่างกัน ระบบเผาผลาญต่างกัน ทำให้น้ำหนักตัวของคุณแม่ในแต่ละไตรมาสก็จะต่างกันไปด้วย

แต่โดยทั่วไปแล้ว สำหรับคุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในแต่ละไตรมาส ดังนี้

  • ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสแรกนี้ทารกยังตัวเล็กอยู่ คุณแม่ยังไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มน้ำหนักให้มากเกินกว่า 1-2 กิโลกรัม

  • ไตรมาสที่ 2 ระยะนี้ทารกมีขนาดตัวที่โตขึ้น ทำให้คุณแม่อาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 5-6 กิโลกรัม

  • ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสสุดท้ายทารกมีขนาดตัวที่พร้อมสำหรับการคลอดที่เริ่มใกล้มาถึง โดยจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 3.5-4.5 กิโลกรัม แต่เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น คุณแม่บางคนอาจอึดอัดท้องจนกินอะไรได้น้อยลง

ในช่วงไตรมาสที่สามคุณแม่บางคนมีน้ำหนักที่ลดลง หากน้ำหนักลดลงเพียงเล็กน้อย ก็อย่าตกใจ ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่หากน้ำหนักลดลงมากในไตรมาสที่ 3 ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจจะมีความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้

วิธีดูแลน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์


ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นที่จะต้องควบคุมน้ำหนักตอนท้องให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับค่าBMIของตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารก และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพคุณแม่

โดยคุณแม่สามารถดูแลน้ำหนักขณะตั้งท้องได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ แม้จะใกล้คลอดและท้องโตมากแค่ไหน แต่ก็อย่าลืมว่าคุณแม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายบ้าง เดินไปมา หรือพยายามมีกิจกรรมเบา ๆ ที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ เพื่อให้ร่างกายกระฉับกระเฉง พร้อมต่อการคลอด และช่วยควบคุมน้ำหนัก

  • ใส่ใจอาหารการกิน กินอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบทุกด้าน ซึ่งจะดีต่อทั้งสุขภาพของแม่และทารก เน้นผักและผลไม้ ขนมปัง ธัญพืช รวมถึงอาหารที่มีไขมันต่ำทั้งนม และเนื้อสัตว์

  • จำกัดของหวาน ทั้งขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ไม่ควรกินเยอะ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าเกณฑ์ได้ หากกินในปริมาณที่เยอะเกินไป ควรกินแต่พอดี

  • หลีกเลี่ยงการเติมเกลือลงในอาหาร และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรี่สูง ที่จริงคุณแม่สามารถกินได้บ้าง แต่...ไม่ควรกินทุกวัน พยายามเลือกแต่อาหารที่มีแคลอรี่ต่ำจะดีต่อสุขภาพและน้ำหนักมากกว่า

คนท้องน้ำหนักลด เป็นเพราะอะไร


คนท้องน้ำหนักลด อาจจะต้องแยกออกเป็นกรณีไป เพราะไม่สามารถนำมาพิจารณารวมเป็นเรื่องเดียวกันได้

กรณีแรก คุณแม่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน ในที่นี้ การควบคุมน้ำหนักให้ขึ้นตามเกณฑ์ อาจเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ และลดความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งลดความเสี่ยงของการต้องผ่าคลอดเนื่องจากทารกมีขนาดตัวมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ลดน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ 

กรณีที่สอง คุณแม่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ หรือมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ กรณีนี้หากน้ำหนักลดลงจนผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่สังเกตได้ถึงความผิดปกตินี้

กรณีที่สาม น้ำหนักคุณแม่ลดลงในช่วงไตรมาสที่สาม ซึ่งกรณีนี้สามารถพบได้บ่อย และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ทารกมีขนาดตัวโตมากขึ้นและพร้อมต่อการคลอด ขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นของทารก อาจจะทำให้คุณแม่อึดอัด กินอะไรเข้าไปนิดหน่อยก็อิ่มจนอึดอัด ทำให้อาจจะกินอาหารได้น้อยลง จนเป็นสาเหตุให้น้ำหนักลดลงได้

  • ระดับน้ำคร่ำเริ่มลดลง เมื่อมวลน้ำคร่ำเริ่มลดลงก่อนที่จะแตกออก และคลอด จึงทำให้น้ำหนักลดลงตามไปด้วย

  • ร่างกายขับของเหลวออกเร็วขึ้น เนื่องจากขนาดตัวของทารกที่ใหญ่ขึ้น ท้องที่โตขึ้น จึงไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย เป็นผลให้มวลน้ำในร่างกายลดลง น้ำหนักจึงอาจจะลดลงตามไปด้วย

  • เหงื่อออกมากขึ้น ช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนคลอดคุณแม่อาจจะมีอาการเหงื่อออกมากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการล้างของเหลวที่สะสมในร่างกาย อาจทำให้น้ำหนักลดลงได้

อย่างไรก็ตาม น้ำหนักคุณแม่ไม่ควรลดมากเกินไป หากลดมากเกินไปควรไปพบแพทย์

คนท้องน้ำหนักขึ้น เกิดจากอะไร


คนท้องน้ำหนักขึ้น เกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้

กรณีแรก แม่ทุกคนจำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักตัวให้เหมาะสมกับค่า BMI เพื่อให้สุขภาพของแม่และทารกสามารถประคับประคองไปได้อย่างปลอดภัยจนกระทั่งคลอด การมีน้ำหนักตัวที่น้อยเกินไปขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อสุขภาพของทารกเป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนท้องถึงน้ำหนักขึ้น

