การนับอายุครรภ์ นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย บวก 7 วัน ลบด้วย 3 เดือน ก็จะเป็นวันกำหนดคลอด เช่น ถ้าประจำเดือนครั้งสุดท้าย คือ วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เมื่อคำนวณอายุครรภ์แล้ว ก็จะได้วันกำหนดคลอด เป็นวันที่ 17 เมษายน 2565 นอกจากนี้การนับอายุครรภ์ยังช่วยทำให้ทราบด้วยว่าคุณแม่ท้องมีภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ด้วยหรือไม่ หากมีก็จะได้ดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องไปตลอดการตั้งครรภ์นั่นเอง

วิธีนับอายุครรภ์ เช็คอายุครรภ์ นับการตั้งครรภ์และการนับอายุครรภ์อย่างถูกต้อง ต้องทำอย่างไร

 

 

การนับอายุครรภ์และนับการตั้งครรภ์แบบถูกต้องโดยคุณหมอ

 

 

การไปตรวจครรภ์กับคุณหมอจะทำให้คุณแม่ท้องทราบได้ว่าตอนนี้อายุครรภ์ของตัวเองนั้นกี่สัปดาห์แล้ว คุณหมอจะมีวิธีการนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์และเศษของสัปดาห์เป็นวัน เช่น 4 สัปดาห์ 2 วัน ซึ่งจะเริ่มนับอายุครรภ์จากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ท้องนั่นเอง

สมัครสมาชิก Enfa Smart Club พร้อมเป็นผู้ช่วยคุณแม่ เพื่อครรภ์ที่สมบูรณ์ที่สุด

หลังจากที่คุณหมอทราบข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่แล้ว คุณหมอก็จะนับอายุครรภ์ด้วยการคำนวณวันกำหนดคลอด หรือที่เรียกว่า Expected date of delivery หรือ EDD

คุณแม่สามารถพบเคล็ดลับการดูแลลูกน้อย และเช็คพัฒนาการของเขาในแต่ละเดือนได้ง่ายๆ ด้วยการร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

การนับอายุครรภ์สามารถทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

  • วิธีนับอายุครรภ์จากประจำเดือนจะมากกว่าอายุของตัวอ่อนในครรภ์จริงๆ (Ovulatory Age) ประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับคุณแม่ท้องที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุก 28 วัน
  • วิธีนับอายุครรภ์จากประจำเดือนที่มาไม่สม่ำเสมอ คือมีรอบเดือนนานกว่า 28 วันหรือในกรณีที่คุณแม่ท้องจำประจำเดือนครั้งสุดท้ายของตัวเองไม่ได้ คุณหมอก็จะนับอายุครรภ์ให้ด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง(อัลตราซาวด์) เพื่อวัดขนาดของถุงการตั้งครรภ์ (Gestational Sac) หรือความยาวทารก (Crown Rump Length) แล้วคำนวนอายุครรภ์ของคุณแม่ออกมา

ซึ่งสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับคุณหมอและก็ตัวของคุณแม่ท้องเพื่อใช้สำหรับนับการตั้งครรภ์หรือคำนวณอายุครรภ์ นั่นก็คือ การจดทุกรายละเอียดของการมีรอบเดือนในแต่ละครั้ง คือเริ่มมีวันไหนของเดือน มีรอบเดือนแต่ละครั้งกี่วัน และรอบเดือนมาวันสุดท้ายคือวันไหน เพราะข้อมูลที่ได้เหล่านี้จำเป็นต่อการที่คุณหมอจะใช้ในการนับอายุครรภ์ ที่สำคัญควรให้ข้อมูลกับคุณหมอด้วยว่าคุณและสามีมีโรคทางกรรมพันธุ์อะไรบ้าง หรือตัวแม่เองยังไม่ได้รับวัคซีนอะไรบ้างก่อนตั้งครรภ์ เพื่อคุณหมอจะได้ให้คำแนะนำ และดูแลสุขภาพครรภ์อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

การดูแลสุขภาพครรภ์ของคุณแม่มือใหม่หลังจากการนับอายุครรภ์ 

เมื่อคุณหมอได้นับอายุครรภ์และทราบอายุของครรภ์เรียบร้อยแล้ว คุณแม่ท้องจะได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพครรภ์เพื่อให้เป็นการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพตลอดทั้ง 40 สัปดาห์ ซึ่งหลังจากการนับการตั้งครรภ์ อย่างแรกที่คุณแม่ต้องทำคือ การรับประทานยาบำรุงครรภ์ที่คุณหมอจัดให้ทุกวัน ห้ามละเลยเด็ดขาด สำหรับยาบำรุงครรภ์ส่วนใหญ่ก็จะมี แคลเซียม ธาตุเหล็ก โฟเลต ดีเอชเอ เป็นต้น รวมทั้งการดูแลในเรื่องของโภชนาการที่ต้องรับประทานให้ครบ 5 หมู่ และเพียงพอ เพราะอย่าลืมว่าคุณแม่ไม่ได้รับประทานเพื่อให้ตัวเองอิ่มเพียงคนเดียว แต่ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เผื่อไปให้ทารกในครรภ์ด้วย เพื่อการพัฒนาร่างกาย ระบบอวัยวะต่างๆ รวมทั้งสมองของทารกด้วย

การนับอายุครรภ์ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับคุณแม่มือใหม่นะคะ ฉะนั้นเมื่อเริ่มสงสัยว่าตัวเองกำลังมีสัญญาณการตั้งครรภ์ ต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอตรวจเช็คอายุครรภ์และนับอายุครรภ์ให้คุณแม่ทราบได้อย่างถูกต้องค่ะ