Enfa สรุปให้

  • การหย่านม คือ การที่คุณแม่เปลี่ยนวิธีการให้นมลูก จากการดูดนมแม่จากเต้า ไปดูดนมแม่หรือดูดนมผงจากขวด หรือกินอาหารอย่างอื่นแทน ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาและความอดทนเป็นอย่างมาก คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะให้ลูกหย่านมเร็วกว่าปกติเล็กน้อย เพราะคุณแม่สมัยนี้ต้องทำงานนอกบ้าน คุณแม่จึงปั๊มนมแล้วเก็บไว้ให้ลูกดื่มทีหลัง

  • กุมารแพทย์และทันตแพทย์เด็ก ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กก็มีความเห็นว่า เด็กควรจะเริ่มหย่านมเมื่ออายุได้ 12 เดือน หรือ 1 ขวบ หรืออย่างช้าที่สุดคือ 15 เดือน

  • วิธีการเลิกนมนั้นหลากหลาย ไม่ตายตัว คุณแม่สามารถใช้วิธีใดก็ได้ในการหย่านมลูก จะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือจะหักดิบเลยก็ได้เช่นกัน แต่สิ่งสำคัญคือ คุณแม่จะต้องมีวิธีรับมือการอาการร้องไห้งอแง อาการหงุดหงิดเมื่อลูกไม่ได้ในสิ่งที่เคยได้ หากสามารถเบี่ยงเบนความต้องการขวดนมของลูกได้ จะหย่านมแบบหักดิบ หรือจะเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น

  • ทั้งนี้คุณแม่ไม่ควรพลาด การให้ลูกน้อยดื่มน้ำนมเหลือง หรือ น้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด เพราะในน้ำนมเหลืองมีแลคโตเฟอร์ริน ที่ทำหน้าที่สำคัญในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ทารก

เลือกอ่านตามหัวข้อ

• หย่านม คืออะไร
• วัยไหนที่ลูกพร้อมหย่านมแล้ว
• ให้นมแม่ได้ถึงกี่ขวบ
• วิธีให้ลูกเลิกเต้า
• ให้ลูกเลิกเต้าได้ตอนไหน
• หักดิบให้ลูกเลิกเต้าเลยดีไหม
• 5 เคล็ดลับให้ลูกน้อยหย่านมแม่อย่างถูกวิธี
• ฝึกให้ลูกเลิกขวดนมตอนไหนดี
• วิธีเลิกขวดนม
• น้ำนมเหลืองมีแลคโตเฟอร์ริน
• ไขข้อข้องใจเรื่องการหย่านมลูกกับ Enfa Smart Club

เมื่อครั้งให้นมลูก คุณแม่หลายคนก็เครียดว่าจะทำยังไงให้ลูกกินนม ทำยังไงถึงจะมีน้ำนมเพียงพอให้ลูกน้อยได้กิน และครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะต้องเริ่มหย่านม คุณแม่หลายคนก็อาจจะต้องกุมขมับกันอีกครั้งว่าจะทำยังไงดีหนอลูกถึงจะยอมหย่านมแต่โดยดี จะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กค่อย ๆ เลิกหย่านม บทความนี้จาก Enfa มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับ วิธีให้ลูกเลิกเต้า และทำอย่างไร ให้ลูกเลิกเต้า เลิกขวดนม อย่างถูกวิธีมาฝากค่ะ

หย่านม คืออะไร


การหย่านม คือ การที่คุณแม่เปลี่ยนวิธีการให้นมลูก จากการดูดนมแม่จากเต้า ไปดูดนมแม่หรือดูดนมผงจากขวด หรือกินอาหารอย่างอื่นแทน ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาและความอดทนเป็นอย่างมาก คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะให้ลูกหย่านมเร็วกว่าปกติเล็กน้อย เพราะคุณแม่สมัยนี้ต้องทำงานนอกบ้าน คุณแม่จึงปั๊มนมแล้วเก็บไว้ให้ลูกดื่มทีหลัง

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีความจำเป็นอื่น ๆ ที่จะต้องให้ลูกดื่มนมผงแทนนมแม่ ควรเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผง เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพราะนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารกและเด็กเล็ก จึงควรให้ลูกได้ดูดนมแม่ไปให้นานที่สุด