กรณีที่สอง ทารกมีมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ แน่นอนว่าขนาดตัวที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยน้ำหนักตัวของทารกจะอยู่ระหว่าง 3-3.5 กิโลกรัม

มากไปกว่านั้น เจ้าตัวเล็กยังนำพาเอาพลพรรคของตนเองมาทำให้น้ำหนักของคุณแม่เพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่

  • รก หนักประมาณ 1.-1.5 กิโลกรัม

  • น้ำคร่ำ หนักประมาณ 1.-1.5 กิโลกรัม

  • เนื้อเยื่อบริเวณเต้านม หนักประมาณ 1.-1.5 กิโลกรัม

  • เลือด หนักประมาณ 2 กิโลกรัม

  • ไขมัน หนักประมาณ 2.5-4 กิโลกรัม

  • ขนาดของมดลูกที่โตขึ้น หนักประมาณ 1-2.5กิโลกรัม

ไขข้อข้องใจเรื่องน้ำหนักคนท้องกับ Enfa Smart Club


1. คนท้องลดน้ำหนักได้ไหม?

คนท้องไม่ควรลดน้ำหนักไม่ว่าจะในไตรมาสใดของการตั้งครรภ์ก็ตาม ยกเว้นเสียแต่ว่า คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน กรณีนี้คุณหมออาจจำเป็นจะต้องขอให้คุณแม่พยายามควบคุมน้ำหนักให้เพิ่มอย่างเหมาะสม เพราะเป็นผลดีต่อแม่และทารกในครรภ์มากกว่า

2. คนท้องน้ำหนักขึ้นตอนไหน?

คนท้องจะเริ่มน้ำหนักขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรก แต่เนื่องจากทารกยังมีขนาดตัวเล็กอยู่ ในไตรมาสแรกจึงอาจมีน้ำหนักขึ้นเพียง 1-2 กิโลกรัม หรืออาจจะมีน้ำหนักลดลงได้เล็กน้อย เนื่องจากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องในไตรมาสแรก

3. ไม่อยากอ้วนตอนท้องทำยังไงดี?

กรณีที่หากพูดถึงในแง่ของรูปร่าง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะต้องมีรูปร่างที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากทารกมีขนาดตัวที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ไตรมาส และใหญ่ที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 จึงทำให้คุณแม่ดูอ้วนหรืออวบขึ้น สิ่งที่คุณแม่ทำได้ ไม่ใช่การลดน้ำหนักตอนท้อง แต่ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับค่า BMI ของตัวเอง เพื่อป้องกันโรคอ้วนหรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โดยสามารถควบคุมน้ำหนักได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ

  • ใส่ใจอาหารการกิน จำกัดของหวาน

  • หลีกเลี่ยงการเติมเกลือลงในอาหาร

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรี่สูง

4. น้ำหนักคนท้องไตรมาส 3?

น้ำหนักคนท้องในไตรมาส 3 นั้นจะแตกต่างกันไป เพราะแม่แต่ละคนมีน้ำหนักตัวตั้งแต่ก่อนที่จะตั้งครรภ์ต่างกัน ทั้งยังมีค่า BMI ต่างกัน ทำให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 แตกต่างกันไป

แต่สำหรับคุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีขนาดตัวที่พร้อมสำหรับการคลอดที่เริ่มใกล้มาถึง คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 3.5-4.5 กิโลกรัม ในช่วงไตรมาสที่ 3

5. ท้อง 6 เดือน น้ำหนักควรขึ้นกี่กิโล?

น้ำหนักคนท้องในแต่ละเดือนนั้นจะแตกต่างกันไป เพราะแม่แต่ละคนมีน้ำหนักตัวตั้งแต่ก่อนที่จะตั้งครรภ์ต่างกัน ทั้งยังมีค่า BMI ต่างกัน ทำให้น้ำหนักของคุณแม่แต่ละคนในแต่ละเดือนไม่เหมือนกัน

แต่ช่วง 6 เดือนนี้ นับเป็นไตรมาสที่ 2 ในระยะนี้ทารกมีขนาดตัวที่โตขึ้น ทำให้คุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ อาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 5-6 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยน้ำหนักจะขึ้นประมาณ 1.5 - 2 กิโลกรัมใน 1 เดือน ในคุณแม่ที่น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ

6. ท้อง 8 เดือน น้ำหนักควรขึ้นกี่กิโล?

น้ำหนักคนท้องในแต่ละเดือนนั้นจะแตกต่างกันไป เพราะแม่แต่ละคนมีน้ำหนักตัวตั้งแต่ก่อนที่จะตั้งครรภ์ต่างกัน ทั้งยังมีค่า BMI ต่างกัน ทำให้น้ำหนักของคุณแม่แต่ละคนในแต่ละเดือนไม่เหมือนกัน

แต่ช่วง 8 เดือนนี้ นับเป็นไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีขนาดตัวที่พร้อมสำหรับการคลอดที่เริ่มใกล้มาถึง สำหรับคุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ ก็จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 3.5-4.5 กิโลกรัม



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

EFB Form

EFB Form