ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
วชิรพยาบาล

เมื่อต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ไม่สามารถอยู่บ้านเลี้ยงลูกได้ตลอดเวลา คุณแม่บางคนก็เกิดความสงสัยและกังวลว่าการที่แม่ทำงานนอกบ้านแทนที่จะอยู่เลี้ยงลูกที่บ้านนั้นจะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยหรือไม่

3 ปีแรกช่วงเวลาทองของพัฒนาการลูกน้อย

มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า สมองเด็กมีการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 85% ในช่วงตั้งครรภ์ ถึง 3 ปีแรก ช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาทองเพราะเด็กจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สมองเด็กนั้นเติบโตจากการที่เซลล์สมองขยายขนาด และมีการสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาทมากขึ้น ยิ่งสมองได้รับการกระตุ้นมากเท่าไหร่ เครือข่ายเส้นใยประสาทจะมีมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพลาดที่จะส่งเสริมพัฒนาการให้กับลูกน้อยในช่วงเวลาทองนี้

การเลี้ยงดูและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการของสมองลูกน้อย ถ้าเป็นไปได้คุณพ่อคุณแม่ควรเลี้ยงลูกเองจะดีที่สุด เพื่อจะได้เสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยอย่างเต็มที่ เพราะคุณแม่ที่อยู่กับลูกนั้นจะมีเวลาเฝ้าดูพัฒนาการลูกในแต่ละวัยที่ผ่านไปได้ตลอดเวลาและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกได้อย่างเต็มที่

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

อีกทั้ง คุณแม่ควรมอบโภชนาการที่ดีให้ลูกด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด หรือหากไม่สามารถให้นมแม่ได้ ก็ควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ โดยเฉพาะสารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองของลูก อย่าง MFGM และดีเอชเอ

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถอยู่บ้านเลี้ยงลูกได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านจะพลาดโอกาสทองในการส่งเสริมพัฒนาการของลูก หากช่วงเวลาที่อยู่กับลูกนั้นเป็นช่วงเวลาคุณภาพ

 

การที่คุณแม่ทำงานนอกบ้านไม่เสร็จแล้วนำมาทำต่อที่บ้าน ทำให้รบกวนพัฒนาการเด็กได้

 

ลูกต้องการเวลาคุณภาพมากกว่าปริมาณ

สำหรับคุณแม่ทำงานนอกบ้าน แน่นอนว่าปัญหาคือ มีเวลาอยู่กับลูกน้อยลง และอาจจะทำอะไรได้ไม่มากนัก ยิ่งเห็นคุณแม่คนอื่นพาลูกทำกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมลูกแบบต่างๆ ก็อาจจะยิ่งเครียดและรู้สึกผิด ว่าเราไม่ได้อยู่กับลูก ไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการลูกเท่าที่ควร คุณแม่ไม่ต้องรู้สึกผิดใดๆ ทั้งสิ้น ลูกต้องการเวลาจากคุณแม่ก็จริง แต่สิ่งที่ลูกต้องการกว่านั้นคือ “เวลาคุณภาพ” ต่างหาก

เวลาคุณภาพ คือ เวลาที่พ่อแม่ลูกได้ทำกิจกรรมร่วมกัน แบ่งปันสุขทุกข์กัน เอาใจใส่กัน กอดกัน เล่นด้วยกัน ไม่ใช่การนั่งอยู่ด้วยกันเฉยๆ หรือพ่อแม่นั่งเล่นมือถือ ส่วนลูกนั่งเล่นตามลำพัง

คุณแม่ควรพยายามใช้เวลาที่มีกับลูกให้คุ้มค่า แม้คุณแม่อาจจะว่างแค่ 2-3 ชั่วโมง หรือครึ่งวัน ลองหากิจกรรมที่คุณแม่และลูกชอบทำร่วมกัน หรือเลือกกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูก เช่น อ่านนิทานให้ลูกฟัง เล่นสนุกๆ กับลูก เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูก

ดังนั้นขอย้ำอีกครั้งว่าการไม่ได้เลี้ยงลูกเต็มเวลา ไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าพัฒนาการของลูกจะมีปัญหา คุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้หากเวลาที่เรามีกับลูกนั้นเป็นเวลาคุณภาพค่ะ