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

วัยไหนที่ลูกพร้อมหย่านมแล้ว


จริง ๆ แล้วจังหวะที่พร้อมสำหรับการหย่านมนั้นไม่มีหลักตายตัว ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแม่กับลูกเป็นสำคัญ บางคนอาจจะพร้อมหย่านมตอนอายุ 1 ขวบ ขณะที่เด็กบางคนอาจจะพร้อมเลิกนมเด็ดขาดเมื่ออายุได้ 2 ขวบ หรือเด็กบางคนก็อาจจะกินนมแม่หรือนมผงนานถึง 3 ขวบแล้วจึงเลิก

อย่างไรก็ตาม กุมารแพทย์และทันตแพทย์เด็ก ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กก็มีความเห็นว่า เด็กควรจะเริ่มหย่านมเมื่ออายุได้ 12 เดือน หรือ 1 ขวบ หรืออย่างช้าที่สุดคือ 15 เดือน

ดังนั้น หากลูกมีอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป คุณแม่ควรเริ่มลดปริมาณการให้นมลูกลง ค่อย ๆ ลดจนกระทั่งเจ้าตัวเล็กหย่านมได้ในที่สุด

ให้นมแม่ได้ถึงกี่ขวบ


องค์การอนามัยโลกได้แนะนำเอาไว้ว่า เด็กควรจะได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงแรกเกิด - 6 เดือน และเมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่ควรให้นมลูกประกอบกับให้ลูกเริ่มกินอาหารตามวัยหรือ Solid Food เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และเติบโตสมวัย

วิธีให้ลูกเลิกเต้า


เมื่อลูกอายุได้ 1 ขวบ คุณแม่หลายคนก็เริ่มที่จะมองหา วิธีเลิกเต้า เพื่อจะเริ่มฝึกให้เจ้าตัวเล็กหย่านม ซึ่งคุณแม่สามารถฝึกให้ลูกเลิกเต้าได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ฝึกลูกกินนมจากขวด ในกรณีที่คุณแม่จำเป็นจะต้องกลับไปทำงานหลังคลอดแล้ว ก็สามารถเริ่มปั๊มนมใส่ขวดให้เจ้าตัวเล็กแทนได้ เป็นการฝึกให้ลูกได้กินนมจากขวดแทนที่จะกินจากเต้านมของแม่

  • สลับกันนมผง ในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากคลอด ทารกควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเด็กมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่สามารถสลับมาให้นมผงสูตรอื่น ๆ ได้ ก็จะช่วยลดปริมาณการให้นมแม่จากเต้าลงไปด้วย

  • เริ่มให้อาหารตามวัย Solid Food เมื่อลูกมีอายุได้ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่ควรเริ่มฝึกให้ลูกกินอาหารอื่น ๆ ควบคู่ไปกับนมแม่ เพื่อให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลายขึ้น และเป็นการฝึกไม่ให้ลูกกินแต่นมแม่เป็นหลัก

  • ปรับตารางการให้นมแม่ เมื่อลูกเริ่มกินอาหารอื่น ๆ ได้บ้างแล้ว คุณแม่สามารถปรับลดตารางการให้นมแม่จากที่แน่นมาตลอดในช่วง 6 เดือนแรกให้น้อยลงได้ เป็นการเริ่มลดปริมาณการให้นมแม่จากเต้า

ให้ลูกเลิกเต้าได้ตอนไหน


จริง ๆ แล้วไม่มีกรอบเวลาที่แน่ชัดว่า ควรให้ลูกเลิกดูดเต้าตอนกี่เดือน เพราะสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแม่และเด็กเป็นสำคัญ สำหรับแม่ที่จะต้องกลับไปทำงานหลังลาคลอด ก็อาจจะต้องเริ่มให้ลูกเลิกเต้าเร็วขึ้นมาหน่อย แต่คุณแม่ที่ไม่ได้มีปัญหาในการให้นมบุตรก็อาจจะพร้อมและเต็มใจที่จะให้นมลูกจากเต้ายาวไปจนกระทั่งลูกหย่านมเลยก็มีเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถเริ่มให้ลูกเลิกเต้าเมื่อไหร่ก็ได้ตามสมควร แต่สิ่งสำคัญคือในช่วง 6 เดือนแรก ทารกจำเป็นจะต้องได้รับนมแม่อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

