สัปดาห์ที่ 16 คำแนะนำ
* อย่าละเลยการรับแคลเซียม แคลเซียมสำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูกน้อยในครรภ์ แหล่งแคลเซียมก็ได้แก่ นม ซึ่งคุณแม่ควรดื่มให้ได้วันละ 2 แก้ว รวมทั้งกินปลาตัวเล็กตัวน้อย กุ้งแห้ง ผักใบเขียว หรืองาดำ ซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมเช่นเดียวกัน
* เดินช้าๆ ออกกำลังกายเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพราะลูกรู้สึกถึงสัมผัสระหว่างตัวเขากับผนังมดลูกของแม่ การเดินช้าๆ เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ช่วยพัฒนาระบบประสาทการเคลื่อนไหว ระบบกล้ามเนื้อและทรงตัว ทำให้ทารกหลังคลอดมีพัฒนาการการพลิกคว่ำ พลิกหงายได้เร็วอีกด้วย
* ไม่นั่งห้อยเท้านานเกินไป เพื่อป้องกันเท้าบวม คุณแม่ไม่ควรนั่งห้อยเท้านานเกินไป ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 2 ชั่วโมง และไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกได้
* พัฒนาอารมณ์และสมองลูกในครรภ์ อารมณ์ของแม่ส่งต่ออารมณ์และสมองลูกในครรภ์ คุณแม่จึงต้องมีอารมณ์ที่ผ่อนคลาย การดูรูปภาพที่คุณแม่ชอบ เช่น ภาพเด็กน่ารัก ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพดอกไม้สวยงาม จะช่วยได้ค่ะ

 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

 

สัปดาห์ที่ 17 คำแนะนำ
* สวมใส่กางเกงในพยุงครรภ์ กางเกงในพยุงครรภ์นั้นตัดเย็บมาสำหรับคุณแม่ท้องโดยเฉพาะ มีการตัดต่อรอบใต้ท้องด้วยผ้า 2 ชั้น ที่มีความยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ตามสรีระหรือหน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น กางเกงในพยุงครรภ์ยังช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดเอว เพราะสามารถช่วยโอบอุ้มท้องและแบกรับน้ำหนักท้อง ทำให้คุณแม่เดินสะดวกยิ่งขึ้นและรู้สึกสบายเมื่อได้สวมใส่
* สำรองอาหารว่างไว้ที่ทำงาน ช่วงนี้คุณแม่อาจมีอาการอ่อนเพลียและหิวบ่อย ควรมีอาหารว่างประเภทของแห้ง เช่น ถั่ว ผลไม้แห้ง หรือผลไม้สดสำรองไว้ในที่หิวและความอ่อนเพลียระหว่างวันได้
* สนุกกับการแต่งกาย เพื่อสร้างความสดใสให้ตัวเอง ด้วยรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้คุณแม่ไม่มั่นใจในการแต่งกาย แต่แม้ตั้งครรภ์ก็สวยได้ คุณแม่ลองเลือกเสื้อผ้าที่ทำให้รู้สึกสดใส ทั้งดีไซน์และสีสัน รวมทั้งแต่งหน้าแต่งตา จะทำให้แต่ละวันของคุณแม่สดใส ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดีค่ะ
* ฝึกขมิบ บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงช่วยทำให้คลอดง่ายขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดย
* นอนหงายตั้งชันเข่า
* เกร็ง (ขมิบ) กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน 5-10 วินาที
* ปล่อยกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน 3 วินาที
* ทำวันละ 10-15 ครั้ง
เมื่อทำได้คล่อง ก็สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา

 

สัปดาห์ที่ 18 คำแนะนำ
* อัลตราซาวนด์เพื่อดูความผิดปกติของลูกและครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ครบ 4 เดือน คุณหมอมักแนะนำให้คุณแม่อัลตราซาวนด์เพื่อตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ของลูก ตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ของการตั้งครรภ์ รวมทั้งดูเพศของลูกด้วย (หากคุณแม่ต้องการทราบ)
* เลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง ช่วงนี้ร่างกายคุณแม่จะใช้พลังงานสูง และหิวบ่อย ควรรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงและย่อยสลายช้า เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต ซีเรียลแบบโฮลเกรนเป็นต้น
* นั่งเก้าอี้โยก โยกตัวเบาๆ การนั่งเก้าอี้โยก โยกตัวเบาๆ ซ้ำๆ ลูกจะเรียนรู้ถึงระบบการโยกว่า โยกไปหน้าแล้วตามด้วยโยกไปหลังเสมอ จากนั้นเขาก็จะปรับตัวและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ขณะที่เก้าอี้โยกไปข้างหน้า ทารกจะเกร็งตัวไปด้านหลังเพื่อพยุงตัวให้อยู่ในแนวกลางเสมอ ซึ่งสามารถทำได้ ง่าย เพราะทารกยังลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำอยู่ จึงช่วยพัฒนาประสาทด้านการทรงตัวของลูกในครรภ์ได้
* เตรียมชื่อลูก หากยังไม่ทราบเพศลูก ก็ให้เตรียมชื่อทั้งเด็กหญิง-ชายไว้ แต่หากทราบเพศลูกแล้ว ก็สามารถเตรียมชื่อให้ตรงกับเพศลูกได้ นับเป็นความสุขใจอย่างหนึ่งของคนเป็นพ่อแม่ค่ะ