 

แม่เอางานกลับมาทำที่บ้าน มีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยมั้ย

 

หากคุณแม่เลี่ยงลูกโดยการที่อยู่ทั้งวันแต่ไม่ใส่ใจนั้นอาจจะไม่ดีเท่ากับการให้เวลาลูกอย่างเต็มที่หลังเลิกงานในแต่ละวัน

 

คุณแม่ทำงานทุกคนแม้จะพยายามไม่นำงานมาทำต่อที่บ้าน แต่บางครั้งงานก็ติดพันต้องเอากลับมาทำ ซึ่งมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การทำงานไปด้วยและต้องเลี้ยงลูกไปด้วยนั้น อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกได้ โดยหัวข้อสำคัญของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ก็คือ

  • การทำงานขณะเลี้ยงลูกสามารถเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของเด็กได้

  • การพัฒนาที่ดีของสมองในเด็กทารกนั้น มาจากการดูแลเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

  • การเลี้ยงดูทารกแบบไม่ต่อเนื่อง อาจส่งผลถึงความผิดปกติทางอารมณ์ของทารกได้หลายรูปแบบ เช่น เด็กมีความเสี่ยงต่อการติดยาเสพติด เด็กเกิดความเครียดได้โดยง่ายเมื่อโตขึ้น เป็นต้น

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

โดยการศึกษาครั้งนี้เน้นไปที่ผลที่ว่าคุณแม่ควรเลี่ยงการดูแลลูกแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น ทำงานไปด้วยขณะที่เลี้ยงลูกไปด้วย เพราะจะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกนั่นเอง

จะเลี่ยงการดูแลลูกแบบไม่ต่อเนื่องได้อย่างไร?

  • บริหารเวลา เมื่อมีเวลาอยู่ด้วยกันลูกต้องการการดูแลจากพ่อแม่อย่างต่อเนื่อง ไม่ถูกขัดจังหวะจากการงานของแม่ ซึ่งก็คือเวลาคุณภาพนั่นเอง ดังนั้นการบริหารเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อจะได้มีเวลาดูแลลูกอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง

  • ไม่ต้องพยายามทุกอย่างในเวลาเดียวกัน คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกดดันตัวเอง เพื่อทำทุกอย่างให้ออกมาให้สมบูรณ์แบบ เช่น คุณแม่สามารถเลือกไม่รับสายจากออฟฟิศขณะอยู่กับลูก  แต่ค่อยโทรกลับภายหลัง ไม่เอางานออกมาทำขณะอุ้มลูกหรือให้นมอยู่ แต่ควรรอให้ลูกหลับก่อน ฯลฯ หากคุณแม่เฝ้าคิดถึงแต่เรื่องงานเป็นหลัก แทนที่จะสนใจลูกที่อยู่ตรงหน้า แน่นอนว่าการดูแลลูกจะลดประสิทธิภาพลง  และจะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกด้วย

  • เลิกรู้สึกผิดหรือโทษตัวเอง การรู้สึกผิดหรือโทษตัวเองมักเป็นความรู้สึกของคนเป็นแม่ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงาน ที่มักจะตั้งคำถามกับตัวเองว่าคิดถูกหรือผิดที่กลับมาทำงาน หรือควรลาออกจากงานมาเลี้ยงลูก ไม่สำคัญว่าคุณจะอยู่ในสถานการณ์ใด หากคุณแม่ยังรักและดูแลเอาใจใส่ลูกได้เป็นอย่างดี คุณก็คือสุดยอดคุณแม่แล้ว

คุณแม่มากมายที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน แต่การไม่ได้อยู่เลี้ยงลูกตลอดเวลา เราก็สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ หากเวลาที่เรามีกับเขานั้นเป็นเวลาคุณภาพ และเราได้ดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างเต็มที่ ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านทุกคนค่ะ

กลับไปทำงานหลังคลอดอย่างไร ให้มั่นใจ หายห่วง พบคำตอบได้ที่นี่