หักดิบให้ลูกเลิกเต้าเลยดีไหม


ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ไม่มีกรอบเวลาที่แน่ชัดว่า ควรให้ลูกเลิกดูดเต้าตอนกี่เดือน เพราะสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแม่และเด็กเป็นสำคัญ แต่สิ่งสำคัญคือในช่วง 6 เดือนแรก ทารกจำเป็นจะต้องได้รับนมแม่อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันจากนมแม่อย่างครบถ้วน ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือติดเชื้อ ส่วนจะเริ่มต้นเลิกเต้าเมื่อไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความพร้อมเป็นสำคัญ

5 เคล็ดลับให้ลูกน้อยหย่านมแม่อย่างถูกวิธี


คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกหย่านม โดยเริ่มจากวิธีดังต่อไปนี้

1. ให้ลูกหย่านมเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เด็กที่มีอายุเกิน 2 ขวบ เป็นช่วงที่เหมาะสมที่จะหย่านม หากอยู่ในช่วงแรกเกิด หรือ 6-7 เดือน ควรให้เขาดูดนมแม่อยู่ก่อน การให้เขาหย่านมในช่วงเวลานั้น นอกจากจะทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารจากนมแม่แล้ว ยังมีผลทำให้เด็กร้องไห้ หงุดหงิดง่าย และขาดสายสัมพันธ์ที่ได้ระหว่างแม่กับลูกไปด้วย

2. ลดการให้นมแม่ทีละน้อย เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็ลดการให้นมแม่ลงทีละน้อย จากปกติ 3 เวลา เป็น 2 เวลา และเป็น 1 เวลา จนลูกสามารถหย่านมได้เอง ซึ่งขณะลดการให้นมลูก ควรให้ลูกดื่มนมอื่นทดแทนตามความเหมาะสมของลูกในแต่ละช่วงวัย

3. ให้นมอื่น ๆ ทดแทนในเวลาที่เขาหิวมากที่สุด เด็กทุกคนมักปฏิเสธนมชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นมแม่ในช่วงแรกด้วยกันทั้งนั้น จึงควรให้เขาดื่มนมอื่น ๆ ทดแทนในช่วงเวลาที่ลูกหิวเพราะลูกจะไม่ปฏิเสธการดื่มนมทดแทนนั่นเอง

4. ทำให้ลูกรู้สึกเหมือนดูดนมจากอกแม่ ขณะให้เขาดูดนมจากขวด คุณแม่ต้องโอบกอดเขา พูดคุย หรือเล่นกับเขาให้เหมือนกับตอนที่ให้นมจากอกแม่ เพื่อให้เขาเกิดความคุ้นเคยเหมือนกับที่ได้ดูดนมจากอกแม่

5. ใช้ความอดทนกับลูก ในช่วงของการหย่านมแม่ เด็กจะงอแงมากเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทน อย่าหงุดหงิดและอย่าพาลใส่ลูกเป็นอันขาด แม้เขาจะยังเล็กและยังไม่ประสีประสาแต่เขาจะเรียนรู้และจดจำอารมณ์และปฏิกิริยาต่าง ๆ จากคุณแม่ได้เป็นอย่างดี หากลูกน้อยแสดงสัญญาณเหล่านี้ แสดงว่าลูกพร้อมที่จะ หย่านม แล้วค่ะ คุณแม่สามารถนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อช่วยให้ลูกน้อยหย่านมได้ แต่ การหย่านม ต้องเป็นไปอย่างนุ่มนวลที่สุด เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกขาดความอบอุ่น หรือความรักจากคุณแม่นั่นเอง

เมื่อไหร่ถึงควรเริ่มฝึกให้ลูกเลิกขวดนม


แพทย์และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กแนะนำว่า เด็กที่มีอายุได้ 12 เดือน หรือ 1 ขวบ ควรจะเริ่มทำการหย่านมได้แล้ว หรืออย่างช้าที่สุดคือ 15 เดือน ก็ควรฝึกให้ลูกหย่านมได้

