สัปดาห์ที่ 29 คำแนะนำ
* ออกไปยืนรับแสงแดดอ่อนๆ นอกบ้านบ่อยๆ ทารกก็สามารถรับรู้ต่อแสง ความมืด ความสว่างได้ คุณแม่ควรออกไปยืนรับแสงแดดอ่อนๆ นอกบ้านช่วงเช้าหรือบ่าย ควรเลือกช่วงที่แสงไม่จ้าจนเกินไป พูดคุยกับลูกพร้อมกับลูบท้องเบาๆ ช่วยกระตุ้นระบบประสาทด้านการมองเห็นของลูกในท้องได้
* ชวนพ่อเล่นกับการดิ้น เตะของลูก เมื่อลูกดิ้นหรือเตะ คุณแม่ชวนคุณพ่อแตะตรงตำแหน่งนั้นพร้อมพูดคุยทักทายลูก เป็นการสร้างรักความผูกพันระหว่างกัน
* แช่เท้าในน้ำอุ่น ช่วงนี้เท้าของคุณแม่อาจจะบวม การแช่เท้าในน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการบวมได้ และยังช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย สบายเท้าด้วย
* วางแผนการคลอดกับคุณหมอ ถึงเวลาที่คุณแม่จะปรึกษากับคุณหมอถึงวิธีการคลอดที่เหมาะกับคุณแม่ได้แล้วค่ะ

 

สัปดาห์ที่ 30 คำแนะนำ
* บันทึกการดิ้นของลูกทุกวัน ช่วงนี้ลูกจะดิ้นแรงและบ่อยขึ้น ง่ายที่คุณแม่จะนับการดิ้นของเขา การดิ้นบ่งบอกถึงสุขภาพที่แข็งแรงของลูก  หากลูกดิ้นน้อยลงเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะอาจหมายถึงลูกอยู่ในภาวะอันตราย การนับการดิ้นของลูกจึงเป็นวิธีง่ายๆ ที่คุณแม่สามารถใช้ในการดูแลสุขภาพของลูกในครรภ์ ถ้าลูกดิ้นน้อยลงให้รีบปรึกษาหมอ
* ยืดเส้นยืดสายคลายข้อต่อและเส้นเอ็น การยืดเส้นยืดสายเบาๆ ทำท่ากายบริหารง่ายๆ มีประโยชน์ช่วยลายข้อต่อและเส้นเอ็น เช่น ยกแขนข้างหนึ่งชูขึ้นเหนือศีรษะช้าๆ สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆ ลดแขนลง ผ่อนลมหายใจออก สลับแขน หายใจแบบเดียวกัน ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง
* ซื้อของใช้ลูกเตรียมไว้ ช่วงนี้ท้องคุณแม่ยังไม่โตถึงขั้นอุ้ยอ้าย คุณแม่จึงสามารถเลือกซื้อและเตรียมของใช้ของลูกหลังคลอดได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของใช้ เตียง เบาะ ผ้าอ้อม รถเข็น ฯลฯ
* ฝึกหายใจเข้า-ออกช้าๆ วันละ 5 นาที เพื่อผ่อนคลาย การฝึกหายใจเข้า-ออกช้าๆ เพียงวันละ 5 นาที จะช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผ่อนคลาย เพิ่มออกซิเจนให้แก่ทารกในครรภ์ และช่วยให้ลูกน้อยไม่เครียด ส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของเขาต่อไป

 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

 

สัปดาห์ที่ 31 คำแนะนำ
* พูดคุยทักทายลูกทุกวัน ลูกต้องการฟังเสียงคุณแม่ทุกวัน จึงไม่ควรพลาดโอกาสที่จะพูดคุยกับเขา เพื่อสร้างความรักความผูกพันระหว่างกัน และเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูก ซึ่งจะส่งผลดีต่อเนื่องไปจนหลังคลอด
* รับดีเอชเอให้เพียงพอ ช่วงไตรมาสสุดท้าย ลูกในครรภ์จะสะสมดีเอชเอไว้ในสมองมากเป็นพิเศษ คุณแม่จึงต้องได้รับดีเอชเอจากอาหารอย่างเพียงพอ เช่น จากเมนูอาหารปลา จากนมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ (เช่น นมเอนฟามาม่า ซึ่งมีดีเอชเอสูงถึง 50 มก./แก้ว) เพื่อพัฒนาสมองของลูก
* ไม่กลั้นปัสสาวะ คุณแม่ควรเข้าห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวดปัสสาวะ เพราะการกลั้นปัสสาวะไว้นานเกินไป จะทำให้ควบคุมตัวเองไม่ได้อาจทำให้เกิดปัญหาปัสสาวะเล็ด หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบตามมาได้
* ฝึกหายใจเพื่อเบ่งคลอดบ่อยๆ ช่วงนี้คุณแม่ควรฝึกการหายใจที่ใช้ในการเบ่งคลอดเสียแต่เนิ่นๆ เมื่อถึงเวลาจะได้นำมาใช้ได้ถูกต้อง

 

สัปดาห์ที่ 32 คำแนะนำ
* เปิดเพลงฟังและเล่นกับหน้าท้องให้เข้ากับจังหวะเพลง คุณแม่เปิดเพลงฟัง และใช้มือแตะเบาๆ ที่หน้าท้องตามจังหวะเพลง ลูกในครรภ์จะรับรู้จังหวะจากการที่แม่แตะเบาๆ ที่หน้าท้องเป็นจังหวะ ช่วยพัฒนาสมองและพัฒนาการด้านเรียนรู้ของลูกได้
* เน้นอาหารที่ให้พลังงานสูง คุณแม่ต้องการพลังงานจากอาหารมากขึ้น จึงควรทานอาหารที่ให้โปรตีนสูงเช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ เนื้อปลา ผักและผลไม้ เพื่อสะสมสารอาหารที่จำเป็นไว้สำหรับการให้นมลูกหลังคลอด
* ไปพบหมอตามนัด ช่วงใกล้คลอด คุณแม่ไม่ควรเลื่อนนัดหมอ ซึ่งจะนัดถี่ขึ้นทุกสัปดาห์ เพราะยิ่งใกล้คลอดอาการแทรกซ้อนต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้
* ฝึกทำสมาธิ การฝึกทำสมาธิ ช่วยให้จิตใจคุณแม่รู้สึกสงบ (ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์สงบของลูกในท้องด้วย) กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ช่วยลดความดันโลหิต และช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น