วิธีเลิกขวดนมทำได้อย่างไรบ้าง


คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกหย่าขวดนม โดยใช้ วิธีให้ลูกเลิกดูดขวด ง่าย ๆ ดังนี้

  • ฝึกลูกกินนมจากแก้ว คุณแม่อาจให้นมลูกตามตารางเดิมที่จัดไว้ แต่อาจจะเปลี่ยนรูปแบบจากขวดนมมาเป็นแก้วแทน ให้ลูกได้ดื่มนมจากแก้วแทนขวดนม ก็เป็นการเริ่มหย่าขวดนมที่ดี

  •  เริ่มให้อาหารตามวัย Solid Food ให้ลูกได้กินอาหารอย่างอื่นควบคู่ไปกับการกินนมจากขวด เริ่มฝึกโดยให้ลูกกินอาหารอื่นจนเสร็จ แล้วจึงให้กินนมขวดปิดท้าย ซึ่งส่วนมากแล้วเด็กก็จะอิ่มกับอาหารแล้ว และไม่อยากกินนมขวดอีก

  • ปรับเวลาการให้ขวดนม จากปกติจะให้ขวดนมลูกตั้งแต่เช้า กลางวัน และเย็น คุณแม่อาจงดหนึ่งมื้อขวดนมออกไปได้ แนะนำว่าให้งดช่วงมื้อกลางวันหรือมื้อเย็น

  • เอ่ยคำชมเมื่อลูกทำได้ หากลูกสามารถงดขวดนมได้หนึ่งมื้อ หรือสองมื้อ คุณแม่ควรชมเชยลูกบ้าง เพื่อให้ลูกรู้สึกภูมิใจที่สามารถเอาชนะใจตัวเองได้ หรือชมเชยเมื่อลูกกินนมจากแก้วจนหมด แทนที่จะกินนมจากขวด

  • เปลี่ยนจากนมเป็นอย่างอื่น หากลูกยังถามหาถึงขวดนม คุณแม่ลองเบี่ยงเบนความสนใจของลูกจากดื่มนมขวด มาเป็นนมวัว หรือน้ำผลไม้อื่น ๆ ที่ลูกอาจสนใจ โดยเสิร์ฟใส่แก้วให้ลูกได้ดื่มแทนขวดนม

  • เจือจางนมในขวด หากลูกยังคงไม่ยอมตัดใจจากขวดนม คุณแม่สามารถเจือจางน้ำนมในขวดโดยการเติมน้ำลงไปครึ่งหนึ่ง และเติมนมครึ่งหนึ่ง เพื่อให้รสสัมผัสของน้ำนมเปลี่ยนไป ก็สามารถช่วยให้ลูกค่อย ๆ เปลี่ยนใจจากรสชาติของน้ำนมในขวด และหันมาดื่มนมจากแก้ว หรือดื่มน้ำผลไม้อื่น ๆ แทน

  • เก็บขวดนมให้หมด บางครั้งการที่ขวดนมยังเล็ดลอดอยู่ในสายตาของลูก ก็ทำให้ลูกยากที่จะตัดใจจากความเคยชิน คุณแม่ควรเริ่มเก็บขวดนมให้มิดชิด ใช้ขวดนมให้น้อยลง หรือหักดิบไม่ใช้เลย อาจจะรุนแรงไปนิด แต่หากเด็กไม่เห็นขวดนม ก็จะช่วยลดความรู้สึกโหยหาขวดนมลงได้บ้าง

สามารถให้ลูกเลิกขวดหักดิบเลยดีไหม


จริง ๆ แล้วไม่มีวิธีที่ตายตัวสำหรับการเลิกนม คุณแม่สามารถใช้วิธีใดก็ได้ในการหย่านมลูก จะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือจะหักดิบเลยก็ได้เช่นกัน

แต่สิ่งสำคัญคือ คุณแม่จะต้องมีวิธีรับมือการอาการร้องไห้งอแง อาการหงุดหงิดเมื่อลูกไม่ได้ในสิ่งที่เคยได้ หากสามารถเบี่ยงเบนความต้องการขวดนมของลูกได้ จะหย่านมแบบหักดิบ หรือจะเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น

 

น้ำนมเหลืองมีแลคโตเฟอร์ริน


ทั้งนี้คุณแม่ไม่ควรพลาดการให้น้ำนมลูกในระยะ 1-3 วันแรกหลังคลอด เพราะเป็นระยะน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรก ที่มีสารอาหารสำคัญอย่าง แลคโตเฟอร์ริน ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันลูกน้อย

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

ไขข้อข้องใจเรื่องการหย่านมลูกกับ Enfa Smart Club


 หย่านมลูก เริ่มได้ตอนไหน

ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กแนะนำว่า เด็กควรจะเริ่มหย่านมเมื่ออายุได้ 12 เดือน หรือ 1 ขวบ หรืออย่างช้าที่สุดคือ 15 เดือน

 อยากให้ลูกหย่านมทำไงดี

คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกหย่านมได้หลายวิธี ดังนี้

  • ให้ลูกหย่านมเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เด็กที่มีอายุเกิน 2 ขวบ เป็นช่วงที่เหมาะสมที่จะหย่านม

  • ลดการให้นมแม่ทีละน้อย เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็ลดการให้นมแม่ลงทีละน้อย จากปกติ 3 เวลา เป็น 2 เวลา และเป็น 1 เวลา

  • ให้นมอื่น ๆ ทดแทนในเวลาที่เขาหิวมากที่สุด ให้ลูกได้ดื่มนมอื่น ๆ หรือน้ำผลไม้ทดแทนในช่วงเวลาที่ลูกหิว

  • ใช้ความอดทนกับลูก ในช่วงของการหย่านมแม่ เด็กจะงอแงมากเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทน อย่าหงุดหงิดและอย่าพาลใส่ลูกเป็นอันขาด

  • ฝึกลูกกินนมจากแก้ว เปลี่ยนรูปแบบจากขวดนมมาเป็นแก้วแทน ให้ลูกได้ดื่มนมจากแก้วแทนขวดนม ก็เป็นการเริ่มหย่าขวดนมที่ดี

  • เจือจางนมในขวด หากลูกยังคงไม่ยอมตัดใจจากขวดนม คุณแม่สามารถเจือจางน้ำนมในขวดโดยการเติมน้ำลงไปครึ่งหนึ่ง และเติมนมครึ่งหนึ่ง เพื่อให้รสสัมผัสของน้ำนมเปลี่ยนไป

 ทาหัวนม หย่านม ช่วยได้จริงหรือ?

การทาหัวนมก็เป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ลูกหย่านมได้ ทั้งนี้เพราะหัวนมของแม่มีรสชาติที่เปลี่ยนไป ทำให้ลูกรู้สึกว่าไม่ใช่รสสัมผัสที่คุ้นเคย จึงมีส่วนช่วยให้เด็กลดความอยากดูดหัวนมที่ไม่ใช่รสชาติประจำ

 หย่านมลูก ใช้บอระเพ็ดท่าหัวนมได้ผลจริงไหม?

การใช้บอระเพ็ดทาหัวนม เป็นภูมิปัญญาไทยที่ทำกันมาแต่โบราณ และมักได้ผลจริง เพราะบอระเพ็ดมีรสชาติที่ขม ทำให้หัวนมมีรสชาติที่เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้เจ้าตัวเล็กไม่อยากจะดูดนมจากหัวนมแม่

 มีวิธีหย่านมแบบหักดิบหรือไม่

วิธีหักดิบเพื่อหย่านมลูกนั้นไม่มีวิธีที่ตายตัว และไม่การันตีว่าจะได้ผลลัพธ์เสมอไป แต่การหักดิบที่นิยมใช้กันก็มี เช่น

  • การทาบอระเพ็ดที่หัวนม เพื่อเปลี่ยนรสสัมผัสเดิมให้เปลี่ยนไป ช่วยลดความอยากดูดนมของเด็ก

  • การเก็บขวดนมให้มิดชิด เป็นการสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น เมื่อไม่เห็น ก็ไม่มีสิ่งใดมากระตุ้นให้เกิดความต้องการอีก


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์